หนึ่งในศัพท์ที่มีคนค้นหาในการเรียนทำเพลงมากที่สุด คือคำว่า Sound Engineer
และเป็นหนึ่งในคำหนึ่งที่เข้าใจความหมายผิดกันแบบคลาดเคลื่อนไปเยอะกันมากๆ
มาสรุปให้เข้าใจกันที่โพสต์นี้เลยว่า จริงๆแล้ว อะไรคือ Sound Engineer
แล้วเขาเหล่านี้มีหน้าที่ทำอะไรกับเพลงกันแน่?
——————
ผิด X
Sound Engineer ทำกระบวนการ Edit, Mix , Master เสียง ซึ่งเป็นกระบวนการสุดท้ายหลังจากทำเรื่อง แต่งเพลง เรียบเรียงดนตรีเสร็จมาแล้ว จาก Music Composer , Music Arranger , Producer , Song Writer
ผิด X
ไม่ใช่อะไรแบบนั้นเลย และสิ่งที่ DJ ทำ ที่เรียกว่าการ Mix เพลง ก็เป็นคนละอย่างกับ Mix แบบที่ Sound Engineer ทำ แต่มันดันใช้ศัพท์ใกล้กันเฉยๆ
ผิด X
ที่จริงแล้วเป็นคนละกระบวนการกัน ถามว่าเป็นส่วนหนึ่งของการทำดนตรีไหม มันคือใช่ แต่อยู่ส่วนท้ายๆ เป็นส่วนที่ไม่เกี่ยวกับกระบวนการออกแบบดนตรี และไม่ใช่วิชาดนตรีโดยตรง เพราะจะไม่ยุ่งกับตัวโน้ต คอร์ดใดๆ เรื่องพวกนั้นต้องทำมาเสร็จแล้ว แต่มาทำซาวด์ หรือคุณภาพเสียงให้ฟังดูดี ดูแน่น ดูเต็มอิ่ม ดูสมจริง ดูมีคุณพภาพขึ้นเฉยๆ
ไม่ถูกไม่ผิดทั้งหมด
เพราะมันคือส่วนหนึ่ง อย่างที่บอกว่า เป็นส่วนท้ายสุดของกระบวนการทำเพลง แต่ยังมีส่วนที่สำคัญกว่านั้น คือการที่จะมีตัวเพลงมาทำซาวด์ มา Mix มา Master ได้ เพลงต้องถูกแต่ง หรือ Compose ตัวเนื้อร้อง และทำนอง มาจาก Song Writer หรือ Composer ซะก่อนนี่คือขั้นแรก จากนั้นจึงไปทำกระบวนการขั้นที่สอง คือ เรียบเรียงเครื่องดนตรี Music Arranging หรือที่ชาวฮิพฮอพชอบเรียกว่าการทำบีทน่ะแหละครับ พอได้ดีไซน์ของดนตรีมาแล้ว แต่ซาวด์มันยังฟังดูไม่ดี ต่อจากนั้นถึงจะไปทำกระบวนการขั้นที่ 3 คือ Mix,Master
(ทำความเข้าใจเรื่องกระบวนการทำเพลง 3 ขั้นตอนเพิ่มเติมได้ที่ link website นี้)
https://verycatsound.com/blog-3steps/
ฉะนั้น ผู้ที่สนใจการทำเพลง เริ่มต้นควรใส่ใจเรื่องขั้นที่ 1 และ 2 เสียก่อน จะถูกต้องกว่าครับ
——————-
ที่จริงแล้ว Sound Engineer แปลตรงตัวว่า วิศวะกรเสียง หรือบางทีก็จะได้ยินอีกชื่อว่า Audio Engineering เป็นศาสตร์อีกแขนงที่ไม่ใช่ดนตรีโดยตรง แต่เป็นการทำงานที่คู่กับการทำดนตรี ขอบเขตของการศึกษาเรื่องนี้และการทำงาน จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับดีไซน์ของตัวโน้ต ตัวเพลง ตัวดนตรี ตัวคอร์ด ตัวขั้นคู่ใดๆ มันไม่ใช่การเป็น Composer , Arranger แต่จะยุ่งเรื่องของคุณภาพของเสียงเพียงอย่างเดียว ฉะนั้นจะเป็นขอบข่ายที่มาโฟกัสเรื่อง ย่านเสียงต่างๆ การสะท้อนของเสียง Acoustic เสียง ฯลฯ เป็นต้น
Sound Engineer แบ่งใหญ่ๆเป็นสองประเภท
คือผู้ที่ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกต่างๆให้นักดนตรีในการแสดงดนตรีสดตามที่ต่างๆ อาทิ เวทีคอนเสิร์ต ผับบาร์ร้านอาหาร หรือสถานที่ที่มีเวทีดนตรี เครื่องเสียง หน้าที่ของเขาคือการควบคุมให้เสียงในสถานที่นั้นๆ ฟังออกมาดูดีที่สุด มักพบเห็นได้อยู่หลัง Mixer คือปรับแต่งเสียงให้เสียงแต่ละเครื่องดนตรีที่เล่นออกมาจากนักดนตรีแต่ละคนบนเวที ฟังดูสมดุลย์ balance ที่สุด ไม่ดังไปเบาไปแหลมไปทุ้มไป ไม่บังกัน มิติสมบูรณ์ ออกมากลมกล่อม ไพเราะที่สุด นอกจากนี้ยังคอยเตรียมการ จัดแจง ดูแลเรื่องเทคนิคต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์ด้วย
หน้าที่คล้ายกับ Live Sound แต่เปลี่ยนจากนอกสถานที่ เป็นการประจำอยู่ข้างในสตูดิโออัดเสียงต่างๆ ซึ่งบางคนจะทำหลายหน้าที่ หรือบางคนก็จะทำแค่หน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ขอเจาะรายละเอียดเป็นสามหน้าที่ดังนี้
มีหน้าที่หลักๆคือการ อำนวยความสะดวกและควบคุมการบันทึกเสียง ให้ออกมาดีที่สุด คือคนที่ช่วยเราอัดเพลง เวลาเราไปใช้ห้องอัดน่ะแหละครับ เขาคนนี้จะช่วยเซตไมค์ ปรับค่าต่างๆ ที่เป็นเรื่องเทคนิคให้เราหมด พร้อมทั้งช่วยใช้เครื่องมืออัดออกมาให้ดีที่สุด ให้นักดนตรีหมดกังวลที่สุด
มีหน้าที่ Mix Down หรือผสมเสียงที่อัดมาแล้วในกระบวนการแรก หรือแม้แต่ไลน์เสียงดนตรีที่ส่งมาจาก Composer , Arranger นำมาผสมรวมกันให้เกิดความไพเราะกลมกลืนที่สุดโดยไม่ไปปรับเปลี่ยนดีไซน์ที่ทำมาแล้ว แต่เป็นการเสริมให้เกิดความชัดเจนในสิ่งนั้นๆ ให้แต่ละไลน์ดนตรีทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างดีที่สุด ด้วยการขัดเกลาคุณภาพเสียงด้วยวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น EQ , Compress อันเป็นเรื่องเทคนิคอันยิบย่อยละเอียดอ่อน และต้องใช้ประสาทหูที่ค่อนข้างดีมาก เพราะต้องแยกแยะความแตกต่างระหว่างเสียงที่ต่างกันเพียงน้อยนิดได้
มีหน้าที่ Master เพลงหรือทำกระบวนการขั้นสุดท้ายหลังจากเพลงถูกมิกซ์มาแล้วในขั้นที่แล้วอีกที เป็นขั้นตอนที่อธิบายยากว่าทำอะไรบ้าง แต่คล้ายๆกับการ เก็บรายละเอียดอีกรอบ เพื่อความรอบคอบ การทำให้ความดังอยู่ในค่ามาตรฐานที่เหมาะสมกับ Platform ที่จะนำไปใช้ และปรับแต่งครั้งสุดท้ายตามแต่ความเห็นของผู้ Master ซึ่งโดยปกติแล้ว Mastering Engineer ต้องทำโดย Sound Engineer ที่มีอายุงานและประสบการณ์ยาวนานจนเชี่ยวชาญแล้ว เพราะต้องมาตบงานให้ Mixing Engineer ให้เข้าที่เข้าทางอีกที
และมีอีก 1 หน้าที่ลับที่คนส่วนมากไม่เคยบอกคุณว่ามันมีอยู่ นั่นคือ
หน้าที่นี้ คือสิ่งที่ไม่ถูกระบุอย่างเป็นทางการว่าควรจะอยู่ในขั้นตอนของ Arranging หรือ Mix โดย Sound Engineer กันแน่ มันเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างการทำดนตรี กับ การมิกซ์ กล่าวคือ พอทำเพลงออกมาจบเพลงแล้ว มีเครื่องดนตรีครบแล้ว แล้วก่อนจะเอาไปมิกซ์เนี่ย ที่จริงแล้วมันยังมีเรื่องที่ต้องจัดการอยู่อีก คือการทำให้เสียงทุกเสียงฟังดูดีที่สุดก่อน เช่น เล่นตรงจังหวะ เนี้ยบที่สุด เลือกเสียง Sampling มาให้ใช่ที่สุด ปรับแต่งเสียงเครื่องสายให้ฟังดูธรรมชาติที่สุด ไม่แข็งเป็น karaoke เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ต้องทำ แต่มันมักเกิดข้อถกเถียงว่าใครทำกันแน่ ระหว่าง Music Arranger กับ Sound Engineer เพราะหน้าที่นี้ต้องใช้ความรู้ทั้งสองอย่างปนกัน และหนำซ้ำยังหาคนทำสิ่งนี้ได้ยากมากๆ
ปล. ปัญหาจุดนี้แก้ได้โดยการเรียนวิชา VCA203 Modern Music Production เรามีสอนครอบคลุมไว้หมดแล้วครับ
https://verycatsound.com/academy/level2/vca203-modern-music-production/
ทำเป็นในตัวเองให้จบๆไปเลย ดีกว่ามาพยายามหา Sound Engineer ที่จะทำสิ่งนี้ให้เรา บางทีก็ไม่ถูกใจครับ
—————————
จะเห็นได้ว่า หน้าที่ของ Sound Engineer นั้น เป็นเหมือนช่างที่คอยช่วยเหลือนักดนตรี นักแต่งเพลง นักทำดนตรี หรือโปรดิวเซอร์ ในเรื่องเทคนิคเสียงซะมากกว่า คือเขาไม่ได้ทำเพลงโดยตรง แต่คอยช่วยเก็บรายละเอียดคุณภาพเสียง มาทำเรื่อง Mix,Master ให้เรา การจะเป็นโปรดิวเซอร์หรือเป็นนักทำเพลง ถ้าคุณไม่อยากเรียนรู้เรื่อง Sound Engineer แล้วทำด้วยตัวเอง (ซึ่งเป็นศาสตร์อีกแขนงหนึ่งที่มีความยากในแบบของมัน) หรือคุณพบว่าคุณไม่ถนัดจะทำสิ่งนี้ด้วยตัวเอง สิ่งที่ดีที่สุดคือคนต้องหา Sound Engineer คู่ใจของคุณให้เจอ อาจทำเป็นทีม หรือจ้างกันเป็นประจำ แบบนี้ก็เป็นทางออกที่ดีครับ
ถ้าคุณทำได้ทุกอย่าง นั่นเป็นเรื่องดี ตรงที่คุณสามารถจบงานด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องไปพึ่งใคร หรือถ้าเป็นงานจ้าง คุณก็ไม่ต้องแบ่งใคร แต่นั่นก็ต้องแลกมากับ ชั่วโมงการเรียนรู้ที่เพิ่มเข้าไปอีก นอกเหนือจากเรื่องดนตรี
มันเป็นทางเลือกอีกทาง อย่างที่ผมได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ว่า เราทำเป็นทีมได้ ถ้าคุณโฟกัสกับการทำดนตรีหรือแต่งเพลงมากกว่า คุณอาจเรียนรู้เรื่อง Sound Engineer ขั้นต้นไว้บ้างพอประมาณ ให้พอทำเองได้บ้างในเบื้องต้น หรืองานที่ไม่ซีเรียนมาก แต่ถ้าเป็นงานซีเรียสเอาเนี้ยบมากก็ส่งต่อให้ทีมทำต่อ แต่สิ่งที่คุณควรโฟกัสก็คือ เพลงหรือดนตรีของคุณต้องแต่งออกมาให้เพราะ ออกแบบให้เฉียบขาด เป็นงานที่มีความสำคัญกับคุณที่อยากเป็น โปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรีมากกว่าครับ
ถ้าใครสนใจเรียนรู้ทั้งเรื่องการทำเพลงเป็นโปรดิวเซอร์แบบขั้นลึก รวมถึงเรื่อง Sound Engineer ที่ได้กล่าวไป ลองติดต่อถามแอดมินมา ในหลักสูตร The Real Producer “0-100 สู่อาชีพโปรดิวเซอร์” ได้ครับ
—————————————————
VERY CAT SOUND
Compose Your Dream
เราไม่ได้สอนให้คุณทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
.
รับ demo คอร์สเรียนฟรี และข้อมูลหลักสูตรเพื่อประกอบการตัดสินใจได้ที่นี่
www.verycatsound.academy/funnel01
ติดต่อจ้างทำเพลง Line @verycatsound
ติดต่อเรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy