Scale หรือบันไดเสียง คือ กลุ่มของตัวโน้ตที่เรียงกันเป็นขั้นๆ เหมือนขั้นบันได ไม่ว่าจะจากต่ำไปสูง หรือสูงไปต่ำ มีสมาชิกตั้งแต่ 5-12 ตัวโน้ต แตกต่างกันไปตามชนิดของแต่ละสเกล สเกลแต่ละสเกลจะมีการกำหนดระยะห่างของเสียงตัวโน้ตแต่ละตัวที่ไม่เท่ากัน และแม้แต่ในสเกลเดียวกัน ระยะห่างของตัวโน้ตแต่ละตัวก็อาจไม่เท่ากันเช่นกัน (ใครที่ไม่เข้าใจเรื่อง Key สามารถตามอ่านได้ใน บทความเก่าเรื่องคีย์คืออะไร นะครับ)
อาทิ เช่น C Major Scale มีโน้ตทั้งหมด 7 ตัว ได้แก่ C-D-EvF-G-A-Bv (เครื่องหมาย – คือระยะความห่าง 1 เสียงเต็ม และเครื่องหมาย v คือระยะความห่าง ครึ่งเสียง)
โดยในการฝึกดนตรี บางทีจะมีแบบฝึกให้เราเล่นสเกลพวกนี้ บางทีก็ 1-4 octaves เอาให้ครบทุกคีย์ คือ 12 คีย์ และไหนจะสเกล Minor อีกหลายแบบ สรุปคือต้องฝึกรวมๆ 50+ scale ซึ่งเยอะมาก บางทีเค้าจะเรียกกันว่า “ปั่นสเกล”
ซึ่งหลายคนที่เคยศึกษามาบ้าง ผมเชื่อว่าคงมีคำถามว่า แล้วจะฝึกเล่นไปทำไม? มันก็แค่โน้ตมาเรียงๆกันไม่ใช่เหรอ? และที่สำคัญ มันไม่ได้สนุกเหมือนกับการฝึกเล่นเพลงอะไรแบบนี้นะครับ มันค่อนข้างน่าเบื่อเลยทีเดียวกับการต้องทำอะไรซ้ำๆ วันๆนึงหลายชั่วโมง ติดต่อกันเป็นปีๆ
ผมอยากบอกว่า ผมก็เคยมีคำถามแบบนั้น แต่เมื่อผมได้ไปเรียนในคณะดนตรี ที่ต้องโดนบังคับซ้อมสเกลพวกนี้เป็นปีๆ
ผลลัพธ์ของการฝึกนั้นมันจะเริ่มเห็นผล และโผล่มาตอนที่เราเรียนในระดับกลางถึงสูงขึ้นครับ
หลักๆ มีสองอย่าง
ข้อนี้คือสิ่งที่มีค่ากับอาชีพคนทำเพลง Composer , Arranger , Producer มากๆ เพราะการที่คุณจะเข้าใจตัวโน้ตได้ เข้าใจอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้งานจริง การเรียนดนตรีก็เรียนภาษา ต้องท่องจำตัวอักษร สระ และคำศัพท์ต่างๆ จำนวนมาก ซึ่งกว่าจะจำจนขึ้นใจและนำไปใช้งานได้อาจต้องใช้เวลาเป็นปี ดนตรีก็เช่นกัน และการที่คุณเล่นทุกสเกลได้ เวลานึกถึงสเกลไหนแล้วนิ้วคุณสามารถเล่นออกมาเดี๋ยวนั้นได้เลยเท่ากับว่าทั้งสมองและร่างกายคุณเชื่อมกันและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับดนตรีได้อย่างลื่นไหล เวลาที่คุณทำเพลงในระดับสูง ตัวโน้ตจะมีความซับซ้อนมากกว่าแค่การใช้แค่ 7 ตัวในสเกลปกติ แต่จะมีการเล่นท่ายาก ใช้โน้ตและคอร์ดจากสเกลอื่นๆมาร่วมพัวพันเป็มไปหมด ฉะนั้นถ้าไม่แม่นเรื่องพื้นฐาน อาจเกิดอาการมึน ธาตุไฟเข้าแทรก และเพลงพังได้ครับ
นี่แหละครับสาเหตุและความสำคัญ ว่าทำไมอาจารย์ทั้งหลายเค้าถึงต้องเคี่ยวเข็ญให้เราฝึกสเกลกัน
ถ้าคุณอยากเก่ง และอยากเป็นมืออาชีพ นี่คือสิ่งที่หนึ่งที่เป็น ความแตกต่างระหว่างมืออาชีพกับมือสมัครเล่น ฝึกสเกลซะเถอะครับ ครั้งหนึ่งในชีวิต
ในหลักสูตร The Real Producer ของทางเรา ผมก็ได้บรรจุวิชา Producer Keyboard เอาไว้ด้วย ซึ่งมีเนื้อหาส่วนนึงเป็นการให้ฝึกสเกลนี่แหละครับ เพราะเล็งเห็นว่าผู้ที่จะมาเรียนโปรดิวเซอร์จริงจังแบบนี้ไม่ได้อยากเรียนง่ายๆสบายๆแค่พอทำเป็น แต่เพราะอยากพัฒนาตัวเองให้เก่ง การฝึกสเกลเป็นสิ่งหนึ่งที่เป็นความต่างระหว่างมือสมัครเล่นกับมืออาชีพอย่างที่บอก ถ้าคุณจริงจัง แน่วแน่ว่าต้องการลบความต่างนั้นให้ได้ ผมก็ยินดีพร้อมจะสอนให้ครับ
หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream
เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง
นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ
หลักสูตร The Real Producer
เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล
สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link
http://mkt.verycatsound.academy/mf2
——————
Contact
Line ID :
เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound
Tel. : 0856662425
Website : verycatsound.com
FB : http://www.facebook.com/verycatsound
YT : http://www.youtube.com/c/verycatsound