เรียนทำเพลง อยากทำ Sound แบบนี้ได้ ต้องเรียนอะไร

อยากทำ Sound แบบนี้ได้ ต้องเรียนอะไร?

Share via:

Krissaka Tankritwong

ปัญหาสากลที่ตัวผมเองก็เจอ ประสบมาตลอดตั้งแต่ยังทำเพลงไม่เป็น จนกระทั่งจบเกียรตินิยมอันดับ 1 ด้านดนตรีมา ทำงานมาอีกสิบปี ก็ยังเจออยู่เรื่อยๆอยู่จนถึงปัจจุบัน คือ “มี Sound แบบนี้ในหัว แต่มันทำยังไง?” เนื่องจากเรื่องนี้มันเป็นเรื่องที่ไม่สิ้นสุด และมีเทคนิคใหม่ๆเกิดขึ้นมาในโลกเรื่อยๆ ที่ต้องเรียนรู้อยู่เสมอ และพอมาสอนผมก็พบว่า หลายๆคนที่มาปรึกษาก็พบปัญหานี้เช่นกัน

ถ้าคุณกำลังหาคำตอบเรื่องนี้อยู่ แต่คุณไม่สามารถอธิบายให้คนอื่นฟังได้ว่า เสียงในหัวมันคืออะไร มีลักษณะแบบไหน เพราะเนื่องจากความรู้คุณยังไม่พอที่จะรู้ว่ามันเรียกว่าอะไร วันนี้ผมมีเบาะแสที่จะทำให้คุณพบกับคำตอบได้ว่า คุณต้องไปต่อที่ไหน เรียนเรื่องอะไร

แต่ก่อนอื่นผมต้องบอกว่า คนเราใช้ศัพท์ไม่เหมือนกัน และในหลายๆครั้ง พูดคำเดียวกัน แต่ refer ถึงคนละสิ่งกัน อย่างเช่นคำว่า Sound นี่แหละครับ การที่เราจะคุยกันรู้เรื่องในโพสต์นี้ ผมขอปรับความเข้าใจกันก่อนว่า เราหมายถึงอะไร

นี่คือตัวอย่างของประโยคแนวๆนี้ที่ผมเจอบ่อยๆ

อยากทำบีทแบบนี้ได้

อยากทำซาวด์แบบนี้ได้

อยากทำจังหวะแบบนี้ได้

ฯลฯ

สารพัดคำคนจะใช้เรียก แต่ผมขอนิยามง่ายๆนะครับว่า มันก็คือ ลักษณะของดนตรี แบบหนึ่ง ขอเรียกรวมๆเลยนะครับว่า ประโยคทุกแบบข้างต้น มันคือ

“อยากทำดนตรีแบบนี้ได้ ต้องทำยังไง”

ทีนี้ในองค์ประกอบคำว่า เสียงดนตรี ที่คุณอยากทำได้อันนี้ คุณต้อง Analyse หรือ วิเคราะห์มันออกมาให้ได้ก่อนว่า เสียงในแบบที่คุณอยากทำได้เนี่ย มันคืออะไร และการจะทำมันออกมาได้ต้องมีความรู้เรื่องอะไร ทีละขั้นนะครับ

ขั้นแรก : เสียงนั้นมันคืออะไร?

คิดง่ายๆครับว่า เสียงทุกเสียงที่เราได้ยินในเพลง มันก็คือเสียงเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง (เสียงร้องก็นับ) ทีนี้ บางทีเรารู้จักเครื่องดนตรีไม่มากพอ เราเลยไม่รู้จะเรียกมันว่าอะไร และต้องเข้าใจเพิ่มอีกว่า มันแบ่งออกมาเป็นสองประเภทหลักๆ คือ เสียงเครื่องดนตรีจริง (Real Instrument) กับ เสียงสังเคราะห์ (Sound Synthesis)

เสียงเครื่องดนตรีจริง ก็อย่างเช่น เสียงเครื่องดนตรีต่างๆที่มีอยู่จริงในโลก และเรานึกออกว่า เสียงนั้นๆ มันเป็นลักษณะไหน เช่น เปียโน กลอง กีตาร์ เบส ต่างๆ

ส่วนเสียงสังเคราะห์ จะมีทั้งเสียงสังเคราะห์แบบอิงเครื่องดนตรีจริง คือถูกสร้างมาเพื่อเลียนแบบเครื่องดนตรีจริง (แต่ไม่เหมือนกันซะทีเดียว) อาทิ ออร์แกน คีย์บอร์ด สตริงแพด ต่างๆ
ส่วนอีกประเภทคือ เสียงสังเคราะห์ที่ไม่ได้ต้องการทำให้เหมือนเครื่องดนตรีจริง แต่เป็นเสียงที่ไม่มีในโลกนี้มาก่อนไปเลย ก็จะแปลกๆ ล้ำๆ อวกาศๆ อะไรแบบนี้
ส่วนอีกประเภทสุดท้ายคือ เสียงสังเคราะห์ที่นำเอาเสียงเครื่องดนตรีจริงมาผ่านกระบวนการอะไรบางอย่าง อาทิ ใส่ effect , ยืดหดขยาย-ตัดต่อ ตัวเนื้อเสียงจนมันผิดธรรมชาติออกไป เป็นงานออกแบบเสียงอย่างหนึ่ง

ที่เรากำลังพูดทั้งหมดนี้ มันเป็นการจำแนกเสียงในลักษณะของ Timbre (เนื้อเสียง) ซึ่งไม่เกี่ยวกับเรื่องของตัวโน้ตหรือคอร์ดใดๆ (ทุก Timbre ส่วนใหญ่สามารถเล่นเป็นโน้ตหรือคอร์ดใดก็ได้อยู่แล้ว)

ซึ่งแปลว่า ถ้าสิ่งที่คุณกำลังสนใจ มันคือการสร้าง Timbre ที่มีความแปลกใหม่ หรือน่าสนใจ ผมสรุปให้ง่ายๆว่า คุณต้องเรียนวิชาในหมวด “Sound Engineer” ที่เหนือไปกว่าเรื่องมิกซ์มาสเตอร์ มันคือสิ่งที่เรียกว่า “Sound Design”

ขอไม่พูดลงลึกในเรื่องนี้มากนะครับ ไปตามอ่านเอาในโพสต์เก่าเรื่องนี้ละกัน [Sound Designer คืออะไร?]

ขั้นที่สอง : เสียงนั้นมันใช้โน้ตหรือคอร์ดอะไร จัดเรียงแบบไหน

อย่างที่กล่าวไปในขั้นแรก คือ ไม่ว่าจะเนื้อเสียงแบบไหน คุณภาพเสียงแบบไหน ไม่ว่าจะเสียงเครื่องดนตรีจริง หรือเสียงสังเคราะห์ แต่เสียงทุกเสียงมันสามารถถูกเอาเล่นและจัดเรียงได้เหมือนกันหมด เช่น มันเล่นโน้ตอะไร เล่นคอร์ดอะไร เล่นตัวไหนบ้าง ก่อนหลัง มีลักษณะประโยคแบบไหน เร็วช้าแค่ไหน

หลายๆครั้ง มือกีตาร์บางคน เล่น Scale เล่น Mode ที่แตกต่างกัน แล้วพูดว่า “ชอบ Sound ของ Mixolydian Mode มากกว่า Major Scale นะ มันรู้สึกเท่ห์ดี” เห็นไหมครับว่า มีคนที่ใช้คำว่า ซาวด์เหมือนกัน แต่ refer ถึงสำเนียงของตัวโน้ต ไม่ได้ refer ถึง Timbre หรือเนื้อเสียง , คุณภาพเสียง

และในหลายๆครั้ง มือกีตาร์คนเดียวกันนี้ยังบอกว่า “ชอบ Sound ของ กีตาร์ Fender มากกว่า Gibson” นั่นคืออันนี้เป็นเรื่องของ Timbre เสียงกีตาร์สองยี่ห้อที่แตกต่างกันละ ไม่ได้เกี่ยวกับสำเนียงของตัวโน้ตดนตรี

ฉะนั้น การจำแนกแบบที่สองคือ จำแนกในเชิงดนตรีว่ามัน “เล่นแบบไหน” หรือ “ให้สำเนียงแบบไหน” ซึ่งถ้าคุณกำลังหาคำตอบในเรื่องนี้อยู่ และอยากเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ วิชาที่คุณควรเรียนรู้มันคือวิชาในหมวดหมู่ต่อไปนี้ “Music Theory” , “Music Composition” , “Music Arranging” , “Harmony”

สรุปสุดท้าย

ไม่มีใครบอกให้คุณได้นอกจากตัวคุณเองครับ
พยายามสังเกตและวิเคราะห์ให้ได้ว่า ตกลงสิ่งที่คุณสนใจ หรือ Sound ที่คุณอยากรู้ว่ามันทำยังไง
มันคือเรื่องของ “Timbre – ลักษณะ คุณภาพของเสียง”
หรือมันคือเรื่องของ “Pitch – ระดับเสียง ตัวโน้ต , คอร์ด” กันแน่?
หรือมันคือทั้งสองเรื่องปนกัน? ก็ไม่ผิดครับ
สุดท้ายผมอยากให้ไล่ตามเสียงที่อยู่ในหัวกันได้ทุกคน
หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ความกระจ่างได้ไม่มากก็น้อยนะครับ

The Real Producer

ในหลักสูตร The Real Producer มีสอนทุกอย่างที่เกี่ยวกับการทำเพลง รวมถึงวิชา “Sound Design” ซึ่งเป็นวิชาที่ว่าด้วยการออกแบบเสียงเพื่อใช้ทำดนตรี แนะนำหลักสูตรนี้ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง Real , Exclusive , Deep เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ สนใจหลักสูตรติดต่อแอดมินใน Line @verycatacademy หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ link ด้านล่างสุดของบทความได้เลยครับ

—————————

VERY CAT SOUND
Compose Your Dream
เราไม่ได้สอนให้คุณทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
.
รับ demo คอร์สเรียนฟรี และข้อมูลหลักสูตรเพื่อประกอบการตัดสินใจได้ที่นี่
www.verycatsound.academy/funnel01
ติดต่อจ้างทำเพลง Line @verycatsound
ติดต่อเรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
โทร. 085666242

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.