ต่อเนื่องจากโพสต์ก่อน “แนะแนวทางการเรียนทำเพลงด้วยตัวเอง ขั้นต้น”
https://verycatsound.com/blog-self-practice-beginner/
สำหรับใครที่มีความรู้พื้นฐานครบหมดแล้ว สามารถพอทำเพลงจบเพลงได้ ทั้งสามกระบวนการ ได้แก่ “แต่งเพลง (Song Writing) – เรียบเรียงดนตรี (Arranging) – มิกซ์เสียง (Sound Engineer)”
แต่คุณยังรู้สึกว่าเพลงที่คุณทำมันยังไม่ดีพอ เพราะทำได้แค่ระดับ Basic ทางคอร์ดทางเมโลดี้วนๆ หรือคุณทำได้ไม่กี่แนว ไม่สามารถทำทุกแนวได้ นั่นคือถึงเวลาแล้วที่คุณจะต้องเรียนในระดับที่สูงขึ้น
เราอยากมาแบ่งปัน แนะแนวทางการเรียนรู้ด้วยตัวเองว่า ถ้าคุณอยากเก่งขึ้นให้ได้ จะมีลำดับการเรียนรู้ยังไงบ้าง ถึงจะไปสู่จุดสุดยอดของ Producer ได้ โดยในที่นี้จะเน้นการเรียนทำดนตรีในขั้นสูงเป็นหลัก เพราะเป็นสิ่งที่ต้องค่อนข้างใช้เวลาเรียนรู้มากที่สุด
Harmony คือการเรียนรู้เรื่องเสียงประสาน ซึ่งที่จริงแล้วเป็นวิชาที่มีรากฐานมาจากการศึกษาทฤษฎีดนตรี Classic หลายคนไม่เข้าใจว่า ถ้าไม่ได้อยากทำดนตรี Classic จะเรียนไปทำไม นั่นคือสิ่งที่คุณเข้าใจผิด เพราะแท้จริงแล้ววิชาพวกนี้ถูกใช้อยู่ในดนตรีมากมายในยุคปัจจุบัน เป็นระดับที่ยากขึ้นจากการประพันธ์เพลงปกติที่อยู่ใน diatonic หรือแค่ 7 โน้ต 7 คอร์ด ในสเกลปกติ การศึกษา Harmony จนเข้าใจแตกฉานจะช่วยทำให้คุณสามารถทำลายกฏความเคยชินเดิมๆในการแต่งเพลง และทำให้มีตัวเลือกในการใช้โน้ตและคอร์ดที่กว้างไกล ปลด lock ขีดจำกัด ให้เพลงที่คุณแต่งนั้นไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป การเรียน Harmony มีหลายระดับมากๆ เริ่มตั้งแต่ความเข้าใจใน Scale , Chord แบบปกติ , 4 Part Writing , Counter Point , 7 Chord , Tension , Modulation ฯลฯ อีกมากมายที่คุณยังไม่เคยรู้ว่าดนตรีมันมีแบบนี้ด้วย ซึ่งที่แท้จริงแล้ว ดนตรีแบบที่คุณเคยฟังแล้วรู้สึกว่ามันลึก มันยาก มันแปลกใหม่ มันอลังการ มันคิดได้ไง ล้วนมีพื้นฐานมาจากวิชานี้ และสามารถอธิบายได้ด้วยหลักการทั้งหมด
อีกเรื่องที่น้อยคนจะสนใจ แต่ถ้าคุณต้องการเป็นโปรดิวเซอร์ที่เก่งกาจจริงๆ คุณจะรู้ว่าเป็นอีกเรื่องที่คุณควรทำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณอยากจะไปต่อในสายดนตรีประกอบ ซึ่ง 60-70% ต้องใช้ความรู้ทางดนตรีแนวนี้ ถ้าคุณทำ Orchestra ไม่เป็น เท่ากับปิดทางหากินสายนี้ไปเลย ซึ่งน่าเสียดายมาก ที่สำคัญคือ การ Orchestration ที่จริงแล้วเป็นการเรียบเรียงเครื่องดนตรีแบบเต็มวงในรูปแบบโบราณที่สุด ใหญ่ที่สุด ที่พอคุณทำได้แล้ว จะสามารถประยุกต์เข้ากับการเรียบเรียงแนวอะไรก็ได้ในปัจจุบัน
ซึ่งผมขอแนะนำให้เป็น Piano ถ้าอยากเป็นสายตรงทางการ Compose , Arrange , Produce เล่นแค่ระดับพื้นฐานมันไม่พออีกแล้ว คุณควรเรียนจนถึงระดับที่เข้าใจการเล่นทุกรูปแบบ ทุกแนว แต่อาจะเล่นสดจริงไม่ได้ เพราะต้องอาศัยเวลาซ้อมที่เพียงพอ แต่ก็รู้เพียงพอที่จะนำมาทำเพลงได้ทุกแนว หรือเล่นแบบช้าๆทีละมือได้ โดยลำดับการเรียนควรเริ่มจาก pop แล้วไปต่อที่ jazz ไปให้สุด ถ้ามีเวลาจะฝึก classic เพลงที่ชอบด้วยก็ได้
Harmony ในระดับที่ยากกว่า Classic ก็คือ Jazz เป็นระดับที่ยากที่สุด เช่นเดียวกันกับ Classic ที่หลายๆคนมองข้ามไม่เห็นความสำคัญว่าถ้าเราไม่ได้จะทำแนวนี้่จะเรียนไปทำไม นั่นคือความเข้าใจที่ผิดอีกเช่นกัน เพราะที่จริงแล้วดนตรีทุกแนวในโลกล้วนถูกพัฒนามาเป็นลำดับโดยมีรากฐานมาจาก Classic และ Jazz การเรียนรู้ทั้งสองแนวนี้จนแตกฉานจะช่วยทำให้คุณทำเพลงแบบไหนก็ได้ในโลกนี้ นอกจากนี้ เพลงในยุคปัจจุบันยังมีส่วนผสมของความเป็น Jazz เข้าไปปะปนจนแทบจะแยกกันไม่ออก เนื่องจากความเป็น Jazz นั้นให้ความรู้สึกของความเป็นสมัยใหม่ในตัวโน้ต และสร้างรสนิยมที่ดีให้กับบรรยากาศเพลงไม่ว่าจะอยุ่ในแนวอะไร
ต่อจาก Jazz คือดนตรีที่ค่อยๆแตกยอดและพัฒนามาเรื่อยๆ เป็นดนตรีแนวรากฐานต่างๆ ในช่วงยุค Modern อาทิ Funky , House , Disco , Hip-hop , Soul , R&B , Pop , Rock เป็นต้น แนวดนตรีรากฐานเหล่านี้ล้วนเป็นฐานให้กับแนวดนตรีในยุคสมัยใหม่ทั้งสิ้น เพราะดนตรีในยุคนี้แม้ว่าจะเป็นดนตรี pop ก็ตาม แต่ได้เกิดการผสมผสาน หยิบเอา element ของดนตรีแนวต่างๆที่มนุษย์เคยคิดค้นขึ้นมาใช้ผสมผสานกันแบบไร้พรมแดน ฉะนั้นคุณควรเรียนรู้จักทุกแนวและทำให้ได้ไว้ เพื่อจะได้มี source เอาไว้ใช้สังเคราะห์งานชิ้นใหม่ๆได้อย่างกว้างไกล และมีเอกลักษณื
ต่อจากศาสตร์ดนตรีเพียวๆที่คุณเรียนรู้ไปใน 5 step ที่ผ่านมา คุณควรจะมาปิดท้ายด้วย การเรียนรู้เทคโนโลยีดนตรีขั้นสูงต่างๆ อาทิ การ Mix, Mastering ขั้นสูง การใช้ plug-in ต่างๆ รวมไปถึงการสังเคราะห์เสียง เพื่อเป็นการนำความรู้ทั้งหมดมาหลอมรวมเข้ากับเทคโนโลยีในยุคปัจจบัน ที่เอื้อให้เกิดการสร้างสรรคืดนตรีที่แปลกใหม่ เรื่องนี้ควรจะเรียนหลังจากที่คุณได้เรียนเนื้อๆของดนตรีแทบครบหมดแล้ว
สุดท้าย ปลายสุดของการเรียนรู้ ถ้าใครที่ไม่ใช่แค่อยากทำเพลงฟัง แต่สนใจในการประยุกต์ศาสตร์ของดนตรีเพื่อนำมาใช้ออกแบบดนตรีเพื่องานสายต่างๆ อาทิ ภาพยนตร์ หรือ เกม แล้วล่ะก็ คุณควรเรียนทั้งหมดมาก่อน เพื่อจะได้มี Source ที่เพียงพอที่จะทำงานแบบไหนก็ได้ เพื่อตอบโจทย์ของชิ้นงานได้ทุกรูปแบบ เพราะในโลกของการทำงานจริงคุณจะไม่สามารถเลือกแนวดนตรีได้ การเป็นมืออาชีพทำให้คุณจำเป็นต้องทำได้ทุกแนว ตอบโจทย์ได้ทุกประเภท นั่นคือความต่างระหว่างมืออาชีพกับมือสมัครเล่น ที่อาจจะทำเพลงได้ดีแค่ในแนวของตัวเอง
ทั้งหมดที่กล่าวไป เป็นศาสตร์ของดนตรี ที่แม้ว่ามันจะอยู่แยกวิชากัน แต่ในท้ายสุด ชิ้นงานที่มีความเป็นสากล ในยุคปัจจุบัน มักจะใช้ทุกวิชาที่ได้กล่าวไปมาประยุกต์สร้างชิ้นงาน จึงนับว่าเป็นศิลป์อย่างแท้จริง ทั้งนี้ Producer ที่ได้เรียนรู้ทุกอย่างของจักรวาลการทำเพลง มีความแตกฉาน และสามารถทำงานได้ทุกแนว ทุกรูปแบบ เราจึงขอเรียกว่าเป็น โปรดิวเซอร์ที่แท้จริง ซึ่งโปรดิวเซอร์ที่เก่งหลายๆคน แม้จะเรียนรู้แก่นของดนตรีหมดนี่แล้ว แต่ก็ยังไม่หยุดพัฒนาตัวเอง ไม่หยุดการเรียนรู้ ก็มักจะศึกษาต่อในหัวข้อย่อยๆ ที่ลึกลงไปอีก ตามแต่ที่ตนสนใจ
สำหรับผู้สนใจที่อยากหาเรียนทุกขั้นตอนที่กล่าวไปทั้งหมด มีสอนในหลักสูตร “The Real Producer” (0-100 สู่อาชีพโปรดิวเซอร์) ของทาง VERYCATSOUND
สอนทุกกระบวนการตั้งแต่เริ่มต้น จนจบเป็นโปรดิวเซอร์มืออาชีพ นี่ไม่ใช่คอร์สทางลัดแบบสั้นๆจบแต่ได้แค่พอทำได้ แต่เป็นทางตรงให้กับผู้ที่รู้แล้วว่าดนตรีไม่มีทางลัด อยากเก่งมีแต่ต้องทุ่มเท เหมาะกับผู้ที่จริงจัง
สนใจติดต่อ line ID : @verycatacademy
หาข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายปรึกษา producer ได้ที่ verycatsound.academy/funnel01
—————————————————
หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream
เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง
นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ
หลักสูตร The Real Producer
เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล
สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link
http://mkt.verycatsound.academy/mf2
——————
Contact
Line ID :