สอนแต่งเพลง 4 ลำดับการเรียนรู้ แนวคิดการทำดนตรีให้วงเล็กไปจนถึงใหญ่.jpg

4 ลำดับการเรียนรู้ แนวคิดการทำดนตรีให้วงเล็ก-ใหญ่

Share via:

Krissaka Tankritwong

ผมเห็นปัญหาอย่างหนึ่งของคนที่เรียนการทำเพลง ทำดนตรี จากการบ้านที่นักเรียนในคลาส The Real Producer ส่งมา คือเวลาทำดนตรีแล้ว ใส่เครื่องดนตรี “เยอะ” เกินไป แล้วเกิดอาการ “ตีกัน”

ที่จริงแล้วการใส่เครื่องดนตรีเยอะชิ้นสามารถทำได้ครับ เพียงแต่ว่ามันจะยากกว่าการทำเครื่องดนตรีน้อยชิ้น ตรงที่ต้องคอยระวังควบคุมดีๆไม่ให้มันเกิดอาการตีกัน เพราะยิ่งเครื่องเยอะก็จะยิ่งยากขึ้น เพราะมี element หรือองค์ประกอบที่ต้องคอยควบคุมใส่ใจมากขึ้นตาม ทำยังไงไม่ให้รก ไม่ให้ตีกัน ไม่ให้แย่งหน้าที่กัน ฯลฯ

ก่อนอื่นเลย การที่จะทำเพลงเครื่องดนตรีเยอะชิ้นได้นั้น ผมขอให้เริ่มจากการทำจากเครื่องน้อยๆให้ได้ก่อน พอทำแบบเครื่องน้อยได้จนลงตัวทั้งเพลงแล้ว เพลงต่อๆไปค่อยๆเพิ่มขนาดของวงดนตรีให้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆทีละนิด ฉะนั้นวันนี้จึงมาแนะนำลำดับการเรียนรู้การทำดนตรีจากวงเล็กไปจนถึงใหญ่กันนะครับ

ต่อไปนี้จะเป็น Step ของการเรียนรู้ ว่าควรเริ่มจากวงแบบไหนบ้างนะครับ

Step 1
2 Lines : Chord – Melody

เริ่มต้นสุดเลย คุณควรทำเพลงที่มีแค่สองอย่างนี้ให้ได้ก่อน นั่นคือ

1. Melody – ทำนองหลัก ที่มักร้องโดยนักร้อง

2. Chord – เครื่องคอร์ด อาทิ เปียโน หรือ กีตาร์

แค่นี้พอเลยครับ ซึ่งสองไลน์แค่นี้นั่นแหละคือ Core หลักของเพลง เป็นเสมือนโครงสร้างที่เราต้องออกแบบมาให้แข็งแรงซะก่อน ก่อนจะไปทำอย่างอื่น พูดง่ายๆก็เหมือนแค่เราใช้กีตาร์ตีคอร์ด แล้วร้องเมโลดี้+เนื้อร้องออกมา หรือใช้เปียโนตัวเดียว เป็นคอร์ดกับเมโลดี้ แค่นี้ให้ได้เพลงที่มีเค้าโครงที่ฟังดูดีซะก่อน ที่จริงแล้วมันก็คือขั้นตอนเดียวกับสิ่งที่เรียกว่า Song Writing หรือ Composing นั่นแหละครับ คือเป็นแค่ Lead Sheet ที่มีเขียนเฉพาะเมโลดี้กับคอร์ด เชื่อว่าหลายๆคนอาจทำสิ่งนี้ได้กันอยู่แล้ว แต่ถ้าใครยังทำไม่ได้ ขอให้เริ่มจากทำเพลงรูปแบบแค่นี้ให้ได้ซะก่อนนะครับ ก่อนไปจะสเตปต่อไป

Step 2
3-4 lines : Small Band

พอเราทำแค่สองไลน์แบบแรกเป็นแล้ว ทีนี้ลองเขยิบมาเรียบเรียงเป็นวงดนตรีเล็กๆ โดยเพิ่มไลน์เป็น 3-4 ไลน์ ได้แก่

1.Melody หลัก (มักเป็นเสียงร้อง แต่ที่จริงจะเล่นด้วยเครื่องดนตรีอื่นก็ได้)

2.Drum Set หรือ กลองชุด (ที่จริงมีหรือไม่มีก็ได้ เพราะไม่มีผลกับ Harmony มากนัก)

3.Chord หรือเครื่องคอร์ด อาจเป็น Guitar หรือ Keyboard , Piano

4.Bass หรือไลน์เบส เล่นด้วยเครื่อง Electronic Bass เป็นหลักก็ได้ครับ โดยอาจจะเล่นง่ายๆแค่ตัว 1 หรือ 5 ของคอร์ดไปก่อน

สเตปนี้จะมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นมา คือการออกแบบ ไลน์เบส และเครื่องให้จังหวะอย่างกลอง แล้วอาจจะต้องออกแบบการเล่นของเครื่องคอร์ดด้วย ว่าจะเล่นลีลาแบบไหน เช่นเกลาคอร์ด เป็น broken chord ในบางจุดบ้าง อะไรแบบนี้ กับมีไลน์กลองให้ลองฝึกหัดทำดู

Step 3
6-7 Lines : Medium Band

สเตปนี้จะเริ่มมีความยากเพิ่มขึ้น เพราะจะต้องเริ่มคิดให้เครื่องดนตรีหลายชิ้นมีความสอดคล้อง สอดประสานกัน และจะเริ่มมีไลน์ที่เป็นรายละเอียดของเพลงที่น่าสนใจมากขึ้น โดย ไลน์ ที่ควรมี 6-7 ไลน์ จะทำหน้าที่แบบนี้

1. Melody

2. Chorus – นอกเหนือจากคนร้องหลักแล้ว อาจเพิ่มคนร้องคอรัสมาประสานอีกคนได้

3. Drum Set (มีหรือไม่มีก็ได้เช่นกัน)

4. Chord 1 – เครื่องคอร์ดเครื่องหลัก อาจจะเป็น Guitar ก็ได้

5. Chord 2 – เครื่องคอร์ดเครื่องรอง อาจจะเป็น Keyboard , Piano , Synth หรือ Guitar อีกเครื่องก็ได้ โดยจะเล่นคอร์ดในลีลาอีกแบบที่คิดออกแบบไว้มาดีแล้วว่ามาเติมตัวหลัก

6. Counter Melody / Solo – เครื่องดนตรีอีกชิ้นที่ไม่ตายตัวว่าจะใช้เครื่องอะไร อาจจะเป็น Guitar , Keyboard , Piano , Synth หรืออื่นๆอย่าง เครื่องเป่า เครื่องสายก็ได้เช่นกัน มันจะทำหน้าที่เล่นไลน์รายละเอียดประดับในเพลง ที่สวนกับเมโลดี้หลัก โดยเรียกว่า Counter Melody หรือมา Solo ในบางจุดที่เป็นท่อนดนตรี เป็นต้น

7. Bass – อาจใส่รายละเอียดมากขึ้น โดยเล่นอยู่ใน Chord Tone หรือลีลาอื่นๆที่เป็นของเบสโดยเฉพาะ

การทำเพลงที่มีรูปแบบวงประมาณนี้ ถ้ามือใหม่ที่ยังไม่คล่อง อาจจะเจอปัญหาบ่อยๆคือการคิดไลน์เครื่องดนตรีต่างๆ เพราะเมื่อรายละเอียดมันเริ่มมากขึ้นมันจะเริ่มงง เราเริ่มจะต้องลงลึกในแต่ละเครื่อง และรู้จัก “ท่า” หรือลีลาต่างๆที่แต่ละเครื่องทำได้ โดยจุดนี้จะขึ้นอยู่กับความชำนาญหรือความรู้ทางดนตรีของแต่ละคน ซึ่งอาจจะมาจากประสบการณ์ทางดนตรีที่เล่นดนตรีมานานจนคุ้นชิ้น แต่ส่วนนี้ถ้าใครที่ยังทำไม่ได้อาจจะต้องเรียนเรื่องการเรียบเรียงดนตรีโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นทางตรงที่สุด (มีอยู่ในวิชา VCA201-202 Music Designer ของหลักสูตร The Real Producer)

Step 4
8 – 100 : Full Band

สเตปนี้จะเริ่มยากขึ้นอีกในเชิงการกระจายหน้าที่ให้แต่ละเครื่อง เพราะจะเห็นได้ว่าที่จริงแล้วหน้าที่ในวงมันครบหมดแล้ว การเพิ่มเครื่องดนตรีเข้ามาเป็นสีสันเพิ่มอีกจริงๆก็ยังทำได้ แต่อาจจะต้องมีการจัดการที่ละเอียดขึ้นเป็นพิเศษ โดยคราวนี้จะไม่ได้ตายตัวว่าเครื่องไหนทำหน้าที่อะไร เพราะที่จริงสามารถสลับจัดกลุ่มได้อิสระขึ้น แต่จะแบ่งไลน์เป็นหน้าที่ต่างๆออกเป็นคร่าวๆ 8 หมวดดังนี้

1. Melody หลัก – ถ้าเป็นเพลงร้อง ก็คือนักร้อง แต่ถ้าเป็นเพลงบรรเลง ตัวนี้สามารถสลับเล่นได้หลายเครื่อง

2. Chorus – เป็นส่วนเสริมของ Melody หลัก ถ้าเป็นเพลงร้อง ก็จะใช้เป็นเสียงคนร้องเช่นกัน แต่บางทีก็อาจเป็นคอรัสของไลน์บางไลน์อีกทีก็เป็นไปได้

3. Rhythm – จะขอเรียกว่าเครื่องดนตรีให้จังหวะ เพราะอาจมีทั้ง Drum Set และพวก Percussion ชนิดอื่นๆ

4. Chord – เครื่องดนตรีประเภทคอร์ด อาทิ กีตาร์ หรือคีย์บอร์ดเปียโน ซึ่งอาจมีได้หลายเครื่อง ขึ้นอยู่กับการจัดแบ่งกันเล่น

5. Section Chord – เครื่องดนตรีประเภทอื่นๆ อาทิ เครื่องเป่า เครื่องสาย แต่นำมาเล่นหลายเครื่องพร้อมกัน และประกอบเป็นคอร์ด หรือบางทีก็เป็นเมโลดี้ + คอร์ด ในตัว

6. Solo Instrument/Ornament – เครื่องดนตรีประเภท Solo ซึ่งจริงๆใช้ได้แทบทุกเครื่อง ไม่จำกัดว่าต้องเป็นเครื่องอะไร เพียงแต่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Solo ที่มีความโดดเด่นในท่อนของตัวเอง

7. Ornament / Counter Melody – เครื่องดนตรีที่ทำหน้าที่เป็นไลน์ประดับต่างๆในเพลง หรือเป็นไลน์ Counter Melody ที่สร้างสีสันการสอดประสานให้กับเพลงได้ละเอียดงดงามยิ่งขึ้น

8. Bass – มักเป็นไลน์ที่มักต้องรักษาหน้าที่หลักๆของตัวเองให้ดีที่สุด เลยไม่ค่อยจะโยนไปโยนมาทำหน้าที่ได้อิสระเหมือนเครื่องดนตรีอื่นๆ

อย่างที่บอกว่า ถ้าเครื่องดนตรีเยอะถึงจุดนึง มันมักจะไม่ค่อยตายตัวแล้วว่าชิ้นไหนจะทำหน้าที่อะไร อิสระมากขึ้น แต่ก็ตามมาด้วยความรู้ความชำนาญในการจัดการตัวโน้ตที่ต้องมากขึ้นตาม และมีหลายอย่างที่ถ้าไม่ได้เรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ของตัวโน้ตโดยละเอียด จะทำให้เกิดอาการงง และธาตุไฟเข้าแทรก จนเพลงออกมาตีกัน ไม่ลงตัวได้

โดยมากแล้ว ถ้าเป็นวงดนตรีสด วงใหญ่สุดๆน่าจะไม่เกิน 15-20 ชิ้น แต่ถ้าเป็นดนตรี Electronic บางทีการจะมีไลน์มากถึง 50 – 100 ไลน์ ไม่ใช่เรื่องแปลก (SFX เยอะ และหลายๆไลน์นั้นซ่อนไว้ ไม่ได้ยินโดดเด่น หรือมาเพียงนิดเดียวแล้วไป) หรือกรณีในแนวดนตรีแบบ Full Band Orchestra การใช้เครื่องดนตรีคนเล่นตั้งแต่ 100-300 เครื่อง/คน นั้นไม่ใช่เรื่องแปลก แต่แน่นอนว่าเป็นความอลังการที่จัดการยากแน่นอน

ด้วยความยุ่งยากในการจัดการวงดนตรีที่ใหญ่แบบ Full Band แบบนี้ โดยเฉพาะในส่วนของ Section Chord ที่อาจต้องใช้ความรู้เฉพาะทาง ฉะนั้นผู้เรียบเรียงควรมีความรู้ทางดนตรีมากพอสมควร หรือสามารถเรียนรู้ได้ด้วยการเรียนการเรียบเรียงดนตรีขั้นสูง หรือการเรียนสิ่งที่เรียกว่า Orchestration – การเรียบเรียงเครื่องดนตรีออร์เคสตรา (ตรงกับวิชา VCA303 ของทางหลักสูตร The Real Producer)

ทางตรงสู่การทำดนตรีเครื่องเยอะชิ้น

อย่างที่ได้กล่าวไปว่า ยิ่งเครื่องดนตรีมากชิ้น ยิ่งต้องการความรู้ ความชำนาญมากขึ้นเรื่อยๆ โดยปกติคนที่ทำออกมาได้ดี มักจะเป็นคนที่มีประสบการณ์ทางดนตรีคลุกคลีอยู่ยาวนาน เช่นอาจเล่นวงดนตรีหลากหลายเครื่องมาถึงสิบปี แต่กระนั้นการใช้เวลาไม่นานแต่สามารถทำได้ก็ยังมีทางอยู่เช่นกัน โดยทางตรงที่สุดคือการเรียนรู้ศาสตร์ของการเรียบเรียงดนตรีโดยเฉพาะ

โดยผู้สนใจสามารถศึกษาได้วิชาจำพวก Music Arranging แบบต่างๆ ซึ่งตรงกับวิชา VCA201 Basic Music Designer , VCA202 Adv. Music Designer , VCA303 Orchestration และ VCA402 Root Music Study ได้ในหลักสูตร The Real Producer หากสนใจติดต่อ Admin ที่ไลน์ @verycatacademy ได้ครับ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์
ขออภัยด้วย ถ้าหากมีศัพท์เฉพาะที่ไม่เข้าใจ สามารถเรียนรู้ได้เพิ่มเติมจากคอร์สหรือ Content อื่นๆของทาง VERYCAT นะครับ

VCA201 Basic Music Designer

https://verycatsound.com/academy/level2/vca201-basic-music-designer/

VCA202 Adv. Music Designer

https://verycatsound.com/academy/level2/vca202-advance-music-designer/

VCA303 Orchestration

https://verycatsound.com/academy/level3/vca303-basic-orchestration/

VCA402 Root Music Study

https://verycatsound.com/academy/level4/vca402-music-genre-analysis/


The Real Producer
REAL / DEEP / EXCLUSIVE

หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream

เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง
นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ

หลักสูตร The Real Producer
เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล
สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link
http://mkt.verycatsound.academy/mf2

——————

Contact

Line ID :

– เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
– เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound

Tel. : 0856662425
Website : verycatsound.com
FB : http://www.facebook.com/verycatsound
YT : http://www.youtube.com/c/verycatsound

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.