เครื่องดนตรี

แนะนำวิธีเลือกใช้ เสียงเครื่องดนตรีต่างๆ ในการทำเพลง

Share via:

Krissaka Tankritwong
แนะนำวิธีเลือกใช้ เสียงเครื่องดนตรีต่างๆ ในการทำเพลง

.

ใครที่กำลังเริ่มต้นฝึกทำเพลงแล้วสงสัยว่า ในเพลง ๆ หนึ่งก็มีเครื่องดนตรีตั้งมากมาย เขามีวิธีเลือกเสียงเครื่องดนตรีต่าง ๆ ให้ฟังดูกลมกล่อม จัดการเสียงเครื่องดนตรีต่าง ๆ ให้ไม่กวนกันได้อย่างไร ? รวมถึงจำเป็นต้องเล่นเครื่องดนตรีเป็นหลาย ๆ เครื่องเลยไหมถึงจะทำเพลงได้ ? บทความนี้จะช่วยแนะนำวิธีเลือกใช้เสียงเครื่องดนตรีต่าง ๆ ซึ่งเอาไปใช้ได้ตั้งแต่สำหรับคนที่ยังจับต้นชนปลายไม่ถูก ไปจนถึงระดับมืออาชีพเลย

ก่อนที่จะไปถึงการวิธีการเลือกเครื่องดนตรีต่าง ๆ เรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับองค์ประกอบดนตรีก่อน ซึ่งโดยทั่วไปในการทำเพลงแล้ว ไม่ว่าจะเลือกเครื่องดนตรีอะไรก็แล้วแต่ จะถูกแบ่งให้อยู่ใน 5 ประเภทนี้

  1. Main Melody / Solo : ชุดโน๊ตที่เด่นที่สุดในเพลง มักเป็นส่วนที่ฟังง่าย จำได้ง่าย
    เช่น โน๊ตที่มีจากเสียงร้อง หรือโน๊ตที่มาจากการโซโล่กีตาร์
  2. Accom. : ย่อมาจาก accompaniment คือเสียงดนตรีประเภทคอร์ด มีการประสานของเสียงหลาย ๆ ตัวโน๊ต ทำหน้าที่เสริม Main Melody ให้ไพเราะขึ้น มักจะเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นประสานโน๊ตได้
  3. Bass : โน๊ตส่วนที่ต่ำที่สุด มีส่วนช่วยในการสร้างความเคลื่อนไหวของเพลง เสริมให้คอร์ดฟังกลมกลืน
    ส่วนใหญ่จะเป็นเบส หรือเครื่องดนตรีที่ให้เสียงต่ำ 
  4. Drum : เครื่องดนตรีประเภทตี ใช้สร้างและกำหนดจังหวะให้เพลง โดยทั่วไปมักจะเป็นกลอง
  5. Ornament : ส่วนตกแต่งอื่น ๆ ที่ช่วยเพิ่มลูกเล่น ความสวยงามต่าง ๆ อาจจะเป็นโน๊ตที่ไม่อยู่ในคอร์ดหลักก็ได้ เช่น ไลน์ประสานต่าง ๆ

ทีนี้ในการทำเพลง เราก็สามารถเลือกเครื่องดนตรีและรู้ว่าแต่ละเครื่องทำหน้าที่อะไรได้ระดับหนึ่ง ซึ่งใน DAW ส่วนใหญ่ก็มักจะมีเครื่องดนตรีต่าง ๆ ที่เป็นพื้นฐานและมีเหมือน ๆ กันในทุกโปรแกรม อย่างใน Bandlab ที่เป็นโปรแกรมฟรี ทุกคนก็สามารถใช้ทำเพลงจริง โดยแยกเสียงต่าง ๆ ที่มีอยู่สารพัดให้อยู่ใน 5 ประเภทนี้ได้ โดยขอแนะนำเริ่มต้นจาก

  1. 808s : เป็น synthesizer หรือเสียงสังเคราะห์ประเภทหนึ่งที่จำลองเสียงที่นิยมในยุค 80 โดยส่วนใหญ่จะทำหน้าที่เป็น Bass และ Kick ใน Drum แต่บางเสียงก็ใช้เป็น Ornament ได้ขึ้นอยู่กับการใช้
    โดยแต่ละเสียงก็จะมี Timbre ที่ให้คาแรคเตอร์เสียงแตกต่างกันแยกย่อยไปอีกมากมาย
    เช่น saturate bass / analog desk / chonky bass
  2. Brass : เป็นเครื่องเป่าทองเหลือง มีทั้งเครื่องที่ให้เสียงสูงและต่ำ พร้อมมีทั้งเสียงแข็ง นุ่ม สั้น ยาว หรือเป่าประสานเสียงพร้อมกัน ทำให้สามารถจัดให้อยู่ใน Main Melody / Accom. / Ornament / Bass ได้
    เช่น Trumpet ที่ให้เสียงสูง / Tuba ที่ให้เสียงต่ำ / Staccato-Legato ลักษณะลากเสียงสั้น-ยาว
  3. Drum Kits : ชุดกลองจำลอง อยู่ในพาร์ท Drum ทั้งหมด โดยส่วนใหญ่แต่ละตัวจะมีชื่อที่พอบอกใบ้ว่าเอาใช้เป็น Drum ในแนวเพลงไหน เช่น Ballad / Blues / Brush / Compton / Funk
  4. Drum Pads : เป็นกลองจากเสียงอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนใหญ่อยู่ในพาร์ท Drum แต่บางเสียงก็สามารถใช้เป็น Ornament ได้อยู่ที่การใช้ โดยมีตัวอย่างให้เลือกเช่น 606 / 808 / DNB / Dubstep
  5. Electric Basses : ตรงตามชื่อเลยคือเป็นเบส และใช้ในพาร์ท Bass มีหลากหลายเสียง เช่น
    Dub Bass / Bass Staccato-Legato / Funky Slap
  6. Guitars : เสียงกีตาร์ต่าง ๆ อยู่ได้หลากหลายพาร์ททั้ง Main Melody จากท่อนโซโล่ Accom. จากการตีคอร์ด หรือเป็น Ornament ก็ได้ มีเสียงหลากหลายแบบ เช่น Clean Guitar / Dirty Power Chord / Nylon / Overdriven Guitar / Ukulele
  7. Keyboards : เครื่องดนตรีที่มีลักษณะเป็นแป้นแบบเดียวกับคีย์บอร์ดทั้งหมด ใช้เป็น Main Melody / Accom. / Ornament / Bass ได้ มีตัวอย่างเสียง เช่น Grand Piano / Accordion / Harpsichord
  8. Leads : โดยส่วนมากจะเป็นเสียง synthesizer ที่มีความเด่นพุ่งออกมา มักใช้เป็น Main Melody ในโซโล่ หรือ Ornament ซึ่งมีเสียงสารพัดรูปแบบมาก อยู่ที่การดีไซน์เสียงสังเคราะห์ขึ้นมา
  9. Organs : เป็นคีย์บอร์ดประเภทหนึ่ง ที่มีเสียงอื่น ๆ เหมาะในการใช้ Accom. หรือ ใช้เป็น Main Melody(โซโล่) / Ornament / Bass ในบางดีไซน์ มีตัวอย่างเช่น Chorus Organ / Church Organ
  10. Pads : เป็นเสียง synthesizer ประเภทหนึ่ง เน้นเสียงลากยาว ให้ความรู้สึกเวิ้งว้าง ฟุ้ง ๆ มักไม่ได้ยินเสียงโน๊ตที่ชัดเจน จึงใช้เล่นเป็น Accom. หรือ Ornament บ้างได้ 
  11. Percussion : เป็นเครื่องดนตรีเครื่องเคาะอื่น ๆ นอกเหนือจาก Drum Kits ส่วนใหญ่อยู่ในพาร์ท Drum แต่ก็มีใช้เป็น Ornament หรือ Main Melody ได้ มีตัวอย่างเช่น Xylophone / Bell / Kalimba / Taiko
  12. Strings : เครื่องสายต่าง ๆ เช่น ไวโอลิน วิโอลา เชลโล่ ฮาร์ป ใช้ได้หลากหลายทั้ง Main Melody / Ornament / Bass หรือ Accom. ในกรณีเล่นประสานกัน ซึ่งก็มีหลากหลายเสียงตามเครื่องดนตรี หรือลักษณะการเล่น เช่น Cello Staccato-Legato / Full String Tremolo
  13. Synth Basses : เสียงเบสที่เป็นเสียงสังเคราะห์ ครอบคลุมย่านต่ำ มักอยู่ใน Bass มีสารพัดเสียงตามการดีไซน์เสียงสังเคราะห์ขึ้นมา
  14. Synth : เสียงสังเคราะห์รวม ๆ ไม่ได้แยกประเภทว่าเป็น Leads / Pads หรือ Synth Basses
    ซึ่งสามารถใช้งานได้หลากหลาย ครอบคลุมทั้ง 5 ประเภท ขึ้นอยู่กับลักษณะของเสียง Synth นั้น ๆ
  15. Voice : เป็นเสียงร้อง ซึ่งใน VSTi ทำหน้าที่เป็นเสียงประสานต่าง ๆ เช่น เสียงต่ำของผู้ชาย เสียงสูงของผู้ใหญ่ หรือเสียง Synth ในลักษณะเสียงประสาน จึงอยู่ได้หลากหลายพาร์ททั้ง Accom. / Main Melody / Ornament / Bass หรือ Drum ก็ได้ในกรณีทำเป็น Beatbox
  16. Wind : ย่อมาจาก Woodwind หรือเครื่องเป่าลมไม้ เช่น Clarinet / Flute / Bassoon ซึ่งทำหน้าที่ได้ไม่ต่างกับ Brass คือ Main Melody / Accom. / Ornament / Bass

นี่ก็เป็นพื้นฐานเครื่องดนตรีทั้งหมด ที่ในทุก DAW มีใกล้เคียงกัน ทำให้คนทำเพลงทุกระดับสามารถนำไปใช้ในการทำเพลงของตัวเองได้เลย นอกจากนี้ การเลือกใช้เครื่องดนตรีให้เหมาะสมยังสัมพันธ์ไปกับดีไซน์โน๊ตต่าง ๆ ให้สอดคล้องกัน เพื่อให้ได้เสียงที่กลมกลืนไพเราะด้วย ซึ่งถ้าใครสนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมในคอร์ส VCA201 VCA202 ซึ่งอยู่ในหลักสูตร The Real Producer


The Real Producer

REAL / DEEP / EXCLUSIVE

.

หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream

เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง

ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง

นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ

.

หลักสูตร The Real Producer

เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล

สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link

http://mkt.verycatsound.academy/mf2

——————

Contact

Line ID :

– เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy

– เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound

Tel. : 0856662425

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.