ที่จริงการทำดนตรี มันจะมีศัพท์อย่างเป็นทางการว่า Music Arranging หรือ การเรียบเรียงดนตรี หรือการเรียบเรียงเสียงประสาน
ถ้าในลักษณะของการทำเพลงที่ไม่มีเนื้อร้อง ก็อาจจะเรียกว่า Music Composing หรือการประพันธ์ดนตรีได้ด้วย
หรือถ้าในศัพท์ของวงการภาพยนตร์ ,โฆษณา มักเรียกการทำดนตรีประกอบว่า Music Score หรือ เรียกสั้นๆว่า ทำสกอร์
อันนี้เป็นสิ่งที่คนในวงการรู้กัน และใช้กันอย่างแพร่หลายมายาวนาน
แต่ระยะหลังๆ ในวงการดนตรีของไทย (ช่วงราวๆ 2017 เป็นต้นมา) มีศิลปินและนักทำเพลงรุ่นใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนว Hiphop
ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่อยู่ในวงการมาก่อนช่วงปีดังกล่าว คุณต้องเคย งง กับศัพท์คำนี้แน่นอน คือ พวกเขาเหล่านั้น นิยมเรียกดนตรีว่า “Beat” กัน
เราคงเคยเห็นคนนิยมใช้คำว่าบีทกันในช่วงที่ผ่านมา โดยมากมักพบเห็นในวงการ hiphop และด้วยกระแสความบูมของดนตรีแนวนี้ มันได้รวมตัวกับดนตรี pop ในยุคปัจจุบัน จนแทบจะเรียกได้ว่า pop กับ hiphop นั้นแยกกันไม่ออก
เพลง pop ส่วนใหญ่ก็จะต้องมีท่อนแรพ หรือมีส่วนผสมของ hiphop ด้วย
อาจจะเคยเห็นอยู่บ่อยครั้งว่า นักฟังเพลงและนักทำเพลงรุ่นใหม่หลายๆคน เรียกการทำ Music Arranging หรือการทำดนตรีทั้งหมดว่า Beat
มันเพราะอะไรกัน?
ย้อนกลับไปในปี 1973 อันเป็นปีที่สถาปนาดนตรี Hiphop อย่างเป็นทางการ เมื่อ DJ Kool Herc จัดปาร์ตี้ hiphop ครั้งแรกในย่านบรองซ์ ที่ New York โดยมีองค์ประกอบของดนตรีฮิพฮอพทั้ง 4 (4 elements of hiphop) อันได้แก่ DJ , Rapper หรือ MC , B-Boy (Break Dance) และที่ตามมาในเวลาต่อมาคือ Graffiti (ศิลปะการพ่นสีบนฝาผนัง)
ในช่วงแรกของวัฒนธรรมฮิพฮอพ มันเริ่มต้นด้วยการจัดปาร์ตี้เปิดเพลงเต้นกันเองโดยคนในย่าน โดยมีตัวตั้งตีคือ DJ Kool Herc อย่างที่ได้กล่าวไป แต่ครั้งนี้ไม่ใช่ปาร์ตี้เปิดเพลง dance , disco ปกติทั่วไป เขาได้คิดค้นสิ่งใหม่ๆ โดยการเปิดเพลงจากแผ่นเสียงเพลงแนว Funk อย่างของ James Brown โดยเครื่องเล่นแผ่นเสียง หรือ Turn Table โดยนำท่อนที่เรียกว่า “Break” หรือท่อนดนตรีที่เป็นกลองเปล่าๆ ในเพลงนั้นๆ มาเปิดต่อกับอีกแผ่นหนึ่งที่เป็นเพลงเดียวกัน ท่อนเดียวกัน วนไปเรื่อยๆ โดยจุดประสงค์ในตอนแรกเพื่อต้องการทำให้ปาร์ตี้สนุกขึ้น โดยการเพิ่มความยาวท่อน Break แบบนี้ (ซึ่งภายหลังเรียกสิ่งนี้ว่า Merry go around) ทำให้ เหล่า Break Boy หรือ B-Boy , B-Girl เต้นกันได้ยาวนานขึ้น และในช่วงเต้นนั้นเองก็มี MC หรือ Rapper ที่มามาพูดสร้างสีสันความสนุกเพิ่มขึ้นนั่นเอง แต่ทีนี้พูดไปพูดมา ด้วยสัญชาติญาณทางดนตรีของคนผิวดำ ก็เริ่มมีการพูดให้เข้ากับจังหวะ จึงเกิดการพัฒนามาเป็นการ Rap นั่นเอง
แน่นอนว่าการทำแบบนี้ในปัจจุบันนั้น ทำได้ง่ายๆโดยการกดปุ่ม loop เพลง ให้มันเล่นวนๆ ซ้ำๆ ในเครื่องดีเจ อย่าว่าแต่เครื่องเล่นดีเจเลย สมาร์ทโฟนของทุกคนก็ทำได้ เพียงแต่ในยุค 70 นั้น ยังไม่มีการใช้คอมพิวเตอร์มาฟังเพลงด้วยซ้ำ เลยต้องใช้วิธีแบบ Analog อย่างที่ได้กล่าวไป
ท่อน Break ที่นำมาเปิดนี้ กลายเป็นเหมือนผ้าขาวเปล่าๆ ที่ศิลปินสามารถแต่งแต้มอะไรลงไปบนนั้นก็ได้ สิ่งที่ DJ Kool Herc วางเอาไว้ต่อจากนั้น คือการเปิดพื้นที่ตรงนี้ให้เหล่า MC หรือ Rapper มาร้องอะไรก็ได้ใส่ในท่อน Break ว่างๆนั้น ใช่แล้วครับ นั่นคือจุดกำเนิดดนตรี Hip-hop ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ปาร์ตี้กับวัฒนธรรม Hiphop แบบนี้ถูกผลิตซ้ำและพัฒนาอยู่นานหลายปี โดยที่ยังไม่มีการบันทึกเสียงใดๆ อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่ 1973 – 1979 ถึงมีการ Record ทำอัลบั้มอย่างเป็นทางการและได้ฟังโดยผู้ฟังวงกว้าง
จะเห็นได้ว่า แก่นของดนตรีฮิพฮอพ จากจุดเริ่มต้นเลย มันเกิดขึ้นมาแบบนี้ คือมันไม่ใช่การสร้างดนตรีขึ้นมาใหม่จาก 0 ไม่มีวงดนตรีมาเล่น ไม่ได้ Composer , Arrange เสียงเครื่องดนตรีอะไรขึ้นมาใหม่ แต่เป็นการพลิกแพลง เอาเสียงจากเพลงที่มีอยู่แล้ว ท่อนๆนึง มาเปิดวนซ้ำๆ แล้วก็ร้อง Rap ลงไปบน loop กลองอันนั้นๆ
ซึ่งการทำเพลงด้วยวิธีนี้ ก็ยังคงเป็นวัฒนธรรมที่นิยมกันในวงการ Hiphop ต่อๆมา ในการ Sampling (นำตัวอย่างเสียง) บางส่วน หรือบางท่อน จากเพลงที่มีอยู่แล้ว ดึงมาใช้ หรือมาเล่น แล้วก็ใส่การ Rap ลงไป บางคนก็เรียกสิ่งนี้ว่า Mix Tape
นั่นแปลว่า แก่นของมันไม่ได้อยู่ที่ตัวดนตรี หากแต่อยู่ที่การ Rap มากกว่า โดยอาจมี Rapper บางคนที่ขึ้นเวทีไปแล้วอยากจะ Rap ให้ผู้ชมฟัง เลยพูดใส่ไมค์ว่า “ขอ Beat (จังหวะ) หน่อย” โดยสิ่งที่เค้าหมายถึงคือ จังหวะกลองท่อน Break จากแผ่นไหนเพลงอะไรก็ได้อ่ะ เปิดมาเถอะ พร้อมจะ Rap ละ
ความหมายที่ถูกต้องอย่างเป็นทางการของคำว่า Beat
ใช่ครับ Beat เฉยๆแปลว่าจังหวะ ซึ่งถ้า Common Sense โดยทั่วไป คนจะเข้าใจว่า น่าจะหมายถึงเสียงกลองเฉยๆ ที่ไม่ได้เฉพาะเจาะจงอะไร เป็นแบบไหนก็ได้
แต่ถ้าเอาความหมายแบบถูกต้องจริงๆเลย มันหมายถึง “จังหวะที่นับในห้องดนตรี” เช่น ใน Time Signature แบบ 4/4 หนึ่งห้องดนตรีจะมี 4 จังหวะหรือ 4 Beat ซึ่งที่จริงแล้ว ในห้องๆนั้น เราจะเล่นเสียงกลองแบบไหนก็ได้ ถ้าเราอยากให้มันฟังดูถี่รัวเร็ว ตื่นเต้น เราก็อาจจะเล่น กลองสัก 4 ครั้ง ต่อ 1 beat ถ้าเราอยากให้ฟังดูเป็นเพลงช้า เราก็อาจจะเล่น กลองแค่ 1 ครั้งต่อ 1 beat แบบนี้เป็นต้น
แล้วจะมีอีกคำที่เกี่ยวข้องคือ BPM
มันแปลว่า Beat Per Minute เป็นสิ่งที่เอาไว้กำหนดความเร็วของเพลง เช่น 120 BPM มันแปลว่า ใน 1 นาที จะนับจังหวะได้ 120 ครั้ง ฉะนั้นถ้า 160 BPM ก็คือเร็วกว่า แบบนี้เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะความหมายไหนมันก็เป็นเรื่อง “จังหวะล้วนๆ” ซึ่งไม่มีเรื่องของ เสียงเครื่องดนตรีแบบอื่นที่เป็น Pitch (ความสูงต่ำ) หรือ Melody (ทำนอง) , Harmony (เสียงประสาน) เข้ามาเกี่ยวข้องเลย
นี่แหละคือความเข้าใจไม่ตรงกันของคนทำเพลงคนละ Generation
เพราะคนรุ่นเก่า เข้าใจว่า Beat = คือเรื่องจังหวะล้วนๆ ไม่มีเรื่อง Pitch มาเกี่ยว
คนรุ่นใหม่ เข้าใจว่า Beat = ทุกเสียงดนตรีที่ได้ยินทั้งหมด
เพราะในทาง Hiphop มันเคยมีกระบวนการทำเพลงแบบที่ว่ามาก่อน คือ ไม่ได้ใส่ใจกับเสียงดนตรีพวกนี้ ไม่ได้แต่งมาใหม่ คือหยิบยืมของเก่ามาใช้ จะเป็นอะไรก็ได้แหละ ขอให้มันมีจังหวะ หรือ Beat มาให้ยึดเกาะเพื่อ Rap เป็นใช้ได้
แต่ทีนี้พอมาเป็นวิธีการทำเพลงสมัยใหม่ ซึ่งบางทีก็มีการสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมา สร้างดนตรีใหม่ขึ้นมาเลย ไม่ได้ใช้วิธี Old School อย่างการนำท่อน Break ของเพลงอื่นมาใช้ นักทำเพลงแนวนี้ จึงจำเป็นต้อง สร้าง Beat ขึ้นมาใหม่เอง (อาจจะใช้ Drum Machine ทำ หรือใช้ โปรแกรม DAWs ทำ) โดยพวกเขาไม่ได้แยกแยะว่า Beat คือแค่จังหวะ แต่ใส่เบส ใส่คีย์บอร์ด ใส่ไลน์ Pitch Melody Harmony ต่างๆ เข้าไปในกระบวนการนี้ด้วย ที่จริงแล้ว จะบอกว่าพวกเขาแค่ไม่รู้ว่ามันต้องเรียกว่าอะไรก็น่าจะถูก
หนำซ้ำเข้าไปอีก เมื่อดนตรี Hiphop หลอมรวมกับ Pop ไปเรียบร้อยแล้วในยุคปัจจุบัน คนไม่ได้แยกแยะว่า ท่อนที่ร้องเป็น melody กับท่อนที่ร้องเป็น Rap มันแตกต่างกัน ถ้าคุณมีความรู้ทางดนตรีพอ คุณจะเข้าใจได้ว่า ตอนที่ร้องเป็น Rap มันจะเอาไปใส่กับดนตรีอะไรก็ได้ มันก็เข้าได้หมดจริงๆ แต่พอมันเป็นเพลงที่มี melody มันทำแบบนั้นไม่ได้ เพราะมันมีเรื่องสเกลเรื่อง harmony ความเข้ากันของเสียงอยู่ ซึ่งต้องใช้ความรู้ความเข้าใจในทฤษฎีดนตรี
และ การใส่เสียงเครื่องดนตรีอย่างอื่นที่นอกเหนือจากกลองลงไปในเพลง ที่จริงแล้วมันเป็นเรื่องที่ยากกว่าการใส่เฉพาะเสียงกลองอยู่มาก เพราะเรื่อง Melody, Harmony มันซับซ้อนและต้องใช้ความเข้าใจทางดนตรีที่มากกว่าอยู่หลายเท่า คนทำเพลงแนวนี้ (หมายถึง Hiphop และ Electronic ทั้งหมด) จะแบ่งออกเป็นสองจำพวกคือ พวกที่รู้ดนตรี กับพวกที่ไม่รู้
การไม่รู้ดนตรี สิ่งที่เพลงจะเป็นคือ อาจได้ซาวด์ที่มีความละเอียดละออ ความเข้ากันของเสียงต่างๆ ไม่เท่าคนที่รู้ดนตรี และมีแนวโน้มมากกว่าที่เพลงจะออกมาหลอน หรือ มีความ Dissonance (เสียงกัด) มากกว่า Consonance (เสียงพ้องกัน กลมกลืนกัน เข้ากัน)
นั่นแปลว่า ที่จริงแล้วการเรียกคำว่า Beat แทนดนตรีทั้งหมด เกิดจากการที่คนรุ่นใหม่ๆที่โตมาก็เจอการหลอมรวมของ Pop กับ Hiphop เลยนั้นไม่รู้ (ว่าที่จริงมันเรียกว่า Music Arranging) แต่เรียกตามวัฒนธรรมฮิพฮอพแบบดั้งเดิมที่เรียกกันมา แต่มาทำเพลงแบบที่เป็น Pop ด้วย โดยที่ไม่ได้แยกแยะวิธีการ คือไม่ว่าจะเป็นการทำเพลงแบบ “ไม่ใส่ใจว่าจะเป็นดนตรีอะไร ของแค่มี Beat ให้จับเป็นโอเค” หรือวิธีการแบบ “เรียบเรียงเครื่องดนตรีทุกชิ้นมาอย่างดีคิดมาแล้วเป๊ะๆ” ก็ตาม
คือแน่นอนว่า การทำ Beat แบบมีแต่กลอง หรือมี Pitch นิดๆหน่อยๆ แบบง่ายๆ มันอาศัยความรู้ทางดนตรีไม่เยอะก็สามารถทำได้ แต่ถ้ามันเป็นดนตรีที่ละเอียดสวยงามขึ้นมากว่านั้นล่ะ เช่น คอร์ดยาก มี Compose , Harmony , Counter Melody ต่างๆที่ฟังดูมีรสนิยม หรือไม่ธรรมดา พวกนี้มันใช้ความรู้กับสกิลดนตรีค่อนข้างมาก และใช้เวลาเรียนรู้ในการทำต่างกันเยอะ ฉะนั้นคนที่ไม่เข้าใจในกระบวนการ เวลาเหมารวมและพูดว่า Beat ไปเลย ก็มักทำให้เกิดปัญหา
เช่น
บางที คนจ้างทำบีท ราคาไม่เท่าไร โปรดิวเซอร์ ก็คิดว่า ก็ง่ายๆนี่ ไม่มีอะไร แค่กล่องเอง ส่งไปให้ง่ายๆ จบงาน ถ้าผู้จ้างพอใจก็จบ แต่บางคนดันมีความต้องการที่มากกว่านั้น คือต้องการ Music Arranging หรูๆไปเลย เป็น Ref. ที่ตัวเองเคยฟังมา ซึ่งไม่ได้ทำง่ายๆ และไม่ได้ราคาถูกๆแน่นอน
ส่วนตัวผมไม่มีปัญหากับศัพท์อะไรทั้งสิ้น มันก็แค่สิ่งที่คนกำหนดมาเพื่อเข้าใจบางสิ่งร่วมกัน แต่เมื่อปัญหามันเกิด และทำให้เข้าใจไม่ตรงกัน ผมคิดว่ามันควรมีการคุยกันให้เข้าใจตรงกันชัวร์ๆก่อนเริ่มงาน อาทิเช่น
– ผู้รับจ้าง รับทำบีท มีสองแบบ แบบ Easy (กลองเฉยๆ อะไรก็ได้) กับแบบ Premium (design ตัวดนตรีอย่างอื่นด้วย มันคือ music arranging)
– ผู้จ้าง ตอนจะจ้างให้ส่ง ref. ดนตรีที่ตัวเองต้องการให้ชัดเจน และระบุความต้องการให้ชัดว่า คำว่า บีท ที่ตัวเองหมายถึง คือมีแต่จังหวะกลอง หรือมันคือเสียงเครื่องดนตรีอื่นด้วยทั้งหมดทั้งเพลงเลย
ขอให้ทำเพลงกันอย่างราบลื่น และเข้าใจกันได้ด้วยดีนะครับ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์
ใครที่อยากเรียนเนื้อๆของดนตรี เพื่อการทำ Beat ทำดนตรีได้อย่างลึกซึ้ง และสามารถจัดการเรียบเรียงเสียงประสานเครื่องดนตรีต่างๆที่นอกเหนือไปจากกลองได้อย่างลงตัว แนะนำหลักสูตร The Real Producer “0-100 สู่อาชีพโปรดิวเซอร์” ผมแนะนำวิชาที่ชื่อว่า VCA201,202 : Music Designer
จะสอนคุณเกี่ยวกับการดีไซน์เสียงเครื่องดนตรีในเพลงทั้งหมด ที่ไม่ใช่แค่กลอง แต่สอนให้คิดเป็นทุกเครื่อง โดยเป็นการสอนควบคู่ไปกับทฤษฎีดนตรีที่จำเป็นในการทำเพลง สนใจติดต่อ admin ตาม link ด้านล่างได้เลยครับ
หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream
เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง
นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ
หลักสูตร The Real Producer
เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล
สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link
http://mkt.verycatsound.academy/mf2
——————
Contact
Line ID :
– เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
– เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound
Tel. : 0856662425
Website : verycatsound.com
FB : http://www.facebook.com/verycatsound
YT : http://www.youtube.com/c/verycatsound