PRODUCER Q&A

จังหวะ คือ

เข้าใจ Time Signature ในเพลง มีอะไรนอกเหนือจาก 4/4

เข้าใจ Time Signature ในเพลง มีอะไรนอกเหนือจาก 4/4 Time Signature เป็นอีกเรื่องพื้นฐานหนึ่งที่ทุกคนในสายอาชีพดนตรี ทั้งคนทำเพลง คนเล่นดนตรี ต้องเข้าใจเป็นอันดับต้น ๆ เลย โดยส่วนใหญ่แล้ว Time Signature ที่คุ้นเคยกันมักจะเป็น 4/4 แต่จริงแล้วยังมี Time Signature นอกเหนือจาก 4/4 รวมถึงยังแบ่ง Time Signature ออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ บทความนี้จะมาอธิบาย Time Signature ให้เข้าใจ พร้อมยกตัวอย่าง Time Signature เด่น ๆ พอสังเขปกัน...

งานทำเพลง

อาชีพทำเพลง vs ความเป็นจริง งานทำเพลงเขาหากันยังไง

อาชีพทำเพลง vs ความเป็นจริง งานทำเพลงเขาหากันยังไง ซีรีส์อาชีพทำเพลงในความเป็นจริง ได้เดินทางมาถึง EP.5 แล้ว โดย EP.5 นี้จะเป็นตอนสุดท้ายที่จะพาคนที่สนใจอาชีพทำเพลงไปสำรวจอีกเรื่องราวที่ควรรู้ไว้ด้วยนั่นคือ งานทำเพลง หางานกันอย่างไร ? ซึ่งมีความสำคัญต่อทำคนที่เลือกอาชีพทำเพลงแน่นอน บทความนี้ จึงอยากนำเสนอแนะการหางานในอาชีพทำเพลง รวมถึงอยากชวนทุกคนมาวิเคราะห์และเลือกเส้นทางการเดินในอาชีพนี้ได้เหมาะสมกับตัวเอง  โดยทั่วไปแล้ว จะมีการหางานหลัก ๆ อยู่สองแบบด้วยกันคือ การสมัครงาน ทำงานเป็นพนักงานบริษัท และการเป็นฟรีแลนซ์ที่อาจจะพัฒนาต่อยอดทำเป็นบริษัทได้ แต่สำหรับอาชีพทำเพลง การเลือกสมัครงานเป็นพนักงานในบริษัทนั้นมีโอกาสน้อยมาก เนื่องจากในวงการเพลงประเทศไทยยังไม่ใหญ่ขนาดนั้น ทำให้ไม่ได้มีตำแหน่งรองรับทั้งการจบใหม่ด้านดนตรีมาโดยตรง รวมถึงคนที่มีความสามารถด้วย ซึ่งนาน ๆ ทีถึงจะมีประกาศรับสักตำแหน่ง และเมื่อประกาศแล้วก็จะได้คนอย่างรวดเร็ว หรือบางครั้งยังไม่ทันจะประกาศออกไปก็ได้คนใหม่จากคอนเนคชั่นไปก่อนแล้วด้วยซ้ำ ฉะนั้นถ้าใครเลือกทางนี้ เราอาจจะต้องพยายามเกาะติดกับวงการเพลงให้ได้ เช่น อาจจะฝึกงานในช่วงเวลาหนึ่งเพื่อหาคอนเนคชั่น เวลามีตำแหน่งว่างแล้ว...

ทำเพลง AI

อาชีพทำเพลง vs ความเป็นจริง ทำไมถึงไม่ต้องกลัว AI เพราะ ?

อาชีพทำเพลงในความเป็นจริง EP.4 ทำไมถึงไม่ต้องกลัว AI เพราะอะไร ? ซีรีส์อาชีพทำเพลงในความจริงมาถึง EP.4 แล้ว ในสามครั้งก่อนได้บอกถึงการหาแนวที่เหมาะกับตัวเองในการทำเพลง ไม่ว่าจะเป็นทำเพลงให้ได้ทุกแนว หรือทำเฉพาะแนวไปเลย รวมไปถึงการสร้าง Branding ในอาชีพทำเพลงด้วย คราวนี้เราจะพูดถึง AI กับอาชีพทำเพลงกันว่า ในยุคที่ AI เข้ามามีบทบาทในแทบทุกด้าน โดยเฉพาะการทำเพลงเพียงเราแค่ใส่ Prompt ตัวหนังสือเข้าไปก็สามารถ Generate ออกมาเป็นเพลงได้เลย แม้ AI จะสะดวกสบายแค่ไหน แต่จากประสบการณ์ส่วนตัว AI ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด บทความนี้จึงจะมาบอกเล่าว่าทำไมอาชีพทำเพลงในปัจจุบันถึงไม่ต้องกลัว AI  ก่อนจะรู้ว่า AI มีผลกระทบต่ออาชีพทำเพลงอย่างไร ? เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น เรามารู้เกี่ยวกับตลาดในวงการเพลงกันก่อน...

ตัวเลข

อาชีพทำเพลง vs ความเป็นจริง ตัวเลขคือสิ่งที่ทำให้อยู่รอดได้จริง

อาชีพทำเพลงในความเป็นจริง EP.3 ตัวเลขคือสื่งที่ทำให้อยู่รอดได้จริง มาถึงแล้วกับ EP.3 ของซีรีส์ “อาชีพทำเพลงในความเป็นจริง” ใน EP ก่อนหน้า ได้พูดถึงการทำเพลงทุกแนวหรือแนวเดียว ซึ่งไม่มีคำตอบตายตัวเพราะขึ้นอยู่กับต้นทุนชีวิตของแต่ละคน แต่ก็มีสูตรบางอย่างคือ เน้นการทำเพลงกว้างให้ได้เป็นรักฐานและเน้นทำเพลงให้ลึกเฉพาะแนวที่ตัวเองตั้งเป้าไว้ รวมไปถึงการสร้าง Branding ด้วย ใน EP นี้ จะมาบอกถึงเรื่อง “ตัวเลข” ซึ่งใครจะเลือกทำเพลงกว้างมากน้อยแค่ไหน หรือมุ่งไปที่การทำลึกเฉพาะแนวอย่างเดียว ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับตัวเลข ที่จะบอกว่าในทางที่เลือกเราสามารถอยู่รอดได้จริงไหม และตัวเลขที่ว่าคือตัวเลขอะไรบ้าง  ครั้งก่อนที่มีการอธิบายเรื่องการทำเพลงหลากหลายแนวให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เหตุผลหลักมาจากตัวเลข อย่างปริมาณงานที่เข้ามาและจำนวนเงินทีได้ ซึ่งสมมุติว่า หากเราตั้งเป้าว่าอยากได้เงินหนึ่งแสนบาทต่อเดือน โดยส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มต้นจากการทำเพลงให้ได้หลากหลายก่อน เช่น หนึ่งงานอาจจะได้ห้าพันบาท เราก็ต้องรับให้ได้ถึง 20 งานต่อเดือนถึงจะครบหนึ่งแสนบาท ซึ่งใน 20...

branding

อาชีพทำเพลง vs ความเป็นจริง การสร้าง branding กับการทำเพลงเฉพาะแนว

อาชีพทำเพลงในความเป็นจริง EP.2 การสร้าง Branding ทำเพลงเฉพาะแนว ความเดิมจากบทความที่แล้ว ที่กล่าวถึงการทำเพลงทุกแนวหรือทำเฉพาะแนวไปเลยแบบไหนดีกว่ากัน โดยอาจจะไม่มีคำตอบตายตัวว่าควรทำแบบไหนก็จริง แต่อยากแนะนำคนส่วนใหญ่ว่าควรทำให้ได้ทั้งสองแบบคือ ทำได้หลากหลายแนวเท่าที่เป็นไปได้ในระดับหนึ่งที่พอรับงานได้ และเลือกทำเฉพาะแนวที่ชอบให้โดดเด่น เพื่อจะได้รับงานใหญ่ ๆ ได้ บทความนี้จะมาบอกถึงการสร้าง Branding ที่จะช่วยส่งเสริมการทำเพลงเฉพาะแนว ให้ไปถึงระดับสูงสุดในแนวเพลงที่ตัวเองเลือกจนสามารถรับงานใหญ่ ๆ ได้ ในการทำเพลงหลากหลายแนวจะช่วยให้เราสามารถรับงานได้มากขึ้น และตั้งตัวในอาชีพทำเพลงได้ง่ายก็จริง แต่ในระยะยาว หากทำทุกแนวแบบผิวเผิน สมมุติว่าจากระดับ 10 เราอาจจะทำได้แค่ 3 ในทุก ๆ แนว ก็อาจไม่เพียงพอที่จะพาไปถึงจุดสูงสุดได้ เพราะลูกค้าในระดับสูงมักมองหาผู้เชี่ยวชาญที่เป็นตัวท๊อปของแนวเพลง ซึ่งการสร้าง Branding มีความสำคัญอย่างยิ่งในการแสดงจุดยืนว่าเราเชี่ยวชาญและโดดเด่นในแนวทางนั้น ๆ โดย Branding นั้นจะเกี่ยวข้องกับการสื่อสารเป็นหลัก...

จบดนตรี

ไม่ได้จบดนตรี จะยังมีหวังกับอาชีพทำเพลงไหม

ไม่ได้จบดนตรี จะยังมีหวังกับอาชีพทำเพลงไหม หนึ่งในคำถามคลาสสิคที่เจอได้บ่อย ๆ สำหรับคนที่ไม่ได้จบตรงทางด้านดนตรี และลึก ๆ ก็ยังหวังในอาชีพทำเพลง จริง ๆ แล้วธรรมชาติในทุกอุตสาหกรรมต่างมีคนที่ไม่ได้จบตรงสายแต่สามารถทำงานในสายอาชีพนั้น ๆ ได้เสมอ ไม่เว้นแม้แต่ดนตรี เพียงแต่ว่าอาจจะเสียเปรียบกว่าคนที่เรียนดนตรีโดยตรงที่มีความรู้ มีโอกาสในเส้นทางนี้มากกว่า บทความนี้จึงอยากเสนอแนะแนวทางสำหรับคนที่ไม่ได้จบดนตรีแต่มีใจรักและเอาจริง ว่าทำอย่างไรถึงจะมีโอกาสได้เทียบเท่ากับคนที่จบดนตรีมา และมีหวังในอาชีพทำเพลง ถ้าให้พูดเร็ว ๆ ถึงความแตกต่างระหว่างคนที่จบดนตรีและไม่จบดนตรี คือช่วงเวลาที่อยู่กับดนตรี โดยคนที่จบดนตรีมามีเวลาอยู่กับดนตรีจากการเรียนเฉลี่ยมากถึง 2,000 – 4,000 ชั่วโมง เพื่อให้เข้าใจดนตรีในระดับที่สามารถเอาไปใช้ทำอาชีพจริงได้ ซึ่งนี่เป็นข้อเสียเปรียบสำหรับคนที่ไม่จบดนตรี และคำตอบง่าย ๆ ที่จะช่วยปิดจุดอ่อนตรงนี้ก็คือ การเรียนดนตรีเพิ่ม แต่คำตอบง่าย ๆ นี้ ก็ไม่ได้หมายความว่าใครจะทำได้ง่าย ๆ เพราะดนตรีเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยทุนมากพอสมควร...

เป็นเด็กแนว

เป็นเด็กแนวมันลำบากเมื่อมาสายดนตรี

เป็นเด็กแนวมันลำบากเมื่อมาสายดนตรี เป็นเรื่องปกติที่ทุกอาชีพต้องมีคนส่วนน้อยที่เห็นต่างสวนกระแสไปอีกทาง ซึ่งในทางดนตรีเราอาจเรียกคนเหล่านี้ว่า “เด็กแนว” จริง ๆ แล้วเด็กแนวมีอยู่แล้วในทุกยุคสมัย เพราะไม่ว่าจะยุคไหน แต่ละคนก็มีสิทธิที่จะชอบในสิ่งที่เหมือนหรือแตกต่างกันเสมอ เพียงแต่ว่าถ้าดันอยู่ในฝั่งที่เป็นส่วนน้อย ก็คงต้องยอมรับว่าไม่ง่ายเลยในการเลือกเดินบนเส้นทางดนตรี เพราะต้องฝ่าฟันสิ่งต่าง ๆ และท้าทายมากกว่าคนทั่วไป บทความนี้จึงอยากบอกเล่าประสบการณ์ส่วนตัวของการเป็นเด็กแนวที่เลือกเดินในเส้นทางดนตรี และตกผลึกความยากและความท้าทายต่าง ๆ ที่คนเป็นเด็กแนวต้องเจอ ออกมาเป็น 4 ประเด็นหลักให้อ่านกัน จากประสบการณ์แล้ว ในการจะผ่าน 4 ปัญหาหลักนี้ไปได้ ขึ้นอยู่กับการตั้ง Mindset ในอาชีพดนตรี โดยเฉพาะการหาจุดสมดุลระหว่าง “งานที่เป็นของคนอื่น” และ “งานที่เป็นตัวตน” โดยงานที่เป็นของคนอื่น หมายถึง การทำเพลงตามบรีฟที่ได้รับมอบหมายจากลูกค้าเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะเป็นเพลงโฆษณา เพลงองค์กร เพลงประกอบภาพยนตร์ หรืออื่น ๆ...

แนะแนว

ครูแนะแนวหาว่าผมติดยา

ครูแนะแนวหาว่าผมติดยา ครูแนะแนวหาว่าผมติดยา “ครูแนะแนวหาว่าผมติดยา” ประโยคนี้ไม่ได้มาจากภาพยนตร์ ละคร ซีรีส์ หรือเรื่องแต่งแต่อย่างใด แต่มาจาก “ประสบการณ์จริง” ของตัวเองที่พบเจอในช่วงมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งแน่นอนเป็นช่วงวัยที่กำลังค้นหาตัวเอง ละเอียดอ่อนต่อความรู้สึก จึงต้องมีครูแนะแนวมาชี้แนะแนวทางการเลือกเข้าเรียนคณะต่าง ๆ ซึ่งมีไม่น้อยเลยที่เส้นทางของใครหลายคนจะถูกกำหนดจากครูแนะแนว แต่ถามว่าครูแนะแนวมีสิทธิ์ที่จะแนะนำเส้นทางที่ผิดให้กับเราบ้างไหม บทความนี้จึงอยากให้ทุกคนที่มีเป้าหมาย ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องดนตรีก็ได้ มาลองฟังประสบการณ์ของคนที่ “ครูแนะแนวหาว่าติดยา” ว่าทำอย่างไร และผ่านมันมาจนได้เป็น Music Producer ได้อย่างไร ก่อนจะไปถึงมัธยมปลายที่เจอคำว่าหาติดยา อยากพาย้อนมาถึงจุดเริ่มต้นของการเริ่มชอบดนตรีก่อน โดยที่จำความได้ ดนตรีเริ่มเข้ามีบทบาทในชีวิตตั้งแต่ประถมศึกษา เริ่มฟังเพลงทั่ว ๆ ไป แต่ก็ไม่ได้สนใจมากนัก ก็ยังดูการ์ตูน สนุกไปกับการเล่นเกม ตามประสาเด็กทั่วไป แต่เริ่มมีความรู้สึกชอบจริง ๆ เมื่อพี่สาวที่กำลังเข้าเรียนคณะศิลปกรรมศาสตร์ ได้เปิดเพลงกล่อมนอนทุกคืน...

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.