สอนแต่งเพลง จัดตารางฝึก Producer

วิธีจัดตารางฝึกฝน สู่เส้นทาง Producer

Share via:

Krissaka Tankritwong

อยากเก่งเรื่องอะไรก็ต้องฝึกฝน เป็นสิ่งที่หลายๆคนน่าจะรู้อยู่แล้ว เพียงแต่การจะเป็น Producer ที่เก่งได้นั้นต้องหรือต้องฝึกอะไรบ้างนี่สิ? ถึงแม้คุณจะได้เรียนรู้วิชาต่างๆสำหรับการเป็นโปรดิวเซอร์มาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเรียบเรียงดนตรี การประพันธ์เพลง การใช้โปรแกรมต่างๆ ฯลฯ แต่แค่การเรียนอย่างเดียวมันยังไม่พอต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ที่เก่ง คุณจำต้องมีชั่วโมงบินของการฝึกซ้อมที่มากด้วย ซึ่งเป็นการเอาความรู้จากสิ่งที่เรียนมาทดลองทำ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนเกิดความชำนาญ

แต่ในเมื่อหัวเรื่องสำหรับสิ่งที่ต้องเรียนมันเยอะ คุณก็อาจจะงงได้ว่า ควรจะจัดตารางฝึกฝนเรื่องไหนอะไรยังไง เพราะมันเยอะเกินจนโฟกัสไม่ได้ วันนี้ผมจะมาแนะนำการจัดตารางการฝึกฝนที่มีประสิทธิภาพให้นะครับ

ต้องฝึกเรื่องอะไรบ้าง

1. Basic Musical Skill : ฝึกซ้อมสกิลพื้นฐานเครื่องดนตรี

อาจเป็นเครื่องที่คุณเล่นอยู่เป็นหลัก หรือถ้าเป็นสายตรงเลย เครื่องดนตรีที่เหมาะกับการฝึกเพื่อเป็น Producer ที่สุด ก็คือ keyboard หรือ piano คุณอาจเคยเรียนวิชานี้มาจนจบคอร์สไปแล้ว แต่กระนั้นคุณก็ควรยังต้องซ้อมไปเรื่อยๆ เพื่อให้พื้นฐานแน่น สิ่งที่คุณควรฝึกอย่างแรกเลย คือพื้นฐานต่างๆ อาทิ สเกล คอร์ด ที่คุณเคยเรียนรู้ไปทั้งหมด และรวมไปถึงแบบฝึกหัด หรือบทเพลงสำหรับฝึก หรือฝึกการ improvise ถ้าคุณสามารถซ้อมทุกวันได้ อย่างต่ำวันละ 1 ชม. ก็ได้ครับ เช่นตอนเช้า หรือตอนค่ำ จะเป็นผลดีในระยะยาวมากๆ ผมจะยกตัวอย่างการฝึกใน 1 ชม. ดังนี้นะครับ

20 นาทีแรก : scale + chord inversion ทั้งหมด , ทางนิ้วคอร์ด ii-V-I
20 นาทีต่อมา : ฝึกเล่นเพลง ที่เล่นอยู่ตอนนั้นให้คล่องขึ้นเรื่อยๆ หรือดีขึ้นเรื่อยๆ หรือแบบฝึกหัดฝึกนิ้ว
20 นาทีสุดท้าย : อาจจะยังฝึกเล่นเพลงอยู่ หรือเปลี่ยนเป็นการฝึก improvise กับเซตคอร์ดในเพลงนั้นๆ ก็ได้ครับ

ปล. ถ้าคุณยังหูไม่ดีนัก ยังฟังโน้ตไม่ค่อยออก ร้องตามยังไม่ตรง ให้รวมการฝึก ear training เอาไว้ในนี้ด้วยเลย โดยอาจเพิ่มเวลาฝึกไปอีกหน่อยได้ครับ

2. Theory and Harmony : ฝึก ทบทวนและเรียนรู้ ทฤษฎีดนตรี

คุณอาจใช้เวลา ที่เหลือในวันนั้น หลังจากซ้อมคีย์บอร์ดเสร็จ เรียนรู้ทฤษฎีเพิ่มเติม หรือทบทวนสิ่งที่เรียนไปแล้วให้คล่องขึ้น อาทิ ฝึก Chord Spelling , ฝึกท่อง Circle of Fifth , ฝึกวิเคราะห์เพลงจาก Score Sheet Music , ฝึกการใช้คอร์ดใช้สเกลต่างๆ อาทิ Secondary Dominant , Modulation การเปลี่ยนคีย์ , Harmony ที่ยากๆต่างๆ จนคล่อง ซึ่งสามารถออกแบบการฝึกด้วยตัวเองได้ อาทิ จับฉลากมา แล้วลองเล่นสิ่งนั้นบนเปียโน หรือ ตอบปากเปล่าให้ได้ สามารถออกแบบรูปแบบการฝึกได้สารพัด ขึ้นอยู่กับว่าช่วงนั้นอยากโฟกัสเรื่องอะไรให้คล่อง

3. Compose , Arrange : ฝึกแต่งเพลง ประพันธ์ดนตรี การทำดนตรี ทำเพลง

แน่นอนว่า นี่คือการฝึกหลักๆของ producer ช่วงเวลานี้คือการนำความรู้และทักษะที่คุณมีทั้งหมด ทดลองสังเคราะห์สร้างเพลงขึ้นมาให้ได้ คุณอาจตั้งวินัยไว้ให้กับตัวเองว่า ต้องแต่งเพลงให้ได้วันละเพลงก็ได้ จะแบบมีเนื้อร้องก็ได้ หรือไม่มีก็ได้ แต่ขอให้จบเพลง อย่าเพิ่งไปสนใจความสมบูรณ์แบบมาก เน้นได้ฝึก ได้ทำให้เกิดเพลงที่เป็นชิ้นเป็นอันขึ้นมา และเกิดชั่วโมงบินที่มากที่สุด และที่สำคัญ พยายามเอาสิ่งที่คุณเรียนรู้ไปแล้วจากทฤษฎีดนตรี มาใช้ในเพลงที่ทดลองทำนี้อยู่เรื่อยๆ อาทิ ลองแต่งเพลงที่มีเทคนิคพิเศษ ยากขึ้นเรื่อยๆ ค่อยๆใช้ไปทีละเรื่องที่เรียนรู้มา อาทิ การเปลี่ยนคีย์ , Counter Point , 4 Part Harmony ฯลฯ

คำแนะนำของผมคือ พยายามแยกแยะให้ได้ว่า ชิ้นไหนคืองานเพื่อการฝึกฝน ชิ้นไหนคืองานในแบบที่ตามใจตัวเอง ถ้าเราไม่พยายามออกจาก comfort zone ของตัวเองเลย แล้วทำแต่แบบที่ถนัดเท่านั้น เราจะไม่สามารถพัฒนาได้เลย เราจำเป็นต้องผลักดันตัวเองไปสู่จุดที่เก่งขึ้น ชำนาญขึ้น ซึ่งนั่นแน่นอนว่ามันคือการฝืนธรรมชาติอย่างหนึ่ง แต่การฝืนธรรมชาตินี้จะช่วยสร้างกล้ามเนื้อใหม่ให้กับเรา ที่จะแข็งแกร่งขึ้น และเกิดเป็นธรรมชาติใหม่ เป็นเราคนใหม่ที่แข็งแกร่งกว่าเดิม เก่งกว่าเดิมได้

ในบางครั้งเราอาจทำเพลงโดยมีตั้งโจทย์หรือแบบฝึกหัดเป็นเป้าหมาย เพื่อพัฒนาตัวเอง ส่วนในบางครั้ง เราอาจจะทำแบบไม่มีโจทย์ แต่เป็นการทำตามแบบที่ตัวเองชอบ ก็ได้ครับ

4. Music Technology : ฝึกและเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีดนตรี

การฝึกแบบสุดท้าย คือเรื่องของ sound engineer ซะมากว่าดนตรี อันนี้ผมไม่บังคับ ถ้าใครที่อยากจะเป็น producer ที่ทำแต่เรื่อง compose , arrange โดยอยากจ้าง sound engineer เพื่อ mix , master คุณอาจจะไม่ต้องใส่ใจมันมากก็ได้ครับ อาจจะเรียนรู้ไว้พอประมาณ ที่เหลือจ้างเอา แต่กระนั้นก็ตาม มันก็มีบางเรื่องที่คุณควรจะรู้ไว้อยู่ดี อาทิ Sound Design , การสังเคราะห์เสียง , Plugin ต่างๆ , Synthesizer , การใช้โปรแกรม เป็นต้น

ส่วนใครที่อยากทำเองทุกกระบวนการ รวมไปถึงการ Edit , Mix , Master ด้วย นั่นแปลว่า คุณก็ต้องมีสิ่งนี้เข้าไปอยู่ในโปรแกรมศึกษาและฝึกฝนด้วย อาจเป็นการเรียนรู้เครื่องมือใหม่ๆ เทคนิคใหม่ๆ ฝึกทำ ฝึกมิกซ์ ฝึกมาสเตอร์ ลองทำตาม Tutorial ด้วย โดยการเรียนรู้เรื่องพวกนี้ การทำตามอาจได้ผลดีมากกว่าเรื่องของการ compose , arrange ดนตรี ซึ่งมันไม่มีสูตรสำเร็จ

การฝึกฝนในส่วนนี้ ผมไม่อยากให้เอามาปนอยู่ในช่วงเวลาเดียวกับการเรียนทฤษฎีดนตรีเท่าไร เพราะมันจะต้องพะวงหลายเรื่องจนเกินไป จนทำให้มือใหม่อย่างคุณโฟกัสไม่ได้ ผมแนะนำว่า ในช่วงๆนึงของชีวิตการฝึกฝน ควรจะโฟกัสแค่สามอย่างเท่านั้น เช่น อาจจะฝึก 1 , 2 , 3 ไปเรื่อยๆ พอถึงจุดนึง เรื่องทฤษฎีจะเริ่มตันแล้ว ชำนาญแล้ว ค่อยเปลี่ยนเป็น 1 , 4, 3

การวางตารางฝึก

  • การฝึกพื้นฐานสกิล ผมให้สำคัญเป็นอันดับแรก ควรฝึกให้ได้ทุกวัน เช่น ทุกเช้า วันละ 1 ชม. ทำจนเป็นกิจวัตร
  • ต่อจากนั้น เมื่อมีเวลาว่างที่เหลือในวันนั้น อาจจะฝึกเรื่อง ทฤษฎีดนตรี หรือการทำดนตรีก็ได้ สลับวันกัน
  • เมื่อใดที่รู้สึกว่า ทฤษฎีดนตรีมาถึงจุดตันแล้ว หรือคล่องแล้ว หรือคิดว่าจะพักมันไว้ พอแค่นี้ก่อน ค่อยเปลี่ยนโปรแกรมนี้มาเป็นเรื่องเทคโนโลยีแทน แล้วเมื่อไรที่ตันกับเรื่องเทคโนโลยีดนตรีแล้ว จะมาต่อเรื่องทฤษฎีดนตรีให้ลึกขึ้นก็ได้ครับ

ถ้าคุณว่างฝึกแค่สัปดาห์ละ 2 วัน อาจทำตารางฝึกดังนี้

  • วันแรก เช้า : piano , เวลาที่เหลือ : theory หรือ technology
  • วันที่ 2 เช้า : piano , เวลาที่เหลือ : compose
  • วันที่ 3-6 เช้า : piano (พยายามฝึกสิ่งนี้ให้ได้ทุกวัน หรือเกือบทุกวัน)
  • วันสุดท้าย : พัก

หรือว่าว่าง 4 วัน อาจจะเป็น

  • จันทร์ เช้า : piano , เวลาที่เหลือ : theory หรือ technology
  • อังคาร เช้า : piano , เวลาที่เหลือ : compose
  • พุธ : เช้า piano
  • พฤหัส เช้า : piano , เวลาที่เหลือ : theory หรือ technology
  • ศุกร์ เช้า : piano , เวลาที่เหลือ : compose
  • เสาร์ : เช้า piano
  • อาทิตย์ : พัก

หรือแบบขยัน 6 วัน อาจจะเป็นแบบนี้ก็ได้ครับ

  • จันทร์ เช้า : piano , เวลาที่เหลือ : theory หรือ technology
  • อังคาร เช้า : piano , เวลาที่เหลือ : compose
  • พุธ เช้า : piano , เวลาที่เหลือ : theory หรือ technology
  • พฤหัส เช้า : piano , เวลาที่เหลือ : compose
  • ศุกร์ เช้า : piano , เวลาที่เหลือ : theory หรือ technology
  • เสาร์ เช้า : piano , เวลาที่เหลือ : compose
  • อาทิตย์ : เช้า piano

ปรับให้เข้ากับตัวเอง

ลองเอาไปปรับกับตัวเองดูนะครับ ว่าเราสะดวกแบบไหน ยิ่งฝึกเยอะคุณก็ยิ่งเก่ง ตรงไปตรงมาตรงตัวมาก ดนตรีไม่มีทางลัด การฝึกพื้นฐานถ้าเป็นไปได้อยากให้ฝึกทุกวันไม่ว่างเว้น จะดีมากครับ

ส่วนใครที่มีความต้องการเฉพาะลงไปอีก อาจจะปรับตารางนี้หน่อย เช่น สมมุติว่าคุณโฟกัสว่าอยากแต่งเนื้อเพลงเก่ง อาจจะมีรายละเอียดที่ต่างกันออกไป คุณอาจจะไม่สนใจเรื่องมิกซ์อยู่แล้ว ก็เอาเรื่องมิกซ์ออก แทนที่ด้วย การแต่งเนื้อลงไปในนั้น

แต่สำคัญคือ อย่าลืมว่า ในช่วงเวลานึงหลายเดือนของการฝึกฝน ควรโฟกัสแค่ไม่เกินสามอย่างครับ จะได้ผลดีกว่า หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับหลายๆคนครับ

ใครที่อยากฝึก อยากเก่ง แต่ไม่รู้ต้องฝึกอะไร ถ้าหาที่เรียนอยู่ ลองดูหลักสูตร The Real Producer ของเราได้ครับ มีสอนทั้งหมดที่กล่าวไปข้างบนนั้น ทั้งการฝึกพื้นฐานคีย์บอร์ดเพื่อการทำเพลง ทฤษฎีดนตรีระดับลึก , Harmony ต่างๆ รวมไปถึงการประพันธ์ การเรียบเรียงดนตรี ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่ตรงกับสิ่งที่คนจริงจังในดนตรีอย่างคุณตามหาอยู่ตอนนี้ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน link ล่างสุดของบทความ หรือติดต่อ Admin ใน line @verycatacademy ได้เลยครับ


The Real Producer
REAL / DEEP / EXCLUSIVE

หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream

เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง
นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ

หลักสูตร The Real Producer
เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล
สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link

http://mkt.verycatsound.academy/mf2

——————

Contact

Line ID :

  • เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
  • เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound

Tel. : 0856662425
Website : verycatsound.com
FB : http://www.facebook.com/verycatsound
YT : http://www.youtube.com/c/verycatsound

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.