โปรดิวเซอร์ทำเพลง มีหน้าที่อะไรกันแน่

Share via:

Krissaka Tankritwong

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าคำนิยามหรือความหมายของโปรดิวเซอร์แปลว่าอะไร

“โปรดิวเซอร์” จริงๆแล้วแปลว่า ผู้ควบคุมการผลิต ซึ่งนั่นหมายถึงทุกๆขั้นตอนของการผลิต โปรดิวเซอร์ มีหน้าที่ควบคุมทั้งหมดทุกขั้นตอน แล้วการผลิตมีกี่ขั้นตอน? เราจะมาสรุปสั้นๆกัน

หลักๆแล้วโปรดิวเซอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ โปรดิวเซอร์ที่ทำเองทุกขั้นตอนหรือก็คือ โปรดิวเซอร์ที่ทำทุกกระบวนการ แต่ก็จะมีโปรดิวเซอร์อีกแบบอย่าง โปรดิวเซอร์ควบคุมการผลิต ซึ่งหมายถึงเราที่เป็นโปรดิวเซอร์ไม่จำเป็นที่จะต้องทำทุกหน้าที่ในทุกขั้นตอนหรืออาจจะไม่ได้ทำเลยก็ได้ ขึ้นอยู่กับทุนทรัพย์และการแจกจ่ายงานว่าใครจะทำส่วนไหน

ส่วนกระบวนการผลิตเพลงจะมีขั้นตอนดังนี้

1.ขั้นตอนการบรีฟงาน

สมมุติเราได้รับโปรเจคมาสัก1งาน สิ่งแรกที่เราต้องทำแน่นอนคือเราต้องคุยรายละเอียดต่างๆของโปรเจคกับคนที่มาจ้างงาน ลูกค้าต้องการอะไร อยากได้แบบไหน ถ้าลูกค้าไม่มีเรฟเฟอเรนซ์ เราเองก็อาจต้องหาเรฟเฟอเรนซ์ต่างๆมาให้ลูกค้าเลือกดู

2.เรียบเรียงดนตรี

ต่อมาเราก็นำข้อมูลทั้งหมดหลังจากการบรีฟพูดคุยอะไรเสร็จมาทำเพลงซึ่งรายละเอียดในงานก็อาจจะมีการ ขึ้นโครง ใส่เลโลดี้ มีทำนอง เป็นเดโม่คร่าวๆ3-4ตัว

3.เสนองานให้ลูกค้า

หลังจากทำเดโม่เสร็จ เราก็เอางานเหล่านั้นไปเสนองานลูกค้าว่าลูกค้าชอบไหม ชอบตัวไหน อยากแก้อะไรไหม ซึ่งหลังจากเราได้ข้อมูลมาแล้ว เราก็นำมาปรับแก้กับงานของเรา

4.ทำตัวงานจริง

ทำการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับชิ้นงานว่าเราจะใช้คอร์ดชุดนี้ดีแล้วใช่มั้ย เครื่องดนตรี คอรัสต่างๆเพิ่มลดอะไรยังไง อาจจะมีการอัพเดทให้ลูกค้าลองเช็คว่าชอบไหม แก้ไหมนิดๆหน่อยๆจนผ่าน

5.อัดเสียง

นัดนักดนตรี นักร้องกำหนัดวันที่จะอัดและส่งไฟล์โน๊ตเพลงให้นักดนตรีและนักร้องไปฝึกซ้อม ส่วนวันอัดก็แล้วแต่เรากำหนดว่าอัดกี่วัน อัดเครื่องดนตรีอะไรบ้าง อัดที่ไหน แล้วลูกค้าจะเข้ามาดูไหม ถ้าเข้ามาเราก็ต้องจัดที่รับรองให้ลูกค้าด้วย พออัดทุกอย่างเสร็จเราก็จะได้เป็นไฟล์เสียงต่างๆ

6.มิกซ์มาสเตอร์เพลง

ซึ่งไฟล์เสียงเหล่านั้นเราก็จะเอามาmixdownรวมกัน เสร็จสรรพทั้งหมดได้มาเป็นดราฟที่1 ส่งไปให้ลูกค้าดู ลูกค้าชอบไม่ชอบอะไรเราก็แก้มาให้จนโอเคเราก็เอาไปมาสเตอร์อีกทีจนเป็นไฟล์ที่สมบูรณ์

จบสุดท้ายก็คิดเงิน เป็นอันสิ้นสุด 1โปรเจค

ทั้งหมดนี้คือกระบวนการผลิตแบบกระชับ ถ้าเราเริ่มมีรายได้ที่มากขึ้นและมีทีมที่ไว้ใจได้ เราก็อาจจะเริ่มทำน้อยลงอาจจะอย่างใดอย่างหนึ่งจากขั้นตอนที่กล่าวมาก็ได้ แต่รายได้ก็จะต้องแบ่งกันให้ดี และในระหว่างขั้นตอนทั้งหมดที่ดำเนินไป ถ้ามันเกิดปัญหาที่ต้องแก้อะไรขึ้นเพื่อให้งานมันดำเนินต่อไปได้จนเสร็จ ยกตัวอย่างเช่น แก้ไขโน๊ตบางตัว แก้เนื้อร้อง หรือเปลี่ยนคีย์ให้นักร้อง ก็จะเป็นโปรดิวเซอร์ที่ต้องรับหน้าที่แก้ปัญหาเหล่านั้น ซึ่งไม่ใช่แค่การแก้ปัญหาเพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่โปรดิวเซอร์ต้องรับผิดชอบ ทุกขั้นตอนของการผลิตโปรดิวเซอร์จะต้องเป็นคนประสานงานเองทั้งหมดอีกด้วย

เพราะฉะนั้นแล้วคนที่จะมาทำงานในตำแหน่งโปรดิวเซอร์นั้นจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีประสบการณ์ที่สูง ต้องเคยทำหน้าที่ทุกอย่างในขั้นตอนการผลิตมาแล้วทั้งหมด เพื่อที่จะสามารถเข้าใจและประสานงานกับคนทุกภาคส่วนให้ราบลื่น พร้อมแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้อย่างมืออาชีพ


The Real Producer
REAL / DEEP / EXCLUSIVE

หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream

เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง
นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ

หลักสูตร The Real Producer
เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล
สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link
http://mkt.verycatsound.academy/mf2

——————

Contact

Line ID :

– เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
– เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound

Tel. : 0856662425
Website : verycatsound.com
FB : http://www.facebook.com/verycatsound
YT : http://www.youtube.com/c/verycatsound

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.