เรียนทำเพลง 9 เทคนิคทำเพลงเครื่องดนตรีเยอะ

9 เทคนิคทำเพลงเครื่องดนตรีเยอะยังไง ให้ไม่ตีกัน

Share via:

Krissaka Tankritwong

ครั้งก่อน เราเคยพูดถึงเรื่องลำดับการเรียนรู้การทำดนตรีจากวงเล็ก ไปวงใหญ่กันไปแล้ว

ใครที่ยังไม่ได้อ่านสามารถตามเข้าไปอ่านได้ที่ลิ้งค์นี้เลยครับ
https://verycatsound.com/blog-band/

วันนี้เราจะมาเจาะกันว่าพอเราจะทำเครื่องดนตรี 8 ชิ้นขึ้นไป
มันต้องเพิ่มไลน์ดนตรียังไงให้ออกมาดูดี ไม่ตีกัน

9 เทคนิคทำเพลงเครื่องดนตรีเยอะยังไง ให้ไม่ตีกัน

1. ไลน์ที่เพิ่มเข้ามา อาจไปทำ Dublin เพื่อเพิ่มสีสัน

ถ้าใครที่รู้สึกว่าไลน์ดนตรีเดิมของเรามันฟังดูแล้วไม่ลื่นหู หรือมันรู้สึกยังขาดมิติ เป็นเพราะเครื่องดนตรีเริ่มเยอะขึ้น เลยทำให้เมโลดี้บางตัวที่เราเล่นมันไม่เด่น
ถ้ามีปัญหานี้แนะนำให้ลองทำ Dublin ดูครับ
Dublin หรือเรียกอีกอย่างว่า Double คือการเล่นไลน์ดนตรีซ้ำกับเครื่องดนตรีตัวอื่นที่ทำเอาไว้แล้ว เป็นการย้ำเพื่อเพิ่มสีสันหรือสร้างความน่าสนใจให้กับไลน์ดนตรีของเรา

เช่น สมมุติว่าผมใช้เปียโนเล่นเมโลดี้เข้าไป แล้วรู้สึกว่ามันยังจืด ก็ลองหยิบ synth มาเล่นเมโลดี้ตัวเดียวกันเข้าไปเพิ่มเพื่อให้มันดึงความน่าสนใจมากขึ้น

2. ไลน์ที่เพิ่มเข้ามา อาจไปทำหน้าที่ Chorus ให้กับเครื่องดนตรีตัวอื่น

คล้ายๆกับข้อแรก แต่ไลน์ดนตรีที่เราเล่นอาจไม่ได้เล่นซ้ำเป๊ะๆ เพราะเราจะใช้ขั้นคู่ หรือคู่ประสานของมัน เพื่อเพิ่ม harmonic เพิ่มมิติให้กับไลน์ตัวเดิม เหมือนเป็นการ Highlight ให้ไลน์ดนตรีตัวนั้นมันโดดเด่นขึ้น ซึ่งการทำ chorus ก็ต้องมีความรู้เรื่องขั้นคู่และเข้าใจเรื่องคอร์ดโทนด้วยว่าคู่ไหนเหมาะกับไลน์ที่เราเล่นไปแล้ว

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ

สมมุติว่าผมเล่นเปียโนเมโลดี้ง่ายๆนะ C – D – E – F – G
ผมอาจจะเพิ่ม synth เข้าไปเล่น E – F – G – A – B เพิ่มให้มันประสานกับเมโลดี้ตัวเดิมที่เราเล่น

ก็จะได้ chorus ที่ฟังดูโดดเด่นมากขึ้นแล้วครับ

แต่เราไม่จำเป็นต้องเพิ่มไลน์ chorus เกือบทุกเครื่อง ไม่งั้นมันจะแย่งความโดดเด่นกัน

3. ไลน์เบส อาจแอบไปทำ Counter Melody บางจุด

เป็นทริคเล็กๆ ที่บางคนอาจยังไม่รู้ จริงๆแล้วเราสามารถหยิบเบสไปเล่นกับเครื่องดนตรีตัวอื่นที่ทำหน้าที่เป็นเมโลดี้ได้ แต่อาจไม่ได้ถึงขั้นเล่นตามเป๊ะๆ หรือเล่นเยอะขนาดนั้น แค่มีไว้ให้เป็นสีสันก็พอ ไม่ควรไปเล่นทั้งหมด

ส่วนมากเบสยังคงทำหน้าที่เป็นกระดูกสันหลังให้กับวงดนตรี 80% อาจจะมีแวะไปเล่น counter กับเมโลดี้ตัวอื่นแค่พอให้มีสีสันเล็กน้อย

4. เกือบทุกเครื่องดนตรีสามารถทำหน้าที่แทนกันได้หมด

จำไว้ว่าเกือบทุกเครื่องดนตรีสามารถเล่นแทนกันได้หมด ยกเว้นเครื่องดนตรีที่ทำหน้าที่เป็นกระดูกสันหลังของวง

เช่น กลอง, เบส, หรือเครื่องดนตรีที่ทำหน้าที่คุมโทน อันนี้เล่นแทนไม่ได้ ไม่งั้นโทนเพลงจะพังไปเลย

พอเราสลับหน้าที่กัน สีสันของเพลงมันจะเปลี่ยนไปอีกแบบ ช่วยให้เพลงของเรามันฟังดูมีอะไรแปลกใหม่

มีความน่าสนใจ และมีลูกเล่นมากขึ้น

เช่น กีต้าร์ในช่วงแรกทำหน้าที่เป็นคอร์ด เปียโนเล่นเมโลดี้ พอถึงครึ่งหลังก็อาจสลับเอากีต้าร์ไปเล่นเมโลดี้แทนเปียโน ส่วนเปียโนก็กดเล่นคอร์ดแทนกีต้าร์
เล่นโน้ตตัวเดิมแต่เพลงของเราจะดูมีความน่าสนใจขึ้น

มีข้อควรระวังคือ อย่าสลับหน้าที่เล่นแทนเยอะเกินไป พยายามดูความเหมาะสมของเครื่องดนตรีว่าอันไหนควรสลับไปเล่นแทนกัน ไม่งั้นเพลงของเราจะฟังดูแปลกๆ ถึงขั้นมั่วไปเลย

5. หนึ่งเครื่อง อย่าเล่นเยอะเกินไป

พื้นที่ของเพลงมันไม่ได้มีเยอะ ยิ่งวงของคุณมีเครื่องดนตรีเยอะ พื้นที่ในการใส่โน้ตในเครื่องดนตรีตัวเดียวจะเล่นได้ไม่เยอะมาก และถ้าเล่นเยอะเกินไปก็จะไปตีกันเครื่องดนตรีตัวอื่น ต้องเจาะจงไปเลยว่าเครื่องดนตรีตัวไหนทำหน้าที่อะไร เพื่อให้เครื่องดนตรีตัวอื่นๆ มีบทบาทเท่าๆกัน ตัวไหนที่เล่นคอร์ดเป็นส่วนใหญ่ก็เล่นคอร์ดไป ตัวไหนที่เล่นเมโลดี้เป็นหลักก็เล่นเมโลดี้ไป อาจมีบ้างที่เอาเครื่องดนตรีตัวอื่นสลับหน้าที่กันแบบในเทคนิคที่ 4 แต่พยายามอย่าเยอะจนเกินไป

ยกเว้นว่าวงของคุณเป็นวงเล็กๆ มีเครื่องดนตรีไม่กี้ชิ้น อันนี้ก็เล่นเยอะได้เพราะที่ว่างมันเหลือเยอะ อาจจะเอาเปียโนเล่นคอร์ดกับเมโลดี้พร้อมกันไปเลย อันนี้ทำได้แน่นอนครับ

6. ความสอดประสานของ Harmony เป็นสิ่งที่สำคัญ ควรใส่ใจความสัมพันธ์ของคอร์ด, เมโลดี้, หรือโน้ตต่างๆ ในแนวตั้งด้วย

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องระวังมากๆ เพราะว่าถ้าเกิดความสัมพันธ์ต่างๆของตัวโน้ตในแนวตั้งมันไม่สัมพันธ์กัน มันอาจเกิดเสียงที่กัดกันโดยที่เราไม่รู้ตัว ทำให้ไลน์บางตัวฟังดูไม่เพราะ เสียงไม่ชัด หรือทำให้อารมย์เปลี่ยนไป

ซึ่งเรื่องนี้จะลึกประมาณนึงเลย อาจอธิบายไม่ได้หมดเพราะว่าต้องมีความรู้เรื่อง 4 Part-Writing หรือความรู้ด้าน Basic Harmony ต่างๆเพื่อที่จะได้เข้าใจมากขึ้นว่าต้องทำยังไงไม่ให้ดนตรีที่เราทำมันกัดกัน

7. เล่นคอร์ดอื่นๆ แทนคอร์ดปกติ

นอกเหนือจาก Triad Chord, 7th Chord แล้ว ถ้าเกิดเรามีเครื่องดนตรีประเภทที่เล่นได้แค่เสียงเดียว เช่นเครื่องเป่า
เราสามารถสร้างคอร์ดให้ได้ด้วยการทำ “Chord Section”
ถ้าให้แปลง่ายๆก็คือการที่เราเอาเครื่องดนตรีที่เล่นได้เสียงเดียว 3 ตัว เล่นโน้ตแตกต่างกันมาประกอบเข้าด้วยกัน

ช่วยให้เราสามารถสร้าง Harmony สร้างสีสันให้กับเครื่องดนตรีประเภทนี้ได้
เช่น ผมมีเครื่องเป่า 3 ตัว ผมอาจจะให้ตัวที่ 1 เล่นโน้ต C, ตัวที่ 2 เล่นโน้ต E, และตัวที่ 3 เล่น G

ก็จะได้คอร์ด C Major มาแล้ว

เรื่องนี้จะค่อนข้างลึก เพราะว่าจริงๆแล้วมันมีวิธีการสร้างที่มากกว่านั้น และต้องใช้ความเข้าใจมากกว่านั้น

ถึงจะทำได้จริงๆ

8. ใส่ใจเรื่อง Octave ที่ใช่ของแต่ละเครื่องดนตรี

การเลือก Octave ที่ถูกต้อง ถือเป็นเรื่องที่สำคัญครับ เพราะว่ามันคือการจัดการย่านความถี่ต่างๆให้สะอาดเรียบร้อย เป็นระเบียบ และฟังดูดีทั้งหมด ช่วยให้เครื่องดนตรีตัวอื่นไม่ทับไลน์กัน ย่านเสียงไม่ชนกัน

เรื่องนี้ไม่มีผิดหรือถูก เพราะเราต้องคอยฟังเช็คตลอดว่าเครื่องไหนเหมาะสมกับ Octave ไหน เราต้องมานั่งฟังทีละอันว่าเครื่องดนตรีตัวนี้มันอยู่ใน Octave ถูกที่รึเปล่า? ถ้าไม่ก็ลองเลื่อนขึ้นไปอีก Octave นึง หรือลงมาดู

ถ้ามันฟังแล้วออกมาเพราะ ก็คือเพราะ

หลักๆคือพยายามปรับยังไงก็ได้ เพื่อไม่ให้ไปแยกความเด่นของเครื่องดนตรีหลักครับ

โดยเฉพาะเมโลดี้หลัก เพราะเราต้องคงความเด่นของเมโลดี้หลักไว้ตลอด

อีกวิธีนึงคือ เราสามารถนำเข้ากระบวนการ Mixing ได้ ปรับ EQ หลบเสียงตัวที่ไม่ต้องการออก

แต่จริงๆแล้วก็ควรที่จะจัดการให้เป็นระเบียบเรียบร้อยก่อนจะดีกว่าครับ จะได้ลดแรงตอน Mixing ไปด้วย

9. ออกแบบ Counter Melody ให้เฉียบคม

มือใหม่อาจจะทำยากหน่อยนะครับ เพราะว่าบางทีเราอยากจะได้ Counter Melody ที่เฉียบคมแต่อาจจะทำไม่ได้ เล่นแล้วโน้ตไปตีกับตัวอื่นๆ เพราะต้องมีความรู้เรื่อง Counter Point

การ Counter Melody ถ้าแปลง่ายๆให้มือใหม่เข้าใจคือ การที่เราใช้เครื่องดนตรีตัวอื่นเล่นซ้อนเมโลดี้หลักที่ออกแบบไว้

แต่อาจจะเล่นในเสียงต่ำหรือสูงกว่า และบางครั้งเล่นในจังหวะเร็วหรือช้ากว่า ก็ได้

แต่จะเล่นไม่เยอะไม่งั้นมันจะตีกัน จะกลายเป็นไปแย่งเมโลดี้หลัก

ซึ่งฟังดูเหมือนง่ายแต่จริงๆก็ต้องคิดมาดีแล้วว่าจะ Counter ยังไงให้เหมาะสม ซึ่งก็ต้องมีความรู้ในระดับนึงจริงๆ

จบไปแล้วนะครับกับ 9 เทคนิคทำเพลงเครื่องดนตรีเยอะยังไง ให้ไม่ตีกัน
ซึ่งก็ต้องขอโทษทุกๆคนด้วยนะครับว่าอาจจะมีศัพท์ทางดนตรีที่ไม่ได้อธิบายเคลียร์เพราะว่ามันค่อนข้างลึก และต้องใช้ประสบการณ์หรือเรียนมาก่อน ถึงจะเข้าใจบางจุด
ฉะนั้นแล้วแนะนำว่าใครที่อยากจะเข้าใจเรื่องต่างๆที่ผมได้กล่าวไป

ไม่ว่าจะทั้ง

เรื่องการเรียบเรียงดนตรีต่างๆ ว่าอันไหนเล่นได้บ้าง จะตรงกับวิชา

VCA201: Basic Music Designer

https://verycatsound.com/academy/level2/vca201-basic-music-designer/

“4 Part-Writing” เรื่องนี้จะตรงกับวิชา

VCA202: VCA202 : Advance Music Designer

https://verycatsound.com/academy/level2/vca202-advance-music-designer/

“Counter Point” จะตรงกับวิชา VCA302: Advance Harmony
https://verycatsound.com/academy/level3/vca302-advance-harmony/

เรื่อง “Chord Section” จะตรงกับวิชา VCA303 Basic Orchestration
https://verycatsound.com/academy/level3/vca303-basic-orchestration/

ใครสนใจหรือมีคำถามสามารถติดต่อสอบถามเข้ามาได้กับทางแอดมินในช่องทางด้านล่างได้เลยครับ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์

———————

The Real Producer
REAL / DEEP / EXCLUSIVE

หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream

เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง
นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ

หลักสูตร The Real Producer
เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล
สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link
http://mkt.verycatsound.academy/mf2

——————

Contact

Line ID :

– เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
– เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound

Tel. : 0856662425
Website : verycatsound.com
FB : http://www.facebook.com/verycatsound
YT : http://www.youtube.com/c/verycatsound

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.