คุณเคยเป็นไหมครับ ฟังเพลงๆหนึ่งแล้วรู้สึกว่ามันเพราะมาก เพลงนี้ดีจริงๆ แต่พอไปคุยกับเพื่อน กลับบอกว่าเพลงที่เราฟังไม่เห็นเพราะ ฟังอะไรไม่รู้เรื่อง และในทางกลับกัน เพลงที่เพื่อนบอกว่าเพราะ เรากลับรู้สึกว่าไม่เห็นดี ไม่เห็นเพราะ เรื่องแบบนี้มีอยู่ในทุกยุคทุกสมัยทั่วไปเลยครับ ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะคนเราแต่ละคนมีรสนิยมความชอบไม่เหมือนกัน
สมัยนี้ยังดีหน่อยที่ คนเข้าถึงสื่อสารพัดได้มากมาย จึงทำให้รับสื่อจากต่างประเทศที่แปลกๆได้เยอะ เมื่อคนส่วนใหญ่เห็นอะไรหลากหลายขึ้นจากแต่ก่อนที่สื่อโดนปิดกั้นอยู่กับสื่อแค่ไม่กี่เจ้า คนก็ยอมรับสิ่งที่แตกต่างจากกระแสหลักได้ง่ายขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ความชอบที่แตกต่างของคนก็ยิ่งชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีก ในยุคนี้ที่มีเพลงสารพัดแนวให้เลือกเสพย์ตามแต่รสนิยมที่แตกต่างกันของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งก็ยังเกิดประเด็นถกเถียงเดิมๆ ไม่ได้ต่างจากเมื่อยุคก่อน 2000 ว่าเพลงที่เรียกว่าดีมันคือแบบไหนกันแน่
นั่นคือหนึ่งในเรื่องที่ผมเห็นคนถกเถียงกันมาทั้งชีวิต เพลงไหนดีไม่ดี? เพลงไหนมีคุณภาพมากกว่า? เมื่อก่อนสมัยผมยังเป็นแค่ผู้ฟังเฉยๆ ผมก็ยังไม่รู้สึกว่าตัวเองมีความรู้พอจะตัดสินได้ แต่ใช้แค่ความรู้สึก จนผมไปร่ำเรียนสำเร็จวิชาดนตรีมาเป็นโปรดิวเซอร์ในปัจจุบัน ผมก็เคยนึกว่าผมน่าจะพอตัดสินได้แล้ว แต่พอมานั่งคิดจริงๆก็ปรากฎว่า เป็นเรื่องที่ไม่สามารถตัดสินหรือหาเส้นแบ่งได้ชัดเจนอยู่ดี แต่สิ่งที่ผมพอจะบอกได้จากการคิดวิเคราะห์ ว่าทำไมคนเราถึงมีความเห็นว่าดีไม่ดีแตกต่างกัน เพราะผู้ฟังมีเกณฑ์ในการวัดว่าดีไม่ดีต่างกัน และผู้ฟัง “โฟกัส” คำว่าเพลงคนละจุดกัน
ในฐานะของ Producer ที่เป็นผู้สร้างเพลง ที่จริงแล้วเรามองส่วนต่างๆของเพลงเป็นส่วนประกอบหนึ่ง งานเพลงทุกแบบทุกแนว เปรียบได้กับอาหารคนละแบบที่มีรสชาติและหน้าตาที่แตกต่างกัน จริงอยู่ว่า แนวดนตรีบางแนวอาจยากหรือง่ายต่างกับอีกแนว แต่ถ้าเราอยากได้รสชาติหรือสำเนียงแบบแนวไหน เราก็ต้องรู้ว่าส่วนผสมแบบไหนจะทำให้ได้แนวนั้นขึ้นมา และในหลายๆครั้งเราต้องเป็นกลางให้ได้ โดยไม่ได้ใช้รสนิยมของตัวเองในการตัดสินงาน แต่ต้องแยกแยะให้ออกว่า ต้องทำเพลงที่ดีในแบบที่แนวนั้นๆเป็นให้ได้ โดยวางรสนิยมส่วนตัวลงก่อน ไม่เกี่ยวกับว่าชอบแนวไหน แบบไหน ในฐานะผู้สร้างงาน เมื่อพยายามมองทุกอย่างเป็นกลางแล้ว สิ่งที่น่าจะใกล้เคียงการตัดสินว่าอะไรดีไม่ดี จะไม่ใช่ความชอบ และไม่เกี่ยวกับว่าเพลงไหนดังไม่ดัง แต่ต้องมองให้ออกว่าเพลงนั้นถูก “บรรจงสร้าง” (well craft) มามีคุณภาพดีพอในแนวนั้นๆรึยัง นั่นคือการมองในมุมของคนทำเพลง หรือ Producer แบบมืออาชีพที่ควรจะเป็น
แต่แน่นอนว่า กับคนทั่วไปที่ไม่ได้วิเคราะห์ในมุมผู้ผลิตลึกแบบโปรดิวเซอร์ การยึดเอาตามรสนิยมตัวเองในการตัดสินย่อมมีอยู่เป็นเรื่องปกติ และทำให้ยากที่จะตัดสินว่าอะไรดีกว่าอะไรได้จริง เพราะถ้าคนที่ชอบไม่เหมือนกันก็เถียงกันไม่จบไม่สิ้น
แต่ในฐานะของคนทำเพลงแล้ว เราควรวิเคราะห์ว่า อะไรคือสิ่งที่ผู้ฟัง “โฟกัส” กับเพลงๆหนึ่ง และใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินว่าดีหรือไม่ดี เพื่อการเข้าใจผู้บริโภค เข้าใจตลาด และสามารถสร้างผลงานที่ตอบโจทย์ได้ โดย มีดังนี้
นี่เป็นปัจจัยอย่างแรกๆ ที่มีคนจำนวนมากโฟกัสกับมัน เพราะเป็นส่วนที่คนเข้าถึงได้ง่ายมากที่สุด แม้ที่จริงแล้ว ดั้งเดิมของดนตรี แม้ไม่มีเนื้อร้องก็ยังเป็นดนตรีก็จริง การใส่เนื้อร้องในเพลงนั้นเป็นสิ่งที่มาทีหลัง แต่ผมก็ยังเคยได้ยินคนบางส่วนรู้สึกว่า เพลงที่ไม่มีเนื้อร้อง “ไม่ใช่เพลง” ซึ่งเป็นสิ่งที่มองกันคนละมุมกับคนที่ฟังเพลงโดยไม่ได้โฟกัสกับเนื้อร้องแน่นอน ซึ่งที่จริงแล้วคนจำนวนนี้ก็มีไม่ได้น้อยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม เราปฎิเสธไม่ได้ว่า คนฟังเพลงที่เนื้อร้อง หรือเนื้อหาเพลงว่าดีไม่ดี ภาษาสวยงามหรือไม่ มีอยู่จำนวนมากกว่าในโลกใบนี้ และผู้ฟังเหล่านี้มีเกณฑ์ในการวัดว่าเพลงไหนดีไม่ดีจากเนื้อร้อง โดยให้น้ำหนักกับมันมากๆยิ่งกว่าส่วนของดนตรีซะอีก
ดังนั้น ถ้าคุณทำเพลงโดยแคร์คนส่วนใหญ่ นี่เป็นส่วนที่คุณจะไม่ใส่ใจไม่ได้ เพราะการไม่มีเนื้อร้องจะไม่สามารถสื่อสารกับคนกลุ่มนี้ได้ และมีแล้วก็ต้องดีในแบบที่เค้าคิดด้วย (ซึ่งเนื้อร้องที่ดีก็ยังแตกแยกย่อยไปในแต่ละแนวดนตรี แต่ละวงการอีก)
อีกปัจจัยหนึ่งที่หมู่มวลชนในโลกนี้ให้ความสำคัญอย่างมาก คือเสียงร้อง และเสียงร้องที่ได้รับการยอมรับว่ามีคุณภาพ เป็นเสียงที่ดี มักเป็นเสียงที่ไปในทางโชว์พลังเสียง โชว์เทคนิค ฉะนั้นจะเห็นผู้ฟังจำนวนมากจะมีการตั้งธงมาแล้วว่า เพลงแนวอื่นๆที่ไม่ใช่เสียงนักร้องตามมาตรฐานแบบนี้เป็นเพลงที่ไม่ดี
บางมุมมอง ในเพลงบางแนว อาจมีการดีไซน์เสียงร้องไว้แล้ว ให้มีความแตกต่างออกไปจากลักษณะเสียงร้องตามมาตรฐาน อาทิเช่น จงใจให้เสียงร้องเป็นลักษณะกระซิบ แผ่วเบา ไม่มีพลัง แต่เป็นการออกแบบให้เพื่อสื่อสารอารมณ์ของแนวเพลงเฉพาะบางแนว แบบนี้เป็นต้น แต่แน่นอนว่า ถ้าเป็นคนกระแสหลักทั่วไปที่ไม่ใช่คนเฉพาะแนวส่วนน้อย ย่อมรู้สึกว่า การร้องแบบนี้เท่ากับเป็นเพลงที่ไม่ดี ก็เป็นได้
แม้จะน้อยกว่าคนสองประเภทแรก แต่คนที่ฟังเพลงแล้วโฟกัสที่ทำนองและดนตรี ความละเอียดละออ ความไพเราะของการสอดประสานท่วงทำนองต่างๆ พวกนี้ก็มีจำนวนอยู่ไม่น้อยเช่นกัน และเป็นสิ่งที่ปฎิเสธไม่ได้ว่า มันคือดนตรีที่เป็นดนตรีของจริง แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้อีกเช่นกันว่า แต่คนส่วนใหญ่เค้าไม่เก๊ตด้วยหรอก ถ้าคุณเป็นคนประเภทนี้ คุณอาจจะชอบฟังเพลงต่างประเทศแล้วเคยโดนบอกประมาณว่า “ฟังรู้เรื่องหรอ” หรือฟังเพลงบรรเลงแล้วโดนเพื่อนบอก “เมื่อไรจะร้องอ่ะ” ไม่ก็ “เพลงอะไรอ่ะ ฟังไม่รู้เรื่อง” กันมาไม่น้อย
แน่นอนว่า เกณฑ์ในการวัดว่าเพลงอะไรดีไม่ดีของคนกลุ่มนี้ก็คือความดีงามในการ Composition หรือ Arranging ของดนตรีล้วนๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ทุกคนจะเห็น เรียกได้ว่าเหมือนเห็นผี และไม่ได้เห็นกันทุกคน และเป็นสิ่งจับต้องได้ยากกว่าเนื้อเพลง และเสียงร้อง เป็นไหนๆ แต่เชื่อว่า Producer หลายคนที่รักในดนตรีจริงๆก็พยายามจะสร้างดนตรีที่คิดมาอย่างดี ส่งไปยังผู้ฟังให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้
มีผู้ฟังหลายคนที่ใส่ใจกับคุณภาพเสียง หรือ Sound มาก หรือกลุ่มนี้เรียกว่า Audiophile และมักรวมคุณภาพการอัด การมิกซ์ มาสเตอร์เสียง อยู่ในคุณภาพของเพลงด้วย หากคนทั่วไปที่หูไม่เทพ อาจจะไม่มีปัญหาเรื่องพวกนี้ คือสามารถฟังเพลงด้วยหูฟังแบบไหน ลำโพงแบบไหนก็ได้ ก็รู้สึกเพราะได้หมด อยู่ที่ตัวเพลงมากกว่า แต่ผู้ฟังกลุ่มนี้จะฟินได้เมื่อคุณภาพเสียงต้องดีจริงๆ และเค้าฟังออก เมื่อเพลงที่มีคุณภาพเสียงในการผลิตที่ต่ำ จึงเป็นส่วนที่ควรจะใส่ใจเช่นกัน แม้ว่า Producer จะฟังออกหรือไม่ก็ตาม
ในกรณีที่ Producer อาจจะโฟกัสกับส่วนอื่นเป็นหลัก ก็อยากให้จ้าง Sound Engineer ที่เชื่อใจได้มาดูแลส่วนนี้ให้ เพื่อให้คุณภาพเสียงออกมาดีที่สุด และผลงานออกมาเป็นที่ยอมรับว่ามีคุณภาพจากผู้ฟังกลุ่มนี้ที่โฟกัสเรื่องความเป๊ะของ Sound ด้วย
ก็คือเราสรุปไม่ได้หรอกครับ เพราะผู้ฟังแต่ละคนมีเพลงดีในใจตัวเองไม่เหมือนกัน ใช้เกณฑ์ตัดสินไม่เหมือนกัน สิ่งที่คนทำเพลงพอจะทำได้คือ ทำให้ดีที่สุดที่แนวนั้นๆมันเป็น การที่ผู้ฟังจะชอบหรือไม่ชอบ มันก็เป็นสิทธิ์ของคนๆนั้น โดยที่จริงแล้วเราไม่จำเป็นจะต้องไปทำให้ทุกคนในโลกนี้พอใจก็ได้ครับ เพราะมันเป็นไปไม่ได้ คุณแค่รู้ตัวของคุณดีว่าคุณทำอะไรอยู่ ผลงานนี้มันมีคุณภาพพอในสิ่งที่มันควรจะเป็น เป็นสิ่งที่คุณออกแบบไว้หรือไม่ ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย ผมเชื่อว่า คนฟังมีส่วนหนึ่งที่ฟังออกครับ ว่างานชิ้นไหนตั้งใจทำ หรือชิ้นไหนทำแบบไม่ตั้งใจ
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้แง่คิดกับคนทำเพลงหลายๆคนนะครับ
ถ้าคุณกำลังแสวงหาการทำเพลงที่ดีในอุดมคติของคุณอยู่ หลักสูตร The Real Producer นี้ถูกสร้างมาเพื่อคุณ มีสอนกระบวนการทำเพลงทุกรูปแบบ ตั้งแต่ขั้นต้นไปจนถึงระดับมืออาชีพ REAL , DEEP , EXCLUSIVE สนใจหลักสูตรติดต่อแอดมินใน Line @verycatacademy หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ link ด้านล่างสุดของบทความได้เลยครับ
—————————————————
หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream
เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง
นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ
หลักสูตร The Real Producer
เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล
สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link
http://mkt.verycatsound.academy/mf2
——————
Contact
Line ID :
– เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
– เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound
Tel. : 0856662425
Website : verycatsound.com
FB : http://www.facebook.com/verycatsound
YT : http://www.youtube.com/c/verycatsound