ถ้าคุณเคยไปเรียน Mix ,Master คุณอาจจะเจอประโยคนึงที่อาจารย์หลายท่านพูดเหมือนกันหมดคือ ก่อนที่คุณจะนำ Project เพลง มาเข้ากระบวนการ Mix , Master เนี่ย เพลงคุณควรจะเรียบเรียงดนตรีมาดีแล้วก่อน แล้วอะไรๆมันจะง่ายเลยครับ ซึ่งเพราะว่าที่จริงแล้ว กระบวนการ Mix, Master เนี่ย มันเป็นการจัดการกับคุณภาพเสียงเพียงอย่างเดียว โดยที่ไม่เกี่ยวกับ Design ของตัวโน้ตดนตรี มันไม่ควรจะต้องมานั่งเปลี่ยนหรือแก้ปัญหาอะไรมากมาย
ถ้าเพลงที่คุณทำผ่านการเรียบเรียงมาอย่างดี ไลน์ดนตรีทุกอย่างถูกคิดมาแล้ว ชัวร์หมดแล้ว และเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นถูกตัดสินใจเรื่องระดับเสียงหรือ octave ไว้อย่างดี ไม่มีไลน์ไหนทับกัน ตีกัน หรือในโน้ตดนตรีไม่มีตัวไหนที่ทำปฏิกิริยาเป็นคู่ 2 minor (หรือที่เค้าเรียกว่า เสียงกัด หรือ dissonance) รวมถึงมีการใส่โน้ตต่างๆที่มีความสมจริง ไพเราะมาแล้ว เรียกว่า แม้แต่ตอนยังไม่มิกซ์มันก็ฟังเพราะอยู่แล้ว ตอนมิกซ์มันจะง่ายมากๆเลยครับ Sound Engineer เจองานแบบนี้ยิ้มเลย รักตาย
แต่มันเป็นความเข้าใจผิดของหลายๆคนที่คิดว่า กระบวนการ Mix มันจะช่วยแก้ปัญหาให้ทุกอย่างฟังดูดีขึ้นได้ ซึ่งมันไม่ใช่แบบนั้นเลยครับ ทางที่ดีเราควรจะแบ่งการทำงานเป็นแต่ละขั้นตอนที่ชัดเจนว่า มันควรโฟกัสกับอะไรแล้วทำเสร็จเฉพาะส่วนไหนๆแบบชัดเจน โดยไม่ไปเป็นภาระให้กับคนที่ทำงานใน phase ถัดไป (อ้างอิงจากการทำงาน 3 ขั้นตอนของการทำดนตรีที่ผมเคยเขียนไปแล้ว)
ที่จริงแล้วจะมีอีกขั้นตอนที่ซ่อนอยู่ ระหว่างการ เรียบเรียงดนตรี และ Mix , Master อีก นั่นคือการ Edit ซึ่งถ้าทำมาเรียบร้อยก่อนที่จะส่งไปมิกซ์ก็จะยิ่งดีครับ เอาไว้ผมจะพูดถึงเรื่องการ Edit ในครั้งหน้าๆนะครับ
ที่จริงแล้วผมว่าหลายคนไม่ได้มองข้ามมันหรอก มันคือการใส่เครื่องดนตรีจนครบ ซึ่งหลายๆคน เข้าใจผิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของการมิกซ์ ที่จริงมันคือคนละส่วนเลยครับ เพียงแต่อาจจะไม่เคยมีใครมาอธิบายแบบแยกส่วนให้คุณฟังเฉยๆ ที่จริงแล้วการทำดนตรีควรจะไล่มาตั้งแต่ขั้นแรกคือ แต่งเพลง เนื้อร้องทำนองให้จบ แล้วมาขั้นที่สองคือ การเรียบเรียงดนตรี คือทำดนตรีให้จบ (โดยที่ยังไม่ไปยุ่งกับเรื่อง eq , compress , mix ต่างๆที่เป็นส่วนของคุณภาพ sound) แล้วจึงมาทำขั้นตอนที่ 3 โดย sound engineer ในการ mix, master จึงจบกระบวนการ แต่อย่างที่ผมเคยได้กล่าวไปในหลายๆ content ก่อนหน้านี้ หลายๆคนเข้าใจหน้าที่ของการมิกซ์ และหน้าที่ของ sound engineer ผิด ว่าเป็นคนทำเพลง เป็นคนออกแบบดนตรีด้วย ทั้งๆที่จริงๆแล้วมันแยกส่วนกัน (คนบางคนสามารถทำได้ทั้งสามหน้าที่ ไม่แปลก แต่ก็ไม่ผิดที่จะทำเพียงแค่บางหน้าที่ แล้วส่งต่อให้คนอื่นทำเฉพาะส่วนที่ตัวเองถนัด)
ทีนี้คุณคงรู้แล้วว่า คุณควรจบเรื่องการคิดตัวโน้ตต่างๆของทุกๆเครื่องดนตรีให้เสร็จก่อน จึงจะค่อยมานั่งปรับ sound ให้มันลงตัวขึ้น สมูธขึ้น กลมกลืนขึ้น ไม่ตีกัน คุณภาพเสียงดีขึ้น การทำงานในขั้นสุดท้ายจะไม่ยากเลย เพราะ source ทุกส่วนได้ถูกจัดเตรียมมาอย่างดี ถ้าคุณทำเอง คุณก็จะรู้สึกว่า การ mix นั้นไม่ยากอย่างที่คิด และต่อให้คุณไปจ้าง sound engineer มา mix ให้คุณ ก็จะทำให้การทำงานมันราบรื่นมากๆ ฉะนั้นลองถามตัวเองดูก่อนครับว่า เพลงที่คุณทำตอนนี้มันเรียบเรียงมาดีพอแล้วรึยัง พร้อมรึยังกับการนำไป mix, master?
สำหรับใครที่สนใจการเรียบเรียงดนตรี ทางหลักสูตร The Real Producer นั้นมุ่งเน้นความสำคัญในด้านนี้เป็นพิเศษ สามารถเรียนได้ในวิชา VCA201 Basic Music Designer และ VCA202 Advance Music Designer ได้เลยครับ
—————————
หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream
เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง
นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ
หลักสูตร The Real Producer
เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล
สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link
http://mkt.verycatsound.academy/mf2
——————
Contact
Line ID :