เรียนทฤษฏีดนตรี Circle Of Fifth 1

Circle Of Fifth คืออะไร? ใช้ยังไง?

Share via:

Krissaka Tankritwong

มีหลายๆคนเลย ทียังเป็นมือใหม่แล้วยังไม่รู้ว่า Circle of Fifth มันคืออะไร แล้วมีไว้ทำอะไร

วันนี้เราจะพามารู้จักกันว่า Circle of Fifth คืออะไร

Circle of Fifth เปรียบเสมือนกับตารางธาตุของดนตรี ที่โชว์ความสัมพันธุ์ของคีย์แต่ละคีย์

เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่นักดนตรีหลายๆยุค ใช้มาหลายร้อยปี และมือใหม่ทุกๆคนก็ควรที่จะต้องจำได้เพราะมันมีประโยชน์อย่างมาก เพราะว่า

1.ช่วยให้เรารู้คีย์หลักและคีย์อื่นๆที่สัมพันธ์กัน

2.สามารถใช้โน้ตในสเกล และคอร์ดในสเกลได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

3.ช่วยให้เรารู้ว่า คีย์แต่ละอันมีกี่ Sharp กี่ Flat

สาเหตุที่ใช้ชื่อ Circle of Fifth เพราะแต่ละคีย์นั้นมันมีระยะห่างเป็นคู่ 5 perfect (เป็นการนับแบบ Diatonic)

Circle of Fifth แบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งชาร์ป (ขวา) และ ฝั่งซ้าย (แฟลต)

ซึ่งเราจะมาเริ่มจากวิธีสร้าง ฝั่งขวาก่อน โดยเราจะใช้แต่สเกล C ในการสร้างขึ้นมา

วิธีสร้าง Circle of Fifth ฝั่งขวา

เวลาสร้างทุกครั้งจะเริ่มจากตัวคีย์ C ก่อนเสมอ และถ้าผมอยากจะรู้ว่าคีย์ต่อไปคืออะไร ผมก็เริ่มนับหาคู่ 5 ในสเกล C เช่น

C _ D _ E . F _ G ตัวที่ 5 คือตัว G ดังนั้นผมก็รู้แล้วว่าคีย์ถัดไปของคีย์ C คือคีย์ G

และหลังจากได้คีย์ G มาแล้ว คีย์ต่อไปทำเหมือนเดิมเช่นกัน

ให้นับในสเกล C แต่ทีนี้เริ่มจาก ตัว G ก่อน

เป็น G _ A _ B . C _ D ตัวที่ 5 คือตัว D ที่นี้เราก็จะได้คีย์ถัดไปของตัว G แล้ว

ให้ทำแบบนี้ไปเรื่อยจนหยุดที่ตรง B ก่อน

ถ้าสังเกตุคุณจะเห็นว่าในตาราง F ทำไมถึงใส่ชาร์ป

เพราะจริงๆแล้ว สาเหตุมาจากตัวที่ 5 ของ B นั้นตรงกับตัว F# ในสเกล B

นั่นจึงเป็นสาเหตุที่เราต้องเพิ่ม # กับ F ตัวเดียว

__________________________________

วิธีสร้าง Circle of Fifth ฝั่งซ้าย

เริ่มจากตัว C แต่ให้นับเป็น Perfect Fourth หรือก็คือนับหาคู่ 4

เช่นเริ่มหาคู่ 4 ในสเกล C

C _ D _ E . F คู่ที่ 4 คือตัว F ดังนั้น คีย์ถัดไปของ C ก็คือ F

ต่อจากคีย์ F ก็นับหาคู่ 4 เหมือนเดิม ในสเกล C

F . G _ A _ B คู่ 4 คือตัว B แต่ทีนี้ให้ใส่แฟลต b ลงไปด้วย

และทำไปเรื่อย ทวนเข็มจนผมพาทุกคนมาหยุดที่ Db ก่อน

สาเหตุที่ใช้ C# ก็เหตุผลง่ายๆเลยครับ คือ C# เป็นที่นิยมในสากลมากกว่า

__________________________________

หลังจากเรารู้วิธีสร้างไปแล้ว ที่นี้มาดูกันว่าเราจะรู้ว่าคีย์แต่ละตัวมีชาร์ป ( # ) หรือ แฟลต ( b ) เป็นตัวอะไร

เพราะทุกๆครั้งที่เราเริ่มหาคีย์ต่อๆไป มันก็จะเริ่มเพิ่มจำนวนชาร์ปกับแฟลตขึ้นเรื่อยๆ

วิธีที่จะรู้ว่าในคีย์นั้นมีชาร์ปหรือแฟลตโน้ตตัวไหนบ้าง ก็ง่ายๆครับ

โดยผมขอเริ่มจากฝั่งชาร์ปก่อน

วิธีหาชาร์ป

เริ่มจากคีย์ G ให้เราย้อนไปที่ตัวคีย์ F แล้วหยิบมันมาเพิ่มชาร์ป # ลงไป

ทีนี้เราก็จะรู้แล้วว่าคีย์ G มีชาร์ป 1 ตัวเป็น F# แบบง่ายๆเลย

และถัดไปคีย์ D ให้เราย้อนไปเอาตัว F มาใส่ชาร์ปเช่นกัน แต่ทีนี้ก็หยิบตัว C มาใส่ด้วย

เราก็จะรู้แล้วว่าคีย์ D มีชาร์ป 2 ตัวคือ F#, C#

สังเกตุๆง่ายๆคือเราจะตั้งตัว F เป็นตัวแรกก่อน แล้วเราหยิบคีย์อื่นๆมาใส่ชาร์ปลงไปวนตามเข็มนาฬิกา และหยุดที่ C#

วิธีหาแฟลต

ฝั่งแฟลตจะแตกต่างนิดหน่อย โดยจะเริ่มตั้งตัวคีย์ Bb ก่อน เช่น

เริ่มจากคีย์ F เราก็เริ่มหยิบจากตัว Bb มาใส่ จบแล้ว

ถัดไปคีย์ Bb เราก็นำตัว Bb และ Eb มาใส่

และใส่แบบนี้วนไปเรื่อยๆจนถึง B เราจะไม่ใส่เพิ่มเพราะหมดแล้ว

Circle of Fifth เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ทุกคนต้องจำให้ได้ หาอยากจะมาสายดนตรี เพราะมันจะช่วยให้เราเรียนรู้ และสามารถนำมาใช้ต่อยอดได้เรื่อยๆจนวันตาย

และใครที่อยากจะรู้วิธีใช้งานอีกเราก็มีหลักสูตร The Real Producer ที่มีการสอนวิธีใช้ให้ลึกลงไปอีก ใครที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ช่องทางด้านล่างเลย

สามารถดูบทความเก่าๆได้ที่ลิ้งค์ใต้คอมเม้นท์


VERY CAT SOUND

Compose Your Dream

เราไม่ได้สอนให้คุณทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง

ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ

ติดต่อจ้างทำเพลง Line @verycatsound

ติดต่อเรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.