นอกเหนือจากการเป็นศิลปินแล้ว อีกอาชีพดนตรีที่คนยุคใหม่ใฝ่ฝัน คือการเป็น Music Producer หรือโปรดิวเซอร์เพลงนั่นเอง ซึ่งหากใครกำลังหาข้อมูลอยู่ ไม่รู้ว่าถ้าอยากมีอาชีพเป็นโปรดิวเซอร์ จะต้องเรียนอะไร หรือเรียนคณะไหนในมหาวิทยาลัย
ซึ่งถ้าใครได้อ่านบทความที่แล้ว เกี่ยวกับการเป็นศิลปิน ว่าจะต้องเรียนคณะอะไร จะเห็นได้ว่าปัจจัยในการเลือกว่าจะเรียนคณะอะไรจะค่อนข้างซับซ้อน และมีสิ่งที่ต้องพิจารณาหลายอย่าง ตามแต่เงื่อนไขและสถานการณ์ในชีวิตของแต่ละคน
แต่ถ้าเป้าหมายของคุณ ไม่ใช่การเป็นศิลปิน แต่คือการประกอบอาชีพเป็นโปรดิวเซอร์ ปัจจัยในการตัดสินใจก็จะง่ายขึ้นอีกระดับหนึ่ง เพราะผมสามารถบอกได้คร่าวๆว่า “ควรเรียนคณะดนตรี ถ้าเป็นไปได้”
ในการศึกษาในแบบมหาวิทยาลัยทุกสายอาชีพ มันเป็นการศึกษาขั้นลึกเพื่อนำความรู้ไปประกอบอาชีพในสายนั้นๆ มันเป็นทางตรงสู่อาชีพนั้นๆอยู่แล้ว แม้ว่าบางที บางอาชีพ คุณอาจจะสามารถทำอาชีพนั้นได้โดยไม่มีใบปริญญา แต่ความรู้พื้นฐาน ความสามารถต่างๆ ยังไงก็สามารถบอกได้ว่า ไม่เท่าคนที่จบสายตรงมาแน่นอน
คุณอาจเคยได้ยินประโยคที่ผู้ใหญ่ หรือหลายคน บอกว่า “เรียนให้จบมาก่อน ยังไงก็ทำงานไม่ตรงสายอยู่ดี” นั่นเป็นสิ่งที่จะบอกว่าจริงก็ได้ ไม่จริงก็ได้ แต่ต่อให้คุณทำแบบนั้น คุณก็ไม่มีแต้มต่อในสายงานนั้นๆ เพราะหลายๆคนที่จบสายงานนั้นตรงๆ มีแต้มต่อและโอกาสที่จะไปได้ไกลกว่า ดีกว่า แน่นอน ฉะนั้นถ้าคุณรู้ตัวอยู่แล้วว่าเป้าหมายคืออยากประกอบอาชีพอะไร ทำไมคุณไม่เรียนให้ตรงสายไปเลย? ผมคิดว่าประโยคข้างต้นย่อหน้านี้ มันมีไว้ให้สำหรับคนที่หาตัวเองไม่เจอก่อนจะเลือกสายมากกว่าครับ มันเป็นคนละกรณีกับคนที่รู้ตัวอยู่แล้ว
เหตุผล 3 ข้อ ที่คุณควรเรียนคณะดนตรี ถ้าอยากเป็นโปรดิวเซอร์เพลง
สิ่งที่แตกต่างจากการเป็นศิลปินคือ คุณไม่ได้มาทำอาชีพนี้ในแบบเสี่ยงดวงเหมือนซื้อหวย เผื่อว่าจะดัง แบบการเป็นศิลปิน แต่มันคือวิชาชีพที่คุณต้องเก่ง ต้องโปร เพื่อที่จะอยู่รอดทำเป็นอาชีพในระยะยาว และต่อยอดในสายงานได้ไปตลอดชีวิต และบ่อยครั้งที่คุณไม่สามารถเลือกแนวเพลงที่คุณถนัดได้ แต่ต้องทำตามโจทย์ของศิลปินหรือลูกค้า ถ้าเป็นศิลปินคุณแค่ทำแนวตัวเองก็พอ แต่ถ้าเป็นโปรดิวเซอร์คุณต้องทำได้ทุกแนว ทีนี้ขนาดของความรู้ความชำนาญที่ต้องใช้จะมีขนาดต่างกันเยอะมาก ลำพังการเรียนรู้ด้วยตัวเอง หรือเรียนนอกสถาบัน ปกติแล้วที่จะไม่ได้สอนกันลึกไปกว่าระดับเบสิค มักจะไม่ได้ให้ความรู้ความชำนาญคุณที่ลึกเพียงพอที่จะทำเพลงได้ทุกแนว ทุกระดับความยาก หรือถึงมีก็หาได้ไม่ง่าย ต้องบอกว่า ระดับความรู้ทางดนตรีมันมีเยอะและลึกกว่าที่คุณคิดมากครับ
เช่นกันกับข้อแรก ถ้าคุณจะเป็นศิลปิน คุณอาจทำเพลงจากสัญชาติญาณและมันออกมาเวิร์คก็ไม่แปลกครับ แต่เมื่อมาทำเป็นอาชีพโปรดิวเซอร์ ที่ต้องจำนวนงานที่มาก หลากหลาย ลึก คุณควรจะรู้สิ่งที่คุณทำอย่างทะลุปรุโปร่งว่าอะไรคืออะไร คุณทำอะไรอยู่ มันเรียกว่าอะไร และถ้าเจอโจทย์แบบนี้คุณจะทำยังไงให้ตอบโจทย์ จะแก้ยังไงให้ตรงตามโจทย์ โดยที่ใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ใช้เวลาสั้นที่สุด ฉะนั้นคุณจะมั่วไม่ได้ ไม่ต่างกับวิธีการที่มืออาชีพด้านอื่นๆ เช่น หมอ หรือ วิศวะ ทำงาน คุณจะใช้แต่สัญชาติญาณทำ เหมือนตอนทำงานศิลปะ ที่ตัวเองเป็นศิลปิน ไม่ได้ เพราะการทำเป็นอาชีพมันคือการใช้ความรู้ความสามารถที่คุณทำได้ รับใช้สังคม หรือรับใช้คนอื่นๆ เพื่อแลกกับค่าตอบแทน มันมีคุณค่าต่อสังคมในอีกแบบ ที่เป็นคนละอย่างกับการเป็นศิลปิน
อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญ นอกจากการแตกฉาน ไม่มั่ว จะทำให้คุณเป็นมืออาชีพที่ไม่กลัวงานทุกรูปแบบแล้ว มันยังทำให้คุณสามารถสื่อสารกับคนทำงานสายเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะบ่อยครั้งปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนทำงานดนตรีคือ การสื่อสาร ที่เข้าใจไม่ตรงกัน เพราะมีคนจำนวนมากที่อยู่ในสายงานนี้เป็นอาชีพ แต่กลับมีความรู้พื้นฐานทางดนตรีน้อยมาก ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการสื่อสาร และมีความยาก ความติดขัดในกระบวนการทำงานอยู่มาก ในฐานะที่คุณเป็นโปรดิวเซอร์มืออาชีพ นั่นคือสิ่งที่คุณไม่ควรจะเป็นแบบนั้น และควรให้ความรู้ทางดนตรีที่ถูกต้องกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ สืบต่อไป
ถ้าคุณต้องร่วมงานกับคนหลายคน ทั้งศิลปิน นักร้อง นักดนตรี แล้วคุณไม่เข้าใจศัพท์เทคนิคทางดนตรีที่เค้าพูดกัน หรือคุณต้องการอีกอย่าง แต่คุณสื่อสารผิด ใช้คำอีกแบบ นอกจากจะทำให้เกิดความเข้าใจไม่ตรงกัน ซึ่งนำไปสู่งานที่ไม่มีคุณภาพแล้ว คุณคงไม่อยากถูกมองว่าความรู้น้อยกว่าพวกเขา แต่มาเป็นโปรดิวเซอร์ได้ยังไงใช่ไหมล่ะครับ
ดนตรีมันเป็นศาสตร์ที่กินเวลาในการเรียนรู้ค่อนข้างมาก และไม่มีทางลัด ใช้เวลาฝึกฝนและเรียนมาก ใช้เงินมาก มันลึกกว่าที่หลายคนคิด ยากกว่าที่หลายคนรู้ และที่สำคัญ มันฝึกเองยาก ผมพูดในฐานะคนที่เคยพยายามเองมาแล้ว แต่สุดท้ายก็พบว่า ถ้าต้องการไปได้ไกลๆ ก็ต้องมาเริ่มนับพื้นฐานที่ 1 ใหม่ในมหาวิทยาลัยอยู่ดี ซึ่งการเรียนนั่นแหละมันคือทางตรงที่สุดแล้วที่จะทำให้ได้ความรู้และสกิลที่ต้องการมา คุณอาจหาทางเรียนรู้เองจนได้ก็จริง แต่รับรองได้ว่ากินเวลามากกว่าไม่รู้กี่เท่า ฉะนั้นเมื่อคุณอยากเป็นโปรดิวเซอร์เพลง การเรียนคณะเกี่ยวกับการผลิตเพลงโดยเฉพาะนี่แหละคือทางตรงที่สุดแล้ว คุณอาจคิดว่าเสียเวลาเยอะ แลกอะไรมาเยอะ ใช่ครับ นั่นคือเรื่องปกติสำหรับสายนี้ มันไม่มีทางลัด เพราะเมื่อไรที่คุณเสียเวลาหาทางลัดสารพัดทาง รู้ตัวอีกทีเวลาอาจผ่านไปเยอะมากแล้ว โดยที่พบว่าไม่สามารถไปสู่จุดที่เป็นโปรได้อยู่ดี ความจริงมันจะกลับมาย้ำเตือนประโยคนี้ จนสุดท้ายคุณต้องยอมรับ และกลับไปนับ 1 ที่พื้นฐานอยู่ดี
สรุปว่า ยังไงก็สมควรเรียนคณะดนตรี ถ้าคุณมีโอกาสทำได้… แต่
ถ้าไม่ได้เรียนคณะดนตรีจะเป็นโปรดิวเซอร์ได้หรือไม่?
ในกรณีที่คุณไม่ได้เรียนคณะดนตรีล่ะ
คุณยังมีโอกาสในการเป็นโปรดิวเซอร์อยู่หรือไม่?
คุณอาจมีเงื่อนไขความจำเป็นอะไรบางอย่าง ที่ทำให้ไม่สามารถเลือกเรียนคณะดนตรีได้ หรือคุณเลือกที่จะไม่เรียนมันเองอาจจะเพราะด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่
มีเหตุผลคลาสสิคมากมาย โดยเฉพาะในสังคมไทย เอาที่ผมเจอบ่อยๆจากคนที่มาปรึกษาก็ อาทิเช่น ที่บ้านไม่สนับสนุน , เลือกทางที่มั่นคงกว่า , เชื่อผู้ใหญ่ เชื่อสังคม ฯลฯ
เชื่อเถอะว่าไม่ได้มีคุณอยู่คนเดียว ผมก็เคยเจอมา และก็เหมือนกับคนอื่นๆอีกหลายคน
แต่พอเวลาผ่านไป คุณพบว่า คุณก็ยังไม่สามารถลืมความฝันตัวเองได้ แต่คุณไม่สามารถย้อนเวลากลับไปสมัยก่อนเข้ามหาวิทยาลัยได้แล้ว แล้วคุณยังมีโอกาสอยู่ไหม?
ผมต้องบอกว่า ก็ยังมีโอกาสอยู่ครับ ไม่ใช่ 0
สิ่งที่สำคัญคือ คุณหาวิธีทำให้ตัวเองเก่งได้มั้ย แค่นั้นเลย คุณอาจเรียนรู้เอง หรือหาวิธีเรียนซิกแซกจนเก็บความรู้ เก็บสกิล จนทำเพลงได้เก่งกาจ และมีโอกาสในการได้ทำงานในสายนี้ พอทำได้ ก็ได้งานต่อๆมาเรื่อยๆ ทำให้วงล้อมันหมุนไปเรื่อยๆได้ รู้ตัวอีกทีก็กลายเป็นอาชีพไปแล้ว ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับหลายๆคน ฉะนั้นอย่าท้อครับ
แต่ถ้าคุณค้นพบด้วยตัวเอง ระหว่างที่พยายามหาเรียนรู้ด้วยตัวเอง หรือการเรียนนอกระบบมาแล้วหลายที่ แต่พบว่า มันยากกว่าที่คิดจริงๆ ซึ่งอาจจะเจอปัญหาได้สารพัดเหตุผล อาจจะเพราะเช่นว่า
– คอร์สเรียนไม่ตอบโจทย์สิ่งที่ตัวเองอยากรู้จริงๆ
– หาเรียนกี่ที่ก็สอนวนๆอยู่แต่กับเรื่องเบสิค
– เรียนรู้เองแล้วงง อ่านไม่เข้าใจ
– จักรวาลความรู้กว้างเกินไป จัดลำดับไม่ได้ จนไม่รู้จะเริ่มตรงไหน เรื่องไหนต่อกับเรื่องไหน
– ไม่รู้ว่ามีอะไรอีกที่ไม่รู้ หรือไม่รู้ว่าตอนนี้ควรเรียนเรื่องอะไร
– ใช้แต่เป็นโปรแกรม แต่ไม่เข้าใจว่าจะออกแบบไลน์ดนตรีหรือตัวโน้ตคอร์ดแต่ละไลน์ยังไง
– ไม่เข้าใจที่มาที่ไปของดีไซน์ หรือการออกแบบการแต่งทำนอง หรือคอร์ด
– เข้าใจเรื่องมิกซ์ แต่ไม่เข้าใจว่า แล้วก่อนจะมิกซ์จะเอาไลน์ดนตรีแต่ละไลน์มาจากไหน
– ไม่เข้าใจว่าโน้ตแต่ละเครื่องดนตรีที่ซับซ้อนมันสัมพันธ์กันยังไง
– ไม่เข้าใจว่า จะทำเพลงบางแนว หรือดนตรีบางแบบยังไง
– มีจินตนาการดนตรีในหัว แต่ไม่รู้เรียกว่าอะไร และไม่รู้ทำยังไง
– มีสารพัดคำถาม ที่หาคำตอบด้วยตัวเองหรือคอร์สเรียนทั่วไปไม่ได้
ข่าวดีคือ หลักสูตร The Real Producer มีไว้เพื่อคนแบบคุณนี่แหละครับ
ถ้าคุณยังไม่ทิ้งความฝันที่จะทำอาชีพดนตรี อยากเป็นโปรดิวเซอร์เพลงให้ได้ ไม่ว่าจะอายุเท่าไร เรียนอะไรมา นี่คือโอกาสสำคัญ หรือ Second Chance ในชีวิตคุณ ที่จะได้เรียนรู้แบบทางตรง หลักสูตร The Real Producer ออกแบบมาเพื่อคนที่จริงจังกับอาชีพดนตรี เมื่อคุณเอาจริง เราก็พร้อมจะสอนแบบจริงจังให้คุณ ชีวิตเป็นของคุณ คุณ Compose มันเองได้ สนใจติดต่อได้ที่แอดมิน ไลน์ @verycatacademy หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ link ใต้โพสต์ล่างสุดนี้ได้ครับ
—————————
VERY CAT SOUND
Compose Your Dream
เราไม่ได้สอนให้คุณทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
.
รับ demo คอร์สเรียนฟรี และข้อมูลหลักสูตรเพื่อประกอบการตัดสินใจได้ที่นี่
http://mkt.verycatsound.academy/mf2
ติดต่อจ้างทำเพลง Line @verycatsound
ติดต่อเรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
โทร. 0856662425