เรียนดนตรี 3 องค์ประกอบเสียง

รู้จักกับ 3 องค์ประกอบ Sound ในภาพยนต์

Share via:

Krissaka Tankritwong

ในโลกภาพยนต์ จะมี 3 เสียงหลักๆ ที่เป็นส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้ แต่ละองค์ประกอบจะมีหน้าที่ในแบบของมัน และมี 4 กระบวนการในการทำ กว่าจะมาเป็นหนังให้เราได้ดูกัน แต่หลายๆคนอาจยังไม่รู้ว่าแต่ละองค์ประกอบมันมีอะไรบ้าง และต้องมีทักษะด้านไหนถึงจะทำได้ ซึ่งจะมีอะไรบ้าง เดี๋ยวเรามาดูกันครับ

1. Dialogue เสียงพากย์

ช่วงที่กำลังถ่ายทำกันอยู่ จะมีคนๆนึงถือไมค์ Boom หรือก็คือไม้ยาวๆที่อยู่เหนือหัวนักแสดง เพื่อที่จะจับเสียงพูด

บางครั้งถ้าหากไม่เจอปัญหา เช่น เสียงแทรก, เสียง Noise, หรือเสียงอื่นที่รบกวนการถ่ายทำ ก็ไม่จำเป็นต้องมีการแก้ไขอะไรเยอะ และสามารถใช้เสียงนักแสดงเอาเข้าในหนังได้เลย
แต่ถ้าหากมีเสียงรบกวนที่ว่ามา จนกลบเสียงนักแสดง ก็จะมีการอัดเสียงพากย์แก้เข้าไป ซึ่งก็จะใช้นักแสดงคนเดียวมาเข้าห้องอัด และพูดตามปากที่ได้แสดงเอาไว้

2. ดนตรีประกอบ

เสียงดนตรีๆประกอบหนัง หรือก็คือ Film Score เสียงนี้จะขาดไปไม่ได้เลยเพราะมันคือการเพิ่มอรรถรสในหนัง ช่วยให้เรารู้สึกถึงความตื่นเต้น และอารมย์ต่างๆที่หนังต้องการสื่อ ซึ่งการจะมาทำ Film Score ได้ก็ต้องเรียนและผ่านประสบการณ์มาได้ระดับมหาวิทยาลัย เพราะสายนี้จำเป็นต้องมีวิชาความรู้หลายแขนง เพื่อที่จะทำเพลงให้ตรงโจทย์ของผู้กำกับได้ และถือเป็นอาชีพทำเพลงที่ใช้เวลาทำนานอีกด้วย ตัวหนังใช้เวลาดู 2 ชั่วโมง แต่เวลาทำเพลงอาจใช้เวลามากถึง 2 สัปดาห์ หรือ 6 เดือน หรืออาจจะมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญและความยากในการทำด้วย

3. Sound อื่นๆ

Sound อื่นๆที่ว่าก็คือพวก Foley หรือเสียงที่ไม่สามารถหาได้ในธรรมชาติ เช่น เสียงหุ่นยนต์คุยกัน, เสียงมังกรคำราม เป็นต้น

Foley ก็คือเสียงประกอบต่างๆรอบตัวเรา เช่น เสียงลม, เสียงรถ, เสียงฝน ส่วนใหญ่แล้ว เสียงเหล่านี้จะถูกออกแบบขึ้นมาใหม่เพื่อใช้กับตัวหนัง เพราะเวลาที่ถ่ายทำเราจะโฟกัสที่เสียงนักแสดงพูดเท่านั้น เสียงอื่นๆจะถูกตัดทิ้ง แต่ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้กำกับว่าอยากได้แบบไหน พอถ่ายทำเสร็จ เสียง Foley ก็จะเป็นหน้าที่ของ Sound Designer ที่จะมีหน้าที่ปรุงแต่งเสียงต่างๆขึ้นมาใน Studio ของพวกเขา เช่น เวลาที่จะทำเสียงม้าวิ่ง ก็จะใช้เกือกม้าเคาะกับดินที่เตรียมเอาไว้ในกล่อง หรือใช้เสียงรองเท้าเคาะกับไม้ ก็ทำได้เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความสร้างสรรค์ของ Sound Designer

นอกจากนี้ Sound Designer ยังมีหน้าที่เนรมิตเสียงที่ไม่มีอยู่จริงบนโลก เช่นเสียงมังกร ก็ใช้เสียงของสิงโตที่ไปอัดมา ประกอบกับเสียงของช้าง หรือเสียงสัตว์ต่างๆ เพื่อให้ได้เป็นเสียงมังกร

หรือเสียงหุ่นยนต์คุยกัน ก็ใช้เสียงจากอุปกรณ์ต่างๆรอบตัว เช่น เสียงของรถ เสียงเครื่องกดน้ำ เสียงรถโฟล์คลิฟท์ มาประกอบ และ Edit ตำแหน่งการพูดให้ตรงกับปาก จนกลายเป็นเสียงหุ่นยนต์

4. Final Cut

หลายคนอาจจะงงว่า “เอ๋ มี 3 องค์ประกอบ แต่ทำไมถึงมีข้อที่ 4 ด้วย?” จริงๆเข้าใจถูกแล้วครับ

เพียงแต่ข้อที่ 4 จะเป็นกระบวนการสุดท้ายของการทำหนังเกี่ยวกับเรื่องเสียง นั่นคือการ Final Cut

ใน 3 ข้อแรก คือการทำเสียงต่างๆ เพื่อให้งานเสร็จตามหน้าที่ของแต่ละคน แต่ขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นหน้าที่ของ Sound Engineer ที่ต้องจัดเรียงเสียงต่างๆ ให้สามารถเอาเข้ามาใช้งานในหนังได้จริงๆ เช่น การ Mixing เพื่อเพิ่มอรรถรสให้กับคนดู หรือการแก้ปัญหาต่างๆ เพื่อให้เสียงทุกอันเข้ากันอย่างลงตัว ไปจนถึงการพยายามทำให้เสียงทุกตัวสามารถรองรับ 5.1 และระบบเสียงต่างๆ เช่น การจัดตำแหน่งเสียงเพื่อให้คนดูรู้สึกรอบด้าน, หรือการพยายาม Mix เพื่อรองรับ Dolby Atoms และระบบเสียง Surround ต่างๆ เรียกว่าขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นขั้นตอนที่เยอะและระเอียดที่สุด ดังนั้นการจะมาเป็น Sound Engineer ในสายภาพยนต์ได้ ต้องมีความสามารถและความรู้ที่สูงเช่นเดียวกัน


The Real Producer
REAL / DEEP / EXCLUSIVE

หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream

เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง
นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ

หลักสูตร The Real Producer
เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล
สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link
http://mkt.verycatsound.academy/mf2

——————

Contact

Line ID :

– เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
– เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound

Tel. : 0856662425
Website : verycatsound.com
FB : http://www.facebook.com/verycatsound
YT : http://www.youtube.com/c/verycatsound

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.