สอนทำเพลง ก่อนตัดสินใจ

อยากเรียนทำเพลง ควรรู้จัก 3 ขั้นตอนนี้ก่อนตัดสินใจ

Share via:

Krissaka Tankritwong

ปัจจุบันนี้มีคอร์สทำเพลงมากมายเปิดให้เรียนในหลายรูปแบบ ซึ่งถือเป็นเรื่องดีต่อผู้สนใจทั่วไป ให้สามารถหาความรู้ได้ง่ายขึ้น แต่ก็ยังมีปัญหาที่ผมยังเห็นมีมาอย่างยาวนานในวงการการเรียนการสอนดนตรีนอกระบบในประเทศเรา หนึ่งในนั้นเรื่องที่ผมรู้สึกว่าเป็นเรื่องสำคัญมากๆเลย ที่ยังไม่ถูกแก้ไข คือ มีคนจำนวนมากที่เสียเวลาไปกับการ “เรียนผิด”

ถ้าถามว่าเรียนผิดยังไง ก็อยากทำเพลงก็ต้องเรียนทำเพลง ก็ถูกแล้วไม่ใช่เหรอ ผมอธิบายอย่างนี้แล้วกันครับ คือในการทำเพลงเนี่ย มันมีรายละเอียดยิบย่อยอีกมากมายว่าทำ”อะไร” ในเพลง การใช้คำว่าทำเพลงเฉยๆ มันกว้างเกินไป

ตัวอย่างปัญหาที่มักพบบ่อยในการเลือกเรียนทำเพลงผิด

– ผู้เรียนอยากเรียนการทำดนตรี ออกแบบดนตรี แต่ไม่รู้เรียกว่าอะไร เลยไปเรียนคอร์สที่ใช้คำว่าทำเพลง แต่สุดท้ายเนื้อหาที่อยู่ในคอร์ส 80% กลับเป็นเรื่อง Sound Engineer สอน Mix Master

– ผู้เรียนคนเดิม ยังหาสิ่งที่ตัวเองอยากได้จริงๆไม่เจอ เลยเปลี่ยนคอร์สเรียนไปคอร์สอื่น ราคาพอๆกัน แต่พอไปเรียนก็พบว่าสอนเรื่องเดิมๆ ส่วนเรื่อง Arranging ที่ตัวเองต้องการ ก็ได้เรียนเรื่องเดิมๆ ย่ำอยู่แต่กับระดับ Basic เหมือนเดิม

– ผู้เรียนสนใจเรื่องการทำดนตรี Electronic แต่เข้าใจผิดว่ามันต้องไปเรียน Sound Engineer หรือ DJ ซึ่งพอไปเรียนจริงๆแล้ว เนื้อหามันไม่ได้เป็นการออกแบบดนตรีเลย ที่ถูกคือคุณต้องเรียนการทำ Composing กับ Arranging

– ผู้เรียนมีความสับสนกับศัพท์คำว่า Mix เพลง ซึ่งมันเป็นคำที่ใช้ในหลายบริบทมากๆ ทั้งในวงการ DJ และการทำ Sound Engineer (แต่โดยส่วนใหญ่มักเข้าใจว่ามันคือขั้นตอนออกแบบดนตรี หรือ Music Arranging อย่างหนึ่ง) ทั้งนี้ควรทำความเข้าใจศัพท์พวกนี้ให้ถ่องแท้ก่อนจะเลือกเรียน

ทำความเข้าใจภาพรวมก่อน

ผู้ที่หาเรียนสิ่งที่ตนเองสนใจ ส่วนใหญ่แล้วมักจะมีสิ่งที่สนใจเฉพาะเจาะจง แต่ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอะไร ซึ่งผมคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติ ไม่ผิดอะไรสำหรับคนที่ไม่รู้ และมันควรเป็นหน้าที่ของผู้สอนที่จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจภาพรวมของการทำเพลงทั้งหมดซะก่อน ให้เข้าใจว่าอะไรคืออะไรก่อนที่ผู้เรียนจะตัดสินใจเลือกสิ่งที่ตัวเองต้องการเรียนได้อย่างถูกต้อง แต่ความเข้าใจเหล่านี้มักไม่ถูกทำให้เคลียร์เข้าใจตรงกันก่อนจะเลือกเรียน แต่ผู้เรียนเข้าไปเรียนโดยที่เข้าใจว่าการทำเพลงก็คือการทำเพลงเหมือนๆกัน

ผมขออนุญาตอธิบายไว้ตรงละกันครับ สำหรับผู้ที่ยังไม่เข้าใจ ภาพรวมของการทำเพลงที่จริงแล้วจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ (ไม่นับขั้นตอนย่อยในนั้นนะครับ)

คุณต้องเคลียร์กับตัวเองก่อนว่า

คุณต้องการเรียนสิ่งไหนกันแน่?

ใน 3 ขั้นตอนหลักๆในการทำเพลง ต่อไปนี้

1. Song Writing หรือ Composing

การเขียนเพลง หรือการแต่งเพลง คือขั้นแรกที่เป็นกระบวนการต้นน้ำ โดยเราจะต้องแต่งหรือประพันธ์ตัวเพลงขึ้นมาก่อน ในขั้นนี้เราจะโฟกัสแค่ที่ เนื้อร้อง กับทำนองหลักของเพลง ( melody หลักที่เกาะกับเนื้อร้อง ไม่นับรวมเสียงดนตรีอย่างอื่น ) โดยในบางทีอาจรวมไปถึงคอร์ดด้วยหรือไม่รวมก็ได้ บุคลากรที่ทำหน้าที่นี้จะชื่อว่า นักแต่งเพลง Song Writer หรือ นักประพันธ์ Composer (ในกรณีที่เป็นเพลงบรรเลง แบบไม่มีเนื้อร้อง) ฉะนั้นงานในส่วนนี้แค่มี Demo ที่ร้องเพลงมาเปล่าๆ หรือ มีกีตาร์ตัวเดียวตีคอร์ด หรือเปียโนตัวเดียว เล่นประกอบแบบง่ายๆ เป็นไกด์ อาจมีหรือไม่มี โน้ตที่เป็น Lead Sheet เขียนเมโลดี้กับคอร์ด แค่นี้ก็ถือว่าจบงานในส่วนนี้แล้ว จากนั้นจึงนำตัวเพลงนี้ส่งต่อไปยังหน้าที่ต่อไปครับ

2. Music Arranging

การทำดนตรี หรือมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า การเรียบเรียงเสียงประสาน หรือการเรียบเรียงดนตรี หรือที่คนรุ่นใหม่ๆนิยมเรียกว่า ทำบีท นั่นแหละครับ ในขั้นนี้นักทำดนตรีจะนำเพลงที่แต่งมาโดย นักแต่งเพลง ที่เป็นโครงเพลงเปล่าๆที่ยังไม่มีเสียงเครื่องดนตรีเลยสักชิ้น มาใส่เครื่องดนตรีต่างๆจนครบ อาทิ กีตาร์ กลอง เบส คีย์บอร์ด โดยอาจไม่ได้ยึดคอร์ดหรือเครื่องดนตรีที่เล่นมาเป็นไกด์ตอนต้นเลยก็ได้ คือเปลี่ยนใหม่หมดเลย ตามแต่ที่ตัวเองออกแบบ แต่นักเรียบเรียงดนตรีมักเคารพเมโลดี้หลักของนักแต่งเพลงโดยพยายามไม่ไปเปลี่ยนแปลงมัน แต่พยายามเสริมขับอารมณ์ของทำนองและเนื้อร้องออกมาให้โดดเด่นมีสีสันมากขึ้นด้วยการออกแบบไลน์เครื่องดนตรีต่างๆมาประกอบให้เกิด Harmony ที่น่าสนใจ มีพลัง และสมบูรณ์แบบขึ้นครับ โดยในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนหลักๆที่จะสร้างสรรค์ดนตรีให้เป็นแนวต่างๆที่ต้องการ อาทิ Rock , Pop , Funky , House , Classic , Jazz ได้หมดทุกแนวตามแต่ความรู้ความสามารถความถนัดของผู้เรียบเรียง โดยบุคลากรที่ทำหน้าที่นี้ ปกติจะเรียกว่า Music Arranger หรือนักเรียบเรียงเสียงประสาน หรือ ถ้ายึดเอาตามศัพท์ของคนสมัยใหม่ ก็อาจจะเรียก นักทำบีท หรือ Beat Maker นั่นเอง

ในสมัยก่อน นักเรียบเรียงเสียงประสานก็จะทำงานโดยเขียนตัวโน้ตลงบนบรรทัดห้าเส้น เพื่อให้วงดนตรีนำไปเล่นต่อ แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีพัฒนาไปไกลแล้ว บรรทัดห้าเส้นจึงไม่ใช่ UI ที่ user friendly กับคนยุคปัจจุบันเท่าไร จึงมักเปลี่ยนมาใช้โปรแกรมทำเพลง หรือ DAWs ในการบันทึกตัวโน้ตพวกนี้ เพราะสะดวกกว่า อ่านง่ายกว่า และสามารถฟังผลของเสียงได้เลยเดี๋ยวนั้น

ปล. แท้จริงแล้ว ถ้าเป็นศัพท์อย่างเป็นทางการของทางดนตรี คำว่า Beat มักจะ refer ถึงเฉพาะส่วน Part กลองอย่างเดียว ไม่ได้หมายถึงเสียงเครื่องดนตรีชิ้นอื่น แต่ในความนิยมของคนไทยในปัจจุบันที่ได้รับอิทธิพลจากดนตรี Hip hop ที่บูมขึ้นมา ทำให้เกิดความนิยมเรียก ดนตรีทั้งหมด หรือ Music Arranging ทั้งหมดว่า Beat นั่นเอง (เอาไว้ผมจะพูดถึงเรื่องนี้อย่างละเอียดในครั้งหน้าๆนะครับ)

3. Music Production หรือ Sound Engineering

ขั้นตอนสุดท้าย ที่จริงแล้วไม่ใช่การทำดนตรีโดยตรงครับ แต่เป็นการจัดการในเรื่องของเสียง หรือ Sound โดยเมื่อดนตรีถูกออกแบบมาแล้วในขั้นที่ 2 มันจะถูกวางโน้ตไว้หมดแล้วว่า มีเครื่องดนตรีอะไรบ้าง แต่ละเครื่องเล่นโน้ตอะไรแบบไหน จังหวะแบบไหน มีไลน์ของตัวเองแยกแบบแน่นอนชัดเจน ไม่เปลี่ยนแล้ว เพลงจะถูกส่งมาให้บุคลากรคนที่ 3 ที่เรียกว่า Sound Engineer หรือวิศวกรเสียง จัดการต่อ สิ่งที่ Sound Engineer ทำ จริงๆแล้วมันคือการขัดเกลาเสียง ให้ “เสียงดีขึ้น” โดยที่จะพยายามไม่ไปยุ่งกับตัวโน้ตที่ Music Arranger ออกแบบมาเลย โดย demo ที่ถูกส่งมาจากขั้นที่ 2 จะยังฟังดูมีปัญหา และไม่สมบูรณ์ ยังไม่สามารถนำมาเผยแพร่จริงได้เนื่องจากเสียงยังไม่ดี อาจรู้สึก เสียงอู้ไป แหลมไป ความดังเบาไม่บาลานซ์ มี noise ไม่สมจริง ไม่อิ่ม ฯลฯ สารพัดปัญหาเสียงพวกนี้จะถูกแก้โดย Sound Engineer เพื่อให้มันออกมาฟังดูดีที่สุด ในขั้นตอนกระบวนการต่างๆ อาทิ Edit , Record , Mix , Master

ในขั้นสุดท้ายนี้ Sound Engineer ก็ทำงานผ่าน DAWs เช่นกัน โดยจะรับโปรเจคมาจาก Music Arranger มาทำต่อ อาจใช้ DAWs เดียวกัน หรือคนละ DAWs ก็ได้ แต่จะทำงานกับ DAWs ในเชิงกระบวนการ Edit , Mix , Master เสียง การใส่เอฟเฟคต่างๆ รวมไปถึงเรื่องเทคนิคเชิงเทคโนโลยีเสียง เพื่อแก้ปัญหาให้เสียงออกมาฟังดูดีที่สุด มากกว่าในเชิงการออกแบบตัวโน้ต ออกแบบดนตรี ที่ถูกทำมาแล้วจาก Music Arranger ครับ

ทั้ง 3 ขั้นตอนเป็นคนละคนกันได้

จะเห็นได้ว่าทั้งสามขั้นตอนนี้ มันดูเป็นคนละเรื่องกันเลย และใช้ความรู้ความชำนาญคนละอย่างกัน ขั้นแรกเน้นการเล่าเรื่อง ขั้นสองเน้นดีไซน์การออกแบบดนตรี ขั้นที่สามเน้นเรื่องเทคนิคความเนี้ยบทางเสียง ในการทำงานระดับมาตรฐานส่วนใหญ่แล้ว สามขั้นตอนนี้มักจะถูกทำโดยคนละคนแยกกัน แต่ก็มีโปรดิวเซอร์จำนวนหนึ่งที่สามารถทำได้ทั้งหมด หรือสองอย่าง ไม่แปลกครับ เป็นเรื่องปกติ

ทีนี้การจะเรียนรู้แต่ละขั้นตอนมันก็มีศาสตร์ของมันที่ไม่ใช่สิ่งเดียวกันซะทีเดียว และย่อมต้องอาศัยทั้งเงิน เวลา และความทุ่มเทพยายามทั้งนั้น การจะ master ให้ได้ทั้งสามอย่างในคนๆเดียวจึงเป็นเรื่องที่กินทรัพยากรเวลามากๆ ฉะนั้นจึงเป็นการดีกว่า ถ้าผู้เรียนสามารถตัดสินใจได้ว่า สิ่งที่ตัวเองอยากจะทำกับเพลงนั้นมันคืออะไร ในคำว่าทำเพลง คุณอยากจะเรียนรู้อะไรกันแน่ระหว่าง แต่งเพลง เรียบเรียงดนตรี หรือทำซาวด์ เพราะมันคือคนละอย่างกันอย่างที่บอก ถ้าคุณมีความชัดเจนตรงนี้ จะสามารถเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า เพราะโฟกัสตรงจุดมากกว่า ไม่สะเปะสะปะ และในการเรียน คุณควรเรียนรู้ทีละเรื่อง ไม่นำมาปนกัน เพราะมันเป็นศาสตร์ที่ใช้ความรู้ความชำนาญคนละอย่างกันเลย

ถ้าคุณชัดเจนแล้วว่าอยากจะทำแค่บางส่วนในการทำเพลง ชีวิตคุณจะง่ายขึ้นเยอะ เพราะเรื่องที่คุณต้องรู้ต้องฝึกฝนมีไม่เยอะมาก

แต่ถ้าคุณอยากจะทำได้ทั้งสามอย่าง ก็ต้องยอมรับว่าต้องเหนื่อยหน่อย เพราะเรื่องให้เรียนรู้มันเยอะมหาศาลจริงๆ ลำพังเรื่องเดียวก็มีให้เรียนเป็นปริญญาแล้วครับ

ทำไมจึงไม่ควรเรียนทั้งสามเรื่องปนกัน

หลายๆคอร์สที่สอนการทำเพลงแบบรวมๆทั้งสามขั้นตอน มีอยู่ก็จริง แต่ผมอยากเตือนว่า ไม่มีของที่ถูกและดีอยู่ในโลกที่แท้จริง เพราะความจริงของมันก็คือ เนื้อหามันเยอะมากๆ จึงไม่ใช่ทุกคนที่จะเก่งออกมาเป็นโปรดิวเซอร์มืออาชีพได้ ฉะนั้นถ้าพิจารณาจากราคา กับเนื้อหาที่ได้แล้ว มันจึงเป็นไปได้ว่า เป็นการเรียนการสอนที่ไม่ลึก หรือเป็นการโฟกัสเฉพาะขั้นตอนบางขั้นตอน แต่ไม่ได้ทั้งหมด ฉะนั้นถ้าผู้เรียนเริ่มตั้งแต่ 0 คอร์สเหล่านั้นอาจให้ประโยชน์ได้ก็จริง แต่ทุกอย่างก็จะได้แค่ระดับพื้นๆ ผ่านๆ และบางเรื่องถ้าคุณยังเรียนรู้ไม่ผ่านถึงจุดนึง ก็ยังไม่ควรข้ามไปทำใน step ต่อไปด้วยซ้ำ

ฉะนั้นถ้าคุณอยากจะไปสู่ระดับที่มากกว่า Basic จำเป็นที่จะต้องเรียนในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งไม่ใช่คอร์สที่สอนทุกเรื่องรวมๆ แต่ไม่ได้โฟกัสอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะอีกต่อไป แต่ควรเป็นคอร์สที่เจาะรายละเอียดเฉพาะเรื่องไปเลย จึงจะสามารถเรียนแล้วสัมฤทธิ์ผล นำไปใช้งานจริงได้มากกว่า

The Real Producer สอนทุกขั้นตอนแบบละเอียด

ทางหลักสูตร The Real Producer ของ VERY CAT ACADEMY ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสร้างบุคลากรอาชีพ Producer , Composer ในระดับมืออาชีพ โดยเป็นการสอนทุกอย่างที่จำเป็นกับการทำอาชีพโปรดิวเซอร์โดยครอบคลุมทั้ง 3 ขั้นตอนที่ว่ามาในระดับลึก เราสอนตั้งแต่ Basic , Advance ไปจนถึง Expert คุณสามารถมั่นใจได้เลยว่า ความรู้ที่ได้จะไม่ใช่แค่ย่ำอยู่กับที่ในระดับเบสิคอีกต่อไป ซึ่งเหมาะกับผู้ที่จริงจัง และมีความฝันในด้านดนตรี และการเป็น Composer , Producer นี่คือหลักสูตรที่ออกแบบมาเพื่อคนอย่างคุณโดยเฉพาะ หากสนใจหลักสูตรกรุณาติดต่อแอดมินตามช่องทางต่างๆได้เลยครับ


The Real Producer
REAL / DEEP / EXCLUSIVE

หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream

เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง
นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ

หลักสูตร The Real Producer
เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล
สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link

http://mkt.verycatsound.academy/mf2

——————

Contact

Line ID :

  • เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
  • เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound

Tel. : 0856662425
Website : verycatsound

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.