June 29, 2014

Mix & Match แบบ Shibuya-kei นั้น ก๊อบ… มั้ย?

ลอกเลียนแบบ หรือได้รับอิทธิพล?     แนวดนตรีแบบ Shibuya-Kei นั้นมีเอกลักษณ์อย่างหนึ่งคือการ mix & match ดนตรีจากต่างพื้นที่ ต่างแนวทาง ซึ่งบ่อยครั้งมีการนำบางส่วนจากดนตรีเดิมที่มีอยู่แล้วมาตีความผสมสร้างใหม่ อย่าง P5 และ Cornelius นั้นได้ถูกพูดถึงบ่อยๆว่า อยู่บนเส้นบางๆระหว่าง คำว่า ได้รับอิทธิพล และ การขโมย ซึ่งส่วนผสมที่เกิดขึ้น 
บางคนก็ชอบในเสน่ห์เฉพาะตัวของมัน แต่ปัญหาต้องถูกถามเสมอว่า การนำส่วนหนึ่งของเพลงคนอื่นมาทำใหม่ ถือเป็นความสร้างสรรค์หรือไม่?     การผสมผสานของศิลปะ หรือ การกระทำที่สร้างงานใหม่โดยใช้ไอเดียบางอย่างจากงานเก่าของคนอื่นๆมาปรับเปลี่ยน มันเป็นศิลปะรูปแบบหนึ่งที่ได้รับการยอมรับ หรือแม้แต่ การล้อเลียน ก็เป็นความสร้างสรรค์ชนิดหนึ่ง อย่างไรก็ตาม คนส่วนมากยังให้ค่ากับความเป็นต้นตำรับมากกว่า     เมื่อนำบางส่วนจากเพลงเก่ามาทำใหม่ พวกศิลปิน...

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 6 : ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป

ช่วงปี 2008 – 2014 : ยุคปัจจุบัน Shibuya-kei ไม่มีวันตาย     ในที่สุด HMV Shibuya ร้านขายแผ่นเสียงและซีดีที่เป็นเหมือนหัวเรือใหญ่ในการขายแผ่นของ Shibuya-kei มาตลอด ปิดตัวลงในปี 2010 ตามที่หลายคนได้คาดการณ์เอาไว้ ไม่ใช่เฉพาะวงการ Shibuya-kei แต่คือวงการดนตรีทั้งหมด ที่ยอดขาย CD ลดต่ำลงเรื่อยๆ ยิ่งตอกตะปูปิดฝาโลงเข้าไปอีก แต่ศิลปินอินดี้ก็ยังคงอยู่รอดกันมาได้ถึงทุกวันนี้     และแล้ว แรงกระเพื่อมที่เห็นได้ชัดในช่วงหลังก็เกิดขึ้น จากงานจาก Yasutaka Nakata (โปรดิวเซอร์วง Capsule) เริ่มสร้างชื่อเสียงจนดังเปรี้ยงปร้าง จากการที่เขานำซาวด์ Shibuya-kei ในแบบเดิมๆ เข้าไปรวมตัวกับ Techno...

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 5 : กำเนิดใหม่เด็กๆ Neo-Shibuya-kei

ปี 2001-2007 ยุค Neo-Shibuya-kei Neo-Shibuya-kei คืออะไร?     หากจะกล่าวว่า การแยกวงของ Pizzicato Five ในปี 2001 คือจุดสิ้นสุดของดนตรี Shibuya-kei ก็คงไม่ผิดนัก กระแสใหญ่ที่ก่อตัวขึ้น แม้ตอนนี้กระแสได้สร่างซาเบาบางลงไปแล้ว แต่ซาวด์แบบ Shibuya-kei ได้ฝังแน่นอยู่ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น และมีคนจำนวนหนึ่งที่เสพย์ติดมันไปแล้ว ในขณะที่เหล่าศิลปินรุ่นเก่าต่างพยายามหนีจากซาวด์ และการถูกตีตราว่าเป็นชิบุย่าเคย์ อยู่นั้น ช่วงปี 2002 – 2004 ได้มีกลุ่มศิลปิน กลุ่มหนึ่งที่ชุบชีวิต Shibuya-kei ขึ้นมาอีกครั้ง โดยมี tribute albums ของ Flipper’s Guitar เกิดขึ้นสองอัลบัมในสี่เดือน...

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 4 : อวสานและการเปลี่ยนแปลง

ปี 2001 – 2004 : ยุคอวสาน Shibuya-kei เวลาแห่งการหนีความจำเจ     ปี 2001 อัลบั้ม “Point” ของ Cornelius ออก เหมือนเป็นการเริ่มต้นของยุคใหม่ การเริ่มต้นเข้มข้นกับแนวทางใหม่ที่ออกไปทางดนตรีทดลองที่มีความ minimal มากขึ้นของ Keigo Oyamada ได้สร้างมาตรฐานใหม่ และเป็นผู้นำ trend ให้กับศิลปินในวงการอีกครั้ง การปฎิวัติซาวด์ของตัวเขาเอง ทำให้ยุคนี้เข้าสู่ยุคที่ซาวด์โดยรวมของเหล่าศิลปิน Shibuya-kei มีความเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก จากที่เคยมุ้งมิ้งน่ารัก ตอนนี้ทุกวงต่างพยายามแสวงหาซาวด์ใหม่ โดยนำซาวด์แบบชิบุย่าไปรวมกับส่วนผสมแบบอื่นๆ     มีอีกหลายอัลบั้มที่เปลี่ยนทิศทางมาทางนี้ อาทิ Kahimi Karie อัลบัม Trapeziste...

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 3 : จุดสูงสุดของความเฟื่องฟู

ปี 1994 – 2000 : ยุครุ่งโรจน์ รุ่งอรุณแห่ง Shibuya-kei     Keigo Oyamada (Flipper’s Guitar) เริ่มต้นทำผลงานของตัวเองในชื่อ “Cornelius” ในปี 1993 โดยนำซาวด์ที่ใกล้เคียงกับ Flipper’s Guitar สมัยช่วงกลางๆ มาพัฒนาต่อ เขามีผลงานมากมายทั้งการทำอัลบั้มของตัวเอง, การเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับค่ายเพลง Trattoria หรือกับวงอินดี้หน้าใหม่ๆ มากมาย (รวมถึง Kahimi Karie แฟนสาวของเขาเองด้วย) และตอบแทนบุญคุณให้กับ Salon Music ด้วยการใส่พวกเขาไปใน ค่าย Trattoria     เขากลายเป็น Produce...

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 2 : เหล่าผู้บุกเบิก

ปี 1989 – 1994 : ยุคตั้งไข่ Flipper’s Guitar สองหนุ่มผู้บุกเบิก     จากการชักนำของ Salon Music ในที่สุดก็เกิดวงดนตรีที่มีความเป็น Shibuya-kei อย่างเต็มตัววงแรกในโลก คือ “Flipper’s Guitar”     ในแรกเริ่มเดิมทีนั้นยังไม่มีคำว่า Shibuya-kei เข้ามาเกี่ยวข้อง วง Flipper’s Guitar แต่เดิมเป็นวงดนตรี 5 คน (ซึ่งต่อมาถูกตัดเหลือเพียง 2 คน คือ Kenji Ozawa และ Keigo Oyamada พวกเขาสองคนนี่แหละที่จะเป็นแกนกลางของวงการในเวลาต่อมา) พวกเขาประสบความสำเร็จอย่างมากในอัลบั้มที่...

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 1 : ยุคก่อนกำเนิด

วงการดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น ก่อนกำเนิด Shibuya-Kei ช่วงเวลา : ’60-’80     Shibuya-kei คือแนวดนตรีของคนญี่ปุ่นที่ได้รับพื้นฐานวัฒนธรรมทางดนตรีมาจากตะวันตก โดยหากจะนับการรับวัฒนธรรมดนตรี Rock จากชาวตะวันตกเข้ามาเป็นครั้งแรกของคนญี่ปุ่นนั้น เกิดขึ้นในช่วงยุค ’60 หลังจากคอนเสิร์ตของ The Beatles ที่ Budokan ได้จุดกระแสการนิยมดนตรี pop rock ฝั่งตะวันตกขึ้นในหมู่วัยรุ่นเด็กแนวญี่ปุ่นยุคนั้น และวัยรุ่นวัยโจ๋ก็เริ่มตั้งวงเล่นดนตรี cover ตามแบบต่างชาติ        ช่วงต่อมาในยุค ’70 จากกระแสที่ก่อตัวนั้นก็กระจายเป็นวงกว้างมากขึ้น จนเริ่มเกิดวงดนตรีที่ทำเพลงของตัวเองขึ้นมา ซึ่งศิลปินแรกๆที่โดดเด่นและเป็นเสมือนเทพเจ้าของดนตรีใต้ดินอินดี้ในยุคนั้นคือ “Hosono Haruomi” แห่งวง “Yellow Magic Orchestra (YMO)” วงดนตรีอิเลคโทรนิคที่เป็นผู้บุกเบิกหลายสิ่งหลายอย่างในญี่ปุ่น...

มารู้จักกับ Shibuya-kei ย่านถิ่นกำเนิดดนตรีอินดี้สัญญาติญี่ปุ่น

 รู้จัก Pon Pon Pon! ของ Kyary Pamyu Pamyu กันใช่ไหม?       สุ้มเสียงที่น่ารักมุ้งมิ้ง บวกกับความแฟนตาซีล้ำสมัยหลุดโลก ที่ดูสุดแสนจะน่าหลงไหล และในขณะเดียวกันก็ญี่ปุ๊นญี่ปุ่น

“แว๊บ แว๊บ” แม้ไม่ได้รางวัลแต่ได้เดินต่อ

“แว๊บๆ” (starring. พาฝัน) ผลงานประกวดในปี 2013 กับ ProPlugin : Jingle All the Way III”     มารอบนี้กะได้รางวัลเลยนะเนี่ย เพราะจัดหนักกว่าเดิม ๕๕๕ ทั้งด้านโปรดักชั่นที่ได้ทีมงาน Joke มาช่วยเรื่อง MV เต็มๆ ดนตรีก็ทำโปรดักชั่นเต็มขึ้น นักร้องก็เลือกมาอย่างดี แถมยังเอาสาวสวยล่อคนกดไล๊ค์อย่าง พาฝัน มาเล่น MV อีก แต่ผลปรากฎคือ ไม่ได้รางวัล ๕๕๕     แต่เหมือนได้เดินต่อทำสิ่งที่รัก พอใจกับผลงานมาก ดีใจที่มีคนชอบครับ     แนวคิดในการทำเพลงนี้คือ ตีจากโจทย์ 10 ปี...

“ฝันเป็นเพลง” กับรางวัลการประกวด Jingle All the Way

“ฝันเป็นเพลง” ผลงานในปี 2012 ที่ได้รางวัลรองชนะเลิศจากการประกวดจิงเกิลของ ProPlugin : Jingle All the Way II Live     แนวคิดในการทำงานคือ มาจากโจทย์ของจิงเกิล ที่จะเล่าเรื่องอะไรก็ได้เพื่อโปรโมทร้านขายอุปกรณ์ทำดนตรีอย่าง pro plugin เลยเอามาเชื่อมเรื่องกับความฝัน ความฝันของนักดนตรีนักแต่งเพลงก็คือการทำเพลง แต่เราตีความความฝันเป็นอีกอย่างได้ด้วยคือ การนอนหลับฝัน เชื่อว่าหลายคนคงเคยมีอาการเดียวกันคือ “ฝันเป็นเพลง” (อ้างอิงจากประสบการณ์ส่วนตัวครับ อิอิ) คือการที่นอนหลับฝัน แล้วได้ยินเพลงที่อยู่ในความฝัน เป็นเพลงที่เพราะมากและไม่เคยได้ยินที่ไหน แน่นอนว่า จริงๆแล้วนั่นคือเพลงที่เกิดจากจินตนาการของเรานั่นเอง แต่พอตื่นมาแล้วมักจะลืมหมด บางทีก็ต้องรีบจดเนื้อ จดโน๊ต หรือร้องเป็นทำนองกดอัดไว้ตอนงัวเงียๆ เลยเอาตบเข้าโปรดักส์ของเค้าได้ แถจริงๆ อิอิ นอกจากนี้ก็เล่นกับความหมายของคำว่าฝันอีกแบบ คือ...

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.