ผมได้ดูคลิปของ คุณไก่ play piano by ear คลิปนี้ แล้วเห็นด้วยอย่างมาก ว่า โควิดไม่ได้ทำให้วงการดนตรีล่มสลายหรอก การตัดราคาของพวกนักดนตรีกันเองต่างหาก บอกตรงๆว่าก่อนหน้านี้ผมรู้สึกเกือบจะท้อกับวงการ ที่ไปที่ไหนเจอแต่การตัดราคากัน จนราคากลางต่ำลงไปมากๆ มันไม่ใช่แค่วงการเล่นดนตรีอย่างเดียว แต่เป็นทั้งวงการการทำเพลง และวงการสอนทำเพลง สอนดนตรีด้วย
ผู้ที่สืบทอดวิชาดนตรีที่เป็นตัวจริงหลายๆคนต่างรู้ดีกันว่า ดนตรีมันยาก ไม่มีทางลัด และใช้เวลาเรียนกันนาน และราคาของมันอยู่ในระดับไหน หลายๆคนทุ่มเทร่ำเรียนกันมาหมดเงินกันไปเป็นแสนเป็นล้าน ไหนจะค่าอุปกรณ์อีก ไหนจะความตั้งใจบากบั่นที่ซ้อม ที่ฝึกฝนกันมาเป็นเวลาหลายปีอีก แต่พอมายุคนี้ ต้องมาแลกกับค่าตัวหลักร้อยหลักพัน
แน่นอนว่า บางคนที่ไม่ได้ทุ่มเทกับมันขนาดนั้น ใช้เวลาเรียนและฝึกฝนมาไม่มากก็มาอยู่ในตลาดเดียวกัน และคิดราคาค่าตัวตัวเองต่ำกว่ามาตรฐาน เพราะตัววิชาก็ตามแต่คุณวุฒิผู้สอน ระดับความลึกก็ไม่เท่ากัน ที่จริงเป็นสิ่งที่เข้าใจได้
แต่คนที่เรียน ที่ซ้อมมาจนแก่กล้าวิชา แล้วมาคิดราคาเท่ากับระดับเริ่มต้น หรือบางทีก็ตัดราคาเพื่อให้ตัวเองจะได้มีงาน อันนี้ผมไม่เข้าใจจริงๆว่าจิตใจทำด้วยอะไร ต้นทุนที่จ่ายไปทั้งหมดกว่าจะได้วิชานี้มา มันคุ้มค่ากับเงินจำนวนนี้จริงหรือ เหมือนไม่เห็นคุณค่าของวิชาที่ร่ำเรียนมา และไม่เห็นคุณค่าของตัวเอง เหมือนที่ อ.ไก่ พูด
พอลูกค้าหรือคนทั่วไปเห็นราคานี้มากๆเข้าก็เริ่มมีการเปรียบเทียบแต่เรื่องราคา ทำให้การเรียกราคาที่ควรจะเป็น เป็นไปได้ยากขึ้นทุกวัน เพราะมันกำลังเข้าสู่วงจรการตัดราคา เป็นวงจรอุบาทว์ไม่จบสิ้น ที่ราคาจะต่ำลงไปเรื่อยๆ
แล้วในอนาคต ถ้าตัดราคากันไปเรื่อยๆแบบนี้ วิชาดนตรีจะอยู่ได้ยังไง นอกจากสูญพันธุ์ไป เพราะไม่มีใครอยากจะทำมันแล้ว เพราะคิดในแง่การลงทุน มันไม่มีความคุ้มค่าใดๆหลงเหลืออยู่
นักดนตรีก็อยู่ไม่ได้ เหลือแค่คนที่เล่นเป็นงานอดิเรก ซี่งก็เป็นงานอดิเรกราคาแพงที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่อยู่ได้
คนทำเพลงก็อยู่ไม่ได้ เพราะกำไรที่แทบไม่เหลือ แต่ลงทุนเยอะ ค่าใช้จ่ายมากมาย บวกกับความยากของงาน ใครที่ไหนจะตั้งใจทำสิ่งดีๆให้ กลายเป็นอาชีพที่ทรมาน จากรายได้ที่เคยอยู่ได้ กลับอยู่ยากขึ้นทุกวัน
แม้แต่คนรุ่นใหม่ที่จะเข้ามาในวงการ พอจะเริ่มเรียนก็พบแต่บทเรียนที่ไม่มีคุณภาพ หรือเป็นแค่ระดับเบสิค ตามราคาของมัน เพราะทุกคนหวังจะขายให้ได้ง่ายๆ เลยขายแต่ราคาต่ำๆ และเมื่อราคาต่ำ คุณภาพในการสอน หรือเนื้อหาที่สอนก็จะด้อยลงไปด้วย ไม่สามารถสอนเรื่องที่ลึก ที่ไปถึงระดับสูงได้ เพราะทุกคนกลัวเรื่องราคาของมันว่าจะไม่มีคนซื้อ ดนตรีที่เป็นขั้นลึกของจริงจึงหาเรียนได้ยากลงทุกที
มาเข้าใจกันก่อนว่า อะไรแปลว่าถูกหรือแพง
การที่คุณคิดว่าสิ่งใดแพง เพราะคุณรู้สึกว่า คุณค่าของมันต่ำกว่าจำนวนเงินที่คุณจ่าย
ในทางตรงกันข้าม การที่คุณรู้สึกว่าสิ่งใดถูก เพราะคุณรู้คุณค่าที่แท้จริงของมัน ว่ามันสูงกว่าราคาที่ตั้งนั้น
ฉะนั้น แพงหรือถูก มันจึงอยู่ที่ “การรับรู้” หรือ “perception” ของผู้บริโภค
ไม่ใช่ทุกคนที่ต้องการแต่ของที่ถูกกว่า หรือถูกที่สุด
มีคนอีกมากมายที่อยากได้ของดีที่สุดโดยไม่สนใจเรื่องราคา ยอมจ่ายแพงเท่าไรก็จ่ายได้
มีคนบางกลุ่มที่ต้องการของที่ไม่ถูกเกินไป แต่คุ้มค่าถ้าเทียบกับสิ่งที่จ่ายไป
มีคนบางกลุ่มชอบจ่ายซื้อของที่มีราคาประมาณนึง แต่ไม่ถึงไฮเอนด์ระดับแพงที่สุด
เหมือนเราไปซื้อโทรศัพท์มือถือ Smartphone วันนี้ ก็มีรุ่นและยี่ห้อให้เลือกหลากหลาย ราคาตั้งแต่ พันกว่าบาท ไปจนถึง หลักแสน
(Samsung หรือ iPhone ไม่ได้แพงที่สุดนะครับ ที่จริงโทรศัพท์ในตลาด high end ที่แพงกว่านั้น)
ถ้าหลักเกณฑ์ที่ว่า ของถูกเท่านั้นที่จะขายได้ เป็นจริง แล้วทำไมคนถือไอโฟนกันเต็มบ้านเต็มเมืองล่ะ จริงไหมครับ
ในทุกๆประเภทของสินค้าและบริการ มีสินค้าอยู่ทุกราคา ทุกระดับ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายที่แยกกันชัดเจนเป็นคนละกลุ่ม อย่างที่ผมบอกไปด้านบน
แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม คนที่ยอมจ่ายในราคาที่แพงกว่าได้ อย่างไอโฟนที่ขายดีมากๆ มันเป็นเพราะว่าเค้าเห็นว่า “คุณค่า” ของมัน ต่างจากสมาร์ทโฟนเครื่องละ 2000
ข้าวแกงมื้อละ 50 กับ โอมาคาเสะ มื้อละ 3000 เนื้อแท้มันก็คือสารอาหารเหมือนกัน แต่ทำไมมันมีคนยอมจ่ายโอมาคาเสะอยู่มากมาย จนร้านเปิดกันเป็นดอกเห็ดล่ะ
กลับมามองเรื่องดนตรี แล้วทำไมคนไม่ยอมจ่าย 3000 นี้ให้ค่าตัวคนดนตรีในเรทที่สมควรจะเป็น?
ก็เพราะเค้ามองเห็นคุณค่าของ โอมาคาเสะ ว่ามันมากกว่าค่าตัวนักดนตรีคนนั้นยังไงล่ะครับ
สมมุตินะครับ ของที่ไม่ได้แพงอะไรมาก ทุกคนมีกำลังจ่ายอยู่แล้ว เช่นข้าวแกงธรรมดา
ถ้ามีคนมาขายข้าวแกง 5 บาทให้คุณตอนนี้ ทั้งๆที่มันหน้าตาดูดีมาก เชื่อมั้ยว่า ขายไม่ค่อยออก ไม่มีใครกล้ากิน เพราะมันน่าสงสัยใช่มั้ยล่ะครับ ถูกขนาดนี้ คุณภาพมันเป็นไง เป็นข้าวปลอมจากจีนรึเปล่า ถึงทำได้ถูกขนาดนี้ ไม่กล้ากิน กลัวกินแล้วตาย
ถ้าราคาขึ้นมาจนดูปกติ เป็น 50 บาท คุณก็คงสบายใจขึ้น ราคากลางๆค่อนไปทางถูก กินแล้วสบายกระเป๋า
ถ้าราคาขึ้นมาอีก เป็นสัก 80 บาท คุณจะรู้สึกมั่นใจขึ้นลึกๆว่า คุณภาพมันน่าจะต้องดีกว่า 50 บาท ข้าวน่าจะนุ่มกว่า มีคุณภาพกว่า สะอาดกว่า
ถ้าราคาขึ้นมาถึง 100 บาท คุณจะเริ่มเดาแล้วว่า มันน่าจะอยู่ในห้างเลยแพงขึ้น มีแอร์ มีระบบต่างๆที่เชื่อถือได้ สะอาด ไม่อันตราย
ถ้าขึ้นถึงสัก 2-300 บาท คุณจะคิดแล้วว่า ต้องอร่อยกว่าปกติแน่ๆ โอกาสพิเศษน่าลอง
ถ้าสัก 1-2000 บาท คุณอาจจะคิด ข้าวแกงบ้าอะไรแพงขนาดนี้วะ แต่ถามว่าอยากลองมั้ย ก็อยาก เพราะมันอยากรู้ว่ามันจะดีสมราคามั้ย
ผมเชื่อว่า คนส่วนมากก็คิดประมาณแบบนี้ใช่ไหมครับ? ซึ่งเป็นปกติ ราคาที่มากขึ้นจะมาพร้อมกับความคาดหวังว่ามันจะดีกว่าราคาถูก และผู้บริโภคก็มีฐานะหลากหลาย ที่แบ่งตามราคาแล้วว่า เค้าจะยอมจ่ายที่ร้านไหนราคาไหน
ราคามันกำหนดกลุ่มเป้าหมายในตัวเองอยู่แล้วครับ ไม่ต้องเป็นห่วงว่าจะไม่มีลูกค้าเลย เพราะร้านข้าวแกงทุกราคาที่ว่ามาก็มีหมด แล้วเค้าก็ขายใน position ของเค้า กับกลุ่มลูกค้าที่เลือกเค้า
แต่ที่ว่ามา มันคือการให้คุณค่าโดยการคาดเดาจากราคาของลูกค้า
ถ้าสินค้าที่ได้จริง พอลองใช้ ลองกินดู แล้วพบว่าคุณค่ามันสมราคา ความคาดหวังเท่ากับสิ่งที่จ่ายไป เค้าก็จะรู้สึกว่าราคามันสมเหตุสมผล
มาเข้าใจกันก่อนว่า อะไรแปลว่าถูกหรือแพง
การที่คุณคิดว่าสิ่งใดแพง เพราะคุณรู้สึกว่า คุณค่าของมันต่ำกว่าจำนวนเงินที่คุณจ่าย
ในทางตรงกันข้าม การที่คุณรู้สึกว่าสิ่งใดถูก เพราะคุณรู้คุณค่าที่แท้จริงของมัน ว่ามันสูงกว่าราคาที่ตั้งนั้น
ฉะนั้น แพงหรือถูก มันจึงอยู่ที่ “การรับรู้” และ “การให้ค่า” ของผู้บริโภค
ถ้าใช้เกณฑ์ด้านคุณค่ามาวัด จะมีการขายสินค้า(และบริการ) อยู่สามประเภท
จะเห็นได้ว่า การขายสินค้าทั้งสามประเภท ว่าง่ายๆคือ ของที่ unique หรือไม่เหมือนใคร ตั้งราคาสูงได้ ถ้าเราทำให้คนเห็นค่าและต้องการมัน ส่วนของที่เหมือนๆกัน แม้จะยากกว่าแต่ก็ยังใช้ความคิดสร้างสรรค์และการตลาดเข้าช่วยจนสามารถปั้นให้มันดูแตกต่าง และมีคุณค่า ตั้งราคาสูงได้เช่นกัน แต่ของประเภทสุดท้าย ที่เป็นสินค้าด้อยค่า แทบไม่มีทางเลย
และการตัดราคา ตั้งราคาให้ต่ำ ซึ่งเป็นกลยุทธเดียวที่สินค้าด้อยค่าใช้ มันก็ยิ่งตอกย้ำถึงสถานะว่า เจ้านั้นๆเป็นสินค้าด้อยค่า เลยขายในราคาถูก
ซึ่งเจ้าไหนที่ตัวเองถูกมองว่าเป็นสินค้าด้อยค่าแล้วจะตกอยู่ในวังวนของการตัดราคาไม่จบสิ้น ยากที่จะพลิกกลับขึ้นมาขายในราคาที่สูงขึ้น
วันหน้าก็จะมีเจ้าใหม่ที่ถูกกว่าตัวเองโผล่มาอีก แล้วตัวเองก็หมดหนทางที่จะขาย เพราะนอกจากราคาแล้ว ไม่มีคุณค่าอย่างอื่นหลงเหลือให้ลูกค้าพิจารณา ก็เหลือวิธีเดียวคือตัดราคาซ้ำเข้าไปอีก ส่งผลกระทบกันทั้งวงการ
คำถามคือ เราอยากเห็นดนตรีที่เรารักกลายเป็นมีสภาพเหมือนสินค้าด้อยค่าเหรอ?
เราอยากเห็นคนมาเลือกวงดนตรีไปเล่น แล้ว “เอาวงอะไรก็ได้ มันก็เหมือนๆกันแหละ วงไหนถูกสุดเอาวงนั้น” เอาแบบนั้นเหรอครับ?
คนมาจ้างทำเพลงในราคาต่ำติดดินลงไปเรื่อยๆ “เจ้านั้นทำบีท 200 เองพี่” เอาแบบนั้นเหรอครับ?
คอร์สเรียนทำเพลง สามชั่วโมงเป็นมือโปรเลย 99 บาท เอาแบบนั้นเหรอครับ?
นักเรียนทุกคนในคลาส The Real Producer ที่เรียนกับผม ไม่ว่าผมจะเคยพูดไว้แล้วเคยได้ยินรึเปล่า หรือได้มาอ่านในบทความนี้ ผมอยากบอกว่า ผมอยากให้คุณเห็นคุณค่าในตัวเอง และคุณค่าในวิชาดนตรีครับ
อย่าทำให้ตัวเองเป็นสินค้าด้อยค่าครับ วันนี้คุณหากินได้ แต่วันหน้าก็จะพบจุดจบที่ไม่อาจกลับมาดีได้ เพราะลูกค้าตราหน้าคุณไว้แล้วว่าเป็นสินค้าด้อยค่า ผมอยากให้ทุกคนแข่งกันเก่ง แข่งกันเจ๋ง แข่งกันสร้างคุณค่าให้คนอื่นเห็น และแข่งกันแพงครับ
เอาให้ค่าตัวตัวเองแพงกว่าที่ผมเคยได้ให้ได้ และให้ช่วยกันดันกันขึ้นไป ให้วงการดนตรีในไทยมันดีขึ้น ไม่ใช่ฉุดกันลง ถ้าเราคนดนตรีด้วยกันยังไม่เห็นคุณค่าตัวเอง แล้วใครจะเห็นถูกไหมครับ
การตัดราคาเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งในทุกวงการ ไม่ใช่เฉพาะวงการดนตรีของเรา และมันเป็นสิ่งที่นักการตลาดส่วนมากก็รู้กันหมด แต่นักดนตรีส่วนมากอาจไม่เคยสนใจการตลาด ผมคนนึงล่ะที่เมื่อก่อนเกลียดพวกวิชานี้มาก แต่สุดท้ายชีวิตก็หนีมันไม่พ้น ผมอยากให้คนดนตรีทุกคนที่ไม่เคยสนใจการตลาด ลองเปิดใจมาศึกษามันบ้าง เพื่อจะ ปั้น Branding สร้างคุณค่าให้ตัวเอง มีจุดขายที่พิเศษ และมีคนยอมจ่ายให้คุณ ไม่ใช่เพราะคุณเป็นสินค้าด้อยค่า ที่ถูกที่สุด คนถึงเลือก
นั่นคือคำถามที่คุณจะได้คำตอบจากการเปิดใจหันมาเรียนเรื่องการตลาดบ้าง เพราะการลดราคาเป็นเพียงหนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาดจากหลายร้อยหลายพันวิธีที่จะทำให้งานของคุณขายได้ ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีนี้เสมอไปเพื่อบังคับให้คนอื่นต้องใช้วิธีเดียวกันเพื่อแข่งขันกับคุณ และคุณเองก็ไม่จำเป็นต้องไปแข่งลดราคากับคนอื่นถ้าวันหนึ่งคุณมีคุณค่าในตัวเองมากพอ และลูกค้าก็มองเห็นคุณค่าของคุณด้วย
แต่นั่นมันก็เป็นกรณีที่ดีที่สุดที่จะเกิดขึ้น ในชีวิตจริงการฟลุ๊คไม่ได้เกิดขึ้นง่ายขนาดนั้น กว่าศิลปินคนหนึ่งหรือวง ๆ หนึ่งจะสร้างคุณค่าให้กับตัวเองได้สำเร็จจนมีคนอื่นเห็นนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย มันต้องอาศัยความรู้และความเข้าใจด้านการตลาดด้วย อาจใช้เวลาสร้างนานหลายสิบปี ใครมีที่ปรึกษา มีคำแนะนำที่ดีเหมือนการเป็นศิลปินในค่ายเพลงก็อาจจะไปได้เร็ว แต่ถ้าเราไม่มีสังกัดแล้วทำกันเองก็ต้องใช้เวลาเรียนรู้กันไป ถ้าใครจับหลักได้เร็วกว่าก็ได้เร็วกว่า ส่วนใครไม่มีเซนต์ด้านนี้ก็จะช้ากว่าคนอื่น ไม่ได้บอกว่าการตลาดคือทุกอย่างที่ทำให้ดนตรีประสบความสำเร็จ แต่มันต้องทำควบคู่ไปกับการผลิตผลงานออกมาให้ดี เป็นเหมือน 2 ศาสตร์ที่อยู่คู่กัน ช่วยเสริมพลังให้กันและกันแบบขาดส่วนหนึ่งไปไม่ได้ เหมือนผลงานคือตัวตั้ง ส่วนการตลาดคือตัวคูณ ทำงานด้วยกันเสริมพลังกันไปให้กลายเป็นผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
คำตอบคือ “ได้แต่ต้องใช้เวลา” เพราะการตลาดคือการค่อย ๆ ปั้น ค่อย ๆ สร้างทีละนิด ไม่ว่าจะในส่วนของการหาข้อมูลมาพัฒนาตัวเอง การทำให้กลุ่มเป้าหมายหันมาสนใจเรา การทำให้คนอื่นจำเราได้และเขาสามารถอธิบายได้ว่าเราเป็นใคร โดยที่เราไม่จำเป็นต้องบอกเอง และไม่ต้องกังวลว่าสิ่งที่เราทำจะไปซ้ำกับใคร ต้องไปลดราคาแข่งกันหรือเปล่า การตลาดจะช่วยให้เราเลือกเส้นทางที่เหมาะสมกับตัวเรา ให้เราสามารถทำสิ่งที่ชอบได้โดยรู้เหตุผลว่าทำไมต้องทำแบบนั้น มันจะต่างกับการทำสิ่งที่ชอบแล้วโยนหินถามทางแล้วไม่รู้ว่าสิ่งที่ชอบของเรานั้นคนอื่นจะชอบด้วยหรือเปล่า
นอกจากนี้การทำงานดนตรีไม่ได้ประสบความสำเร็จด้วยตัวคนเดียว คุณอาจทำได้ในช่วงแรกแต่สุดท้ายก็จะเข้าสู่กระบวนการตัดราคาอย่างที่กล่าวมาข้างบน ถ้าคุณอยากไปได้ไกลและไปได้อย่างมั่นคง ปฏิเสธไม่ได้ว่าคุณต้องมีเพื่อนเดินไปกับคุณด้วย เพื่อนที่ว่าไม่ได้หมายถึงเพื่อนร่วมทีมเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงการสร้างคอมมูนิตี้แฟนคลับที่คอยสนับสนุนคุณจากเบื้องหลัง การสรรหา Partner ที่ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่ายและกอดคอทำงานกันไปให้ได้ตลอดรอดฝั่ง รวมไปถึงลูกค้าประจำที่คุณต้องสร้างความประทับใจให้กับเขา เพื่อที่เขาจะได้จ้างคุณต่อและเติบโตไปพร้อม ๆ กัน
ถ้าคุณมีชื่อเสียงหรือรายได้เพียงพอต่อความต้องการของคุณแล้ว และคุณพอใจกับสิ่งที่มีก็ไม่ต้องเรียนการตลาดก็ได้ครับ เพราะการที่คุณอยู่รอดได้นั้นอาจหมายถึงว่าสิ่งที่คุณทำมันดีอยู่แล้ว แต่คุณต้องไม่ลืมคิดว่าทำยังไงคุณถึงจะรักษาสิ่งที่คุณถืออยู่เอาไว้ได้ตลอด อย่างที่บอกไปว่าคนแข่งกันลดราคายังคงมีอยู่เรื่อย ๆ ไม่มีอะไรการันตีว่าจะเป็นแบบนี้ไปตลอด ถ้าคุณไม่มีแผนรับมือการเปลี่ยนแปลงหรือสร้างคุณค่าของคุณอยู่เรื่อย ๆ สักวันคุณอาจจะเลือนหายไปตามกาลเวลาได้
หรือวันหนึ่งคุณอาจจะฟลุ๊คทำเพลงเดียวแล้วดังเป็นพลุแตกเป็นไวรัลในชั่วข้ามคืนก็อาจจะเป็นไปได้ ในช่วงสัปดาห์หรือช่วงเดือนนั้นแทบไม่มีใครไม่รู้จักคุณ กลายเป็น STAR แบบไม่ทันตั้งตัว คนกดไลค์กดแชร์เต็มโซเชียลมีเดียทุกแพลตฟอร์ม แล้วยังไงต่อครับ ? ถ้าคุณเกิดฟลุ๊คแล้วไม่ทำอะไรเลย รอคนอื่นเดินเอางานเข้ามาให้ฝ่ายเดียวสักวันเราก็ต้องถูกลืม กระแสโซเชียลมันผ่านไปเร็วยิ่งกว่าพายุ ในวันหนึ่งวันมีเรื่องเกิดขึ้นเยอะมาก ต่อให้คุณจะดังเป็นพลุแตกในวันนี้ แต่วันหน้าก็ต้องมีเรื่องอื่นโผล่มาบังคุณอยู่ดี ถ้าคุณไม่เตรียมตัวคว้าโอกาสด้วยแผนการตลาดดี ๆ ไม่โปรโมทตัวเองในช่วงที่ยังมีคนสนใจคุณ หรือแสดงให้คนอื่นได้เห็นว่าคุณมีดีอะไร ทำอะไรได้บ้าง คุณก็จะเสียโอกาสที่ฟลุ๊คได้มาไปแบบฟรี ๆ ได้เหมือนกัน
แน่นอนว่าคนทำเพลงไม่ต้องใช้การตลาดอะไรเลยแล้วดังก็มีอยู่จริง แต่การที่เพลงจะดังได้หรือตัวเราจะดังได้นั้นการตลาดก็เป็นสิ่งที่ให้ดังได้เหมือนกัน แทนที่เราจะทุ่มทำเพลงโดยไม่รู้ว่าเพลงนี้จะดังหรือเปล่า สู้ค่อย ๆ คิด หาเหตุผล ทำให้เป็นระบบ และสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาสนับสนุนเพลงของคุณให้มีโอกาสดังมากที่สุดไม่ดีกว่าหรอครับ เพราะทุกขั้นตอนมีค่าใช้จ่าย มีเวลาที่เสียไป เรามาทำให้ผลงานดี ๆ เหล่านั้นมีทางเลือกมากขึ้น มีโอกาสมากขึ้น ด้วยกลยุทธ์ทางการตลาดกันดีกว่าครับ
—————
Music Marketing Course
คอร์สการตลาดสำหรับคนดนตรี นักทำเพลง นักดนตรี ศิลปิน ที่จะช่วยให้คุณเดินไปในสายอาชีพดนตรีในยุคปัจจุบันได้อย่างมั่นใจ
สร้างชื่อเสียง เพิ่มจำนวนผู้ติดตามหลักแสน และนำไปสู่การทำเงินด้วยการทำดนตรีเป็นอาชีพได้อย่างมั่นคง
การตลาดสำหรับคนดนตรีคอร์สใหม่ล่าสุด เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร The Real Producer Level 6 ของทาง
VERY CAT ACADEMY
สามารถเรียนได้ทุกระดับความรู้ ทั้งตัวคนทำเพลง , ศิลปิน , Music Producer
—————————————————
หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream
เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง
นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ
หลักสูตร The Real Producer
เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล
สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link
http://mkt.verycatsound.academy/mf2
——————
Contact
Line ID :
– เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
– เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound
Tel. : 0856662425
Website : verycatsound.com
FB : http://www.facebook.com/verycatsound
YT : http://www.youtube.com/c/verycatsound