Compressor คืออะไร และมีหน้าที่ทำอะไร?

Share via:

Krissaka Tankritwong

หลายๆคนอาจจะคุ้นหน้าคุ้นตากันมาบ้าง แต่ก็มีไม่น้อยที่ไม่รู้ว่ามันคือะไร มีไว้ทำไม
โดยเฉพาะคนใหม่ๆที่พึ่งหัดทำเพลง ก็อาจจะไม่เข้าใจเลยว่าปุ่มต่างๆที่เห็นมันมีไว้ทำอะไร

Compressor คืออุปกรณ์ที่คอยบีบอัดไดนามิกของสัญญาณเสียง ทำให้เสียงที่ดังลดลงและทำให้เสียงที่เบานั้นดังชัดขึ้น เมื่อมีระดับเสียงเดซิเบล (dB) ของเราไปแตะถึงระดับที่กำหนดไว้ มันก็จะเริ่มทำงานให้เสียงนั้นเบาหรือดังขึ้นนั่งเองครับ เช่นการอัดเสียงร้อง โดยคนเราร้องดังเบาไม่ได้เท่ากันอยู่แล้ว ก็ต้องใช้เจ้าตัวนี้ลดหรือเพิ่มขึ้นไป เรียกว่ามันคืออุปกรณ์กดระดับเสียง ให้อยู่ในระดับของสัญญาณที่เรากำหนดเอาไว้ครับ

การทำงานส่วนต่างๆของ Compressor นั้นจะมีอยู่ 5 ปุ่ม ที่เราต้องรู้จักกัน ซึ่งจะเป็นยังไงสามารถตามเข้าไปอ่านต่อที่นี่ได้เลยครับ

การทำงานส่วนต่างๆของCompressor

1.THRESHOLD

คือปุ่มไว้ปรับตั้งค่าให้ Compressor เริ่มกดสัญญาณ ไม่ให้เกินหรือต่ำกว่าที่กำหนด แต่ถ้าไม่เกิน ตัว Threshold ก็จะปล่อยให้เสียงนั้นเล่นตามปกติ โดยใช้หน่วยวัดเป็นเดซิเบล (dB) สามารถปรับได้สูงสุด +20dB และต่ำสุด -20dB

2. RATIO

เป็นปุ่มปรับให้ THRESHOLD ทำงานบ่อยแค่ไหน โดยมีการกำหนดเป็น 1:1, 2:1, 4:1, จนถึงระดับ Infinite

1:1 สัญญาณขาออกจะไม่ถูกกดลงเลย (คอมเพรสเซอร์จะไม่ทำงาน)

2:1 สัญญาณขาออก จะถูกกดให้ลดลง 2 เท่า จากค่า THRESHOLD ที่เราตั้งไว้

เช่น สัญญาณเข้า +20dB สัญญาณขาออกจะถูกกด และลดลงไม่ให้เกิน +10dB

4:1 สัญญาณออกจะถูกกดให้ลดลง 4 เท่า จากค่า THRESHOLD ที่เราตั้งไว้ เช่น สัญญาณเข้า +20dB สัญญาณขาออกจะถูกกด และลดลงไม่ให้เกิน +5dB

Infinite สัญญาณด้านขาออกจะถูกกดให้ลดลง เท่ากับค่า THRESHOLD ที่เราตั้งไว้ นั่นเอง

ตรงนี้อาจจะสับสนนิดหน่อย ผมขอยังไม่อธิบายรายละเอียดมากเท่าไหร่ แต่เอาเป็นว่ามันคือปุ่มที่ตั้งค่าว่าจะกดสัญญาณถี่แค่ไหน และถ้าถี่มากเกินจำเป็นจะทำให้เกิดปัญหาได้ ก็ปรับระวังกันด้วยนะครับ

3. ATTACK

เป็นปุ่มสำหรับปรับความช้า/เร็วของตัว Compressor ว่าให้เริ่มต้นทำงานเร็วหรือช้าแค่ไหน เมื่อมีสัญญานไปแตะตามที่ THRESHOLD ของเรากำหนดไว้

4.RELEASE

ปุ่มที่ตั้งให้ Compressor หยุดทำงานที่วินาทีไหน เมื่อตัว THRESHOLD ทำงานเสร็จแล้ว

5. OUTPUT GAIN/MAKE UP

เป็นปุ่มปรับลด หรือเพิ่มระดับความแรงของสัญญาณด้านขาออกของเครื่อง เพื่อลดระดับเสียงที่ดังเกินไป หรือชดเชยระดับความดังของเสียงที่เบาลง (หลังจากที่เราได้ทำการกดระดับสัญญาณ) ให้เพิ่มขึ้น ตามระดับเสียงที่เราต้องการ

สรุป Compressor จำเป็นไหม?

มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะสับสนว่ามันจำเป็นไหม แต่ผมบอกเลยครับว่าส่วนใหญ่ได้ใช้แน่ Compressor เป็นอีกหนึ่งตัวที่มันต้องใช้เสมอ เพราะมันช่วยทำให้เสียงดนตรีต่างๆของเราชัดขึ้น ดีขึ้นได้ ถ้าเรารู้จักวิธีใช้มันอย่างถูกต้อง แต่ถ้ามีดนตรีตัวไหนสัญญาณเสียงมันชัดอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องปรับก็ได้นะครับ การจะใช้ Compressor ให้คล่องๆนั้น ผมแนะนำว่าให้ลองไปปรับเล่นๆกันดูเอาเองเวลาที่เราทำเพลง จะเก็ทมากขึ้น เผลอๆอาจจะมากกว่าที่ผมอธิบายก็ได้ 555+ และศึกษาพื้นฐานเพิ่มเติมวิธีการใช้งานมันจะช่วยได้มากขึ้นครับ

The Real Producer

ถ้าใครสนใจเรียนรู้ทั้งเรื่องการทำเพลงเป็นโปรดิวเซอร์แบบขั้นลึก รวมถึงเรื่อง Sound Engineer ที่ได้กล่าวไป ลองติดต่อถามแอดมินมา ในหลักสูตร The Real Producer “0-100 สู่อาชีพโปรดิวเซอร์” ได้ครับ

————————

VERY CAT SOUND
Compose Your Dream
.
ถ้าคุณรู้ตัวแล้วว่าดนตรีไม่มีทางลัด ถ้าคุณอยากเข้าใจ และเชี่ยวชาญ
ถ้ามีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน ผมไม่อยากให้คุณหลงทาง
มาคุยปรึกษากันได้ครับ ยินดีให้คำปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
.
รับ demo คอร์สเรียนฟรี และข้อมูลหลักสูตรเพื่อประกอบการตัดสินใจได้ที่นี่
http://mkt.verycatsound.academy/mf2
ติดต่อจ้างทำเพลง Line @verycatsound
ติดต่อเรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.