เรียนทำเพลง Passion

ทฤษฎีดนตรี ทำให้หมด Passion จริงหรือไม่?

Share via:

Krissaka Tankritwong

ผมเคยได้ยินอยู่บ่อยๆ เป็นมุมมองจากคนที่ไม่ได้เรียนดนตรี ว่าไม่อยากเรียนรู้ทฤษฎีอะไรเยอะ เพราะกลัวจะติดกรอบ กลัวจะสูญเสีย Passion ไป สมัยก่อนตอนที่ผมยังไม่ได้ไปเรียนในมหาวิทยาลัยเป็นเรื่องเป็นราว ผมก็ฟังหูไว้หู ไม่รู้จริงรึเปล่า ผมในช่วงวัยรุ่นมีอารมณ์พุ่งพล่านและมีอารมณ์ศิลปินสูง แต่งเพลงที่เปี่ยมด้วยอารมณ์ไว้มากมาย แต่ปัญหาคือ ผมไม่สามารถทำดนตรีในแบบที่ผมชอบได้ เพลงทั้งหมดที่แต่งออกมายังไม่สมบูรณ์และยังไม่ใช่ผลงานที่ตัวผมเองพอใจ วันนึงเมื่อถึงทางตัน และผมพบว่าการศึกษาดนตรีทั้งด้วยตัวเองและด้วยการเรียนคอร์สต่างๆนอกมหาวิทยาลัยไม่สามารถตอบสนองต่อเป้าหมายของผมได้ มันไม่สามารถทำให้ผมทำเพลงให้ได้อย่างมาตรฐานที่ผมคิดไว้ได้ ผมจึงตัดสินใจซ้อมเปียโนอย่างหนักเป็นเวลาหนึ่งปี เพื่อจะไปสอบเข้าคณะดนตรี เพื่อเรียนอีก สี่ปี ทั้งๆที่ตอนนั้นเรียนปริญญาตรีสาขาอื่นจบมาแล้วใบหนึ่ง

สิ่งที่ผมได้รับจากการไปเรียนมีมากมายมหาศาลมาก มันต่อยอดจากสิ่งที่เราสนใจและมี sense ทางดนตรีของตัวเองอยู่แล้ว ให้เปิดประตูไปสู่ความเป็นไปได้ที่ไม่สิ้นสุด ผมได้เรียนรู้สิ่งที่ไม่เคยรู้มากมาย ค่อยๆลองผิดลองถูกทำเพลงไปเรื่อยๆ ตอนนั้นผมก็ยังแต่งเพลงไว้เยอะและเป็นเพลงที่เปี่ยมด้วยอารมณ์อีกเช่นกัน เรียกได้ว่าเป็นวัยที่อินกับดนตรีมากๆ ทั้งก่อนและหลังได้เรียน

พอผมเรียนจบแล้วอายุมากขึ้น จบมาทำงานเป็นโปรดิวเซอร์อยู่เบื้องหลัง ชีวิตได้ผ่านอะไรมากมาย ผมทำเพลงแบบที่ตัวเองต้องการได้แล้ว และได้ทำอะไรหลายๆอย่างที่เป็นความฝันไปแล้ว ผมรู้สึกว่าอินกับดนตรีน้อยลง และมีมุมมองหลายๆอย่างที่เปลี่ยนไป บางทีก็ไม่ได้อยากจะแต่งเพลง ไม่ได้รู้สึกพุ่งพล่านเหมือนตอนเป็นวัยรุ่น หรือเพลงที่แต่งมาก็ไม่ได้รู้สึกสดใหม่หรือเปี่ยมไปด้วยอารมณ์แบบแต่ก่อน หรือจะเรียกอาการนี้ว่า “อารมณ์ทางดนตรีลดลง” ก็เป็นได้ครับ

ผมวิเคราะห์สาเหตุได้ดังนี้ครับ

1. ฮอร์โมน

เมื่อเราอายุมากขึ้น ฮอร์โมนที่พุ่งพล่านแบบตอนวัยรุ่นจะลดลง โดยเฉพาะฮอร์โมนที่ทำหน้าที่กระตุ้นความรู้สึกอยากสืบพันธุ์ ถามว่ามันเกี่ยวกันยังไง ผมว่ามีส่วนอย่างมาก มันคืออารมณ์ที่เราอินกับความรู้สึกรัก รู้สึกหลง พอเราอายุมากขึ้น เราจะรู้สึกกับเรื่องพวกนี้น้อยลง ซึ่งส่งผลทำให้เราอินกับพวกเพลงรักๆใคร่ๆน้อยลง (ซึ่ง 80% ของเพลงถูกใช้เป็นเครื่องมือในการแสดงออกหรือสื่อสารเรื่องรักๆใคร่ๆ)

2. อยู่กับดนตรีมากไป

ประสบการณ์ชีวิตที่มากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น พบเจออะไรมากขึ้น ทุกอย่างไม่ใช่สิ่งใหม่อีกต่อไปแล้ว ความตื่นเต้นน้อยลง ยิ่งเราศึกษาดนตรีมาเยอะ ทุกแนว ฟังมาเยอะ ลึกถึงจุดนึง เราก็จะพบว่ามันซ้ำๆ เดิมๆ เหมือนๆกันไปหมด เราจะไม่พบสิ่งใหม่ในนั้น เพราะเราแสวงหาสิ่งใหม่มาจนเห็นมันมากจนแทบไม่เหลืออะไรให้เราสำรวจแล้ว

3. ความกังวลเรื่องปากท้อง

และการเลี้ยงชีพด้วยดนตรี ข้อนี้ถ้าใครไม่ได้ทำอาชีพนี้คงไม่เข้าใจ หลายคนนึกว่าการได้ทำอาชีพดนตรี ได้อยู่กับดนตรีคือความสุข 100% แต่ชีวิตจริงมันไม่มีอะไรง่ายแบบนั้น มันมีรายละเอียดลึกลงไปในบริบทของคำว่างาน คือ งานส่วนมากที่คนอยากจะเสียเงินจ้างเราทำ โดยมาก 90% มักไม่ใช่งานแบบที่เราชอบ และการต้องทำสิ่งที่ทำได้ดี แต่ไม่ได้ชอบ บ่อยๆ ในทุกๆวัน เพราะเราต้องมีเงินเลี้ยงชีพ มันกลับกลายเป็นทำให้เกิดความเหนื่อยหน่าย ไม่อยากทำ หรือสิ่งที่เรียกว่าภาวะหมดไฟ หรือ Burn out ในที่สุดนั่นเอง อันนี้ยังไม่รวมกับปัญหาจากการต้องทำสิ่งที่เกินราคา การโดนกดราคาจากผู้จ้างงานที่ไม่เห็นคุณค่าในงานดนตรี เนื่องจากเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ จึงถูกตีราคาไว้ต่ำ ที่ยิ่งเพิ่มความท้อแท้ในการทำงานมากขึ้น จนถ้าเจอมากๆเข้าก็แทบหมดไฟในการทำดนตรีกันเลย

ส่วนตัวแล้ว นี่คือสาเหตุหลักๆสามประการที่ทั้งตัวผมเองและคนรอบๆตัวเคยเป็นกัน ที่ทำให้หมดอารมณ์ทางดนตรี ส่วนการเรียนรู้ทฤษฎีดนตรีแล้วหมดอารมณ์ทางดนตรีหมดยังไม่เคยเจอนะครับ แต่ไม่ได้บอกว่าจะไม่มีจริง ประสบการณ์ของใครของมัน อาจจะมีคนแบบนั้นอยู่จริงๆก็ได้ เท่าที่เห็นมีแต่เรียนทฤษฎีดนตรีแล้วช่วยทำให้เก่งขึ้น และทำเพลงแบบที่คิดได้มากขึ้น มีแต่ประโยชน์จริงๆ ถ้าถามว่ามันมีส่วนทำให้หมดอารมณ์ทางดนตรีไหม ที่เชื่อมโยงได้ก็อาจจะข้อ 2 คือทำให้เกิดการอยู่กับดนตรีมากเกินไป

แต่อาการที่ผมบอกทั้งหมด มันสามารถแก้ได้ครับ ปัจจุบันพอผมปรับบางอย่างก็ทำให้มีสมดุลของชีวิตมากขึ้น และอารมณ์ทางดนตรีก็กลับมา สิ่งที่ทำก็ อาทิ

– ทำงานอดิเรก หรือกิจกรรมหลายสิ่งหลายอย่างเพิ่มมากขึ้น ไม่ได้อยู่กับดนตรีมากเกินไปจนเลี่ยน


– บางทีพอห่างออกมาจากมันมาระยะนึงก็มีอารมณ์อยากกลับไปทำเพลงของตัวเองอีก ฟังเพลงแบบที่ชอบ ทำได้แบบที่ชอบ ก็ยังอินกับมันอยู่


– แยกชีวิตศิลปินกับชีวิตของการทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพออกจากกัน อันนี้ช่วยได้เยอะ ถ้าใครต้องทำเพลงเป็นอาชีพแล้วเกิดปัญหาที่ว่ามา ลองปรับ Mind Set ให้ได้ว่า อันนี้เพลงลูกค้า อันนี้เพลงตัวเอง แล้วทำอารมณ์คนละ mode กัน เหมือนเป็นตัวเราอีก mode นึง หรือถ้าให้ดีเลย คือทำอาชีพอื่นแล้วทำเพลงตัวเองเป็นงานอดิเรก อันนี้ก็จะสมดุลได้อีกแบบ ไม่มีจำกัดวิธีครับ ต้องลองหลายๆแบบ จนเจอจุดสมดุลของตัวเอง


– บางทีการมาเรียนรู้สิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อนก็ช่วยครับ ลองเรียนรู้ศิลปะแบบอื่นๆ ดู


– แม้แต่การเรียนรู้เครื่องดนตรีที่เราไม่เคยเล่น เล่นไม่เป็นมาก่อน ก็ทำให้ความสดใหม่กลับคืนมาเช่นกัน ชีวิตคนเรามีเวลาจำกัดครับ คุณเรียนรู้ให้ตายยังไงก็ไม่สามารถ Master ทุกอย่างของดนตรีได้หรอก


– เปลี่ยนมุมมองการแต่งเพลง จากการขับเคลื่อนด้วยอารมณ์ทางลบ เป็นอารมณ์ทางบวก อันนี้ก็ช่วยได้เยอะครับ เราอาจกลับไปแต่งเพลงรักอกหักเปี่ยมด้วยอารมณ์แบบตอนวัยรุ่นไม่ได้ แต่เราสามารถแต่งเพลงด้วยมุมมองที่ Positive ในชีวิต ที่เป็นผู้ใหญ่ขึ้น ใจเย็นขึ้น ในอีกรูปแบบนึง เมื่อเราโตขึ้นได้ (เรื่องการขับเคลื่อนการสร้างงานด้วยอารมณ์บวกหรือลบ จริงๆพูดกันอีกยาวได้เลย ผมขอยกยอดไปเขียนในครั้งหน้าๆนะครับ)

เรื่องนี้ผมเขียนจากประสบการณ์จากจริง ทั้งทางตรงที่เจอมากับตัวเอง และจากคำบอกเล่าจากเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ คนรอบตัว ฉะนั้นบอกไว้ก่อนว่าถ้าประสบการณ์ของผมไม่ตรงกับสิ่งที่คนอื่นเจอ ก็เป็นเรื่องปกตินะครับ คนเราเกิดมาเจออะไรแตกต่างกัน มีมุมมองที่แตกต่างกัน เป็นเรื่องปกติ แต่ส่วนตัวผม เท่าที่ผมเจอ ยังไม่เจอคนที่หมดอารมณ์ดนตรีเพราะเรียนรู้ทฤษฎีครับ เลยค่อนข้างมั่นใจที่จะพูดได้ 99% ว่าไม่จริงครับ (เว้นไว้ 1% อาจมีแต่เป็นกรณีส่วนน้อยมากๆที่อาจเกิดขึ้นได้)

ถ้าใครสนใจเรียนรู้การทำเพลง โดยไม่ได้ยึดติดกับทฤษฎี แต่ใช้ประโยชน์จากมันมาทำให้คุณเก่งขึ้นอย่างผิดหูผิดตา สอบถามได้ที่หลักสูตร The Real Producer ของทาง VERY CAT ACADEMY ได้เลยครับ

[บทความจากเว็บไซต์ https://verycatsound.com/blog-music-emotion]


The Real Producer
REAL / DEEP / EXCLUSIVE

หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream

เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง
นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ

หลักสูตร The Real Producer
เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล
สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link

http://mkt.verycatsound.academy/mf2

——————

Contact

Line ID :

เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy

เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound

Tel. : 0856662425
Website : verycatsound.com
FB : http://www.facebook.com/verycatsound
YT : http://www.youtube.com/c/verycatsound

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.