อาชีพทำเพลง vs ความเป็นจริง งานทำเพลงเขาหากันยังไง ซีรีส์อาชีพทำเพลงในความเป็นจริง ได้เดินทางมาถึง EP.5 แล้ว โดย EP.5 นี้จะเป็นตอนสุดท้ายที่จะพาคนที่สนใจอาชีพทำเพลงไปสำรวจอีกเรื่องราวที่ควรรู้ไว้ด้วยนั่นคือ งานทำเพลง หางานกันอย่างไร ? ซึ่งมีความสำคัญต่อทำคนที่เลือกอาชีพทำเพลงแน่นอน บทความนี้ จึงอยากนำเสนอแนะการหางานในอาชีพทำเพลง รวมถึงอยากชวนทุกคนมาวิเคราะห์และเลือกเส้นทางการเดินในอาชีพนี้ได้เหมาะสมกับตัวเอง โดยทั่วไปแล้ว จะมีการหางานหลัก ๆ อยู่สองแบบด้วยกันคือ การสมัครงาน ทำงานเป็นพนักงานบริษัท และการเป็นฟรีแลนซ์ที่อาจจะพัฒนาต่อยอดทำเป็นบริษัทได้ แต่สำหรับอาชีพทำเพลง การเลือกสมัครงานเป็นพนักงานในบริษัทนั้นมีโอกาสน้อยมาก เนื่องจากในวงการเพลงประเทศไทยยังไม่ใหญ่ขนาดนั้น ทำให้ไม่ได้มีตำแหน่งรองรับทั้งการจบใหม่ด้านดนตรีมาโดยตรง รวมถึงคนที่มีความสามารถด้วย ซึ่งนาน ๆ ทีถึงจะมีประกาศรับสักตำแหน่ง และเมื่อประกาศแล้วก็จะได้คนอย่างรวดเร็ว หรือบางครั้งยังไม่ทันจะประกาศออกไปก็ได้คนใหม่จากคอนเนคชั่นไปก่อนแล้วด้วยซ้ำ ฉะนั้นถ้าใครเลือกทางนี้ เราอาจจะต้องพยายามเกาะติดกับวงการเพลงให้ได้ เช่น อาจจะฝึกงานในช่วงเวลาหนึ่งเพื่อหาคอนเนคชั่น เวลามีตำแหน่งว่างแล้ว...
อาชีพทำเพลงในความเป็นจริง EP.4 ทำไมถึงไม่ต้องกลัว AI เพราะอะไร ? ซีรีส์อาชีพทำเพลงในความจริงมาถึง EP.4 แล้ว ในสามครั้งก่อนได้บอกถึงการหาแนวที่เหมาะกับตัวเองในการทำเพลง ไม่ว่าจะเป็นทำเพลงให้ได้ทุกแนว หรือทำเฉพาะแนวไปเลย รวมไปถึงการสร้าง Branding ในอาชีพทำเพลงด้วย คราวนี้เราจะพูดถึง AI กับอาชีพทำเพลงกันว่า ในยุคที่ AI เข้ามามีบทบาทในแทบทุกด้าน โดยเฉพาะการทำเพลงเพียงเราแค่ใส่ Prompt ตัวหนังสือเข้าไปก็สามารถ Generate ออกมาเป็นเพลงได้เลย แม้ AI จะสะดวกสบายแค่ไหน แต่จากประสบการณ์ส่วนตัว AI ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด บทความนี้จึงจะมาบอกเล่าว่าทำไมอาชีพทำเพลงในปัจจุบันถึงไม่ต้องกลัว AI ก่อนจะรู้ว่า AI มีผลกระทบต่ออาชีพทำเพลงอย่างไร ? เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น เรามารู้เกี่ยวกับตลาดในวงการเพลงกันก่อน...
อาชีพทำเพลงในความเป็นจริง EP.3 ตัวเลขคือสื่งที่ทำให้อยู่รอดได้จริง มาถึงแล้วกับ EP.3 ของซีรีส์ “อาชีพทำเพลงในความเป็นจริง” ใน EP ก่อนหน้า ได้พูดถึงการทำเพลงทุกแนวหรือแนวเดียว ซึ่งไม่มีคำตอบตายตัวเพราะขึ้นอยู่กับต้นทุนชีวิตของแต่ละคน แต่ก็มีสูตรบางอย่างคือ เน้นการทำเพลงกว้างให้ได้เป็นรักฐานและเน้นทำเพลงให้ลึกเฉพาะแนวที่ตัวเองตั้งเป้าไว้ รวมไปถึงการสร้าง Branding ด้วย ใน EP นี้ จะมาบอกถึงเรื่อง “ตัวเลข” ซึ่งใครจะเลือกทำเพลงกว้างมากน้อยแค่ไหน หรือมุ่งไปที่การทำลึกเฉพาะแนวอย่างเดียว ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับตัวเลข ที่จะบอกว่าในทางที่เลือกเราสามารถอยู่รอดได้จริงไหม และตัวเลขที่ว่าคือตัวเลขอะไรบ้าง ครั้งก่อนที่มีการอธิบายเรื่องการทำเพลงหลากหลายแนวให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เหตุผลหลักมาจากตัวเลข อย่างปริมาณงานที่เข้ามาและจำนวนเงินทีได้ ซึ่งสมมุติว่า หากเราตั้งเป้าว่าอยากได้เงินหนึ่งแสนบาทต่อเดือน โดยส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มต้นจากการทำเพลงให้ได้หลากหลายก่อน เช่น หนึ่งงานอาจจะได้ห้าพันบาท เราก็ต้องรับให้ได้ถึง 20 งานต่อเดือนถึงจะครบหนึ่งแสนบาท ซึ่งใน 20...
อาชีพทำเพลงในความเป็นจริง EP.2 การสร้าง Branding ทำเพลงเฉพาะแนว ความเดิมจากบทความที่แล้ว ที่กล่าวถึงการทำเพลงทุกแนวหรือทำเฉพาะแนวไปเลยแบบไหนดีกว่ากัน โดยอาจจะไม่มีคำตอบตายตัวว่าควรทำแบบไหนก็จริง แต่อยากแนะนำคนส่วนใหญ่ว่าควรทำให้ได้ทั้งสองแบบคือ ทำได้หลากหลายแนวเท่าที่เป็นไปได้ในระดับหนึ่งที่พอรับงานได้ และเลือกทำเฉพาะแนวที่ชอบให้โดดเด่น เพื่อจะได้รับงานใหญ่ ๆ ได้ บทความนี้จะมาบอกถึงการสร้าง Branding ที่จะช่วยส่งเสริมการทำเพลงเฉพาะแนว ให้ไปถึงระดับสูงสุดในแนวเพลงที่ตัวเองเลือกจนสามารถรับงานใหญ่ ๆ ได้ ในการทำเพลงหลากหลายแนวจะช่วยให้เราสามารถรับงานได้มากขึ้น และตั้งตัวในอาชีพทำเพลงได้ง่ายก็จริง แต่ในระยะยาว หากทำทุกแนวแบบผิวเผิน สมมุติว่าจากระดับ 10 เราอาจจะทำได้แค่ 3 ในทุก ๆ แนว ก็อาจไม่เพียงพอที่จะพาไปถึงจุดสูงสุดได้ เพราะลูกค้าในระดับสูงมักมองหาผู้เชี่ยวชาญที่เป็นตัวท๊อปของแนวเพลง ซึ่งการสร้าง Branding มีความสำคัญอย่างยิ่งในการแสดงจุดยืนว่าเราเชี่ยวชาญและโดดเด่นในแนวทางนั้น ๆ โดย Branding นั้นจะเกี่ยวข้องกับการสื่อสารเป็นหลัก...
วิเคราะห์เพลง Crazy – SEREFM . เพลง Crazy – LE SEREFM เป็นเพลง K-pop ที่ปล่อยออกมาได้สักพักแล้วก็จริง แต่เหตุผลที่ทำให้ยังเลือกหยิบยกเพลงนี้มาวิเคราะห์ เพราะเพลง Crazy – LE SEREFM มีวิธีคิดดนตรีที่โดดเด่น และพูดได้ว่าเป็นหนึ่งในเพลง K-pop ที่สะท้อนให้เห็นถึงวิธีคิดและทำเพลงในวงการ K-pop ที่กำลังเริ่มเปลี่ยนแปลงและแตกต่างไปจากเดิม โดยถ้าฟังเพียงผิวเผินอาจจะรู้สึกว่าเป็นเพลง K-pop ที่เรียบง่ายเพลงหนึ่ง แต่ในความเรียบง่ายนี้ ก็ไม่ได้คิดขึ้นมาง่าย ๆ บทความนี้จึงอยากวิเคราะห์เพลง Crazy – LE SEREFM ให้เห็นถึงวิธีคิดที่แตกต่างจากเพลง K-pop ทั่วไปให้อ่านกัน ส่วนใหญ่เพลง...
ไม่ได้จบดนตรี จะยังมีหวังกับอาชีพทำเพลงไหม หนึ่งในคำถามคลาสสิคที่เจอได้บ่อย ๆ สำหรับคนที่ไม่ได้จบตรงทางด้านดนตรี และลึก ๆ ก็ยังหวังในอาชีพทำเพลง จริง ๆ แล้วธรรมชาติในทุกอุตสาหกรรมต่างมีคนที่ไม่ได้จบตรงสายแต่สามารถทำงานในสายอาชีพนั้น ๆ ได้เสมอ ไม่เว้นแม้แต่ดนตรี เพียงแต่ว่าอาจจะเสียเปรียบกว่าคนที่เรียนดนตรีโดยตรงที่มีความรู้ มีโอกาสในเส้นทางนี้มากกว่า บทความนี้จึงอยากเสนอแนะแนวทางสำหรับคนที่ไม่ได้จบดนตรีแต่มีใจรักและเอาจริง ว่าทำอย่างไรถึงจะมีโอกาสได้เทียบเท่ากับคนที่จบดนตรีมา และมีหวังในอาชีพทำเพลง ถ้าให้พูดเร็ว ๆ ถึงความแตกต่างระหว่างคนที่จบดนตรีและไม่จบดนตรี คือช่วงเวลาที่อยู่กับดนตรี โดยคนที่จบดนตรีมามีเวลาอยู่กับดนตรีจากการเรียนเฉลี่ยมากถึง 2,000 – 4,000 ชั่วโมง เพื่อให้เข้าใจดนตรีในระดับที่สามารถเอาไปใช้ทำอาชีพจริงได้ ซึ่งนี่เป็นข้อเสียเปรียบสำหรับคนที่ไม่จบดนตรี และคำตอบง่าย ๆ ที่จะช่วยปิดจุดอ่อนตรงนี้ก็คือ การเรียนดนตรีเพิ่ม แต่คำตอบง่าย ๆ นี้ ก็ไม่ได้หมายความว่าใครจะทำได้ง่าย ๆ เพราะดนตรีเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยทุนมากพอสมควร...
คอร์ด Augmented ใช้ตอนไหน? โดยปกติแล้วคอร์ดจะแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทหลัก ๆ คือ คอร์ด Major, คอร์ด Minor, คอร์ด Dim และคอร์ด Aug ซึ่ง 2 อันแรกคนที่เล่นดนตรีทั่ว ๆ ไปคงคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี คอร์ด Dim ก็อาจจะมีให้เห็นกันอยู่บ้างจากคอร์ด 7 ในสเกลเมเจอร์ แต่สำหรับคอร์ด Aug นี้แทบไม่จะไม่เห็นในเพลงทั่วไปเลย ก่อนอื่นคอร์ด Aug ย่อมาจาก Augmented ที่แปลได้ว่า ขยาย เพิ่มพูน หรือความหมายในเชิงเดียวกัน ซึ่งในโครงสร้างคอร์ด Aug นั่นก็คือการนำคอร์ด...