Author: Nattha Raviratanan

การตลาดผ่านเสียงดนตรีที่ชวนจดจำ

เมื่อเราลองนึกย้อนไปในสมัยเด็กช่วงที่เรานั่งดูการ์ตูนทางทีวีผ่านช่องต่างๆ สิ่งที่ขัดใจมากที่สุดเวลานั่งดูคือช่วงที่การ์ตูนเหล่านั้นตัดเข้าโฆษณา แต่ไม่รู้ทำไมพอย้อนกลับมาตอนนี้กลับคิดถึงเพลงโฆษณาเหล่านั้นเหลือเกินไม่ว่าจะ ปูไทย, เซี่ยงไฮ้, ขนมตราไก่ย่าง หรือแลคตาซอย เรียกได้ว่าแค่เห็นชื่อเหล่าขนมเหล่านี้ ก็ได้ยินเพลงออกมาเป็นทำนองจนร้องออกมาได้โดยที่แทบไม่ต้องนึก แม้โฆษณาเหล่านั้นจะผ่านเวลามานานแล้วก็ตาม ซึ่งสิ่งข้างต้นที่ว่ามามันก็คือการใช้ Music Marketing นั่นเองเพียงแต่ในยุคนั้นคำคำนี้อาจจะไม่ได้เรียกกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งในปัจจุบันการทำ Music Marketing ก็ยังคงมีออกมาเรื่อยๆและหลายๆครั้งก็สร้างความน่าจดจำได้ไม่น้อยตัวอย่างเช่น Shopee ที่นำทำนองเพลงฮิตติดหูอย่าง Baby Shark มาใช้ แล้วแต่งเนื้อใส่ไปในเพลงเพื่อนำเสนอจุดขายของแบรนด์เข้าไปเพิ่มอย่าง “ในช้อปปี้ ๆๆๆๆ เสื้อผ้าดี ๆๆๆๆ ทุกอย่างมี ๆๆๆๆ ที่ช้อปปี้” เพียงแค่ได้ยินเสียงดนตรี ก็ทำให้ทุกคนนึกถึงแบรนด์ Shopee ทันที ยังไม่นับที่เอาซุปเปอร์สตาร์ลูกหนังชาวโปรตุเกส อย่าง คริสเตียโน่ โรนัลโด้ มาเต้นอีกนะ...

3 เทคนิคสำคัญ ทำเพลงประกอบเกมส์

การแต่งเพลงประกอบเกมส์ แน่นอนว่าพูดถึงเรื่องการแต่งเพลงสิ่งแรกที่คุณต้องทำเป็นคือการแต่งเพลง คุณอาจจะไม่จำเป็นต้องเล่นเกมเก่งคุณก็อาจจะสามารถแต่งเพลงประกอบเกมส์ที่ดีก็ได้ ส่วนถ้าคุณยังคิดไม่ออกว่าควรจะแต่งเพลงประกอบเกมหนึ่งเกมส์นั้นควรจะมีทิศทางอย่างไร เราจะมาแบ่งปันเทคนิคกัน วันนี้ผมขอแบ่งออกเป็น 3 หัวข้อหลักๆสำคัญในการทำเพลงประกอบเกมส์ อย่างแรกคือ ความเข้าใจ ก่อนอื่นคุณต้องรู้ก่อนว่าเกมที่คุณจะแต่งเพลงประกอบให้เป็นเกมส์แนวไหนเกี่ยวกับอะไร หรือทำให้ใครเล่น สิ่งที่สำคัญคือ ความรู้ความเข้าใจในตัวเกมที่เราต้องแต่งเพลงประกอบ ลองดูไปที่ตัวเกมส์ว่ามันมีองค์ประกอบอะไรให้เรานำมาเล่นเป็นกิมมิคในงานเพลงได้บ้าง อย่างsettingของเกมมันอยู่ในช่วงยุคเวลาไหนหรือตั้งอยู่ที่ประเทศอะไร อย่างตะวันออกกลางยุคสมัยโบราณ บางทีคุณอาจจะลองใช้เรื่องmode เข้ามาสร้างสีสันและเพิ่มบรรยากาศให้ผู้เล่นได้รับประสบการณ์ที่ดีมากขึ้น ต่อมาพูดถึงไอเดียหรือ ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดสร้างสารรค์ไม่ใช่การสร้างเมโลดี้หรือทางคอร์ดเจ๋งๆอย่างเดียว บางทีมันก็อาจจะเกี่ยวกับการตีความ อย่างการเลือกใช้แนวดนตรีในการทำเพลงประกอบ มันไม่จำเป็นว่าเกมสักแนวหนึ่งต้องคู่กับเพลงแนวหนึ่งเสมอไป ถ้ามันเป็นเกมแนวแอคชั่นมันก็ไม่ได้จำเป็นว่าจะต้องใช้ดนตรีแนวร็อคหรือEDM อย่างเดียว มันขึ้นอยู่กับไอเดียและการตีโจทย์ว่าเกมในขณะนั้นต้องการกระตุ้นอารมณ์ของผู้เล่นไปในทิศทางไหน และก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะสามารถนำพาผู้เล่นไปได้ไกลมากน้อยแค่ไหน อย่างสุดท้ายคือ ความน่าจดจำ บอกได้เลยว่าถ้าเราไปศึกษาส่วนประกอบเกมที่ประสบความสำเร็จแทบทุกเกมนั้นมีจุดร่วมกันอยู่อย่างหนึ่ง คือมันมีสิ่งที่น่าจดจำ เราอาจจะกำลังพูดถึง งานออกแบบภาพ กราฟฟิค เกมเพลย์ เนื้อเรื้องที่ทำให้ผู้เล่นอิน หรือซีนต่างๆที่ผู้เล่นสามารถจำมันได้ แต่ถ้าเราพูดถึงงานดนตรี...

12 เทคนิคทำเพลงประกอบภาพยนตร์อย่างมืออาชีพ

ไม่ว่าหนังสักเรื่องหนึ่งจะมาจากคนทำหนังมืออาชีพหรือมือสมัครเล่น ไม่ว่ามันจะเป็นหนังสั้น 12 นาทีหรือยาวสองชั่วโมง องค์ประกอบหนึ่งที่จะขาดไม่ได้เลยคือดนตรีประกอบ ซึ่งเทคนิคการทำเพลงดนตรีประกอบภาพยนตร์ ส่วนใหญ่จะเป็นการ ครูพัก ลักจำ ส่งต่อกันมาเป็นรุ่นสู่รุ่นเสียมากกว่า ซึ่งในวันนี้เราก็มีเทคนิคเล็กๆน้อยๆมาแบ่งปันกัน สิ่งแรกก่อนที่เราจะเริ่มสร้างงานของเราได้นั้นก็ต้องมีการพูดคุยกับผู้กำกับหรือผู้นำไอเดียเสียก่อน เพื่อที่เราจะได้เข้าใจในภาพรวมของงานที่กำลังจะเริ่มต้นขึ้น และวางแผนนำไอเดียมากมายในหัวนำมาควบแน่นกลายเป็นผลงานที่ยอดเยี่ยม ซึ่งเทคนิคแรกที่เราจะพูดถึงเลยนั่นก็คือ 1.หลีกเลี่ยงศัพท์เทคนิค เวลาบรีฟงาน หน้าที่ของเราคือตามการนำของผู้กำกับและสร้างดนตรีออกมาด้วยกัน ถ้าเราไปนั่งคุยศัพท์เทคนิคเยอะแยะหรือเอาแต่พูดถึงเรื่องดนตรี เราอาจจะพลาดข้อมูลสำคัญและความตั้งใจของผู้กำกับในการทำหนังเรื่องนั้นๆ ได้ ตั้งแต่ได้รับงานลองเข้าไปคุยกับผู้กำกับก่อนตั้งแต่เนิ่นๆ แบบพูดคุยเล่น ไม่ต้องมีเรื่องดนตรีเข้ามาเกี่ยวก็ได้ แล้วอาศัยบทสนทนาจากการพูดคุยนั้น มาช่วยกำหนดทิศทางว่าดนตรีของหนังเรื่องนั้นจะออกมาในรูปแบบไหนและความตั้งใจของผู้กำกับจริงๆแล้วคืออะไร พยายามหลีกเลี่ยง “reality conversation” เพราะมันจะมาทำลายความคิดสร้างสรรค์ของเราหมด ปล่อยหน้าที่นั้นให้เป็นของโปรดิวเซอร์แทน 2.เล่าเรื่อง ในหน้าที่ของคนทำเพลงภาพยนตร์หัวใจหลักคือการเล่าเรื่อง เพราะฉะนั้นให้ยึดมั่นกับเรื่องเล่านั้นๆ ห้ามปล่อยมันเด็ดขาด ให้เขียนเพลง และ พัฒนา (Develop) สกอร์ไปพร้อมๆกับภาพ...

3 เทคนิคการทำเพลง เพื่อเพิ่มยอดขาย

เมื่อเราลองนึกถึงการที่จะทำโฆษณาสักตัวหนึ่งให้ออกมาดีมันต้องมีส่วนประกอบอะไรบ้าง? มันก็อาจจะต้องดีตั้งแต่แรกเริ่มเลยจากคอนเซ็ปต์เนื้อหา การถ่ายทำ โทนสีของภาพ ลำดับการตัดต่อและอื่นๆอีกมากมาย แต่ทุกคนก็อาจจะลืมไปว่าเสียงเพลงประกอบก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่จะทำให้โฆษณานั้นดูน่าสนใจมากขึ้น แต่เพลงประกอบบนโลกใบนี้มีอยู่อีกไม่รู้กี่แบบ กี่ประเภท ควรจะเลือกใช้ยังไงให้เหมาะกับงานแต่ละชิ้น มาดูกันว่าเราจะลองแยกประเภทยังไงได้บ้าง ……….อย่างแรกคือ การเข้าใจคอนเซ็ปต์ที่ต้องการสื่อ ไม่ว่าเราจะทำอะไรสักอย่างก็ตาม เราควรจะต้องมีการวางแผนที่แน่นอนว่าเพลงประกอบไปใส่ในวิดีโอนั้นเป็นประเภทไหน อาจจะเป็นวิดีโอการให้ความรู้และตอบคำถาม, โปรโมทผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีรายละเอียดยิบย่อยมากมาย หรืออาจจะเป็นวิดีโอเพื่อสร้างความสนุกอย่างคลิปท่องเที่ยว คลิปรีวิวอาหาร ต่อมาคือ การกำหนด Mood&Tone ให้ชัดเจน เมื่อเราเข้าใจคอนเซ็ปต์แล้วต้องหาแนวทางในการนำเสนอ เพราะแต่ละเพลงสามารถกำหนดอารมณ์ของผู้ฟังได้แต่เริ่มเลยทีเดียว เช่นการทำโฆษณาท่องเที่ยวก็อาจใช้เพลงที่ให้ความสนุกได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นเพลงหนักๆ สำหรับการท่องเที่ยวสายลุย, เพลงสบายๆ สำหรับอยู่ริมทะเล หรือจะเป็นเพลงเหงาๆ สำหรับช่วงการเดินทาง ลองศึกษาจากภาพยนตร์หรืองานโฆษณาตัวอื่นๆดูบ้าง การที่มีคลังเพลงอยู่ในหัวมากๆถือเป็นเรื่องที่ดี มันสามารถทำให้เราสามารถสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ และเห็นภาพของสิ่งที่เราต้องการจะสื่อออกมาได้ชัดเจนมากขึ้น แต่ต้องไม่ใช่การลอกผลงานของเขามาทั้งหมด เพลงที่ดังอาจจะไม่ดีเท่าเพลงที่ไม่ซ้ำใคร หลายๆคนอาจจะมีเพลงที่ชื่นชอบมากๆ และรู้สึกว่าเพลงที่เราจะนำไปใส่ในงานต้องใช้เพลงนี้เท่านั้นสำหรับโฆษณาตัวนี้ แต่ต้องอย่าลืมสังเกตุตลาดด้วยว่าเพลงนี้ถูกใช้ไปแล้วหรือยังหรือมีแบรนด์ไหนใช้เพลงเหล่านั้นไปแล้วบ้าง...

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.