นักทำเพลงโฆษณา อีกหนึ่งอาชีพที่น่าสนใจ อยากเป็นต้องเรียนคณะอะไร?

Share via:

Krissaka Tankritwong

นอกจากการเป็น Producer , Composer จะสามารถทำเพลงฟัง เพลงศิลปินแบบปกติได้แล้ว ในโพสต์ก่อนๆ ดังที่เราได้พูดถึงการประยุกต์นำเอาความสามารถในการทำเพลงมาหลอมรวมกับ สื่อภาพเคลื่อนไหว อย่างภาพยนตร์ หรือเกม ไปแล้ว ที่จริงยังมีอีกอาชีพหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้สองอาชีพก่อนหน้านี้ ซึ่งมีลักษณะที่คล้ายกัน และเป็นการหลอมรวมทักษะในการประพันธ์ดนตรีเข้ากับเรื่องของการโฆษณาและตลาด นั่นคือ นักทำเพลงโฆษณา หรือ Commercial Music Composer นั่นเอง

ทำไมอาชีพนี้ถึงน่าสนใจ?

นักทำเพลงโฆษณา จัดได้ว่าเป็นอีกอาชีพที่น่าสนใจเลยทีเดียวสำหรับคนสายดนตรี เพราะถ้าเทียบกับการทำเพลงในสายอื่นๆ ต้องบอกเลยว่า สายนี้มีโอกาสในวิชาชีพในการทำเงินได้สูงสุด (ถ้าเราไม่นับการเป็นศิลปินดังว่าเป็นอาชีพนะครับ) เนื่องด้วยเพราะ โปรเจคแต่ละโปรเจคของโฆษณานั้นจะเป็นโปรเจคระยะสั้น ปริมาณของจำนวนงานเลยจะไม่ได้เยอะเท่าสายภาพยนตร์หรือเกม ในขณะที่จำนวนงานไม่เยอะ เพราะโฆษณาชิ้นหนึ่งอาจจะแค่ 30 วินาที หรือมากหน่อยก็แค่เท่ากับเพลงๆหนึ่ง หรือ 3 นาที (ในขณะที่ภาพยนตร์นั้นยาวอย่างต่ำ 2 ชม.) แต่เม็ดเงินตอบแทนในแต่ละโปรเจคกลับมีมูลค่าสูงกว่า เป็นเพราะวงการโฆษณาเป็นวงการที่มีเม็ดเงินลงทุนมหาศาลมากกว่าภาพยนตร์ และที่สำคัญคือ มีจำนวนงานอยู่ตลอด เพราะในโลกของธุรกิจแล้ว มีแบรนด์สินค้าน้อยใหญ่ต้องการใช้งานและทำการตลาดอยู่ตลอดเวลา เรียกได้ว่า ถ้าคุณเก่ง และเป็นที่รู้จักของกลุ่มลูกค้า จะมีงานต่อเนื่องได้ทั้งปี

ประเภทของงานเพลงโฆษณา หรือดนตรีแบบ Commercial ที่มีไว้ใช้เพื่อการพาณิชย์ อาจแบ่งย่อยได้ 2 แบบใหญ่ๆ ดังนี้

1. แบบเพลงร้อง : จะแบ่งย่อยไปตามจุดประสงค์การใช้งานอีก อาทิ

– เพลงจิงเกิลโฆษณา อาจใช้เพื่อทั้งส่งเสริมการขาย กระตุ้นยอดขาย สร้างความรู้สึกที่ดีให้กับลูกค้า หรือแม้แต่สร้างความจดจำให้แบรนด์ ได้สารพัดจุดประสงค์แล้วแต่นักการตลาดจะต้องการ เพลงรูปแบบอื่นๆที่อาจจะไม่ได้ขายสินค้าหรือบริการโดยตรง เช่นการหาเสียง ก็จัดอยู่ในประเภทนี้ ซึ่งในส่วนนี้จะมีลักษณะหลายแบบ แบ่งแยกย่อยไปตามดีกรีความ Hard Sale อีก

– เพลงเพื่อจุดประสงค์อื่นๆ อาทิ เพลงองค์กร เพลงประจำแบรนด์ หรือโรงเรียน อาจใช้เพื่อการสื่อสารได้ทั้งภายใน หรือภายนอก เพื่อกระตุ้น หรือชี้นำ ความรู้สึก เพื่อโยงไปให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการ ที่ตรงกับจุดประสงค์ของผู้วางกลยุทธ์

2. แบบเพลงบรรเลง : แบ่งย่อยตามการใช้งานอีก อาทิ

– ดนตรีประกอบสื่อ : อาจเป็นสื่อภาพที่แบรนด์สร้างขึ้น อาทิ VDO Presentation , หรือภาพยนตร์โฆษณา ประกอบคลิปต่างๆ ที่ไม่ใช่เพลงร้องแบบมีเนื้อร้อง แต่เป็นดนตรีสร้าง mood & tone ที่สอดคล้องกับการเล่าเรื่องของภาพ ซึ่งส่วนนี้จะมีสภาพคล้ายการทำดนตรีประกอบภาพยนตร์ หรือ Film Score นั่นเอง โดยการทำดนตรีประกอบช่อง Youtube ก็จัดอยู่ในประเภทนี้

– ดนตรีสร้างบรรยากาศ : หรือที่เรียกว่า Background Music อันนี้ก็อาจใช้ได้หลายโอกาส แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีประโยชน์กับแบรนด์ที่มีสถานที่หรือหน้าร้าน การที่มีดนตรีหรือเพลงเฉพาะของตัวเอง จะสร้างความ unique และทำให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ได้มากกว่าการใช้เพลงทั่วไป หรือบางทีก็ใช้ในจุดประสงค์อื่นๆ อาทิ เป็น Sound Design ที่ออกแบบไว้ใช้เฉพาะจุดในงานนิทรรศการ เป็นต้น

ตัวอย่างอื่นๆ อาทิ เพลง Title รายการ จัดอยู่ในประเภทไหน?

คิดง่ายๆ ถ้าไม่มีเนื้อร้อง จัดเป็นประเภทดนตรีประกอบสื่อครับ แต่ถ้ามีเนื้อร้องด้วย ก็จะจัดว่ามันเป็นดนตรีประกอบสื่อที่ผสมรูปแบบ ของเพลงร้องเข้าไปด้วยนั่นเองครับ การแบ่งประเภทตรงนี้เป็นแค่รูปแบบคร่าวๆ แต่ในความเป็นจริงอาจจะมีรูปแบบงานอื่นๆ ที่มีความเฉพาะเจาะจงนอกเหนือจากนี้ไปอีก แต่รวมๆคือการใช้เพื่อการพาณิชย์ หรือส่งเสริมการขายสินค้าหรือแบรนด์ หรือทำเพื่อจุดประสงค์ของแบรนด์ครับ

4 คุณสมบัติที่ควรมี ของคนทำอาชีพนี้

1. เข้าใจงานโฆษณา

ถ้าคุณเรียนนิเทศศาสตร์สายโฆษณามา อาจจะได้เปรียบได้เรื่องนี้ แต่ถ้าไม่ เรื่องของสายงานโฆษณา ถ้าคุณเป็นคนนอก ไม่เคยคลุกคลีกับ วงการ Creative Agency อะไรมาก่อนเลย คุณควรเรียนรู้เรื่องของวงการโฆษณา และการตลาดพอสมควร รู้ความรู้พื้นฐานคร่าวๆ ศัพท์เทคนิคต่างๆ อะไรคืออะไร เช่น copywriter คืออะไร creative ทำอะไรบ้าง คำว่า target หรือกลุ่มเป้าหมายคืออะไร ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นความรู้ที่ไม่ได้หายาก เพราะปัจจุบันคอร์สการตลาดมีอยู่มากมายทั้งแบบฟรีหรือคอร์ส premium แบบเสียเงิน และคุณควรดูงานโฆษณาและสังเกตอยู่บ่อย ถ้าคุณชอบและอินกับงานโฆษณาก็จะยิ่งดี ยิ่งเป็นแต้มต่อ เพราะจะทำให้เพลงหรือดนตรีที่คุณทำตอบโจทย์สิ่งที่เป็นจุดประสงค์ทางการตลาดได้อย่างมีเหตุผล และมีชั้นเชิง

2. มี Service Mind

คุณควรมีจิตใจที่รักงานบริการ และพึงระลึกไว้อยู่เสมอว่า การทำโฆษณาไม่ใช่การทำศิลปะ มันเป็นคนละเรื่องกัน มันเป็นการทำเพื่อตอบโจทย์จุดประสงค์ทางการตลาดที่ลูกค้าตั้งไว้ อาทิ เพื่อให้ขายสินค้าหรือบริการได้ เพื่อให้คนจดจำชื่อแบรนด์ได้ ฯลฯ เป็นต้น ฉะนั้นมันไม่ใช่การทำตามใจตัวเองในแบบที่คุณคิดว่าดี แต่มันคือการทำเพื่อตอบโจทย์ คนที่ควรจะชอบสิ่งนี้ ไม่ควรเป็นทั้งตัวคุณ หรือลูกค้า แต่ดีที่สุดคือ กลุ่มเป้าหมายของสินค้านั้นๆ ควรจะชอบงานชิ้นนั้นๆ คุณต้องใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเราอย่างเพียงพอที่จะทำให้ตัวเพลงออกมาโดนใจกลุ่มเป้าหมายด้วย ซึ่งถ้าลูกค้าของคุณชอบและถูกใจเพลงด้วย มันก็จะผ่านง่ายขึ้น และเค้าก็จะอยากใช้บริการกับคุณอีก หรือถ้าคุณชอบเพลงที่คุณทำด้วย มันก็เป็นเรื่องดีเข้าไปใหญ่ เพราะคุณก็มีความสุขที่ได้ทำด้วย จะเห็นได้ว่าเมื่อคุณก้าวมาทำงานโฆษณา มันคือการ balance สามฝ่ายนี้ให้ได้ระหว่าง กลุ่มเป้าหมาย , ลูกค้า และตัวคุณเอง

อีกอย่างที่คุณจะเจอแน่ๆคือ การที่ต้องมีความอดทน ในหลายๆอย่าง อาทิ อดทนกับคำพูดจาก Comment ลูกค้า อดทนกับ การต่อราคา อดทนกับการใจเย็นค่อยๆ ทำความเข้าใจและตีความสิ่งที่ลูกค้าต้องการให้ออกมาเป็นรูปธรรมทางตัวโน้ต เพื่อให้สื่อสารเข้าใจตรงกันและทำงานออกมาตรงใจลูกค้า ฉะนั้น Service Mind จึงสำคัญต่อการจะทำอาชีพนี้ในระยะยาวจริงๆ

3. เป็นนักจัดการ และแก้ปัญหา

ในระหว่างการทำงานประเภทนี้ คุณจะต้องพบเจอและทำงานกับผู้คนหลากหลายประเภทมาก ไม่ว่าจะเป็นฝั่งโปรดักชั่นเอง ที่เป็นคนดนตรีด้วยกัน ศิลปิน ดารา คนดัง พิธีกร นักพากย์ นักดนตรี นักร้อง ที่จ้างมา หรืออาจจะเป็นนักแต่งเพลง นักทำดนตรี Sound Engineer ห้องอัด เยอะแยะไปหมด หรืออาจต้องทำงานกับทางฝั่งลูกค้า ผู้กำกับภาพยนตร์ คนเขียนบท ครีเอทีฟ Copywriter , Art Director , นักการตลาด ฯลฯ ไปจนถึงเจ้าของกิจการ

มันจะมีงานยิบย่อยที่คุณต้องจัดการมากมาย เพราะคนหลายๆ คนเหล่านั้น เค้าคาดหวังให้ Producer เป็นคนดูแลจัดการเรื่องกระบวนการผลิตเสียงและดนตรีให้จบทั้งหมด ทางเค้ามีหน้าที่แค่ บรีฟสิ่งที่ต้องการให้ แล้วต้องการอะไรช่วยเหลือเพิ่มเติมก็บอก ที่เหลือนั่นคือคุณต้องไปจัดการมาให้งานมันเสร็จออกมา ส่งเป็นไฟล์ให้เค้าได้ ฉะนั้นมันจะมีเรื่องของการจัดการที่เยอะแยะไปหมด นัดคนโน้นคนนี้ ตรวจแก้งาน รับบรีฟ ส่งต่องาน ฯลฯ ซึ่งบางทีแล้วหน้างานมันจะมีเหตุฉุกเฉินหรือข้อผิดพลาดเกิดขึ้นบ่อยๆ แต่หน้าที่ของเราคือการทำยังไงก็ได้ให้งานมันผ่านราบลื่นไปได้ตลอดรอดฝั่ง จนจบ ลูกค้าพอใจ จ่ายเงิน ได้งานที่ดีไป คุณได้เงิน และกระจายเงินให้กับผู้ร่วมงานแต่ละฝ่าย เป็นอันปิดจ๊อบ

ฉะนั้นคุณควรเป็นคนที่มีความเป็นคน Production ที่ Active พอสมควร สามารถจัดการงานที่ยุ่งเหยิง ส่งได้ทันเวลา มีความรับผิดชอบ และสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เก่ง ถ้าใครที่สมัยเรียนเป็นนักกิจกรรมตัวยง หรือเป็นอาสาสมัคร เป็นประธานอะไรต่างๆ นั่นแหละครับ คนแบบนั้นแหละ

4. แตกฉานในดนตรี

แน่นอนว่าคุณจะมาทำอาชีพนี้ คุณต้องแต่งเพลงเป็น ทำดนตรีได้ แต่ถ้าคุณทำได้แต่แบบแค่ระดับ พอทำได้ หรือทำได้เฉพาะบางแนวที่ตัวเองถนัด อันนั้นผมไม่แนะนำเท่าไร เพราะในการทำงานจริง มันจะมีเรื่องยากหลายส่วนอยู่แล้ว ในการจะทำงานให้ถูกใจลูกค้า อาจจะต้องเดา ต้องทำเดโมไปหลายแบบ เพื่อโยนหินถามทาง ว่าเค้าต้องการแบบไหนกันแน่

แต่ปัญหามันจะยากเป็นสองเท่า ถ้าเกิดคุณดันไม่แตกฉานทางดนตรี เพราะที่จริงแล้ว การทำเดโมขึ้นมาหลายๆแนว หลายๆแบบ มันไม่ใช่เรื่องยากของคนที่แตกฉานแล้ว เพราะรู้และเข้าใจ Mechanic ของดนตรีแทบทุกแนวทุกรูปแบบอยู่แล้ว แต่ถ้าคุณไม่เก่งหรือแตกฉานพอที่จะทำให้เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องง่ายๆ และการทำเดโมแต่ละตัวของคุณมันยากและทำนานเกินไป มันจะกลายเป็นความยากลำบาก และคุณจะรู้สึกว่าอาชีพนี้มันยากเกินไป

อีกปัญหาคือ ถ้าคุณเอาแต่อยู่ในเซฟโซน ทำเฉพาะในรูปแบบที่ตัวเองถนัด คุณจะรับงานได้น้อยมาก เพราะข้อจำกัดคุณเยอะ เวลาที่คุณทำงานประเภทนี้ คุณแทบจะไม่มีโอกาสเลือกแนวได้เลย เพราะมันคือการทำตามโจทย์ ไม่ใช่การทำตามใจ โจทย์ลูกค้านั้นมันมีสารพัดแนว และมีทุกระดับความยาก ลูกค้าไม่ได้มารับรู้กับเราด้วยหรอกครับว่าแนวไหนทำยากทำง่าย แนวไหนใช้ความรู้เยอะ แนวไหนไม่ต้อง บางทีอาจให้ทำเดโมแบบ jazz กับ แบบ pop hiphop สมัยนิยมมา ซึ่งเป็นสองแนวที่ใช้ความรู้ความชำนาญคนละแบบกันเลย ทีนี้อย่างการทำ Jazz มันค่อนข้างยาก และแทบเป็นไปไม่ได้เลย สำหรับคนทำเพลง pop หรือ hiphop ในระดับทั่วไปที่ไม่ได้เรียนลึกจนแตกฉานมา มันก็จะเป็นปัญหาใหญ่ของคุณ เมื่อคุณบอกว่าทำได้แต่แนว pop hiphop จากที่มีงานเข้ามา 10 งาน อาจจะเหลือรับได้แค่ 2 งาน อาจเป็นไปได้ว่า บางงานคุณอาจโน้มน้าวให้ลูกค้าเลือกแนวที่คุณถนัดได้ แต่คงไม่ได้เกิดขึ้นแบบนั้นกับทุกงาน หรือบ่อยๆ ถูกใช่ไหมครับ ฉะนั้นแตกฉานเอาไว้ ทำให้ได้ทุกแนว ทุกระดับความยากจะทำให้การทำอาชีพนี้ไปได้ไกลแบบสบายๆกว่า

ซึ่งการแตกฉานในดนตรี อย่างที่รู้กันในโพสต์ก่อนๆแล้วว่า สิ่งที่ควรจะเป็นและเป็นทางตรงที่สุดก็คือการเรียนคณะดนตรี ให้ตรงสายไปเลย แต่เมื่อทำแบบนั้นคุณก็จะยังขาดความรู้ในสายโฆษณา ที่ต้องมาตามเก็บเอา หรือจะค่อยๆเก็บประสบการณ์จากการทำงานจริงไปเลยก็ย่อมได้ เพราะอย่างที่บอกว่า มันไม่ได้เป็นความรู้ที่หายาก หรือใช้เวลาเรียนนานอะไรนัก ถ้าเทียบกับความรู้ทางดนตรี

ถ้าไม่ได้จบดนตรีมา จะยังมีโอกาสทำอาชีพนี้มั้ย?

มีครับ โดยก็มีกรณีที่เกิดขึ้นบ่อยๆ อาทิ

– เรียนสายอื่น แต่มีคอนเนคชั่นทางสายนี้ ทำให้มีโอกาสได้ทำอาชีพนี้เลย แต่ต้องใช้ความสามารถทางดนตรีที่ค่อนข้างสูง ต้องขวนขวายหาเรียนเองจนมีสกิลเพียงพอต่อการทำงานอาชีพนี้ ซึ่งผมแนะนำว่าถ้ามีโอกาสมาก็คว้าไว้ก่อน แล้วพยายามปิดจุดอ่อนตัวเองให้ได้ สร้างความแตกฉานในดนตรีให้ได้เร็วที่สุด รีบๆเริ่ม เพราะมันกินเวลาเรียนค่อนข้างนาน

– เรียนสายโฆษณามาโดยตรง มันก็ทำให้มีโอกาสมากกว่าสายอื่นๆอยู่แล้ว แล้วพยายามหาทางซิกแซกมาทำดนตรีให้ได้ โดยคุณควรทำให้คนอื่นๆในสายงานเค้าจดจำคุณและฝีมือคุณได้ว่า คุณทำดนตรีได้ดี (ซึ่งแปลว่าคุณก็ต้อง Work Hard เรื่องนี้เองโดยไม่ได้เรียนคณะดนตรีให้ได้เช่นกัน)

ไม่ว่าคุณจะเรียนสายอะไรมา แต่ถ้าคุณยังอยากทำอาชีพสายนี้ หรือมีโอกาสเข้ามาให้ได้ทำ แล้วอยากคว้าเอาไว้ให้ได้ หรือแม้กระทั่งคุณทำอาชีพนี้อยู่แล้ว แต่คุณรู้สึกไม่มั่นใจ เพราะคุณยังหวั่นเสมอเวลาเจอโจทย์ที่คุณอาจไม่เข้าใจ หรือทำไม่ได้ ถ้าคุณอยากปิดจุดอ่อนนี้ให้ได้ เพื่ออนาคตทางดนตรีของคุณที่เติบโตขึ้นได้อย่างมั่นคง อย่างที่บอกไปว่า ความรู้ด้านดนตรีที่เป็นระดับลึกนั้นหาไม่ง่าย และมันไม่มีทางลัด ใช้เวลาเรียนนาน โดยคุณอาจพยายามลองหาเรียนดนตรีทุกวิธีแล้ว แต่หาเองไม่ได้ หรือเจอปัญหาเหล่านี้

– คอร์สเรียนไม่ตอบโจทย์สิ่งที่ตัวเองอยากรู้จริงๆ
– หาเรียนกี่ที่ก็สอนวนๆอยู่แต่กับเรื่องเบสิค
– เรียนรู้เองแล้วงง อ่านไม่เข้าใจ
– จักรวาลความรู้กว้างเกินไป จัดลำดับไม่ได้ จนไม่รู้จะเริ่มตรงไหน เรื่องไหนต่อกับเรื่องไหน
– ไม่รู้ว่ามีอะไรอีกที่ไม่รู้ หรือไม่รู้ว่าตอนนี้ควรเรียนเรื่องอะไร
– ใช้แต่เป็นโปรแกรม แต่ไม่เข้าใจว่าจะออกแบบไลน์ดนตรีหรือตัวโน้ตคอร์ดแต่ละไลน์ยังไง
– ไม่เข้าใจที่มาที่ไปของดีไซน์ หรือการออกแบบการแต่งทำนอง หรือคอร์ด
– เข้าใจเรื่องมิกซ์ แต่ไม่เข้าใจว่า แล้วก่อนจะมิกซ์จะเอาไลน์ดนตรีแต่ละไลน์มาจากไหน
– ไม่เข้าใจว่าโน้ตแต่ละเครื่องดนตรีที่ซับซ้อนมันสัมพันธ์กันยังไง
– ไม่เข้าใจว่า จะทำเพลงบางแนว หรือดนตรีบางแบบยังไง
– มีจินตนาการดนตรีในหัว แต่ไม่รู้เรียกว่าอะไร และไม่รู้ทำยังไง
– มีสารพัดคำถาม ที่หาคำตอบด้วยตัวเองหรือคอร์สเรียนทั่วไปไม่ได้

ข่าวดีคือ หลักสูตร The Real Producer มีไว้เพื่อคนแบบคุณนี่แหละครับ

The Real Producer

ถ้าคุณมีความฝันในอาชีพดนตรี อยากทำอาชีพเป็นโปรดิวเซอร์เพลง หรือคนทำเพลงโฆษณาให้ได้ ไม่ว่าจะอายุเท่าไร เรียนอะไรมา นี่คือโอกาสสำคัญ หรือ Second Chance ในชีวิตคุณ ที่จะได้เรียนรู้แบบทางตรง หลักสูตร The Real Producer ออกแบบมาเพื่อคนที่จริงจังกับอาชีพดนตรี เมื่อคุณเอาจริง เราก็พร้อมจะสอนแบบจริงจังให้คุณ ชีวิตเป็นของคุณ คุณ Compose มันเองได้ สนใจติดต่อได้ที่แอดมิน ไลน์ @verycatacademy หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ด้านล่างเลยครับ

—————————

VERY CAT SOUND
Compose Your Dream
เราไม่ได้สอนให้คุณทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
.
รับ demo คอร์สเรียนฟรี และข้อมูลหลักสูตรเพื่อประกอบการตัดสินใจได้ที่นี่
http://mkt.verycatsound.academy/mf2
ติดต่อจ้างทำเพลง Line @verycatsound
ติดต่อเรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
โทร. 0856662425

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.