เรียนทำเพลง Keyboard ประเภทต่างๆ

Keyboard ประเภทต่างๆ แบบไหนใช้ทำเพลงได้?

Share via:

Krissaka Tankritwong

มีนักเรียนถามกันเข้ามาเยอะ ทั้งคนที่กำลังเรียนทำเพลงอยู่ หรือคนที่เข้ามาปรึกษา ให้แนะนำเรื่องการเลือกซื้อ Keyboard Midi สำหรับทำเพลง
แล้วทุกครั้งผมก็ต้องอธิบายค่อนข้างยาว เลยถือโอกาสทำเป็น Content แบ่งปันให้ทุกๆคนเลยทีเดียวนะครับ

และหลายๆคนยังสับสนกับกับคำว่า Keyboard กันอยู่เยอะ เลยต้องอธิบายให้เข้าใจกันละเอียดทีเดียวเลย
Keyboard ที่จริงแล้วแปลว่า ลิ่ม หรือคือการเรียกเครื่องดนตรีประเภทลิ่ม ซึ่งที่จริงแล้วมีอยู่หลากหลายประเภทมากๆ

ผมขอจำแนกคีย์บอร์ด ออกเป็นคร่าวๆดังนี้ครับ

ประเภทของKeyboard

1. Piano / Piano ไฟฟ้า : คือเครื่องดนตรีประเภทลิ่ม หรือคีย์บอร์ดที่นิยมมากที่สุด และมีขนาดใหญ่ที่สุด คือ 88 keys และประมาณ 7-8 octave เหมาะกับการฝึกซ้อม แต่ไม่เหมาะกับการพกพา เพราะหนักเกินไป ใหญ่เกินไป มีลิ่มที่หนาและหนัก Touching หรือการสัมผัสดีมาก เสียงดีคม ลึก เหมาะกับการฝึกฝนอย่างจริงจัง เพราะจะทำให้ได้การสร้างกล้ามเนื้อ ได้น้ำหนักนิ้วที่ดี บางรุ่นที่เป็นเปียโนไฟฟ้า คือจะทำจำลองทุกอย่างมาให้ใกล้เคียง piano จริงมากที่สุด เพียงแต่เป็นระบบไฟฟ้า จำลองเสียงเครื่องดนตรีจริง พวกนี้ส่วนมากจะต่อ MIDI เพื่อทำเพลงได้ด้วย

2. Synthesizer Keyboard : คือเครื่องดนตรีเล่นเสียงสังเคราะห์ ที่มีลิ่มคีย์บอร์ดในการป้อนโน้ต ก็คือคีย์บอร์ดส่วนมากที่เราพบเห็นได้ทั่วไปตามแผนกดนตรีในห้างนี่แหละครับ โดยมากมักจะมีเสียงให้เลือกเป็นร้อยเป็นพันเสียง คือได้ทำการจำลองเสียงเครื่องดนตรีจริง โดยการสังเคราะห์เสียงด้วยไฟฟ้า ใส่ลงในเครื่องนี้ ให้สามารถเลือกสารพัดเสียงเล่นได้สะดวก โดยมากจะมีลิ่มที่ถูกลดขนาดจากเปียโนจริง ให้เป็นลิ่มเบาลง และลด Octave ลง เพื่อพกพาไปเล่นที่ไหนได้สะดวกขึ้น ส่วนใหญ่คีย์บอร์ดพวกนี้เป็นเครื่องไฟฟ้าอยู่แล้ว รุ่นใหม่ๆจึงมักมี port MIDI ติดมาด้วย สามารถใช้ทำเพลงกับคอมได้เลย โดยจะขอจำแนกออกเป็นอีก 3 ประเภทย่อยได้แก่

2.1 : Electone : เป็นเครื่องคีย์บอร์ดที่ค่อนข้างเป็นที่นิยม จุดเด่นคือมีสองชั้น และมีแป้นให้เท้าเหยียบสำหรับเล่นเบส ทำให้สามารถบรรเลงดนตรีได้ด้วยตัวคนเดียว ครบวง Electone มักเป็นเครื่องดนตรีที่ผู้ปกครองนิยมส่งให้ลูกเรียนอีกเครื่องหนึ่ง เทียบเท่ากับเปียโน แต่เหมาะกับคนที่ชอบเล่นคนเดียว ไม่ได้ไปเล่นรวมวงกับคนอื่น

2.2 : Synthesizer แบบ All Rounder : คีย์บอร์ดโดยทั่วไปที่เราเห็นตามห้าง หรือร้านขายเครื่องดนตรีอยู่บ่อยๆนี่แหละครับ จุดเด่นคือ มักจะมีสารพัดเสียงให้เลือก และมักครอบคลุมเสียงแทบทุกเครื่องดนตรีไว้เยอะมากๆ มี feature อำนวยความสะดวกอะไรอีกสารพัด อาทิเช่น กดเสียงจังหวะอัตโนมัติ มาช่วยประกอบการเล่นได้ คือสรุปว่า เป็นเครื่องที่ใช้งานได้ในหลากหลายสถานการณ์และรูปแบบมากๆ เพราะมันมีทุกอย่างรวมไว้ในนี้ แต่ทุกอย่างคือ กลางๆ ไม่เด่นด้านใดด้านหนึ่งสักอย่าง จุดประสงค์จริงๆของมันคือ การทำมาเพื่อเอาไปเล่นพกพาไปเล่นที่ไหนได้ง่ายขึ้น ออกงานได้สะดวก

2.3 : Synthesizer แบบ Serious : หน้าตาจะประหลาดออกไปกว่าแบบ All Rounder คือจะดูโปรกว่า แปลกกว่า ดูเท่ห์กว่า แต่สิ่งที่ได้คือ มันเด่นเรื่องของการเล่นเสียงสังเคราะห์ล้วนๆ ปุ่มต่างๆที่ใช้ปรับแต่ง จะมีหน้าตาที่แปลกออกไปจากปกติ จะปรับ parameter ต่างๆได้เยอะ และละเอียดมาก และมักไม่มีพวกเสียงพื้นฐานอย่าง เสียงเปียโน เสียง trumpet หรือเสียงเลียนแบบเครื่องดนตรีธรรมชาติโดยทั่วไปให้ เพราะเป็น Keyboard ที่มุ่งเน้นการเล่นเสียงสังเคราะห์โดยสมบูรณ์ เหมาะกับนักดนตรีที่เล่นดนตรี Electronic เฉพาะกลุ่มมากกว่านักดนตรีทั่วไป

3. MIDI Keyboard : คือคีย์บอร์ดที่เอาไว้ทำเพลงโดยเฉพาะ มักจะมีหน้าตาที่ minimal กว่า 3 แบบข้างต้นที่กล่าวไปทั้งหมด เพราะมันไม่มีเสียงในตัวเอง จึงเรียกอีกอย่างว่า Keyboard ใบ้ จุดประสงค์ของมันคือการที่เราต้องต่อมันเข้ากับคอม เพื่อใช้สั่งการโน้ต ให้เสียงออกที่คอม ที่เราใช้ทำเพลงอีกที ราคาจึงถูกกว่าสามแบบแรก และใช้งานเฉพาะทาง มีขนาดและ feature ให้เลือกอีกสารพัดแบบมากมาย

4. เครื่องดนตรีประเภท Keyboard ทางเลือกอื่นๆ : อาทิ Accodian , Carillon , Celesta , Organ , Clavicord ฯลฯ พวกนี้เป็นเครื่องที่ปกติจะพบเห็นได้น้อย ไม่เป็นที่นิยมเท่าเปียโน ให้เสียงที่แตกต่างออกไปอีก แต่ส่วนมากก็ยังไม่เหมาะจะนำมาพกพาอีกเช่นกัน เป็นเครื่องดนตรีที่หายากในปัจจุบัน

———————————

สรุปแบบไหนใช้ทำเพลงกับคอมได้บ้าง?

คือ แบบไหนก็ได้ที่มีรู Port MIDI ครับ

ประเภทที่ 1 : ถ้าเป็นเปียโนไฟฟ้า ส่วนใหญ่จะมีอยู่แล้ว (ถ้าเป็นเปียโนจริง จะไม่มี)
ประเภทที่ 2 : มีเกือบหมด ถ้าไม่ใช่รุ่นที่เก่าเกินไป
ประเภทที่ 3 : มีแน่นอนอยู่แล้ว เพราะมันใช้ทำเพลงโดยเฉพาะ

ฉะนั้นที่จริงแล้ว เราใช้คีย์บอร์ดแบบอื่นๆทดแทน Keyboard MIDI ได้เช่นกันครับ หากใครที่มีคีย์บอร์ดอยู่แล้ว อาจะไม่ต้องซื้อได้

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนครับ ส่วนครั้งหน้าจะพบกันอีกครั้งในบทความตอนต่อ เรื่อง “Keyboard ทำเพลง สำหรับมือใหม่ เลือกยังไง?” นะครับ

#หลักสูตรTheRealProducer

“นับ 0-100 สู่อาชีพโปรดิวเซอร์”
หลักสูตรที่จะสอนให้คุณเข้าใจเบื้องลึกในทฤษฏีดนตรี แต่เข้าถึงง่าย
เราได้คัดเลือกวิชา และเนื้อหาที่จำเป็นมาใช้ในปัจจุบัน เพื่อให้คุณสามารถ
เป็น Producer ได้ดั่งฝัน ไม่ว่าคุณจะเป็นมือใหม่ หรือมืออาชีพถ้าหากคุณมองหาความรู้ที่จะเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปได้ หลักสูตรนี้คือคำตอบของคุณ

—————————————————

The Real Producer
REAL / DEEP / EXCLUSIVE

หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream

เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง
นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ

หลักสูตร The Real Producer
เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล
สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link
http://mkt.verycatsound.academy/mf2

——————

Contact

Line ID :

– เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
– เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound

Tel. : 0856662425
Website : verycatsound.com
FB : http://www.facebook.com/verycatsound
YT : http://www.youtube.com/c/verycatsound

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.