April 28, 2023

Compressor คืออะไร และมีหน้าที่ทำอะไร?

หลายๆคนอาจจะคุ้นหน้าคุ้นตากันมาบ้าง แต่ก็มีไม่น้อยที่ไม่รู้ว่ามันคือะไร มีไว้ทำไมโดยเฉพาะคนใหม่ๆที่พึ่งหัดทำเพลง ก็อาจจะไม่เข้าใจเลยว่าปุ่มต่างๆที่เห็นมันมีไว้ทำอะไร Compressor คืออุปกรณ์ที่คอยบีบอัดไดนามิกของสัญญาณเสียง ทำให้เสียงที่ดังลดลงและทำให้เสียงที่เบานั้นดังชัดขึ้น เมื่อมีระดับเสียงเดซิเบล (dB) ของเราไปแตะถึงระดับที่กำหนดไว้ มันก็จะเริ่มทำงานให้เสียงนั้นเบาหรือดังขึ้นนั่งเองครับ เช่นการอัดเสียงร้อง โดยคนเราร้องดังเบาไม่ได้เท่ากันอยู่แล้ว ก็ต้องใช้เจ้าตัวนี้ลดหรือเพิ่มขึ้นไป เรียกว่ามันคืออุปกรณ์กดระดับเสียง ให้อยู่ในระดับของสัญญาณที่เรากำหนดเอาไว้ครับ การทำงานส่วนต่างๆของ Compressor นั้นจะมีอยู่ 5 ปุ่ม ที่เราต้องรู้จักกัน ซึ่งจะเป็นยังไงสามารถตามเข้าไปอ่านต่อที่นี่ได้เลยครับ การทำงานส่วนต่างๆของCompressor 1.THRESHOLD คือปุ่มไว้ปรับตั้งค่าให้ Compressor เริ่มกดสัญญาณ ไม่ให้เกินหรือต่ำกว่าที่กำหนด แต่ถ้าไม่เกิน ตัว Threshold ก็จะปล่อยให้เสียงนั้นเล่นตามปกติ โดยใช้หน่วยวัดเป็นเดซิเบล (dB) สามารถปรับได้สูงสุด +20dB และต่ำสุด -20dB 2....

EQ คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อการทำเพลง?

บางคนอาจจะยังสงสัย ยังไม่รู้ว่า EQ มีไว้ทำอะไร แค่ทำให้เพลงเสียงดีขึ้นเฉยๆรึเปล่า? มีวิธีการใช้งานแบบไหน มีประโยชน์ยังไง บทความนี้เราจะมาอธิบายเพื่อให้ท่าน ได้รู้จักอุปกรณ์ชนิดนี้ให้มากยิ่งขึ้น… อีควอไลเซอร์ (Equalizer) หรืออีกคำนึงก็คือ EQมีหน้าที่ในการควบคุมและชดเชยย่านความถี่ของเสียง (frequency) ให้อยู่ในระดับสัญญาณที่เหมาะสม เพื่อให้ตรงตามความเหมาะสมในการใช้งานในด้านดนตรีต่างๆ ทั้งการผลิตเพลง ไปจนถึงการแสดงสด Equalizer ต้องอาศัยความเข้าใจในเรื่องย่านความถี่ของเสียง และประสบการณ์ เนื่องจากในแต่ละเพลงจะมีการใช้เสียงที่ให้ความถี่แตกต่างกัน ซึ่งองค์ประกอบพื้นฐานของอีควอไลเซอร์จะเป็นยังไง มาอ่านกันต่อได้เลยครับ องค์ประกอบที่สำคัญ Frequencies (ความถี่) เสียงทุกเสียงที่เราได้ยินรอบๆตัว ไม่ว่าจะเป็นเสียงรถ เสียงนกร้อง เสียงฝนตก หรือเสียงใดๆก็ตามนั้น ล้วนเกิดมาจากการสั่นสะเทือนทั้งสิ้น ยิ่งสั่นสะเทือนเร็วมากเท่าไหร่ เสียงก็จะแหลมและสูงมากขึ้น ยกตัวอย่างได้ง่ายๆ เช่น เวลาที่เราร้องเพลง ให้ลองใช้มือแตะที่คอของเรา แล้วลองทำเสียงสูงสลับกับเสียงต่ำ...

สอนทำเพลง 20 อาชีพ

20 อาชีพดนตรีที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้จัก

คนส่วนใหญ่แล้วจะมองว่า อาชีพดนตรีเป็นเรื่องเต้นกินรำกิน และไม่มั่นคง เพราะมันมีภาพลักษณ์ให้นึกถึงแต่ ศิลปิน นักร้อง นักดนตรี นักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์ หรือครู อาจารย์ ที่สอนดนตรีเท่านั้น ถูกไหมครับ แต่ที่จริงแล้วมันมีอาชีพของคนดนตรีอาชีพอื่นๆอีก ที่หลายๆคนอาจจะยังไม่รู้จัก และในหลายๆอาชีพที่ว่ามาเหล่านั้น ก็มีอยู่ไม่น้อยที่ไม่ใช่การเต้นการร้องการเล่นดนตรี อย่างที่ใครหลายๆคนคิด แต่ต้องอาศัยความรู้ทางดนตรีด้วย วันนี้เราจะมาแนะนำอาชีพที่คุณอาจจะไม่รู้จักมาก่อน ถ้าคุณยังเป็นคนนอกวงการอยู่นะ และเป็นการเปิดโลกหรือแนะแนวทางสำหรับหลายๆคน ให้เป็นทางเลือกสำหรับการก้าวสู่อาชีพดนตรีด้วยครับ ผมพยายามคัดเลือกอาชีพที่ผมเห็นว่ามีอยู่จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย และรู้จักกับคนทำอาชีพนี้จริงๆ ข้อมูลมาจากทั้งคนใกล้ตัว คนรอบตัวที่ทำอาชีพเหล่านี้จริงๆ ต้องบอกก่อนว่า คนที่ทำอาชีพเหล่านี้ มีทั้งคนที่เป็นสายนั้นๆโดยเฉพาะ ไม่ทำอย่างอื่นเลย หรือแม้แต่คนที่รับทำงานหลายสายโดยใช้ความรู้ทางดนตรีที่ตัวเองมีอยู่ มีทุกแบบครับ ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้น มาลองไปดูด้วยกันเลยครับ 20 อาชีพดนตรีที่คุณอาจไม่รู้จัก ผมจะขอแยกออกเป็น 5...

เรียนทำเพลง หนทางสู่ศิลปิน

หนทางสู่การเป็นศิลปินอาชีพ

มีหลายคนอยากเป็นศิลปินเป็นอาชีพ ถ้าถามว่ามีหนทางอยู่จริงๆมั้ย มีครับ เอาคร่าวๆก็คือ ขั้นแรกคุณก็อาจจะต้องพยายามฝึกฝนดนตรี ฝึกฝนการทำเพลง หรือร้องเพลง แล้วแต่ว่าคุณจะเป็นศิลปินแบบไหน ขั้นที่สองคุณอาจจะพยายามสร้างผลงานออกมา และโปรโมทให้คนเห็นมากที่สุด ขั้นที่สามคือ คุณอาจมีค่ายมาชวนไปอยู่ด้วย หรือไปเสนอค่ายแล้วได้เข้าค่าย หรือแม้แต่ทำเองจนโด่งดัง และสามารถทำเงินอยู่รอดเป็นอาชีพได้ด้วยตัวเองหรือมีทีม ประมาณนี้ ถ้าจะให้ผมอธิบายนะ ซึ่งที่จริงรายละเอียดระหว่างทางมันมีมากกว่านี้อีกมาก แต่! ที่จริงแล้วผมไม่แนะนำ… ที่จะคิดว่าการเป็นศิลปินนั้นคืออาชีพ ทำไมน่ะเหรอครับ? ลองสูดหายใจลึกๆแล้วลองอ่านบทความต่อไปนี้ดูนะครับ ผมเขียนจากประสบการณ์ที่อยู่ในวงการมาเป็นสิบปี โดยแตะอยู่ระหว่างทั้งวงการดนตรีเบื้องหลัง และเบื้องหน้า ทั้งแมสและอินดี้นะครับ ฉะนั้นคิดว่า ข้อมูลนี้น่าจะเป็นประโยชน์โดยรวมต่อผู้ที่อยากเป็นศิลปินทั้งในวงการระดับแมสกับอินดี้ ทุกแบบ เชิญอ่านได้เลยครับ ทำไมจึงไม่ควรคิดว่าการเป็นศิลปินคืออาชีพ หลายๆคนที่ทำเพลง หรือเป็นศิลปิน ล้วนแต่มีรสนิยมทางดนตรีที่แตกต่างกัน กับดนตรีในโลกปัจจุบันที่มีอยู่เป็นร้อยแนว แต่ไม่ใช่ว่าทุกแนวดนตรีจะมีจำนวนผู้ฟังหรือโอกาสในการทำเงินเท่ากัน มันเป็นเรื่องจริงที่คุณควรตระหนัก เข้าใจ และยอมรับ...

สอนแต่งเพลง เนื้อเพลงที่ดี

เนื้อเพลงที่ดี ต้องเป็นแบบไหน?

หลายครั้งมากๆที่เพลงที่ดีมักจะมีเนื้อเพลงที่ถ่ายทอดอารมย์ได้ออกมาถึงเนื้อถึงใจเรามากๆ แต่หลายคนที่ยังหัดแต่งเพลงอยู่ อาจจะยังไม่รู้ว่าต้องเขียนเนื้อเพลงยังไงให้ดีมันมีหลักการอะไรบ้างที่จะทำให้เพลงของเราโดนใจคนอื่นวันนี้เราจะมาดูกันครับว่าเนื้อเพลงที่ดี ต้องเป็นแบบไหนกันแน่ 1.เนื้อเรื่องต้องดี เนื้อเพลงก็คือเรื่องราวต่างๆ ที่เราแต่งมันเพื่อเล่าผ่านบทเพลง มันคือโอกาสในการเล่าเรื่องหรือความรู้สึกส่วนตัวที่เราอยากถ่ายทอดออกมา แต่เนื้อเพลงที่ดีต้องมีเนื้อเรื่องที่ชัดเจน, เล่ารู้เรื่องเป็นเหตุเป็นผล, มีประเด็นที่น่าสนใจ, เข้าถึงได้ง่าย (ขึ้นอยู่กับแนวเพลงของเรา), ฟังแล้วสนุกหรืออินกับเนื้อเรื่อง, และที่สำคัญ มันต้องให้ความรู้สึกที่ใครๆก็ต้องเจอ หรือเรียกๆง่ายว่ามันคือเหตุการณ์บางอย่างที่คนทั่วไปเคยผ่านมาแล้วในชีวิต แต่เราใช้คำพูดขยี้ความรู้สึกให้ลึกซึ้งขึ้นไปอีก ทำให้ทุกคนรู้สึกแบบเดียวกันว่า “เออว่ะ จริง”แค่ทำให้โดนใจคนจนพูดคำนี้ออกมาได้ระหว่างที่ฟัง ก็ประสบความสำเร็จในระดับนึงแล้วครับ 2.ลื่นไหล น่าฟัง นอกจากเนื้อเรื่องต้องดี การใช้คำในเนื้อเพลงต้องให้ความรู้สึกที่ลื่นไหลด้วยมีการเล่นคำ, เข้ากับเมโลดี้ในเพลง, มีการใช้ภาษาที่ถูกต้อง, ไม่ใช้คำศัพท์ที่คนทั่วไปฟังไม่รู้เรื่อง จริงอยู่ที่บางครั้งมีหลายๆเพลงชอบใช้คำบางคำที่ฟังดูแล้ว คนฟังไม่เข้าใจ แต่มันเข้ากับเพลงได้ดี อันนี้ผมไม่ว่าอะไรนะครับ ถ้ามันแมสกับเพลง ผมสนับสนุนให้ใช้ได้เลย แต่อย่าใช้เยอะเกินความจำเป็น จนทำให้คนไม่อินกับเพลงของเราเลยอย่าลืมว่าเราแต่งให้คนอยากร้องเพลง ไม่ใช่แต่งให้คนรำคาญเพลงเรานะครับ 3.ติดหู (CATCHY)...

เรียนทำเพลง รู้ทฤษฏีดนตรีให้ผลอย่างไร

การรู้ทฤษฎีดนตรีให้ผลอย่างไรต่อการทำเพลง

หลายๆคนที่ยังเป็นมือใหม่ ยังจับต้นชนปลายไม่ถูกแล้วไม่รู้ว่าทฤษดนตรีมีผลยังไงกับการทำเพลงกันแน่ บางคนก็ออกอาการต่อต้านไปเลยว่า “ไม่จำเป็นต้องรู้หรอก ศิลปินหลายคนที่เก่งๆ ยังไม่รู้เรื่องทฤษฏีดนตรีเลย” ซึ่งมันก็ไม่จริงซะทีเดียวครับ จริงอยู่ที่บางคนเขามีพรสวรรค์ หรือหูเทพ เขาก็ทำเพลงเจ๋งๆออกมาได้ แต่นักร้อง นักดนตรี หรือศิลปินหลายๆคนที่เราเห็นกัน ถ้าไปดูเบื้องหลังเราจะรู้ได้เลยครับว่าเขาก็มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องทฤษฏีดนตรีอยู่ แค่พวกเขาเข้าใจในแบบฉบับของพวกเขากัน แล้วพอนานๆเข้า ก็จะถึงจุดตันและไม่รู้จะทำยังไงต่อ อ้าว แล้วถ้าตันต้องจะทำยังไงดีล่ะ?ก็เรียนทฤษฏีดนตรีเพิ่มเพื่อรู้ว่าเราสามารถต่อยอดได้ยังไงบ้างนั่นแหละครับ การรู้และเข้าใจทฤษฎีดนตรี เป็นเรื่องที่คนเล่นดนตรีทุกคนควรศึกษาทฤษฎีดนตรีเป็นตัวช่วยให้ทำเพลงง่ายขึ้น เป็นกรอบหรือแนวทางให้เราเกาะไปได้ ทำให้การทำเพลงมีทิศทาง มีรูปแบบ และทำให้เพลงมีช่องในการใส่ความสร้างสรรค์ได้ง่ายขึ้นเรียกว่ามันคือเครื่องมือและความรู้ที่จะช่วยให้ชีวิตคนทำเพลงแบบพวกเราง่ายขึ้น เราไม่จำเป็นต้องรู้ทั้งหมดก็ได้ แค่รู้ในสิ่งที่เราอยากรู้ก็พอ แต่มันก็ไม่มีเหตุผลอะไรเลยที่จะต่อต้านมันเลย มีแต่ได้ประโยชน์กับตัวเราทั้งนั้นครับ ทฤษฎีดนตรีให้ผลอย่างไรบ้าง 1.มันจะช่วยให้เพลงของคุณทำได้ง่ายขึ้น ง่ายขึ้น เร็วขึ้น มีไอเดียและน่าสนใจมากขึ้น ทำให้เรารู้ลู่ทางว่าต้องไปทางไหนต่อ ต้องทำยังไงต่อ และต้องใส่คอร์ด เมโลดี้ โน้ต หรือลูกเล่นแบบไหนดีให้เพลงของเราดีขึ้น...

สอนทำเพลง พรสวรรค์ทางดนตรี

ความคลั่งไคล้ดนตรีคือพรสวรรค์อย่างหนึ่ง ถ้ารู้จักใช้ให้ถูกทาง

ความเข้าใจผิดของคนส่วนมาก เวลาเห็นคนที่เก่งดนตรี แล้วบอกว่า ดีจังนะ มีพรสวรรค์ ที่จริงในใจนักดนตรีคนนั้นอาจจะบอกว่า… ไม่ใช่ครับ ผมแค่ฝึกมา… หลายคนอาจจะเคยคิดว่าคนที่จะเก่งดนตรีได้ต้องเกิดจากพรสวรรค์ คนไม่มีพรสวรรค์คงทำไม่ได้ ซึ่งเท่าที่ผมเห็นว่า ก็ถูกส่วนหนึ่งครับ แต่ผมก็เคยเห็นคนอีกไม่น้อยที่ไม่ได้เก่งด้วยพรสวรรค์ ยิ่งคนเก่งที่อยู่ในระดับฝีมือสูงๆด้วยแล้ว ยิ่งไม่ใช่เข้าไปใหญ่ แต่มันเกิดจากชั่วโมงบินของการฝึกฝนของเขาซะ 80-90% เลย พรสวรรค์จริงอยู่ว่ามีผลอยู่ พรสวรรค์อาจทำให้คุณจับจุดได้ถูกต้องได้ไวกว่าคนอื่น แต่ดนตรีนั้นเป็นศาสตร์ที่ต้องการเวลาฝึกฝนจำนวนมาก มาก และมากมายจริงๆ กว่าจะเก่ง และมันมากจนถึงจุดที่ว่า คนที่เก่งด้วยพรสวรรค์แต่ไม่ได้ฝึกฝนอย่างถูกต้อง นั้นไม่สามารถเทียบชั้นคนที่ฝึกฝนมาอย่างยาวนานได้เลย (แต่ถ้าจะเทียบระหว่างคนที่ฝึกเท่าๆกัน ระหว่างคนมีพรสวรรค์กับไม่มี นั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งนะ) สิ่งที่มีผลต่อความเก่งส่วนมากจริงๆแล้วสำหรับดนตรี มันคือ พรแสวง ต่างหาก แต่แท้จริงแล้ว เราสามารถบอกได้ว่า คนที่ “อดทนฝึกฝน” ได้มากกว่า คือคนที่มีโอกาสไปได้ไกลกว่า...

Music Arranging เรียนทำเพลง

Music Arranging สำคัญไม่แพ้การ Mix , Master ระวังอย่าโฟกัสผิดจุด

มีผู้เรียนทำเพลงมือใหม่มากมายที่มาปรึกษาผม และผมพบปัญหาอย่างหนึ่งอยู่บ่อยๆ คือ เค้าบอกว่าอยากทำเพลงที่ดีกว่านี้ได้ อยากเรียน Mix ขั้นสูง แต่พอลองให้เค้าส่งเพลงมาให้ฟัง ผมพบว่า เพลงเค้าก็ไม่ได้มิกซ์แย่นี่ เลยพยายามถามให้ลึกเข้าไปอีก ว่าอยากพัฒนาเรื่องอะไรกันแน่ สรุปใจความได้ว่าเค้าอยากทำให้ “ไลน์ดนตรี” มันฟังดูดีกว่านี้ ผมเลยพอมาเข้าใจแล้วว่า ที่จริงแล้วสิ่งที่เค้า หรือคนส่วนใหญ่ส่วนหนึ่งที่มาปรึกษานั้นต้องการพัฒนา มันไม่ใช่การมิกซ์ แต่มันคือ “Music Arranging หรือ การเรียบเรียงดนตรี” นั่นเอง เพียงแต่เค้าไม่รู้ว่ามันต้องใช้คำว่าอะไร ปัญหาส่วนใหญ่ที่ผมเจออีกอย่างคือ ผู้ที่เรียนรู้ด้วยตัวเองมา โดยไม่ได้เรียนตามระบบแบบแผน มักจะไม่เข้าใจศัพท์ต่างๆของแต่ละกระบวนการ ว่าส่วนไหนเรียกว่าอะไร และทำให้เวลาไปต้องการจะไปหาเรียนเสริมความรู้ ไปผิดทาง หรือไปเรียนสิ่งที่ไม่ได้ตรงกับความต้องการของตัวเองจริงๆ หลายๆคนที่อยากทำดนตรีเพราะต้องการ design ดนตรี หรือเป็นนักออกแบบตัวดนตรี ทำดนตรีแบบที่คิดที่ชอบให้ได้ ซึ่งการจะทำแบบนั้นได้...

เรียน การตลาดดนตรี music marketing ทางรอด

ทำไม การตลาดคือ ยาขมและทางรอด ของคนดนตรี

การตลาดเป็นสิ่งที่ช่วยให้สินค้าหรือบริการขายได้ ทำให้เกิดรายได้มากขึ้นและนำไปสู่กำไรและความร่ำรวยได้เลย ถ้าทำแล้วประสบความสำเร็จ ซึ่งสิ่งที่การตลาดเข้ามาช่วยได้ ก็คือการขายสินค้าหรือบริการทุกๆอย่าง แน่นอนว่า ดนตรีก็เช่นกัน ไม่ว่าคุณจะทำอะไรเกี่ยวกับดนตรีอยู่ เป็นนักดนตรี นักทำเพลง นักแต่งเพลง Producer , Sound Engineer , ศิลปิน หรือทำกิจการอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับดนตรี แน่นอนว่าส่วนใหญ่แล้วมันมาจากความรัก ความชอบในดนตรีนำมาทั้งนั้น แต่คนดนตรีหลายๆคน เมื่อพูดถึงการตลาด อาจจะรู้สึกว่าตัวเองอยู่คนละโลกกับมัน ไม่ประสีประสา หรือเป็นเรื่องที่ไม่ชอบ ไม่อยากยุ่งกับมัน ซึ่งเป็นเรื่องปกติครับ เพราะผมเองก็เคยเป็นอย่างนั้นมาก่อน การตลาดเหมือนยาขมของคนดนตรี เราอาจเคยคิดว่า เรามาสายดนตรี ไม่ชอบเรื่องตัวเลข ไม่ชอบเรื่องการขาย การวางแผนการตลาดต่างๆที่น่าปวดหัว และไม่ตรงกับความชอบของเรา เรื่องพวกนั้นปล่อยให้คนที่เค้าไปสายนั้นทำไปดีกว่า ถูกไหมครับ แต่ปัญหาก็คือว่า พอเรายิ่งโตขึ้นๆ เราก็จะเริ่มค้นพบเองว่า...

เรียนทำเพลง filmscore

อยากเป็นนักทำดนตรีประกอบ หรือ Film Score ควรเรียนอะไรบ้าง?

การทำดนตรีประกอบภาพยนตร์ หรือดนตรีประกอบสื่อ อาทิ Animation , ภาพเคลื่อนไหว , โฆษณา ต่างๆ เป็นอาชีพหนึ่งที่ทำรายได้ให้กับคนทำเพลง หรือนักดนตรี ซึ่งบางคนอาจยึดเป็นอาชีพเสริม จากการเป็นศิลปิน หรือนักดนตรี หรือบางคนก็อาจจะทำเป็นอาชีพหลักเลย โดยกว่าจะเป็นได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะนอกจากจะต้องมีความเชี่ยวชาญในดนตรีที่แตกฉานแล้ว ยังต้องทำการประยุกต์เอาความรู้ทางดนตรีนั้นมาใช้งานกับสื่อประเภทภาพเคลื่อนไหวอีกด้วย โดยมันเป็นเครื่องมือสำคัญของการเล่าเรื่องด้วยภาพเคลื่อนไหว ที่จะทำให้เกิดการขับเคลื่อนทางอารมณ์ ตามการกำกับและจุดประสงค์ของฉากนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มให้ภาพนั้นๆ “มีชีวิต” ขึ้นมาได้อย่างมาก หนทางที่จะไปสู่เส้นทางนี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมันแทบจะอยุ่ปลายสายของการทำดนตรี แน่นอนว่าคุณสามารถเริ่มทำได้เลยตั้งแต่ยังไม่เก่งก็จริง แต่ไม่แนะนำ เพราะคุณจะมีวัตถุดิบให้เลือกใช้อยู่ในมือน้อยเกินไป และเมื่อเจอโจทย์ภาพที่ต้องใช้ความรู้ทางดนตรีที่อยู่นอกเหนือความเข้าใจของคุณ จะเกิดอาการตันเอาได้ง่ายๆ และไม่สามารถเนรมิตงานที่ดี หรือตรงตามโจทย์ของผู้กำกับหรือลูกค้าได้อย่างที่ใจคิด และเมื่อคุณไม่เก่ง งานออกมาไม่ดี ลูกค้าบอกต่อกัน อยู่ได้ไม่นาน คุณก็ต้องออกจากวงการแล้ว...

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.