บางครั้งคุณคงเคยเห็นการใช้ Chord ที่แปลกออกไปจากสิ่งที่คุณเรียนรู้มา แล้วมีข้อสงสัยว่ามันมาได้ไง?
คุณอาจเคยเรียนทฤษฎีดนตรีเบื้องต้นมาแล้ว มันก็ไม่เห็นจะมีคอร์ดที่ว่านี้อยู่เลย
ตัวอย่างที่พบได้บ่อยๆเลยนะครับ อาทิ เช่น
I – IV – bVII – I7 – iv
หรือถ้าเทียบในสเกล C คือ
C – F – Bb – C13 – Fm
ทีนี้ถ้าคุณมีความรู้ทฤษฎีดนตรีเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว จะพบว่า มีคอร์ดแปลกปลอมที่ไม่รู้มาได้ไงอยู่สองคอร์ด นั่นคือ bVII กับ iv ( หรือ Bb กับ Fm นั่นเอง)
คุณอาจชอบซาวด์ของมันที่ให้อารมณ์แปลกใหม่ไปจากคอร์ดปกติ 7 คอร์ด และเคยลองพยายามเลียนแบบท่านี้ ทั้งๆที่คุณไม่รู้ว่ามันมีที่มายังไง แต่พอเลียนแบบคุณกลับพบว่า มันใช้ยากกว่าที่คิด เพราะคุณไม่รู้ว่า พอเอามาใช้แล้วจะเล่นโน้ตอะไรตรงนั้นถึงเข้ากันกับตัวคอร์ด?
ทั้งสองคอร์ดนั้นใช้เทคนิคที่เรียกว่า Borrow Chord หรือคอร์ดยืม โดยยืมมาจาก สเกลคู่ขนานของมัน คือ C Natural Minor นั่นเอง
หรือ
ii9 – Vsus4 – I6 – vi7
หรือถ้าเทียบในสเกล C คือ
Dm9 – Gsus4 – C6 – Am7
ซึ่งคอร์ดที่มีตัวเลขงงๆ พวกนี้ คุณอาจจะเคยพอรู้มาว่า มันเรียกว่า Tension แต่คุณก็ไม่รู้อยู่การใช้ที่ถูกวิธีของมันอยู่ดี ทั้งไม่รู้ว่ามันเล่นยังไงถึงจะถูกต้อง แล้วมันใช้ตอนไหน ใช้กับเมโลดี้แบบไหน
คอร์ดทั้งเซต เป็นการเติม tension ซึ่งส่วนใหญ่จะพบมากในความรู้ในเรื่อง Jazz Harmony ซึ่งต้องมีวิธีการใช้ที่ถูกวิธี เพราะถ้าใส่มั่วๆ บางทีอาจเกิด เสียงที่ไม่เข้ากัน เสียงกัด หรือที่เรียกว่า Dissonance นั่นเอง ทำให้เพลงฟังออกมาไม่เพราะอย่างที่ควรจะเป็น
ถ้าคุณยังสงสัยและอยากรู้ให้ได้ว่ามันมาได้ยังไง เพื่อจะหาวิธีใช้มันได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วล่ะก็ มันหมายถึงว่า คุณน่าจะถึงจุดที่ควรเรียนวิชาต่อไปนี้แล้ว
นั่นคือ “Harmony” หรือ “เสียงประสาน” นั่นเอง
ซึ่งหลายคนอาจจะบอกว่ามันคือ ทฤษฎีดนตรีระดับกลางถึงสูง ก็เข้าใจไม่ผิดนัก
วิชา Harmony คืออะไร? ให้ประโยชน์อะไร?
สามารถอ่านบทความต่อได้ใน
ขั้นคู่ คืออะไร จุดเริ่มต้นของการสร้าง HARMONY
VERY CAT SOUND
Compose Your Dream
เราไม่ได้สอนให้คุณทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
.
หากมีศัพท์เทคนิคที่ไม่เข้าใจ สามารถศึกษาจากบทความเก่าๆได้ในเวบ
verycatsound.com/academy
ติดต่อจ้างทำเพลง Line @verycatsound
ติดต่อเรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy