เมื่อคุณเรียนรู้การทำเพลงมาถึงจุดนึง ที่ผ่านการแต่งเพลง (Music Composing , Song Writing) และ การเรียบเรียงดนตรี (Music Arranging) แล้ว มาถึงจุดที่ต้อง เริ่ม Mix กับ Master จะมีสิ่งที่คุณขาดไม่ได้คือการเริ่มต้องใส่ใจกับคุณภาพเสียง นั่นคือการต้องใช้ Sound Card (Audio Interface) , ลำโพง (Studio Monitor Speaker) และ หูฟัง (Studio Monitor Headphone) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ผมเคยเขียนเรื่อง การจัดเซตอุปกรณ์ทำเพลงสำหรับมือใหม่หัด Mix มาแล้ว
https://verycatsound.com/musicequipment-phase2/
ลองย้อนไปอ่านกันได้ครับ
แต่สำหรับใครที่อยากหาซื้อเฉพาะ Sound Card เอง หรือกำลังหาซื้ออยู่ วันนี้ผมได้ทำ Guide สำหรับการเลือกซื้อ Sound Card สำหรับการทำเพลงมาให้แล้ว
Soundcard หรือ Audio Interface โดยปกติเราซื้อคอมมามันจะมี soundcard ให้ไว้ข้างในอยู่แล้วใช่ไหมครับ เป็นภาคการควบคุมและแสดงผลเสียง บนคอมพิวเตอร์ เราจะเรียกมันว่า soundcard onboard ซึ่งบางทีมันก็ดีบ้างไม่ดีบ้าง ก็ขึ้นอยู่กับคอมหรือเมนบอร์ด ว่ามันจะให้มาแบบไหน โดยมากถ้าซื้อแมคมันจะค่อนข้างดีมาแล้วประมาณนึง สามารถใช้ทำเพลงได้เลย แต่ถ้าเป็น pc นั้นไม่แน่ บางทีถ้าไม่ดีพอ ค่า latency หรือความหน่วงอาจจะมากเกินไป จนตอนใส่โน้ตและแสดงผลมันดีเลย์เกินไปจนทำงานไม่ได้
ทีนี้ไม่ว่ายังไงก็ตาม ต่อให้ไม่ซื้อตั้งแต่แรก วันนึงเราก็ต้องซื้ออยู่วันยังค่ำ เพราะเมื่อเวลาของการเรียนรู้การทำเพลงมาถึงจุดที่ คุณต้องเรียนรู้เรื่อง Mix อย่างที่บอกไป คุณต้องมาใส่ใจเรื่องคุณภาพเสียง และสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นแน่ๆอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ คุณต้อง “เอาเสียงเข้า” และ “เอาเสียงออก” จากคอม หรือโปรแกรมที่คุณทำอยู่ได้โดยได้คุณภาพเที่ยงตรง ว่าง่ายๆคือ แปลว่า คุณต้อง “ต่อไมค์,ต่อเครื่องดนตรีเข้าไป” และ “ต่อลำโพงออกมา ให้เสียงออกมาดี”
และการจะต่อสองอย่างนั้นได้ คุณต้องการตัวกลางที่เรียกว่า Sound Card หรือ Audio Interface นี่แหละครับ เพราะปกติแล้ว soundcard onboard มันจะไม่ได้ให้ port อะไรเรามานอกจากแค่ รูแจ็ค 3.5 mm เบสิคๆรูนึง ซึ่งไม่ได้เพียงพอต่อการใช้งานอะไรเลย (ถ้าเอาหูฟังไปต่อรูนี้ ก็ไม่ได้คุณภาพเสียงที่ดีที่สุดด้วย)
นอกจากนี้ Audio Interface ยังช่วยเรื่องการประมวลผลของเสียงให้ไวขึ้น เสียงดีขึ้น อำนวยความสะดวกในการจัดการความดังต่างๆ ของ input การอัดเสียงที่ดี , output การแสดงผลเสียงที่แม่นยำ และในบางรุ่นยังแถม feature เด็ดๆ แถมมาให้อีก อาทิ มี pre-mic , compressor หรือเอฟเฟคอื่นๆ ให้ในตัว
ตอนไปเลือกซื้อคุณจะต้องงงแน่นอน ว่าจะซื้อแบบไหนดี เพราะมันมีให้เลือกสารพัดไปหมด หลากหลายราคา มีตั้งแต่ หลักสามสี่พัน ไปยันเป็นแสน ผมเลยขอฝากหลักการเลือกซื้อสำหรับมือใหม่มาให้นะครับ
ไอ้ตัวเลขพวกนี้ มันคือ Sample Rate กับ Bit Rate อาจจะงงกะศัพท์เทคนิคสักหน่อย ถ้าคุณยังไม่เคยเรียนรู้พื้นฐาน Music Production ยังไม่ต้องรู้ก็ได้ครับ ถ้าเอามาบอกตรงนี้เดี๋ยวจะยาวเกินไป แต่เอาเป็นว่า มองหาศัพท์สองตัวนี้ไว้ แล้วขอให้มันรองรับไม่ต่ำกว่า 48Khz และ 16 bit ทั้ง input และ output ซึ่งข้อนี้ผมว่าไม่น่าเป็นปัญหาเท่าไร เพราะ soundcard รุ่นใหม่ๆ รองรับไปถึง 96Khz , 24 bit ขึ้นไปกันหมดแล้ว แต่เพื่อความชัวร์ เผื่อว่าคุณซื้อรุ่นเก่าหรือมือสอง ลองเช็คก่อนนะครับ ตัวเลขสองตัวนี้มันคือค่าของความละเอียดของเสียง ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานขั้นต่ำที่ใช้กับงานมาตรฐานในปัจจุบัน ถ้ามันต่ำกว่านี้ แปลง่ายๆครับว่า เสียงมันจะดีไม่พอในมาตรฐานงานสมัยนี้
soundcard ที่เราเห็นแพงๆหลายหมื่นจนเป็นแสนหลายๆตัว ส่วนหนึ่งมันเป็นเพราะจำนวน input หรือรูที่ไว้เสียบสำหรับอัดไมค์ร้องหรือเครื่องดนตรี มีจำนวนมาก
จริงอยู่ มีจำนวนมากเป็นเรื่องดี เพราะเราสามารถอัดหลายเครื่องดนตรีได้พร้อมๆกัน แต่… มันจำเป็นกับเราแค่ไหน?
ถ้าคุณเปิดห้องอัดขนาดใหญ่ ที่มีกลองสด และรองรับลูกค้าที่หลากหลาย บางคนอาจจะอยากบันทึกเสียงสดเต็มวง แบบนั้นก็เหมาะสมแล้วที่จะต้องใช้ channel เยอะ
แต่ถ้าคุณเป็นมือใหม่ที่ทำเพลงอยู่บ้าน แล้วไม่ได้อัดสดอะไรเยอะๆบ่อยๆ เวลาอัดที อาจจะค่อยๆอัดทีละไลน์ แบบนี้ channel เดียวก็พอครับ
หรือถ้าคุณเล่นดนตรีพร้อมร้องเองอยู่บ่อยๆ อาจจะเลือกเป็น 2 channel เผื่ออัดร้องกับเล่นเครื่องดนตรีไปพร้อมกัน แบบนี้ก็ได้
channel ที่มากขึ้น อาจทำให้คุณมีอิสระในการทดลองอัดหลายๆแบบมากขึ้น อาทิ อัดหลายๆไมค์ หลายๆมุมของห้อง พร้อมๆกันทีเดียว แต่ยังไงพิจารณาเอาจากปัจจัยหลายๆอย่างละกันครับ
เพราะ interface บางรุ่น แบบ input 8 ch ราคาอาจไปถึง เกือบแสน ในขณะที่ 1-2 ch อยู่หมื่นต้นๆ โดยคุณภาพอย่างอื่นไม่ได้แตกต่างอะไรกันก็มีครับ มันเซฟไปได้เยอะ
อีกอย่าง แม้ soundcard ส่วนใหญ่สมัยนี้จะให้มาครบอยู่แล้ว แต่เพื่อความชัวร์ อย่าลืมดูให้ดีว่า input ที่ให้มานั้น ควรรองรับได้ทั้ง รูแจ็คปกติ (phone) และ รูปแบบใหญ่ ที่เอาไว้เสียบไมค์ (XLR) และมีปุ่มกด +48 v สำหรับใช้กับไมค์ condensor มาให้ชัวร์ๆ
ในระดับเริ่มต้น ผมว่ายังไม่จำเป็นต้องมีลำโพงมาก 1 คู่ ครับ ซึ่งมันก็คือใช้ output แค่ 2 แต่ถ้าในภายภาคหน้า ทำห้องอัดอะไรจริงจัง หรือเริ่มมีลำโพงมากกว่าคู่เดียว หรือมีการเซตระบบที่ซับซ้อนกว่านั้น อาจเป็นไปได้ว่า ต้องมี output เป็น 4 เป็น 6 แต่น่าจะอีกนานครับ เอาแค่ 2 เป็นอย่างต่ำ จะได้ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงไปได้เยอะ
Soundcard รุ่นเก่าหน่อย คุณอาจเจอ port ประหลาด อาทิ พวก fiwire ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีแล้ว แต่จะเป็นพวก usb-a และ usb-c มากกว่า ระวังว่าคอมที่เราใช้มี port นั้นๆรองรับ และเพียงพอชัวร์ๆนะครับ
รูที่ไว้สำหรับต่อ MIDI in กับ out ที่เอาไว้ต่อเครื่องดนตรีจำพวก keyboard midi ต่างๆ ถ้ามีไว้จะดีกว่าไม่มี จริงอยู่ว่า keyboard midi รุ่นใหม่ๆ มักมี port usb สำหรับต่อเข้าคอมได้อยู่แล้ว แต่เกิดในกรณีที่เราจะต่อเครื่องดนตรีชิ้นอื่น หรือคีย์บอร์ดตัวอื่น ที่มันดันมีแต่รู midi แบบนี้ จะได้ต่อได้เลย โดยไม่ต้องหา port เพิ่มอีก
interface หลายตัว ปัจจุบันรุ่นเริ่มต้น มักมี function พิเศษ แถมมาให้ด้วย อาทิ pre mic (ภาคขยายเสียง เสริมคาแรกเตอร์ ทำให้เสียงที่อัดออกมาดีขึ้น แน่นขึ้น มีคุณภาพมากขึ้น) , compressor ช่วยเกลี่ยความดังเสียงให้มีความเสถียร นุ่มนวล แน่นขึ้น ฯลฯ โดยแต่ละยี่ห้อก็จะมีลูกเล่นที่เป็นจุดขายแตกต่างกันไปของตัวเอง อันนี้เลือกเอาแล้วแต่ชอบได้เลย ยิ่งแพงขึนมันก็มักจะมีของพวกนี้มาให้เด็ดขึ้นๆ แต่ถามว่าจำเป็นมั้ย จริงๆคือไม่ ในระดับเริ่มต้นนะครับ ถ้าเรามีงบจำกัดจริงๆ แล้วอยากได้ไม่แพง เริ่มต้นได้ เลือกเอาที่ไม่มีฟังชั่นพวกนี้ก็ได้ครับ
ปัจจัยสุดท้ายสำหรับการพิจารณา คือเลือกจากของแถมก็ได้ เพราะหลายๆเจ้ามักมีแถมโปรแกรมทำเพลง plug-in ต่างๆ ซึ่งถ้าเรายังไม่มี หรือยังมีน้อย บางทีมันก็ช่วยประหยัดไปได้เหมือนกัน
รวมๆคิดว่า ราคาที่เหมาะสมสำหรับ interface ของมือใหม่อยู่ที่ 3000 – 15000 ก็พอครับ ลองใช้เกณฑ์ที่บอก เลือกที่เหมาะสมกันดูนะครับ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์
ถ้าใครกำลังอยู่ในระหว่างเริ่มต้น แล้วมองหาหลักสูตรเรียนทำเพลง ทำดนตรี ที่สอนทุกอย่าง ลองดูหลักสูตร The Real Producer ของเราได้ครับ
มีสอนทุกอย่างที่ได้กล่าวไป ตั้งแต่เริ่มต้นไปจนระดับลึก ติดต่อแอดมินทางไลน์ @verycatacademy หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก link ด้านล่างสุดท้ายบทความได้ครับ
—————————
หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream
เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง
นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ
หลักสูตร The Real Producer
เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล
สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link
http://mkt.verycatsound.academy/mf2
——————
Contact
Line ID :
– เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
– เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound
Tel. : 0856662425
Website : verycatsound.com
FB : http://www.facebook.com/verycatsound
YT : http://www.youtube.com/c/verycatsound