synthesizer คืออะไร

Synthesizer คืออะไร จำเป็นสำหรับการทำเพลงไหม?

Share via:

Krissaka Tankritwong

Synthesizer ถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องดนตรีที่อยู่กับเรามานานหลายทศวรรษ หลังจากความโด่งดังของ Moog ก็ทำให้หลายๆวงดนตรีในยุคนั้นเริ่มหันมาใช้ Synth กันในการสร้างสรรค์เพลงใหม่ๆ
แต่ในยุคปัจจุบันล่ะ มันยังจำเป็นอยู่ไหม? แล้วมันมีหน้าที่ทำอะไรสำหรับการทำเพลง?
วันนี้เราจะมาพูดคุยถึงมันกันครับว่าในยุคของเรานี้ ยังจำเป็นสำหรับการทำเพลงอยู่ไหม?

ถ้าจะให้คำตอบเลย ผมขออธิบายเรื่องประเภทของ Synthesizer ก่อน

Synthesizer จะมี 2 ประเภทคือ

1. Hardware Synth

Hardware Synth หรือ Hard Synth ก็คือเครื่อง Synth ที่มีเสียงในตัวเลย เช่น Moog grandmother, MiniKorg, และอื่นๆที่มีให้เลือกซื้อตามความชอบของเรา สิ่งที่เราจะได้คือการที่ได้เล่นสดๆ สามารถปรับแต่งสดๆได้ เสียงในบางครั้งมันฟังดูมีเอกลักษณ์กว่า Software Synth และที่สำคัญมันเท่ห์ครับ ถ้าใครมี Hardware Synth ไว้ติดบ้าน คุณก็จะกลายเป็นคนเท่ห์แห่งยุคทันที

แต่ Hard Synth มีราคาแพง และบางครั้งมันไม่ได้ยืดหยุ่นเท่า Software Synth ที่สามารถปรับแต่งได้หลากหลายกว่ามาก เพราะ Hard Synth มีข้อจำกัดเรื่องเสียงและ Preset ที่ไม่ได้เยอะ, และข้อเสียนี้มันกลายเป็นข้อเสียใหญ่ๆ เพราะถ้าคุณอยากจะทำเพลง คุณต้องซื้อ Hard Synth อีกหลายๆตัวมาเก็บไว้เพื่อรองรับความหลากหลายของเพลงที่จะทำ เลยทำให้ Hard Synth กลายเป็นเครื่องเล่นสำหรับคนที่ชอบสะสมมากกว่า หรือบางคนชอบ Hard Synth เพราะชอบทำเพลงสดๆมากกว่า Soft Synth

2. Software Synth

Software Synth หรือ Soft Synth คือ Synth ที่เป็นปลั๊กอินโหลดมาใช้ใน DAWs เช่น Serum, Massive, u-ha, และอื่นๆอีกมากมาย ข้อดีของ Soft Synth คือมีความยืดหยุ่น, เสียงหลากหลาย, ใช้งานง่าย, และราคาเบากว่า Hardware Synth
เหมาะสำหรับการใช้งานทำเพลงมากกว่า Hardware Synth เพราะความหลากหลายของมันนี่แหละ

ข้อเสียคืออาจจะเล่นสดไม่ได้ เพราะต้องมานั่งปรับฟังชั่นก่อนเล่นเสมอ และบางคนก็อาจจะไม่ชอบการที่ปลั๊กอิน 1 ตัว มี 10,000 Presets แล้วอันไหนมันต้องใช้กันแน่? และสุดท้ายก็เลือกใช้ไม่กี่ตัว เลยทำให้บางคนเลือกใช้ Hard Synth มากกว่าเพราะมันมีตัวเลือกเสียงที่ไม่ได้เยอะมาก และทุกเสียงก็มีความเพราะและมีเอกลักษณ์มากกว่า

แล้วแบบไหนจำเป็นต่อการทำเพลงมากกว่า?

คำตอบก็คือ Software Synth นั้นเองครับ เพราะความหลากหลายของมัน และตัวเลือกที่เยอะกว่า แถมเรื่องเสียงก็สามารถปรับและเพิ่มได้เอง แทบจะทำได้แทนหมดแล้ว โดยไม่ต้องมี Hardware Synth ก็ทำเพลงได้ทุกเพลงบนโลกนี้แล้วครับ ส่วน Hardware Synth ก็อาจจะมีไว้สำหรับเล่นสด หรือคนที่ชอบจริงๆถือจะซื้อมาเก็บไว้
แต่ Hard Synth ก็ยังมีบางอย่างที่ Soft Synth ไม่มี ก็คือ “ฟิลลิ่ง” ความรู้สึกที่ได้สัมผัสปุ่ม, ได้ปรับเสียงต่างๆ คนที่ใช้ Hard Synth คือซื้อเพราะความชอบและฟิลลิ่งล้วนๆ ก็ว่าได้ครับ

สุดท้ายถ้าอยากเน้นใช้งาน ใช้ Software Synth
ถ้าต้องการฟิลลิ่ง, อยากสัมผัสปุ่มมากกว่าเม้าส์ ใช้ Hardware Synth

ซึ่งถ้าใครอยากรู้ว่า Soft Synth และ Hard Synth ตัวไหนเหมาะสำหรับเรา
ก็สามารถไปดูบทความตัวเก่าๆที่เกี่ยวกับ 5 Synth ยอดนิยมได้เลยครับ
เผื่อจะเจอที่ถูกใจและใช้สำหรับเรา

Software Synth

https://verycatsound.com/blog-top5synth/

Hardware Synth

https://verycatsound.com/blog-5synth/

The Real Producer

ถ้าใครกำลังอยู่ในระหว่างเริ่มต้น แล้วมองหาหลักสูตรเรียนทำเพลง ทำดนตรี ที่สอนทุกอย่าง ลองดูหลักสูตร The Real Producer ของเราได้ครับ
มีสอนทุกอย่างที่ได้กล่าวไป ตั้งแต่เริ่มตจ้นไปจนระดับลึก ติดต่อแอดมินทางไลน์ @verycatacademy หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก link ด้านล่างสุดท้ายบทความได้ครับ

—————————

VERY CAT SOUND
Compose Your Dream
เราไม่ได้สอนให้คุณทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
.
รับ demo คอร์สเรียนฟรี และข้อมูลหลักสูตรเพื่อประกอบการตัดสินใจได้ที่นี่
www.verycatsound.academy/funnel01
ติดต่อจ้างทำเพลง Line @verycatsound
ติดต่อเรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
โทร. 0856662425

Comments (2)

  • Bilgiler için teşekkür ederim işime son derece yaradı

  • A synthesizer can open up a world of creative possibilities for making music! It’s an instrument that gives you access to a plethora of sounds that traditional instruments might not provide. It allows for a vast array of tonal and timbral manipulation, leading to unique soundscapes that can elevate your compositions. I have learned many things from your blog. Helpful content! buy 1000 TikTok followers

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.