เรียนทำบีท การเรียบเรียงดนตรี

การทำ Beat กับ การเรียบเรียงดนตรี Music Arranging แตกต่างยังไง?

Share via:

Krissaka Tankritwong

ผมเคยพูดถึงศัพท์คำว่า Beat ไปในบทความก่อนหน้านี้ https://verycatsound.com/blog-beat/ ว่ามันมีที่มาจากไหน และจู่ๆมันมาแปลว่าการทำดนตรี แทนคำว่า Music Arranging หรือการเรียบเรียงดนตรีได้ยังไง ซึ่งรากมันมาจากวัฒนธรรมฮิพฮอพจากอดีตที่มาเกิดปรากฏการณ์บูมในสังคมไทยเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ และมีการบิดเบือนของความหมายที่แท้จริงของมันไป จนกลายเป็นการใช้กันเป็นปกติในบริบทใหม่ในไทยทุกวันนี้

อย่างที่เราทราบกันดีว่า จริงๆแล้ว บีท มันแปลว่าจังหวะ ฉะนั้นจึงมีคนทำดนตรีส่วนมาก ที่ร่ำเรียนมาเป็นเรื่องเป็นราว ตีความว่า การทำบีทคือทำแต่ ส่วนของกลอง หรือ Rhythmic Section แต่ในบริบทความหมายของคนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้เรียนดนตรีมาโดยตรงจะมีความเข้าใจไปอีกแบบว่า แปลว่าเสียงดนตรีทุกอย่างในเพลงเลย ( ซึ่งนั่นจริงๆแล้วชื่ออย่างเป็นทางการมันเรียกว่า การเรียบเรียงดนตรี หรือ Music Arranging )

ทีแรกผมคิดว่า มันเป็นแค่การใช้คำผิด หรือเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของคนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องดนตรีเฉยๆ ทำให้เกิดบริบทของการใช้คำนี้ที่เปลี่ยนไปในยุคสมัยใหม่ แต่ผมสังเกตว่า ที่จริงแล้ว มีคนทำเพลงรอบตัว หรือโปรดิวเซอร์อยู่อีกจำนวนนึงที่ไม่ได้คิดว่ามันเป็นแค่การใช้คำผิดแต่ความหมายเดียวกันเท่านั้น แต่มีการตีความสองคำนี้ในรายละเอียดที่แตกต่างกัน

ก่อนอื่นขอออกตัวไว้ก่อนว่า ตัวผู้เขียนเองไม่ได้เป็นผู้ตัดสินว่าอะไรถูกหรือผิด บทความนี้เป็นเพียงการสังเกตการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในวงการดนตรีของไทยที่เราอยู่ และเอามาแบ่งปันเพื่อเป็นความรู้เท่านั้น ใครพอใจจะใช้คำไหน ตีความว่าอะไร เป็นเรื่องปัจเจกนะครับ

3 ข้อสังเกต

สิ่งที่โปรดิวเซอร์ส่วนหนึ่งเห็นว่า Beat แตกต่างกันกับ Music Arranging

1. Beat คือดนตรีที่ทำออกมาหลวมๆ

คำว่าหลวมๆในที่นี้ไม่ได้แปลว่า มันถูกทำโดยไม่ได้ Fix กับเมโลดี้ใดเมโลดี้หนึ่งโดยเฉพาะ ผู้ทำบีท มักทำบีทขึ้นมาก่อน เพื่อให้คนที่เอาไปใช้ สามารถร้องเมโลดี้ หรือ Rap ของตัวเองใส่เข้าไปกลายเป็นเพลงได้แบบอิสระ ฉะนั้นเมื่อมันไม่ได้ถูกออกแบบมาเฉพาะเจาะจงเพื่อให้เข้ากับเพลงๆไหน หรือเมโลดี้แบบใด มันจึงมีลักษณะที่หลวมๆ คือไม่มีรายละเอียดดนตรีที่สอดประสาน กับตัวเมโลดี้ได้อย่างลงตัวมากนัก และจะมีรายละเอียดที่น้อยกว่า การเรียบเรียงดนตรี โล่งกว่า ทางคอร์ดเรียบง่ายกว่า มักเป็นคอร์ดวนๆ ไม่กี่คอร์ด อยู่ในคีย์เดียว ไม่มีการเปลี่ยนคีย์ หรือลูกเล่นของการ Modulation , Harmony แปลกๆนัก เพราะต้องการให้มันเข้ากับเพลงที่มีเมโลดี้ง่ายๆโดยทั่วไปได้ จึงเกิดลักษณะการขายบีทแบบ ทำบีทออกมาก่อน แล้ววางขายให้ศิลปินหรือนักแต่งเพลงเลือก เอาไปใช้แต่งเพลงลงบนบีทนั้นอีกที

ในทางตรงกันข้าม การเรียบเรียงดนตรี คือการออกแบบดนตรีที่เป็นการ Custom made ให้เข้ากับเพลงนั้นๆแบบแนบสนิท ไม่ได้สามารถเอาดนตรีเพลงๆนึงไปใส่ดนตรีอีกเพลงนึงได้ เพราะจะมีจุดที่ไม่เข้ากันอยู่หลายจุด ยิ่งเป็นเพลงที่มีความซับซ้อนและพิถีพิถันมากเท่าไร ยิ่งใช้ได้แค่กับเพลงๆนั้นเท่านั้น เพราะมันถูกออกแบบมาเฉพาะ ซึ่งการทำงานแบบนี้ไม่นิยมสร้างดนตรีขึ้นก่อนที่จะแต่งเพลง เพราะมันเป็นการสร้างงานด้วยกระบวนการคิดคนละแบบ

แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีอะไรตายตัวนัก โปรดิวเซอร์หรือนักทำเพลงบางคนอาจใช้วิธีผสมผสาน หรือสลับขั้นตอน สร้างบีทมาก่อน แล้วมาปรับหรือเพิ่มเติม Arranging ให้เข้ากับตัวเพลงอีกทีหนึ่ง ก็เป็นเรื่องที่พบเห็นได้

โปรดิวเซอร์บางส่วน แยกไปเลยว่า ผู้จ้างงานต้องการให้ทำ Beat หรือทำ Music Arranging และคิดราคาต่างกัน เนื่องจากความยากและความละเอียดในการทำงานที่แตกต่างกันในเหตุผลที่กล่าวไปข้างต้น ฉะนั้นไม่ต้องแปลกใจว่า ทำไมเห็นบางที มีคนทำบีทขายในราคาถูกๆ แต่บางทีการรับทำดนตรีถึงมีราคาสูงกว่า

2. Beat มักเป็นดนตรีแบบ Electronic

ผมแทบไม่เคยเห็นว่า มีคนใช้คำว่า ทำ Beat กับแนวดนตรีที่เป็น acoustic หรือ rock หรืออะไรก็ตามที่เป็นเครื่องดนตรีจริง ไม่ใช่ Electronic โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แทบจะ 99% พอเป็นสิ่งที่เรียกว่า Beat แทบจะต้องใช้กลอง Electronic มากกว่าเป็นซาวด์กลองชุด หรือกลองอัดสด ซึ่งมันอาจเป็นความเข้าใจร่วมไปแล้วว่า Beat มันแปลว่าแบบนี้

ยกตัวอย่างง่ายๆ เราไม่เคยเห็น คนสาย Rock ทำดนตรี Rock แท้ๆ เรียกว่ากำลังทำบีทอยู่ใช่ไหมครับ และไม่เคยเห็นคนเล่นวงดนตรี อัดกลอง เรียกว่าตัวเองทำบีทอยู่เช่นกัน เหมือนจะเป็นสิ่งที่ยอมรับโดยทั่วกันโดยสากลไปแล้ว ว่า พอเป็นคำว่า Beat จะต้องหมายถึงดนตรีแนวที่มีความเป็น Electronic เท่านั้น ไม่ว่าจะ Electronic มากน้อยแค่ไหน จะ pop dance, Edm , hip-hop

หรือที่จริงอาจจะมีก็ได้ เพียงแต่ผมไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยินคนใช้คำนั้นในบริบทแบบนั้นเอง?

3. คำว่า Beat ถูกใช้เฉพาะในวงการ Hip-hop, EDM ก่อนจะลามมาวงการเพลง Pop

อันนี้คงเป็นสิ่งที่หลายๆคนรู้กันอยู่แล้ว ถ้าได้อ่านบทความตอนที่แล้ว และเนื่องด้วย Hip-hop นั้นได้รับความนิยมจนมารวมร่างกับเพลง Pop ยุคนี้ไปแล้ว เรียกว่าได้ แทบ 60% ของเพลง pop mainstream ยุคใหม่ จะต้องมีท่อนแรพใส่เข้าไป ไม่มากก็น้อย มันก็เลยลามมาใช้ในวงการ pop ด้วย

เนื่องด้วยต้นกำเนิดที่มาจากเพลง Hip-hop ซึ่งโดยปกติแล้วเพลงแนวนี้จะไม่มีกรอบเรื่องความเข้ากันของเมโลดี้กับฮาโมนี่ เพราะมีลักษณะเป็นการพูด มากกว่าการร้องเป็น Pitch เสียงหรือเมโลดี้ ทำให้สามารถแต่งอะไรก็ได้ลงไปโดยไม่มีความจำเป็นต้องกังวลว่าจะเข้ากับ Harmony หรือเสียงประสาน เสียงคอร์ดต่างๆมั้ย นั่นเป็นจุดแตกต่างอย่างมากกับเพลง Pop แบบปกติก่อนหน้านั้น เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว การสร้าง Beat ขึ้นมาแบบไหนก็ได้ แล้วค่อยเอามาใส่ Rap ลงไปจึงเป็นเรื่อง Make Sense ในวงการ Hip-hop

แต่ต่อมาเมื่อมีการใส่ Melody ลงไปกับการร้องเข้าไปเสริมในบางเพลง เพื่อเป็นสีสัน หรือที่นิยมกันมากขึ้นในแนว Hip-hop R&B ที่ถูกพัฒนามาต่อ มันทำให้ไม่ใช่มันเข้าได้กับเมโลดี้อะไรก็ได้ แต่ผู้แต่งเมโลดี้จำเป็นที่จะต้องแต่งให้อยู่ในกรอบของบีทนั้นๆที่ทำมาก่อนหน้า จึงไม่สามารถวาดลวดลาย Composition ทาง Harmony ที่ซับซ้อนขึ้นได้ และจุดนั้นเอง ถึงเริ่มเกิดวิธีการทำงานที่กลับกันกับแต่ก่อน คือ เริ่มมีการแต่งเพลงขึ้นมาก่อน แล้วค่อยมาทำดนตรีจริงจังเป็น Music Arranging บ้างแล้ว

อันไหนยากกว่ากัน?

ในเมื่อวิธีแบบ Music Arranging มันเฉพาะเจาะจงกว่า เข้ากับเพลงได้มากกว่า แล้วทำไมคนยังเลือกที่จะทำงานแบบ ทำ Beat ก่อน? ส่วนหนึ่งเพราะว่า เมื่อมันไม่ต้องมาปวดหัวเรื่อง Harmony กับรายละเอียดดนตรี พวก Counter Melody ต่างๆแล้ว มันเลยทำง่าย ทำไว ซื้อง่าย ขายคล่องกว่า อีกอย่างที่ถูกใจวัยรุ่นด้วยก็คือ มันไม่ต้องการความรู้เรื่อง Harmony มากนัก ทำให้หลายคนทำสิ่งนี้ได้โดยที่ไม่ต้องร่ำเรียนเรื่องยากๆของดนตรีกันเป็นปีๆ แต่แน่นอนว่า ข้อจำกัดและความละเอียดพิถีพิถันก็ย่อมต่างกันด้วย

อย่างที่ได้กล่าวไปว่า มันไม่มีอะไรตายตัวนัก โปรดิวเซอร์บางคนก็ถนัดที่จะใช้วิธีแรก บางคนก็ถนัดใช้วิธีที่สอง บางคนก็เลือกที่จะผสมผสานหรือสลับ Process การทำงาน แต่ไม่ว่าอย่างไร สิ่งที่บอกได้แน่นอนคือ การทำ Beat นั้น ทำง่ายกว่าสิ่งที่เรียกว่า Music Arranging แน่นอน และอย่าแปลกใจที่คุณจะพบว่าทำไมราคาของการทำดนตรีมันถึงต่างกันและมีหลายระดับมากกว่าที่คุณคิด

The Real Producer

ไม่ว่าคุณจะอยากเป็น Beat Making หรืออยากทำได้มากกว่านั้น อยากทำ Music Arraning ได้ละเอียดพิถีพิถัน เป็นโปรดิวเซอร์ตัวจริงที่เก่งกาจสมกับค่าตัวให้ได้ ขอแนะนำหลักสูตร The Real Producer มีสอนทุกอย่างที่จำเป็นสำหรับการทำเพลงเป็นโปรดิวเซอร์มืออาชีพ

สนใจติดต่อแอดมินใน line @verycatacademy หรือที่ link รายละเอียดข้อมูลหลักสูตรเพิ่มเติมด้านล่าง post ได้เลยครับ


The Real Producer
REAL / DEEP / EXCLUSIVE

หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream

เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง
นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ

หลักสูตร The Real Producer
เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล
สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link
http://mkt.verycatsound.academy/mf2

——————

Contact

Line ID :

– เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
– เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound

Tel. : 0856662425
Website : verycatsound.com
FB : http://www.facebook.com/verycatsound
YT : http://www.youtube.com/c/verycatsound

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.