มีหลายเคสที่ผมได้ให้คำปรึกษาไปมากมาย จากคนที่มาขอรับคำปรึกษาเรื่องการเรียนทำเพลง มาเป็นเวลาหลายปี และหนึ่งในปัญหาที่มือใหม่หลายๆคนที่อยากเป็น Producer , นักแต่งเพลง , Composer อยากทำเพลงทั้งหลาย มักจะประสบกันบ่อยๆคือการที่อยากเป็นอาชีพพวกนี้ แต่เรียนผิด
ซึ่งก็ไม่แปลกครับ เพราะสมัยก่อนตอนเด็กๆ ก่อนที่ผมจะมาก้าวมาบนเส้นทางโปรดิวเซอร์แบบเต็มตัว ก็เคยเรียนผิดมาก่อน เรียนสะเปะสะปะไปหมดเช่นกัน
โพสต์นี้คือการรวมความเข้าใจผิดที่พบเห็นได้บ่อยๆ โดยที่ผู้เรียนคิดว่าการเรียนพวกนี้จะนำไปสู่การเป็น Producer ได้ในอนาคต ซึ่งที่จริงมันไม่ใช่เลย
ดีเจ หรือ Disc Jokey ผู้มีหน้าที่เปิดแผ่น เปิดเพลง ให้ความบันเทิงแก่ผู้คน โดยมากมักเป็นตามสถานที่ท่องเที่ยวยามราตรี และบางทีก็ไม่ใช่แค่เปิดเพลงเฉยๆ แต่มีการเพิ่มลูกเล่นให้เกิดสีสันต่างๆที่ตื่นเต้นเร้าใจมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการ Scratch แผ่น , การทำ Beat Mixing , การเล่นเสียง Sampling หรือการเล่น Effect ต่างๆ ซึ่งต่อให้จะเพิ่มอะไรลงไปในยังไง ทั้งหมดนี้มันไม่ใช่การสร้างเพลงขึ้นมาใหม่ แต่มันคือการเอาสิ่งที่มีอยู่แล้ว หรือจากแผ่นเพลงของศิลปินที่มีอยู่แล้ว มายำกันด้วยความคิดสร้างสรรค์แบบต่างๆ
เรื่องเข้าใจผิดที่พบเห็นได้บ่อย คือ บางคนที่อยากเป็นศิลปินแนว Electronic , EDM , House จำพวกนี้ เข้าใจไปเองว่า การเป็น DJ จะทำให้สามารถทำเพลงแนวพวกนี้ได้ ทั้งๆที่มันเป็นคนละเรื่องกันเลย อาจเป็นเพราะว่า ศิลปินแนวนี้ที่ดังๆหลายคน ใช้ชื่อศิลปินโดยมีคำว่า DJ นำหน้า โดยเป็นการประกาศสถานะตัวเองไปในตัวว่า ตัวเองเป็นทั้งดีเจ และเป็นทั้ง Producer Artist ในตัวเอง คือเปิดเพลงด้วย และทำเพลงของตัวเองด้วย
แน่นอนว่า ดีเจที่เป็นศิลปินทำเพลงด้วย ไม่ใช่แค่เรียนดีเจหรือเปิดเพลงเป็นอย่างเดียว แต่ต้องการจากการที่เค้าได้ศึกษาการทำเพลง หรือ Music Production มาด้วย จะมากจะน้อยเท่าไร แต่ก็ต้องศึกษามา ไม่งั้นไม่มีทางทำได้แน่ๆครับ
อีกคำที่ปัจจุบันไม่ค่อยเห็นคนใช้กันเท่าไร เป็นคนที่มีภาพลักษณ์สับสนกับ DJ แต่จริงๆแล้ว Remixer คือคนที่นำเพลงเก่าที่มีอยู่แล้ว หรือเพลงของศิลปินคนอื่น มา Remix ใหม่ ให้เกิดเป็นดนตรีใหม่ รสชาติใหม่ แนวใหม่ ขึ้นมา โดยยังใช้ Source เดิมที่มีอยู่มาเป็นส่วนผสม ซึ่งส่วนผสมเดิมกับส่วนผสมใหม่จะเป็นสัดส่วนมากหรือน้อยก็ขึ้นกับแต่ละชิ้นงาน อย่างในบ้านเรา ถ้าเคยได้ยินพวกเพลงที่ถูกนำมารีมิกซ์ใหม่เป็นแนวสามช่าโจ๊ะๆ นั่นแหละครับ มันคือการรีมิกซ์แบบหนึ่ง ซึ่งทำโดย Remixer
ปัจจุบันคนไม่ค่อยรู้ว่า ที่จริงเค้าเรียกว่า Remixer และคนทำ Remix มักจะเป็นดีเจด้วย ก็เลยมักจะเห็นในเครดิตว่า Remix by DJ XXX อะไรแบบนี้ คนก็เลยเข้าใจผิดไปอีกว่า DJ คือเป็น Remixer ด้วย
การเรียน Remixer ที่จริงอาจหาสถาบันหรือผู้สอนได้ โดยมักเป็นการต่อยอดไปอีกสเตปจากการ mix แบบ DJ ปกติ แต่เนื้อหาส่วนมากก็มักจะเป็นการจับเอา source ที่มีอยู่แล้ว อาทิ loop กลอง ไลน์ดนตรี sampling ต่างๆ รวมไปถึง source ดั้งเดิมจากเพลงต้นฉบับ นำมาจัดเรียงใหม่ ใส่ effect เพิ่ม อะไรแบบนั้น ซึ่งก็ไม่ใช่การทำเพลงขึ้นมาใหม่อีกเช่นกัน จริงอยู่ว่า นักทำดนตรีโดยปกติแล้วมักจะทำ Remix ได้ด้วย แต่ Remixer นั้นไม่สามารถทำดนตรีใหม่ขึ้นมาได้ครับ การสร้างหรือสังเคราะห์ใหม่ขึ้นมาไม่ได้ จึงไม่จัดว่าเป็นนักทำเพลง ทำดนตรี หรือ Music Producer
ในโพสต์เก่าๆเราเคยได้พูดถึงอาชีพ Sound Engineer กันไปแล้วว่า ที่จริงแล้วไม่ใช่คนที่ทำกระบวนการออกแบบเพลงหรือดนตรี แต่เป็นคนที่มาคอยเก็บเนี้ยบเรื่องเสียง ให้คุณภาพเสียงออกมาฟังดูดีที่สุด โดยอาจจะรับบรีฟมาจากโปรดิวเซอร์อีกที แต่กระนั้นเองก็มีโปรดิวเซอร์หลายคนที่ทำงานในส่วนนี้ได้ด้วยตัวเองเช่นกัน โดยมันคือส่วนหนึ่งของกระบวนการทำเพลงในขั้นท้ายๆ ซึ่งแม้จะมีบทบาทที่สำคัญ แต่ไม่เท่า Compose , Arranger หรือ Producer ก็ตาม แต่ก็ยังนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ และการเรียนมันสามารถ lead ไปหาการเป็น Music Producer ได้ เมื่อได้เรียนเพิ่มเติมในส่วนอื่นๆ แต่ทั้งหมดนั้นที่ว่าไปมันคือสิ่งที่เรียกว่า Studio Sound Engineer ครับ ทีนี้มันจะมี Sound Engineer อีกแบบ ที่ไม่ได้อยู่ในกระบวนการทำเพลง นั่นคือ Live Sound Engineer
Live Sound Engineer มีหน้าที่ช่วยอำนวยความสะดวกและจัดการในเรื่องระบบเสียงให้ฟังออกมาดูดีที่สุด เพราะที่สุด สมดุลย์ที่สุด จัดการแก้ปัญหาต่างๆ ที่หน้างานแบบ Live สด อาทิเช่น คอนเสิร์ต หรือการแสดงดนตรีสด ตามสถานที่ต่างๆ ไม่ใช่คนที่คอยประจำอยู่ที่ Studio และคอยช่วยเหลือเหล่านักทำเพลงแบบประเภทแรก ฉะนั้นจึงไม่ได้เกี่ยวกับกระบวนการทำเพลง คนที่อยากเป็น Live Sound Engineer จริงๆ ก็มี แต่ต้องแยกให้ออกก่อนว่าเป็นคนละอย่างกับการทำเพลงเป็นโปรดิวเซอร์นะครับ
อาชีพชื่อเท่ห์ๆ ที่มักจะคลุมเครือว่าทำอะไรบ้าง ซึ่งหลายที่อาจนิยามคนละแบบ แต่นิยามที่พบเห็นได้บ่อยที่สุด และเป็นอาชีพที่มีจริง คือ Sound Designer ในฐานะ คนออกแบบหรือสร้างเสียงประกอบต่างๆ ในสื่อ อาทิเช่น คนทำเสียงให้กับภาพยนตร์ นั่นเองครับ โดยมันเป็นศาสตร์เฉพาะของมันที่ไม่ใช่ดนตรี มันอาจมีบางอย่างเกี่ยวข้องกับเรื่องดนตรีกับ Sound Engineer บ้าง แต่โดยเนื้อแท้ของจุดประสงค์หลัก ถือเป็นคนละเรื่องกัน
คนที่มาสายดนตรี หรือ Sound Engineer อาจพบว่าตัวเองทำ Sound Design ได้ด้วย เมื่อได้ศึกษาเพิ่ม เพราะหลักการเรื่องเสียง หรือเทคนิคบางอย่างใช้ด้วยกันได้ ซึ่งไม่แปลกที่จะเห็น Sound Designer หลายคนเป็นคนสายดนตรีหรือสาย Sound Engineer ด้วย แต่ถ้าไม่ได้เป็นคนสายนี้ แล้วไปหาเรียน Sound Design เพียวๆ แล้วคิดว่าจะนำไปสู่การทำเพลงได้ นั่นคือผิดทางอย่างแรงครับ
คำถามคือ แล้วต้องเรียนอะไรถึงตรง?
ดนตรีครับ ตอบง่ายๆซิมเปิ้ลๆ แค่นั้นเลย
ไม่ว่าคุณอยากจะทำเพลงแนวอะไรก็ตาม มันคือดนตรี และมันเป็นศาสตร์ที่ใช้ความเข้าใจแบบเดียวกันหมด คือกลไก หรือ Mechanic ของมันที่คุณต้องเข้าใจ เพื่อจะสามารถสร้างหรือสังเคราะห์มันขึ้นมาใหม่ได้แบบไม่มั่ว ซึ่งไอ้คำว่าดนตรี มันก็อาจจะกว้างไปสำหรับหลายๆคน เอาเป็นว่า มันคือวิชาจำพวก Music Composition , Music Arranging , Music Theory พวกนั้น สิ่งเหล่านี้คือแกนหลักของการทำเพลง หรือทำดนตรีในทุกแนว สมัยก่อนกว่าผมจะเข้าใจว่าไม่จำเป็นต้องเรียนดนตรี ผมก็หลงทางไปเรียนสิ่งที่กล่าวทั้งหมดไปข้างต้น เสียเวลาไปเยอะอยู่ครับ จนสุดท้ายมาเข้าใจได้ว่า ต้องมาเริ่มนับ 1 ที่ตัวโน้ตกันเลย จนต้องเลิกทุกอย่างแล้วมานั่งฝึกตั้งแต่เปียโนพื้นฐานอยู่ดี ถึงมาเป็นโปรดิวเซอร์ทุกวันนี้ได้
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ และช่วยให้ใครหลายคนไม่ต้องหลงทางแบบที่ผมเคยเป็นมานะครับ
ถ้าคุณเคยแต่งเพลงแล้ว แต่รู้สึกว่าติดกรอบ เพราะความรู้ที่มียังไม่มากพอ เราช่วยคุณได้ หลักสูตร The Real Producer “0-100 สู่อาชีพโปรดิวเซอร์” ความรู้แบบ premium
ที่จะทำให้คุณกลายเป็นโปรดิวเซอร์ที่เก่งกาจ ติดต่อที่แอดมินได้
—————————
VERY CAT SOUND
Compose Your Dream
เราไม่ได้สอนให้คุณทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
.
รับ demo คอร์สเรียนฟรี และข้อมูลหลักสูตรเพื่อประกอบการตัดสินใจได้ที่นี่
www.verycatsound.academy/funnel01
ติดต่อจ้างทำเพลง Line @verycatsound
ติดต่อเรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
โทร. 0856662425