Jennie - Mantra

วิเคราะห์เพลง – Mantra Jennie

Share via:

Krissaka Tankritwong
วิเคราะห์เพลง Mantra – Jennie

เมื่อ Jennie ปล่อยผลงานเดี่ยวใหม่อย่าง Mantra เหล่าแฟนเพลงและนักฟังทั้งหลายต้องหันมาสนใจอีกครั้ง ซึ่งไม่ใช่เพียงชื่อเสียงที่โด่งดังเท่านั้น เพราะเพลงนี้ได้นำเสนอดนตรีในด้านใหม่ ๆ ภายใต้ความเรียงง่ายได้สะท้อนให้เห็นหลักการทำเพลงที่มีลูกเล่น และใส่มาได้อย่างแยบคาย บทความนี้จึงจะพาไปสำรวจว่าทำไม Mantra ถึงเป็นมากกว่าเพลงธรรมดา พร้อมเล่าถึงเสน่ห์และความลึกซึ้งที่ซ่อนอยู่ในเพลงและเป็นอีกเคล็ดลับที่ทำให้ Mantra สามารถสั่นสะเทือนโลกดนตรีและใจผู้ฟังได้
ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ อาจมีเรื่องทฤษฎีมากพอสมควร แนะนำให้ดูคลิปประกอบความเข้าใจ หรือฟังเพลง Mantra ไปด้วย โดยเริ่มต้นเรามาเน้นวิเคราะห์ Chord Progression และ Melody ของเพลง Mantra กันก่อน จากที่ค้นหาในหลาย ๆ ที่ รวมถึงแกะเพลงเองในบางส่วน พอบอกได้ว่าเพลง Mantra อยู่ในคีย์ Cm หรือใครอาจจะมองว่าเป็นคีย์ Eb ก็ได้ เพราะมีโน้ตเหมือนกัน แต่เหตุที่คิดว่าเป็นคีย์ Cm เพราะส่วนใหญ่ทั้งโน้ตและคอร์ดจะวนไปมาโดยมี Cm เป็นศูนย์กลาง 
Chord Progression ของ Mantra ส่วนใหญ่ทั้งเพลงจะวนอยู่กับสี่คอร์ด โดยจะค่อย ๆ เล่าที่มาของคอร์ด เริ่มต้นมาจากสี่คอร์ดนี้อย่าง Cm – Bb7 – Fm – Ab (i – VII7 – iv – VI) ถ้าดูจากสี่คอร์ดนี้ ก็อาจจะเห็นว่าเป็นรูปคอร์ดที่ดูเรียบง่าย ไม่หวือหวามาก แต่การเล่นคอร์ดในเพลง Mantra จะมีการ simplify หรือต่อยอดขึ้นไปอีก เราลองมาไล่ดูกันเป็นสเต็ป ๆ ดังนี้
i – VII7 – iv – VI // Cm – Bb7 – Fm – Ab จากคอร์ดเรียบง่ายตรงนี้เราสามารถคิดต่อให้เป็น
i – VII7 – IV7 – VI // Cm – Bb7 – F7 – Ab เปลี่ยนคอร์ดที่ 3 ให้เป็นคอร์ดเมเจอร์เซเว่น 
i – VII – IV7 – VI // Cm – Bb – F7 – Ab ตัดตัวเซเว่นออกในคอร์ดที่ 2
i – VII – IV – VI // Cm – Bb – F – Ab ตัดตัวเซเว่นออกในคอร์ดที่ 3
ถ้าใครลองดู Chord Progression ทั้ง 4 สเต็ปนี้ และลองเล่นตามไปทีละสเต็ป จะเห็นว่าจากเสียงที่เรียบง่าย จะเริ่มมีความอุ่นขึ้น จนได้เสียงที่ดูเท่ มีสไตล์ แต่ยังไม่จบเท่านี้ ในคอร์ดที่ 3 หรือคอร์ด F ยังมีการเล่นด้วยเบส A ด้วย หรือคอร์ด F/A ซึ่งถ้ามาเรียงเป็น Chord Progression จะเห็นว่า ทั้ง 4 คอร์ดจะมีการเดินไลน์เบสแบบไหลโน๊ตต่ำลง Cm – Cm7/Bb – F/A – Ab ซึ่งจะให้เสียงที่ใกล้เคียงกัน ฟังดูเนียนขึ้น นอกจากนี้ในบางท่อน ยังใช้ลูกเล่นเบสด้วยโน้ต C อย่างเดียวด้วย จะได้เป็น Cm – Cm7/C – F/C – Ab/C ซึ่งทั้งหมดนี้เริ่มต้นมาจาก Chord Progression ดั้งเดิมอย่าง i – VII7 – iv – VI // Cm – Bb7 – Fm – Ab และค่อย ๆ ขัดเกลา จัดวางเสียงต่าง ๆ มาเรื่อย ๆ 
ส่วน Melody จะขอยกมาเล่าในท่อนเริ่มมีเมโลดี้ร้อง(นาทีที่ 0.34) โดยเมลี้จะเน้นไปที่ตัวที่ 3 – 4 – 5 หรือโน้ต Eb – F – G ซึ่งมีความเรียบง่ายมาก ๆ แต่ยกมาเข้ากับเซ็ตสี่คอร์ดอย่าง Eb – Bb – F/A –  Ab ในเรื่อง Chord Progression นั้น คอร์ด Eb นั้นมีการเกลามาจากคอร์ด Cm ซึ่งทั้ง 2 คอร์ดเป็น Substitute มีโน๊ตที่สามารถทดแทนกันได้และให้เสียงที่ใกล้ ๆ กัน  รวมถึงคอร์ด F/A ช่วยให้เสียงมีมิติขึ้น และถ้ามาดูรวม ๆ ทั้ง 2 อย่างพร้อมกันจะเห็นว่า Melody ที่มีแค่ 3 ตัวนั้น สามารถอยู่บนสี่คอร์ดได้ กลายเป็นโน้ตทั้งตัวที่ 3 – 6 – 9 – 7 ของสี่คอร์ดนั้น ๆ ซึ่งมันมีความเท่ และลงตัวได้พอดี 
พร้อมกับไลน์ประสานที่วิ่งไหลผ่านทั้ง 4 คอร์ด เป็นโน้ตตัวที่ 5 – 1 – 9 – 7 ซึ่งล้วนเป็นโน้ตที่เท่ ให้ความรู้สึกของ Harmony ที่ผสานได้อย่างลงตัวทั้งเสียงสูง กลาง ต่ำ รวมถึงการเคลื่อนที่ของตัวโน๊ตที่มีความราบรื่น ไม่ติดขัดเลย ทั้งหมดนี้สะท้อนถึงหลักการ Four-Part Writing หรือการเรียบเรียงเสียงประสานสี่แนวด้วย
 อีกท่อนร้องของเพลง(นาทีที่ 1.07) จะมี Melody ที่น่าสนใจอย่าง F – Eb – C – F – G ซึ่งมาเล่นกับพาร์ทคอร์ด 4 คอร์ดอย่าง Cm – Cm7 – F/C – Ab/C ซึ่งโน้ตต่าง ๆ สามารถลงเป็นตำแหน่งโน๊ตที่น่าสนใจของแต่ละคอร์ดได้ทั้งหมด รวมถึงการใช้ Cm – Cm7 – F/C – Ab/C  ที่มีการใช้เบส C กับทั้ง 4 คอร์ด ยังเป็นการสร้างมิติของดนตรีด้วยเทคนิคแว้ม หรือ Pedal Tone คือ การสร้างดนตรีที่เล่นโน้ตเสียงต่ำตัวเดิมซ้ำ ๆ สร้างความรู้สึกตึงเครียดหรือความต่อเนื่องในดนตรี เพื่อเตรียมตัวสู่อีกท่อนหนึ่งที่กำลังจะตามมาได้ นอกจากนี้ Melody ก็มีความน่าสนใจ โดยเมื่อวิ่งผ่านคอร์ดแรก จะลงเป็นโน้ตตัวที่ 4 หรือ 11 ซึ่งจะใช้ยากในคอร์ดเมเจอร์ แต่เมื่ออยู่ในคอร์ดไมเนอร์จะมีความพอดี รวมถึงไลน์เบสในท่อนนี้ก็คิดมาโดยมีโน้ต C เป็นตัวเด่น สามารถสอดรับไปกับคอร์ดทั้ง 4 ที่มีการเล่น on C ได้สวยงาม
ส่วนท่อนต่อไป(นาทีที่ 1.24) ก็ยังคงใช้คอร์ดเซ็ตหลักเหมือนเดิม มี Chord Progression เป็น 1 – b7(7) – 4 – b6 แต่มีการปล่อยไลน์เบสออก ทำให้เล่นคอร์ดได้อิสระ สร้างความรู้สึกปลดปล่อยและไหลต่อเนื่องจากท่อนเมื่อกี๊ได้อยากราบรื่น แต่ก็ยังเพิ่มมิติด้วยไลน์ประสาน ที่แต่ละโน้ตมีการเล่นเป็นคู่กับตัวร้องหลัก โดยมีคู่ 3 เป็นหลัก รวมถึงยังพอดีกับคอร์ดด้วยโดยเป็นโน้ตตัวที่ 3 – 3 – 5 – 3 ของทั้ง 4 คอร์ด ทั้งหมดนี้สะท้อนการทำเพลงด้วยแนวคิด Four-part writing ได้ดีมาก 
ทั้งหมดที่เห็นมีการประสานเสียงกันอย่างลงตัว เริ่มต้นจากเพียง Chord Progression 4 คอร์ดแรกเท่านั้นเอง นอกจากนี้ในคอร์ด F/A ยังสามารถวิเคราะห์ได้ว่าเป็นคอร์ดที่นำมาจาก C Dorian ได้ โดยสามารถวิเคราะห์ได้จากเมโลดี้ทั้งหมดของเพลงที่อยู่ในคีย์ C minor แต่ว่าเขาไม่มีเมโลดี้ที่เล่นตั้ว A หรือ Ab เลย ซึ่งเดาได้ว่า เพลงคิดมาให้สามารถเข้ากับสเกล C Minor หรือจะเป็น C Dorian ก็ได้ ซึ่งจะต่างกันตรงตัวที่ 6 เป็น Ab หรือ A หรือถ้าเรามาดูที่คอร์ด จาก Chord Progression ที่เริ่มต้นมีตัว 7 และค่อย ๆ ขัดเกลา โดยตัดตัว 7 ออก เพราะอาจจะเปิดกว้างให้สามารถใช้โน้ตจาก C minor หรือ C Dorian ก็ได้ พอ Melody มันไม่ได้ล็อคตัว 6 ทำให้ทางเลือกคอร์ดมันใช้ได้มากขึ้น ในทาง Harmony ก็เลยเลือกได้ว่าจะเป็นแบบไหน มีอิสระมากขึ้น เลยเป็นการ Composition ที่ทั้งเท่และฉลาดคิด
นอกเหนือจากเพลง Mantra ยังมีเกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ อีกอย่าง โดยถ้าใครได้ฟังเพลงของค่าย YG มาก่อน จะเห็นว่าการทำเพลงจะไม่ค่อยมีความซับซ้อนทาง Harmony มากนัก หรือเรียกว่ามีพอประมาณ จะไปเน้นที่การเรียบเรียงมากกว่า แต่ในงานใหม่ ๆ ของสมาชิกใน Blackpink จะเริ่มออกจากกรอบ Branding ที่ YG สร้างไว้ ทั้ง Lisa Jennie หรือ Rose ก็จะมีเพลงที่ทั้งซับซ้อนทาง Harmony ขึ้น หรือซับซ้อนน้อยลง แต่จะเห็นได้ว่ามีการเลือกใช้กลิ่นทางดนตรีที่แตกต่างจากเดิม ซึ่งไม่ใช่แค่สมาชิก Blackpink เท่านั้น แต่ในยุคนี้ ทุกคนต่างสร้างเพลงที่มีกลิ่นอายที่เป็นเอกลักษณ์ ให้ผลงานโดดเด่นกว่างานชิ้นอื่น ๆ 
ฉะนั้นในการทำเพลงให้ได้มีคุณภาพในยุคนี้จำเป็นต้องใช้ความรู้ทางดนตรีที่มากกว่าเพลงตลาดในยุคก่อน ๆ โดยเฉพาะเรื่อง Harmony และ Mode ที่ควรจะเข้าใจอย่างลึกซึ้ง อย่างเพลง Mantra ถ้าทำได้ไม่ดีก็จะเป็นแค่เพลงธรรมดา ๆ ทั่วไป แต่ด้วยความรู้เรื่อง Harmony ทำให้สามารถเปลี่ยนโน้ตเพียงนิดเดียว ก็สร้างความรู้สึกแปลกใหม่ ไม่ซ้ำใคร และเท่ขึ้นไปอีกขั้นได้ ซึ่งถ้าใครสนใจในเรื่อง Harmony สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่คอร์ส VCA301 VCA302 Basic Harmony และ VCA401 VCA402 Jazz Harmony ในหลักสูตร The Real Producer

The Real Producer
REAL / DEEP / EXCLUSIVE
หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream
เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง
นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ

หลักสูตร The Real Producer
เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล
สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link
http://mkt.verycatsound.academy/mf2
——————
Contact
Line ID :
– เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
– เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound
Tel. : 0856662425

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.