การทำดนตรีประกอบภาพยนตร์ หรือดนตรีประกอบสื่อ อาทิ Animation , ภาพเคลื่อนไหว , โฆษณา ต่างๆ เป็นอาชีพหนึ่งที่ทำรายได้ให้กับคนทำเพลง หรือนักดนตรี ซึ่งบางคนอาจยึดเป็นอาชีพเสริม จากการเป็นศิลปิน หรือนักดนตรี หรือบางคนก็อาจจะทำเป็นอาชีพหลักเลย โดยกว่าจะเป็นได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะนอกจากจะต้องมีความเชี่ยวชาญในดนตรีที่แตกฉานแล้ว ยังต้องทำการประยุกต์เอาความรู้ทางดนตรีนั้นมาใช้งานกับสื่อประเภทภาพเคลื่อนไหวอีกด้วย โดยมันเป็นเครื่องมือสำคัญของการเล่าเรื่องด้วยภาพเคลื่อนไหว ที่จะทำให้เกิดการขับเคลื่อนทางอารมณ์ ตามการกำกับและจุดประสงค์ของฉากนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มให้ภาพนั้นๆ “มีชีวิต” ขึ้นมาได้อย่างมาก
หนทางที่จะไปสู่เส้นทางนี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมันแทบจะอยุ่ปลายสายของการทำดนตรี แน่นอนว่าคุณสามารถเริ่มทำได้เลยตั้งแต่ยังไม่เก่งก็จริง แต่ไม่แนะนำ เพราะคุณจะมีวัตถุดิบให้เลือกใช้อยู่ในมือน้อยเกินไป และเมื่อเจอโจทย์ภาพที่ต้องใช้ความรู้ทางดนตรีที่อยู่นอกเหนือความเข้าใจของคุณ จะเกิดอาการตันเอาได้ง่ายๆ และไม่สามารถเนรมิตงานที่ดี หรือตรงตามโจทย์ของผู้กำกับหรือลูกค้าได้อย่างที่ใจคิด และเมื่อคุณไม่เก่ง งานออกมาไม่ดี ลูกค้าบอกต่อกัน อยู่ได้ไม่นาน คุณก็ต้องออกจากวงการแล้ว เพราะไม่มีจำนวนงานมากพอที่จะอยู่รอดได้
ฉะนั้นเราจึงมาแนะนำหนทางสู่อาชีพ Film Score ว่าต้องเรียนอะไรบ้าง? ต้องเรียนสาขาไหน? ต้องฝึกฝนอะไร? เราจะแนะนำไว้ทั้งสองแบบ คือแบบฝึกเอง กับแบบ เรียนในสถาบันนะครับ
แนะนำ Piano ขั้นแรกคุณควรต้องเล่นดนตรีเป็นก่อน อันนี้เป็นเรื่องแน่นอน และควรเล่นให้ได้ในระดับเก่งกว่าคนธรรมดาทั่วไประดับนึง แต่อาจจะไม่ต้องเก่งเท่าสาย Performance จริงๆ ควรเรียนจนเล่นได้ทุกแนวทุกแบบ จนสามารถมองหรือฟังแล้วเข้าใจได้ว่ามันเล่นยังไง จนสามารถเล่นเลียนแบบได้แบบช้าๆ หรือใช้โปรแกรม DAWs ช่วยในการค่อยๆประกอบมันขึ้นมา แน่นอนว่าคุณอาจเล่นจริงไม่ได้ เพราะมันอาจจะเร็ว ซับซ้อน หรือต้องซ้อม แต่ไม่ต้องห่วง ขอแค่คุณเข้าใจมันก็เพียงพอ
แต่ในระยะยาว การฝึกซ้อมสกิลเครื่องดนตรีจนเก่ง จนเล่นสดจริงได้ดีขึ้นเรื่อยๆ ก็เป็นเรื่องที่ดีและควรทำ มันจะช่วยขัดเกลา sense ในการคิดเมโลดี้ของคุณให้ดียิ่งขึ้นไปอีกครับ
มันคือภาษาของดนตรี ซึ่งคุณควรจะเรียนจนแตกฉาน มันเป็นความเข้าใจใน fundamental สำคัญต่างๆที่ทำให้คุณรู้ตัวว่าทำอะไรอยู่ และสามารถสื่อสารเป็นรูปธรรมกับคนที่คุณทำงานด้วยได้ง่าย มันจะทำให้คุณสามารถคิดดนตรีแบบมีหลักการและเหตุผล และนำมาใช้งานเพื่อตอบโจทย์หรือจุดประสงค์บางอย่างของผู้จ้างได้
การไม่รู้ทฤษฎีดนตรีอาจทำให้คุณทำงานได้เช่นกันด้วยสัญชาติญาณ ซึ่งถ้าคุณทำเพลงที่เป็นของตัวเอง เป็นศิลปิน อาจไม่มีปัญหาอะไร แต่เมื่อไรที่คุณทำมันเป็นอาชีพ และต้องสื่อสารกับคนอื่นบ่อยๆ มันจะเกิดปัญหาการสื่อสาร และไม่สามารถสร้างสิ่งที่สามารถแก้ปัญหาตรงตามโจทย์ที่ลูกค้าต้องการได้ เพราะคุณไม่สามารถคิดเป็นเหตุเป็นผลได้นอกจากด้นมันขึ้นมา
ทั้งเนื้อร้องและทำนอง โดยเฉพาะการแต่งหรือประพันธ์ทำนองเพลง หรือการ Composition การรู้ทฤษฎีดนตรีอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ เพราะคุณต้องนำทฤษฎีนั้นมาฝึกฝน สร้างเพลงในแบบต่างๆ เพื่อสามารถใช้มันได้อย่างคล่องแคล่วขึ้นใจด้วย และเป็นการขัดเกลา sense ในการแต่งเพลงของคุณที่จะแหลมคมขึ้นเรื่อยๆ ในทุกๆเพลงที่คุณแต่ง เรียกว่ามันใช้ชั่วโมงบินในการฝึกฝน เช่นเดียวกับ การเล่นดนตรีนั่นแหละครับ อยากเก่งก็ต้องฝึกเยอะ ทำเยอะ
ที่สำคัญที่ขาดไปไม่ได้ คือคุณควรต้องมี mentor หรือ อ. ที่ปรึกษา ที่จะช่วยดูเพลงและขัดเกลาให้คุณ ว่าสิ่งที่คุณทำมันดีรึยัง เข้าที่รึยัง สามารถพัฒนาต่อตรงไหนได้อีกมั้ย เพราะมันจะทำให้คุณรู้ปัญหา และพัฒนาได้ตรงจุดอย่างต่อเนื่องครับ
คุณอาจคิดว่าฝึกเองก็ได้ เพราะเดี๋ยวนี้ความรู้มีฟรีเต็มไปหมด ผมอยากบอกว่า ไม่ผิดและก็ไม่ถูกซะทีเดียว การฝึกเองโดยไม่ไปเรียนกับใครเลยนั้น คุณจะพบปัญหาหลายๆข้อ เช่น คุณจับต้นชนปลาย ลำดับการเรียนรู้ไม่ถูก คุณไม่รู้ว่าคุณอยู่ตรงไหน และทั้งหมดมันมีอะไรบ้าง เนื้อหาเรียงกันยังไง หรือเมื่อทำเพลงออกมาแล้ว คุณก็ไม่รู้อยู่ดีว่า มันดีแล้วหรือยัง ที่คุณเข้าใจมันถูกต้องแล้วหรือยัง เพราะคุณไม่มี mentor หรืออีกปัญหานึงคือคุณอาจจะพอรู้แล้วว่ามีเรื่องยากๆอยู่ที่ต้องเรียนรู้ แต่สิ่งที่มีสอนส่วนมากก็มีแต่เรื่องพื้นฐานหรือ basic เลยไม่สามารถเรียนรู้ความรู้ระดับสูง ที่เพียงพอต่อการประกอบอาชีพนี้ได้
ถ้าคุณสามารถฝึกเองแล้วไปถึงจุดที่ต้องการได้ ผมยินดีด้วยครับ แต่ถ้าพบปัญหาแบบที่ผมบอกไป ที่จริงแล้วคุณควรจะไปเรียน มันเป็นทางตรงที่สุดแล้ว เร็วที่สุด ประหยัดเวลามากกว่าการคลำเองไปได้ไม่รู้กี่เท่า พอคุณใช้ชีวิตไปเรื่อยๆถึงจุดนึงคุณจะค้นพบเองว่า เวลาเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุด เพราะมันมีอย่างจำกัด ไม่สามารถสร้างขึ้นมาเพิ่มได้ ในขณะที่เงินมันยังมีโอกาสหาได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนั้น การมี mentor คือสิ่งที่สำคัญมากที่สุด แทบจะเท่าๆเนื้อหาการเรียน อย่างที่บอกไป
อยากจะบอกว่า ถ้าคุณจะจริงจังกับการทำดนตรี จนเป็นอาชีพนี้ให้ได้แล้วล่ะก็ ไปเรียนเถอะครับ จะค่อยๆเรียนแยกๆส่วนเองก็ได้ หรือถ้าคิดว่ามีทุนทรัพย์พอ จะเรียนเป็นสถาบันที่เปิดสอนเฉพาะทางไปเลยก็ยิ่งดีกว่า เพราะมันจัดมาให้ครบๆ ตามลำดับการเรียนรู้อยุ่แล้ว หรือถ้าคุณมีเวลาพอ ก็เรียนในมหาวิทยาลัยดนตรี คณะดนตรี สาขาที่เป็นการประพันธ์ดนตรีประกอบ โดยตรงไปเลย
หรือถ้าคุณอยู่ในจุดที่ อยากเรียน อยากทำมันมากๆ แต่ไม่พร้อมจะไปเรียนในมหาวิทยาลัย ด้วยเหตุผลต่างๆ ไม่ว่า อายุ เวลา หรืองบประมาณ คุณสามารถเลือกที่จะเรียนในสถาบันนอกมหาวิทยาลัยได้
.
ข่าวดีวันนี้คือสถาบันของเราเปิดสอน ในหลักสูตร The Real Producer มีสอนทุกอย่างตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น จากผู้สอนเกียรตินิยมอันดับ 1 มหาวิทยาลัยชั้นนำ และประสบการณ์ในการทำงานดนตรีกว่า 10 ปี เป็นประกัน
.
คุณสามารถเลือกเองได้ว่า จะเรียนทั้งหลักสูตร เพื่อมีเป้าหมายอาชีพ FILM SCORE
หรือเลือกเรียนวิชาพื้นฐานต่างๆ เก็บความรู้เพื่อต่อยอดในระดับสูงขึ้นได้
หรือเรียนวิชา VCA303 Orchestration in DAWs เพื่อปูพื้นฐานไปยังวิชา FILM SCORE ได้เช่นกัน
https://verycatsound.com/vca303-orchestra/
.
สนใจติดต่อแอดมินที่ Line @veryacademy หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ link ด้านล่างโพสต์นี้
————————
VERY CAT SOUND
Compose Your Dream
.
ถ้าคุณรู้ตัวแล้วว่าดนตรีไม่มีทางลัด ถ้าคุณอยากเข้าใจ และเชี่ยวชาญ
ถ้ามีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน ผมไม่อยากให้คุณหลงทาง
มาคุยปรึกษากันได้ครับ ยินดีให้คำปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
.
รับ demo คอร์สเรียนฟรี และข้อมูลหลักสูตรเพื่อประกอบการตัดสินใจได้ที่นี่
www.verycatsound.academy/funnel01
ติดต่อจ้างทำเพลง Line @verycatsound
ติดต่อเรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy