หนึ่งในอาชีพที่หลายคนไม่รู้ว่ามีอยู่ แต่ก็เป็นอาชีพที่ใฝ่ฝันของใครหลายคนที่เป็น Gamer และคนดนตรี นั่นคืออาชีพ นักประพันธ์ดนตรีประกอบเกม หรือคนทำเพลงเกม ปฏิเสธไม่ได้ว่าตอนนี้อุตสาหกรรมเกมกลายเป็นสิ่งที่มีเม็ดเงินหมุนเวียนต่อปี มันเติบโตอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จนเม็ดเงินมากกว่าวงการเพลงในประเทศเราซะอีก ถ้าเทียบกับเมื่อ 20-30 ปีก่อนแล้ว ปัจจุบัน เกมกลายเป็นสื่อความบันเทิงที่เป็น mass market ไปแล้ว เนื่องด้วยการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีการสื่อสาร internet และ smart phone โดยไม่เฉพาะแต่ในตลาดโลกเท่านั้น ในปัจจุบันวิดิโอเกมของไทยก็อยู่ในยุคที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนเริ่มเห็นงานจากสตูดิโอไทยหลายเจ้าที่ไปถึงฝันในระดับสากล อาทิ Home Sweet Home , Araya , Timelie เป็นต้น
เช่นเดียวกับสื่อความบันเทิง หรือศิลปะด้านอื่นๆ อย่างภาพยนตร์ หรือ animation ที่มีเสียงเป็นส่วนประกอบ วิดิโอเกมเป็นสื่อที่มีครบทั้งภาพเคลื่อนไหวและเสียง นั่นหมายความว่า เสียงหรือดนตรีที่ประกอบอยู่ในเกมย่อมต้องมีบุคลาการสร้างมันขึ้นมา บุคลากรพวกนี้แหละครับที่เรากำลังพูดถึง ว่าเป็นอาชีพหนึ่งที่น่าสนใจของคนดนตรี คือ Game Music Composer นั่นเอง จากประสบการณ์จากคนใกล้ตัว และประสบการณ์ส่วนตัวของผมเองที่ทำงานดนตรีหลายประเภท รวมถึงดนตรีประกอบเกมมาแล้วด้วยนั้น ยืนยันได้ว่า อาชีพนี้มีอยู่จริงในประเทศไทย ทั้งในรูปแบบพนักงานในบริษัทเกม และในรูปแบบฟรีแลนซ์
การจะทำอาชีพนี้ได้นั้น จำเป็นต้องมีความรู้และทักษะที่เป็นการผสมกันระหว่าง เรื่องของความชอบ ความรอบรู้ด้านเกม และความสามารถทางการทำดนตรี ปัญหาที่ผมได้ยินจากลูกค้าในวงการผู้ผลิตเกมบอกอยู่บ่อยๆ คือ คนทำดนตรีหาไม่ยาก แต่คนทำดนตรีที่เข้าใจการทำ “เพลงเกม” นั้นหายาก ถ้าคุณเป็นคนที่เล่นเกมมาอย่างโชกโชน จนสามารถเรียกตัวเองได้ว่า เกมเมอร์ ได้อย่างเต็มปาก คุณจะพอคุ้นกับสำเนียงของเพลงเกม และมันอาจเป็นสิ่งที่ไม่ยากสำหรับคุณ แต่กับคนดนตรีปกติทั่วไป ที่อาจจะไม่ใช่คนเล่นเกม เค้าอาจไม่เข้าใจ traditional sound หรือสำเนียงบางอย่างที่มักพบในเพลงเกม เท่าคนที่คุ้นเคยอยู่แล้ว โดยการจะเป็นนักทำดนตรีประกอบเกมให้ได้ดีนั้น มักต้องมีสามปัจจัยต่อไปนี้
ถ้าคุณไม่อินกับเกม ไม่ใช่เกมเมอร์ อย่างที่บอกไปข้างต้นว่า มันจะยากสักนิดที่คุณจะเข้าใจว่าสำเนียงแบบเพลงเกมมันเป็นยังไง ที่จริงแล้วมันมีประวัติที่มาที่ไป ถ้าจะค้นกันจริงๆ ก็คือมีการพัฒนาในยุคตั้งต้นมาจากญี่ปุ่นก่อน ตั้งแต่ยุครุ่งเรืองของเกม 8 bits ของ Nintendo ในยุค 80-90 โดยผู้บุกเบิกยุคต้นๆอย่าง Haruomi Hosono (วง YMO) หรือ Koji Kondo ผู้เป็น Composer แห่งบริษัท Nintendo นั่นเอง
ผมเคยเขียนข้อมูลอยู่ในโพสต์เก่าๆ ลองอ่านดูได้ครับ
– ที่มาของเสียงดนตรีแบบเกม 8 Bit
https://verycatsound.com/8bitvideogamemusic/
– Koji Kondo บิดาแห่ง Mario และเพลงเกม
https://verycatsound.com/koji-kondo/
ถ้าคุณเป็นเกมเมอร์ที่อินเรื่องเกมอยู่แล้ว คุณจะมีความรอบรู้เรื่องเกมไปในตัว และมี reference มากมายอยู่ในประสบการณ์ที่ผ่านมาของคุณโดยแทบไม่ต้องพยายาม แต่ถ้าคุณคิดว่าเป็นเกมเมอร์รุ่นใหม่ที่ยังไม่ได้รู้จักภาพรวมของวงการเกม และประวัติศาสตร์วิดิโอเกมตั้งแต่ยุคต้นมาเพียงพอ ผมแนะนำให้ไปลองศึกษาดูก่อน ซึ่งหาไม่ยากในอินเตอร์เน็ตทั่วไปครับ ซึ่งนอกจากเรื่องสำเนียงของเพลงเกมแล้ว มันยังมีลักษณะเฉพาะบางอย่างที่มีเฉพาะในงานเพลงเกม อาทิ การทำ loop background music , การทำดนตรีแบบหลาย layer เพื่อเปิดปิดใช้ตามเงื่อนไขโปรแกรม , การทำ Short Jingle Music ที่ทำหน้าที่เหมือน Effect ฯลฯ มีเทคนิคอีกมากที่เป็นเรื่องเฉพาะของการทำเพลงเกม ที่ไม่มีในศาสตร์ของการทำดนตรีแบบปกติ หรือการทำดนตรีประกอบภาพยนตร์ ซึ่งเป็นเรื่องที่คุณต้องเข้าใจ
คุณต้องพอเข้าใจเรื่องเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่คุณทำ อาทิ การสังเคราะห์เสียง synthesizer , การสร้างเสียงแบบต่างๆ Sound Design , ความรู้เรื่อง Sound Engineer โดยทั่วไปแบบพอสังเขป (ถ้าทำได้ถึงขั้น Mix , Master ได้ยิ่งดี) ความรู้เรื่องประเภทของไฟล์ ฟอร์แมทต่างๆ ไปจนถึงพอเข้าใจเรื่องโปรแกรมมิ่งในการสร้างเกมเบื้องต้น เพราะในระหว่างสร้างงานคุณต้องเจอกับเรื่องเทคนิคอันมากมายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และบ่อยครั้งต้องเป็นผู้ที่มาช่วยทางโปรแกรมเมอร์แก้ไขปัญหาหรือมีส่วนร่วมในการออกแบบเสียงและดนตรีที่มีผลต่อการออกแบบเกมไปด้วย
ผมขอใช้คำว่า ความเข้าใจ เพิ่มเข้าไปนอกเหนือจากคำว่าความสามารถ ถ้าคุณไปสังเกตเพลงเกมในยุคปัจจุบัน คุณจะพบว่างานเกมระดับสากลในยุคปัจจุบันมีความซับซ้อนและละเอียดลออมาก และโดยส่วนใหญ่แล้ว คอนเสปต์ของเกมแต่ละเกมมักมีความซับซ้อน และต้องการการตีโจทย์ที่เฉียบขาด มีการออกแบบที่เหนือช้ันเพื่อตอบโจทย์การออกแบบของเกมให้เข้ากันได้อย่างไร้รอยต่อ
บอกลาการทำเพลงด้วยสัญชาติญาณอย่างเดียวโดยไม่เข้าใจเรื่องตัวโน้ตได้เลย เพราะทุกอย่างที่คุณต้องทำมันคือการตอบโจทย์ที่ตัวเกมนั้นๆต้องการ และในเกมมักจะมีโจทย์ที่หลากหลายมากๆ อาทิ ฉากคาสิโน ต้องการเพลงแจ๊ส ฉากทะเลทราย ควรใช้สเกลแบบอาหรับ ฉากแฟนตาซี อาจจะใช้เรื่อง mode เพื่อสร้างบรรยากาศแบบยุโรปยุคกลาง เช่นนี้เป็นต้น ซึ่งการเข้าใจและแตกฉานในเรื่องตัวโน้ตและการประพันธ์มาก่อนจนช่ำชองแล้ว จำเป็นกับการเจอโจทย์ที่หลากหลายทุกรูปแบบอย่างอาชีพนี้มาก
คุณอาจเห็นแล้วว่า คนจะทำอาชีพนี้ได้ต้องค่อนข้างเนิร์ดพอสมควรเลยทีเดียว ฉะนั้นผมสรุปให้แบบง่ายๆเลยว่า อาชีพนี้ “ควร” ต้องจบคณะดนตรีครับ เพราะตรงสายที่สุด แต่ในปัจจุบันก็มีคณะอื่นที่มีวิชาสอนเรื่องการทำดนตรีหรือเสียงประกอบเกมเช่นกัน อาทิ จำพวก คณะเกี่ยวกับ Digital Media ต่างๆ
แต่ทว่า… ลองอ่านนี่ก่อนครับ
จาก 3 ปัจจัยที่ผมได้บอกไปก่อนหน้านี้
ปัจจัยแรก เรื่องเกม อาจเกิดได้โดยคุณชอบเกมโดยธรรมชาติของคุณอยู่แล้ว หรือคุณได้ศึกษาเรื่องนี้มา ซึ่งที่จริงไม่ได้ยากที่จะศึกษา และใช้เวลาไม่นาน อาจได้เรียนจากคณะเกี่ยวกับการทำเกมโดยเฉพาะก็เป็นได้
ปัจจัยที่สอง เรื่องเทคนิคต่างๆ มีสอนทั้งในคณะดนตรี และคณะเกี่ยวกับ Digital Media , Digital Art ต่างๆ เป็นความรู้ทั่วไป บางเรื่องลึกบ้างไม่ลึกบ้าง แต่รวมๆก็พอหาศึกษาได้
ปัจจัยที่สาม เรื่องดนตรี อันนี้แหละคือปัญหาครับ เพราะถ้าเทียบกับเรื่องอื่นๆแล้ว ความรู้ความสามารถด้านนี้ใช้เวลาเรียนรู้นานที่สุด คือเป็นเวลาหลายปี และมันไม่มีทางลัด
นั่นเท่ากับว่า เรียนคณะดนตรี ในสาขาเกี่ยวกับการประพันธ์ดนตรีนี่แหละ ตรงที่สุด แล้วเสริมความรู้ด้านอื่นๆเพิ่ม
แต่อีกทางเลือกหนึ่งก็คือ เรียนคณะอื่นที่เกี่ยวข้อง อาทิ คณะที่เกี่ยวกับการสร้างเกมโดยเฉพาะ คณะที่เกี่ยวกับ digital art , digital media ต่างๆ หรือคณะวิศวะคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรม แล้วหาความรู้ด้านดนตรีเสริมก็เป็นได้
ซึ่งข้อดีก็คือ คุณจะมีความรู้และคอนเนคชั่นในเรื่องเกม หรือเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้อง อาจเป็นได้ว่าจะนำพามาสู่งานเกมที่คุณอยากทำในอนาคต
แต่ข้อเสียก็คือว่า คุณยังขาดสกิลในด้าน Music Composer หรือ Producer อยู่อีกมาก ทีนี้ความยากก็คือคุณจะปิดจุดอ่อนส่วนนี้ยังไงนี่แหละ เพราะอย่างที่บอกไปว่า ความรู้ด้านดนตรีที่เป็นระดับลึกนั้นหาไม่ง่าย และมันไม่มีทางลัด ใช้เวลาเรียนนาน โดยคุณอาจพยายามลองหาเรียนดนตรีทุกวิธีแล้ว แต่หาเองไม่ได้ หรือเจอปัญหาเหล่านี้
- คอร์สเรียนไม่ตอบโจทย์สิ่งที่ตัวเองอยากรู้จริงๆ
- หาเรียนกี่ที่ก็สอนวนๆอยู่แต่กับเรื่องเบสิค
- เรียนรู้เองแล้วงง อ่านไม่เข้าใจ
- จักรวาลความรู้กว้างเกินไป จัดลำดับไม่ได้ จนไม่รู้จะเริ่มตรงไหน เรื่องไหนต่อกับเรื่องไหน
- ไม่รู้ว่ามีอะไรอีกที่ไม่รู้ หรือไม่รู้ว่าตอนนี้ควรเรียนเรื่องอะไร
- ใช้แต่เป็นโปรแกรม แต่ไม่เข้าใจว่าจะออกแบบไลน์ดนตรีหรือตัวโน้ตคอร์ดแต่ละไลน์ยังไง
- ไม่เข้าใจที่มาที่ไปของดีไซน์ หรือการออกแบบการแต่งทำนอง หรือคอร์ด
- เข้าใจเรื่องมิกซ์ แต่ไม่เข้าใจว่า แล้วก่อนจะมิกซ์จะเอาไลน์ดนตรีแต่ละไลน์มาจากไหน
- ไม่เข้าใจว่าโน้ตแต่ละเครื่องดนตรีที่ซับซ้อนมันสัมพันธ์กันยังไง
- ไม่เข้าใจว่า จะทำเพลงบางแนว หรือดนตรีบางแบบยังไง
- มีจินตนาการดนตรีในหัว แต่ไม่รู้เรียกว่าอะไร และไม่รู้ทำยังไง
- มีสารพัดคำถาม ที่หาคำตอบด้วยตัวเองหรือคอร์สเรียนทั่วไปไม่ได้
ข่าวดีคือ หลักสูตร The Real Producer มีไว้เพื่อคนแบบคุณนี่แหละครับ
ถ้าคุณมีความฝันในอาชีพดนตรี อยากทำอาชีพเป็นโปรดิวเซอร์เพลง หรือคนทำดนตรีประกอบเกมให้ได้ ไม่ว่าจะอายุเท่าไร เรียนอะไรมา นี่คือโอกาสสำคัญ หรือ Second Chance ในชีวิตคุณ ที่จะได้เรียนรู้แบบทางตรง หลักสูตร The Real Producer ออกแบบมาเพื่อคนที่จริงจังกับอาชีพดนตรี เมื่อคุณเอาจริง เราก็พร้อมจะสอนแบบจริงจังให้คุณ ชีวิตเป็นของคุณ คุณ Compose มันเองได้ สนใจติดต่อได้ที่แอดมิน ไลน์ @verycatacademy หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ link ใต้โพสต์ล่างสุดนี้ได้ครับ
—————————
VERY CAT SOUND
Compose Your Dream
เราไม่ได้สอนให้คุณทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
.
รับ demo คอร์สเรียนฟรี และข้อมูลหลักสูตรเพื่อประกอบการตัดสินใจได้ที่นี่
www.verycatsound.academy/funnel01
ติดต่อจ้างทำเพลง Line @verycatsound
ติดต่อเรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
โทร. 0856662425