4 Part Writing หรือเรียกเป็นภาษาไทยว่า การเรียบเรียงเสียงประสานสี่แนว เป็นวิชาที่ว่าด้วยการเรียบเรียงดนตรีอย่างละเอียด โดยเน้นการเข้าใจความสัมพันธ์ของตัวโน้ตในแนวตั้ง
ซึ่งฟังดูคล้ายกับการเรียนเรื่อง Harmony หรือเสียงประสาน เพียงแต่เป็นการโฟกัสที่ “ความสัมพันธ์ของโน้ตแต่ละตัวในห้องนั้นๆ” ที่ประสานกันเป็นคอร์ด มันเป็นเหมือนการเจาะลึกไปจัดระเบียบการเรียงตัวของตัวโน้ตแต่ละตัวใหม่ให้มีความสวยงามแม้จะมองในแนวนอน ในไลน์ของเครื่องดนตรีนั้นๆชิ้นเดียว และมีความสอดคล้องสอดประสานเมื่อมองในแนวตั้ง ในไลน์ของทุกเครื่องที่สอดประสานกัน
โดยปกติแล้วการศึกษาเรื่องการเขียนไลน์ประสานสี่แนว จะพาเราไปพบกับไลน์ทั้งสี่ที่มีชื่อเรียกว่า “Soprano , Alto , Tenor , Bass” ฟังดูคุ้นๆใช่ไหมล่ะครับ ใช่แล้วครับ มันเหมือนในการเรียบเรียง
ของวงดนตรีร้องประสานเสียงนั่นเอง นั่นคือตัวอย่างที่ง่ายที่สุดที่นำวิชา 4 Part Writing ไปใช้ ส่วนตัวอย่างอื่นก็เช่น การเรียบเรียงเครื่องสาย เครื่องเป่าต่างๆ ที่มีจำนวนมากให้ออกมาฟังดูไพเราะ ลื่นหู และไม่ตีกัน โดยส่วนมากใช้ในวงออร์เคสตรา
ถ้า Harmony คือการเข้าใจท่าใหม่ๆของเสียงประสาน เพิ่มพูนความไม่สิ้นสุดของความเป็นไปได้ในสำเนียงดนตรี
4 Part Writing ก็คือการจัดระเบียบตัวโน้ตข้างในของมันทั้งหมดนั่นแหละครับ
#ทำไมนักทำเพลง ควรเรียน 4 Part Wriing? มันให้ประโยชน์อะไร
หลายคนคงสงสัยว่า นอกจากประโยชน์ทางตรง คือเอาไว้เรียบเรียงเครื่องสาย เครื่องเป่าต่างๆ หรือวงร้องประสานเสียงแล้ว ถ้าเราไม่ได้อยากจะทำดนตรีแนวออร์เคสตรา แล้วเราจะเรียนไปทำไม? มีประโยชน์อะไร?
1. ไลน์ String หรือ Pad ของคุณ จะไม่แข็งทื่ออีกต่อไป ตอนยังทำ 4 Part ไม่เป็น เชื่อได้เลยว่าหลายๆคนทำไลน์พวกนี้ด้วยการกดแช่คอร์ดค้างไว้ บางทีก็เวิร์ค บางทีก็ไม่ ส่วนมากจะให้ sound แบบ แข็งๆ ดูไม่สมูธสวยงาม แต่เมื่อคุณทำ 4 part เป็น จะสามารถวาดลีลาได้เต็มที่ ทำให้ทุกส่วนของเพลงคุณมีความละเอียดละออ น่าฟัง ดูเป็น professional มากกว่าการกดคอร์ดทื่อๆเยอะ
2. คุณจะตัดสินใจเลือกโน้ตในแต่ละเครื่องได้ดียิ่งขึ้น เพราะคุณเริ่มมองดนตรีในแนวตั้งและเห็นความสัมพันธ์ของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น คุณเริ่มจะสังเกตว่า ในห้องนั้น จังหวะนั้นๆ มีโน้ตอะไรบ้าง เบสเล่นอะไร คีย์บอร์ดเล่นอะไรไปแล้ว นักร้องเล่นอะไร แล้วกีตาร์ควรจะเล่นอะไร การตัดสินใจของคุณในการ Arranging จะเฉียบคมมากขึ้น โน้ตที่สิ้นเปลืองจะน้อยลง
3. คุณจะมีไอเดียในการใส่ลีลาในแต่ละเครื่องได้มากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ไลน์เบส จากการที่เมื่อคุณไม่รู้เรื่อง 4 part มาก่อนเลย คุณอาจนิยมเล่นเบสแต่ตัว root เพื่อทำให้เพลงฟังดูเซฟที่สุด ไม่กล้าเสี่ยง กลัวผิด แต่เมื่อคุณมีความรู้เพียงพอ เลยสามารถหาทางวาดลีลาไลน์เบสได้โดยยังอยู่ใน Harmony ที่ถูกต้องของ 4 Part Writing อยู่
4. เป็นบันไดไปสู่อีกขั้นของการแตกฉานในดนตรีในระดับลึก คุณจะเริ่มสามารถมองดนตรียากๆออกว่าเค้าทำยังไง และสามารถวิเคราะห์งานของ Composer ระดับครูเป็น
ฉะนั้นถ้าใครที่แน่ใจกับตัวเองว่า อยากเก่ง อยากเป็นสุดยอดในการทำดนตรี ไม่ว่าจะเป็น Producer หรือ Composer ก็ควรจะเรียนน่ะแหละครับ ถ้าคุณไม่ได้มาเล่นๆหรือคิดว่าทำเป็นแค่งานอดิเรก ผมแนะนำว่าควรเรียน โดยในหลักสูตร The Real Producer วิชานี้จะถูกบรรจุอยู่ใน วิชาชื่อ VCA202 Advance Music Designer หากใครสนใจสามารถติดต่อได้ครับ
VERY CAT SOUND
Compose Your Dream
เราไม่ได้สอนให้คุณทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
ติดต่อจ้างทำเพลง Line @verycatsound
ติดต่อเรื่องเรียนทำเพลง @verycatacadem