สอนแต่งเพลง การฝึกหูแบบ Composer กับ Sound Engineer

การฝึกหูแบบ Composer กับ Sound Engineer นั้นแตกต่างกันอย่างไร

Share via:

Krissaka Tankritwong

หลายๆคนคงเคยได้ยินคำว่า Ear Training หรือการฝึกประสาทหู หรือประสาทการฟังกันมาบ้าง
มันคือการฝึกการฟัง เพื่อแยกแยะและวิเคราะห์เสียงต่างๆ เพื่อทำให้เราสามารถระบุได้ว่า นั่นคือเสียงแบบไหน เรียกว่าอะไร
ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างมากต่อการทำเพลง หรืออาชีพโปรดิวเซอร์

แต่ภายในสายงานการทำเพลง ก็ยังแบ่งเป็น เนื้องานที่เกี่ยวข้องกับ Design ของตัวเพลง อย่างการทำ Compose , Arrange หรือการแต่งเพลง ประพันธ์ เรียบเรียงดนตรี ซึ่งจะโฟกัสกับการออกแบบเพลง โฟกัสกับตัวโน้ตเป็นหลัก และเนื้องานอีกแบบคือเนื้องานที่ข้องกับกระบวนการ Production หรือเรื่อง Technician ต่างๆ ที่ทำโดย Sound Engineer นั่นเอง
การฝึก Ear Training เองก็เช่นกัน ก็ยังมีการแบ่งการฝึกนี้ออกเป็นสองแบบ คือแบบ Composer และแบบ Sound Engineer

Ear Training ทั้งสองแบบต่างกันอย่างไร

Ear Training แบบ Composer

อย่างที่เราเคยได้เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปในโพสต์ก่อนๆ มันคือการ ฝึกฟังเพื่อแยกแยะตัวโน้ตดนตรี แยกแยะความแตกต่างของโน้ตแต่ละโน้ต คอร์ด และขั้นคู่ต่างๆ และโดยส่วนมากจะเชื่อมโยงไปถึงการเลียนแบบโน้ตนั้นด้วยการร้องออกเสียงได้แม่นยำ นับเป็นสิ่งสำคัญมากของการทำเพลง เป็น Producer , Composer และเป็นสกิลพื้นฐานที่จำเป็นต่อการฝึกฝนเติบโตในระยะยาว ผู้ที่หูดีกว่า มีโอกาสในการสร้างเพลงที่ดีได้มากกว่า เปรียบเสมือนคนที่มองเห็นได้ชัดเจน จะสร้างศิลปะภาพวาดได้ดีกว่าผู้ที่สายตาไม่ดี โดยการฝึกประสาทหูแบบนี้ เป็นการโฟกัสที่ “ตัวโน้ต” หรือระดับเสียงต่างๆ ตามวิชาดนตรี คอร์ดและคู่เสียงต่างๆ โดยอ้างอิงจากความเชื่อมโยงสัมพันธ์ของตัวโน้ตในวิชาทฤษฎีดนตรี

Ear Training แบบ Sound Engineer

ส่วนอีกแบบ ที่เป็นการฝึกประสาทหูแบบ วิศวกรเสียง หรือ Sound Engineer เป็นการฝึกฟังโดยโฟกัสกับ “ลักษณะหรือคุณภาพเสียง” อาทิเช่น ย่านความถี่ ,ความแน่นของเสียงที่ถูกกดจากกระบวนการ Compress , มิติ ความกว้าง หรือ Stage , การสะท้อน หรือ Reverb เป็นต้น เหล่าวิศวกรเสียงคือผู้ที่เป็น Technician ที่มาช่วยเหลือ Composer , Arranger , Producer หรือคนดนตรีต่างๆ ในการขัดเกลาให้เสียงต่างๆมีความเนี้ยบ ความลงตัว และเพิ่มคุณภาพงานที่ออกแบบมาแล้วได้มากขึ้น บางครั้งบางทีมันเป็นการฟังโน้ตที่เหมือนกัน แต่แตกต่างกันน้อยมากๆในเชิงของคุณภาพเสียง และต้องฟังความแตกต่างเล็กน้อยนั้นให้ออก ถ้าคุณจะเป็น Soudn Engineer เพราะต้องมาทำการจัดการเสียงต่างๆให้ออกมาเรียบร้อยที่สุด ซึ่งทักษะแบบนี้ เป็นศาสตร์คนละอย่างกับดนตรี แต่จะไม่ใช่สิ่งเดียวกัน แต่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ในศัพท์ทางดนตรี เราจะเรียกสิ่งที่เป็นคาแรกเตอร์หรือคุณภาพเสียงว่า “Timbre” (ทิมเบ้อ) นั่นเอง

เมื่อ Pitch และ Timber คือการโฟกัสคนละอย่าง

เราจะพบว่า บางคนถนัดอีกอย่าง บางคนถนัดอีกอย่าง ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก และจะมีบางคนที่มีความสามารถครอบคลุม ถนัดทั้งสองอย่าง ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอีกเช่นกัน แต่ที่แน่ๆ ถ้าจะไปสายไหน คุณควรต้องมีหูที่ดีของสายนั้น หรือถ้ายังไม่มี หรือยังดีไม่พอ ก็ต้องเกิดการฝึกฝน ซึ่งไม่ว่าสายไหนก็ต้องใช้เวลาและก็มีความยากในแบบของตัวเอง

เลือกสายแล้วจึงฝึกฝน
มาถึงตรงนี้คุณคงพอเข้าใจแล้วว่า ทั้งสองอย่างแตกต่างกันอย่างไร ทีนี้ถ้าคุณมีความชัดเจนแล้วว่าจะฝึก Ear Training แบบไหน ฝึกไปเพื่อจะเป็นอะไร จะได้ไม่สะเปะสะปะ ลองหาโหลด App หรือโปรแกรมต่างๆที่ช่วยในการฝึกฝนทั้งสองสายได้ด้วยตัวเอง และพัฒนาไปเรื่อยๆ เพื่อประโยชน์ในการเป็นสุดยอด Producer ของคุณ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ครับ

The Real Producer

ส่วนใครนั้นที่อยากจะเรียนรู้ทฤษฏีดนตรีเพิ่มเติม และอยากจะเข้าใจดนตรีมากขึ้น
หลักสูตร The Real Producer ของเราก็พร้อมที่จะสอนคุณให้ตั้งแต่พื้นฐานจาก 0 ไปจนถึงมืออาชีพเต็ม 100 ไปประกอบอาชีพที่ตัวเองรักได้เลย แถมเราก็มีการแทรกการฝึก Ear Training เข้าไปด้วยบ้าง ในบางวิชา ถ้าหากใครสนใจติดต่อได้ครับ ใครที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ช่องทางด้านล่างเลย

บทความที่เกี่ยวข้อง

https://verycatsound.com/blog-5appeartraining/

https://verycatsound.com/blog-eartraining/

———

[ใส่ท้าย]

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.