ถ้าคุณเป็นหนึ่งในคนที่ชอบดนตรีและอยากเข้าคณะดนตรี จริงๆแล้วมันมีคณะและสาขาของคณะดนตรีอยู่มากเลยที่คุณสามารถเลือกเรียนได้ การเลือกเรียนดนตรีนั้นสำคัญมากๆต่ออาชีพในอนาคตซึ่งแต่ละคนมีจุดประสงค์ในการเรียนที่ต่างกัน ก็จำเป็นต้องเรียนในสาขาที่ตรงกับจุดประสงค์ด้วยถึงจะประกอบอาชีพได้ถูกต้อง ซึ่งผมจะแบ่งออกเป็น 5 สาขาหลักให้คุณได้ลองพิจารณาเลือกเรียนดังนี้
หากคุณอยากเรียนดนตรีเพราะอยากเป็นครูสอนดนตรีละก็คณะนี้เป็นตัวเลือกที่ตรงที่สุด ซึ่งคณะนี้ส่วนใหญ่จะไม่ได้เรียกว่าคณะดนตรีโดยตรง แต่จะอยู่ในสาขาย่อยของคณะครุศาสตร์ หรือศึกษาศาสตร์ ชื่อสาขาดนตรีหรือศิลปะศาสตร์เป็นต้น ซึ่งอาจแยกย่อยตามเครื่องดนตรีเอกอีกในสาขานี้ เนื้อหาการเรียนจะเหมาะสำหรับการเอามาสอนโดยตรง คุณสามารถเข้าคณะนี้ในสาขาเกี่ยวกับดนตรีแล้วจบมาเป็นครูสอนดนตรีได้เลย
การแสดงดนตรีก็คือการเล่นดนตรี หรือแม้แต่การขับร้อง การแสดงเกี่ยวกับดนตรีทั้งหมดมีจุดประสงค์เพื่อทำการแสดงฝีมือทางดนตรี ซึ่งสาขานี้จะฝึกให้เราเล่นดนตรีได้อย่างเก่งกาจ ในสาขานี้นั้นจะแยกย่อยออกเป็นแต่ละแนวอีก คือ
1. Classic
2. Jazz
3. Pop/rock (ดนตรีร่วมสมัย)
ซึ่งจะมีความแตกต่างตามแต่ละที่ บางที่อาจมีครบทั้งสามแนว บางที่อาจมีแค่ 1 หรือ 2 แนว บางที่อาจรวมแต่ละแนวเข้าด้วยกันแล้วใช้ชื่ออีกแบบ ก็แล้วแต่ที่คุณสนใจและหาข้อมูลเพิ่มเติมของแต่ละมหาวิทยาลัย อย่างของที่ผมเคยเรียนมานั้นจะแยกเป็น 2 แนวคือ สาขาการแสดงดนตรี ซึ่งหมายถึงแนวดนตรี Classic และสาขาการแสดงดนตรี Jazz หมายถึงแนวดนตรี Jazz และไม่มีแนว Pop/rock ถามว่าผลลัพธ์ของการเข้าเรียนในสาขานี้คืออะไร แน่นอนว่าเขาจะฝึกคุณให้กลายเป็นคนที่เล่นดนตรีเก่งมากๆ เหนือมนุษย์ ในแนวที่คุณเลือก และในแต่ละแนวนี้จะมีการแบ่งตามเครื่องดนตรีเอกที่คุณถนัดอีก เช่น Saxophone Classic, Trumpet Classic, Guitar Jazz, Piano Jazz หรืออื่นๆ แน่นอนว่าสาขาการแสดงดนตรีนี้จะเหมาะกับคนที่ชัวร์ว่าตัวเองจะเป็นนักดนตรี จะอยู่กับดนตรีโดยการเล่นดนตรีทั้งชีวิตจริงๆ อาจต้องซ้อมวันละ 8-12 ชั่วโมงก็ยังสนุกกับมันได้ มีความสุขที่ได้เล่นดนตรี อาจเป็นการเล่นดนตรีกลางคืนตามผับ/บาร์, Night club หรือคอนเสิร์ต หากคุณมีความสุขกับมันแสดงว่าสาขานี้เหมาะกับคุณ ถามว่านอกจากเล่นดนตรีแบบที่ว่าแล้วมีอะไรอีกไหม จริงๆแล้วด้วยความสามารถที่เก่งกาจก็สามารถเล่นดนตรีในห้องอัดได้เหมือนกัน ซึ่งบางทีทาง Producer หรือสายเบื้องหลังเขาต้องการลายเครื่องดนตรีที่เนี้ยบๆ เขาก็จะจ้างคุณไปเล่นให้ด้วยเหมือนกัน
สาขานี้จะเป็นการทำงานสายดนตรีโดยที่เป็นเบื้องหลังของงานดนตรี โดยจะแบ่งออกเป็นอีก 3 ประเภทแยกย่อยคือ
นึกถึงงานสายนี้แบบง่ายๆคือให้นึกถึง Beethoven นักประพันธ์เพลงที่เป็นที่รู้จักกัน สายงานนี้จะเป็นสายงานประพันธ์ แต่งเนื้อเพลง หรือออกแบบและเรียบเรียงเพลง ซึ่งแยกเป็นแต่ละแนวเช่นกัน
มีลักษณะคล้ายแบบแรกแต่จะมีวิชาที่เน้นการสร้างดนตรีประกอบซึ่งเป็นศาสตร์ที่มีความลึกซึ้งพอสมควรเพื่อจบมาทำอาชีพดนตรีประกอบโดยเฉพาะ ซึ่งอย่างที่บอกว่าคาบเกี่ยวกับแบบแรกโดยอาจมีตั้งแต่เรียนเหมือนกันแล้วเพิ่มวิชาดนตรีประกอบ หรือจะเน้นไปทางดนตรีประกอบอย่างเดียวเลยก็มี
เช่นกันสาขานี้มีความคาบเกี่ยวกับการเป็น Composer/Arranger เช่นกัน แต่มีความเฉพาะอีกแบบซึ่งในบางมหาวิทยาลัยอาจเรียนทั้งหมด 3 ข้อที่กล่าวมาด้วยกันเลย หรืออาจเรียนแค่ตัวใด หรือยกเว้นตัวใดตัวหนึ่งก็ได้ ก็ต้องลองไปหาข้อมูลดูดีๆอีกที แต่แน่นอนว่าในทาง Sound engineer นั้นเกี่ยวข้องกับการจัดการเสียงอย่างการ Mix/Mastering, Sound recording เป็นต้น อาจเรียกอีกชื่อว่า Music Technology (เทคโนโลยีดนตรี)
ดังนั้นก็ควรพิจารณาตัวเองว่าหากอยากเป็นสายเบื้องหลัง แล้วเป็นสายเบื้องหลังแบบไหน อยากเป็นนักแต่งเพลง เรียบเรียงเพลงใช่ไหม อยากเป็นคนทำซาวด์ประกอบหนัง หรืออยากเป็นคน Mix/Master เพลง เอาให้ชัดก่อนเลือกเรียนเพื่อตรงตามจุดประสงค์
สาขานี้จะไม่ได้เรียนเพียงทฤษฎีดนตรี แต่จะรวมพวกวิชาธุรกิจทางดนตรีไปด้วย ซึ่งจะจบมาทำงานเป็นคนดูแลเรื่องธุรกิจในองค์กรหรือค่ายเพลง หรือที่ปรึกษาทางธุรกิจเฉพาะของศิลปิน เป็นต้น เป็นอาชีพสาย Support ตัวนักดนตรีหรือศิลปิน หรือแม้แต่ค่ายเพลงอีกที ซึ่งเห็นสาขาประมาณนี้อยู่ในมหาวิทยาลัยหลายๆที่ มีทั้งที่เรียนดนตรีร่วมด้วยหรือเรียนเฉพาะธุรกิจดนตรีก็มี ก็ให้ลองศึกษาเพิ่มเติมให้ละเอียดอีกที
คือสาขาที่เฉพาะมากขึ้นที่อาจไม่ค่อยรู้จักกันแพร่หลาย ส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับปริญญาโท เช่น สาขาดนตรีชาติพันธ์ จะเป็นการเรียนเชิงลึกในดนตรีของแต่ละพื้นที่,ชนเผ่า เป็นต้น ซึ่งใครที่เป็นสายนักวิชาการ หรือสนใจดนตรีเชิงลึกก็สามารถเลือกเรียนทางนี้ได้ แนวทางการประกอบอาชีพจะไปทางนักวิชาการ หรืออาจารย์มหาวิทยาลัยสะส่วนใหญ่ หรืออีกสาขาที่น่าสนใจคือ Music therapy หรือดนตรีบำบัด คือการใช้ดนตรีเพื่อบำบัดผู้ป่วย ซึ่งมีการทำงานอาชีพนี้อยู่จริงตามสถานพยบาลต่างๆ
รวมๆแล้วการเรียนดนตรีนั้นมีสาขาการเรียนอยู่กว้างมากๆ เพียงแต่ส่วนใหญ่ที่สนใจและเข้าใจได้จะเป็น 4 สาขาแรกที่กล่าวมา ส่วนอีกกลุ่มซึ่งเป็นคนส่วนน้อยจะเป็นสาขาอื่นๆที่กว้างและเฉพาะไปตามความสนใจของแต่ละคนอีก
หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจตัวเองและเลือกเรียนได้ตรงตามที่ตัวเองสนใจ
หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream
เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง
นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ
หลักสูตร The Real Producer
เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล
สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link
http://mkt.verycatsound.academy/mf2
——————
Contact
Line ID :
– เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
– เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound
Tel. : 0856662425
Website : verycatsound.com
FB : http://www.facebook.com/verycatsound
YT : http://www.youtube.com/c/verycatsound