Manami Matsumae นักแต่ง เพลงประกอบเกมส์ Rockman ในตำนาน!

Share via:

Krissaka Tankritwong

Manami Matsumae นักแต่ง เพลงประกอบ Rockman ในตำนาน!

จิ้วววๆๆๆๆ…. เสียง Rockman ตอนตาย กระจายกลายเป็นพลังงานแยกเป็นเสี่ยงๆ ใครยังจำเสียงนี้กันได้ไหม Manami คือผู้ที่ได้ให้กำเนิด Sound ของ Rockman ที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของ Sound ใน Video Game ทั้งหมด ทั้ง Sound Effect ตอนตาย , ตอนเก็บ 1-up , จิงเกิ้ลสั้นๆ หลังจากเลือก Stage , เสียงเปิดประตูเลื่อนตอนเข้าห้องบอส ทั้งหมดนี้มันอาจจะ Simple แต่มันอยู่มาตลอดทั้งซีรี่ย์ เรียกได้ว่าเป็น Composer ในตำนานที่ได้สร้างแบบแผนให้กับ วงการ เพลงประกอบเกมส์ คนหนึ่ง

       ส่วนตัวผมนั้นเป็นแฟนตัวยงที่ชื่นชอบเกมส์ซีรี่ย์นี้มาก และยอมรับเลยว่าได้รับอิทธิพลจากดนตรีของ Rockman อยู่ในงานบางส่วน ทั้งกับเพลงส่วนตัว และบางอย่างก็นำมาใช้ในการทำ เพลงประกอบเกมส์ และ เพลงประกอบโฆษณา อยู่หลายชิ้น เลยมาชวนไปตามศึกษางานของเจ๊แก โพสต์นี้เราขอนำเสนอ เรื่องราวของ Composer สาว(ใหญ่) คนนี้กัน

ประวัติโดยย่อ

 Manami Matsumae
เกิด : 25 ธันวาคม 1964 , โตเกียว

Manami เคยทำงานในชื่อกลุ่ม Alph Lyla (เป็นกลุ่มนักดนตรี กับ Sound Designer ของ Capcom) ผลงานที่โดดเด่นคือ Mega Man (ที่เรารู้จักกันดี ในชื่อ Rock Man นั่นเอง) , Magic Sword , Mercs , Dragon Quest Sword และ Dynasty Wars และเธอยังได้ทำ Sound Effect ให้กับ Mega Man 2 ด้วย หลังจากความสำเร็จของ Rockman ที่ได้สร้างตำนานบทหนึ่งให้กับวงการเพลงเกมส์นั้น เธอได้ลาออกจาก Capcom และเริ่มชีวิตการเป็นนักแต่งเพลง freelance เต็มตัว และยังมีผลงานในวงการเพลงประกอบเกมส์เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ในภายหลังเธอแต่งงานกับนักดนตรีชื่อ Kimitaka Matsumae

นี่คือ ส่วนหนึ่งของบทสัมภาษณ์ ของ จากเวบ koopa.tv

“ฉาก Guts Man นั้นยากจริงๆ ฉันตกเหวตายตลอดเลย รู้ไว้แค่สองคนนะว่า จริงๆแล้วฉันยังไม่เคยเล่น Mega Man จบเลย (หัวเราะ)”
“ฉันเกลียดด่าน Guts Man กับ Ice Man มาก เพราะมันจะมีพื้นที่เลื่อนได้ หายแว๊บได้ โดดไม่ผ่าน ตกตายทุกที เกลียดที่มันยากมาก (หัวเราะ)”
”ที่จริงแล้ว ฉันเคยเล่นมันจบครั้งหนึ่งนะ คือตอนที่ทำเกมส์ใช่ไหม คุณต้องมีการตรวจสอบดนตรีกับ SFX ระหว่างเล่น ว่ามัน work ไหม แต่ฉันตายตลอดที่ฉาก Guts Man ก็เลยร้องไห้ไปขอให้โปรแกรมเม่อช่วยทำ ROM เกมส์ เวอร์ชั่นพิเศษ ที่ตกลาวาแล้วจะไม่ตายให้หน่อย (หัวเราะ) เพื่อเอาไว้ใช้เล่นเกมส์ให้จบ จะได้เช็คงานได้”
manami matsumae

“ทำเมโลดี้ให้เรียบง่ายเข้าไว้” เจ๊ Manami Matsumae กล่าว

คุณมาเริ่มทำดนตรีได้อย่างไร?

“ตอนเด็กๆ 4-5 ขวบ เคยฟังคุณพ่อเล่นกีตาร์ acoustic ทำให้ฉันเริ่มเล่นออร์แกนบ้าง พ่อฉันคงรู้สึกทึ่งที่เล่นโน๊ตได้ถูกหมดเลย หรือเห็นแววบางอย่างในตัว เลยส่งไปเรียนเปียโน”
“หลังจากนั้นก็เข้าวิทยาลัย โดยที่เมื่อก่อนตอนสมัยมัธยมฉันไม่เคยเล่นวงดนตรีแบบคนอื่นเลยนะ มาตอนเรียนปี 4 ก็คิดอยู่ว่า จบไปจะทำอะไร ตอนนั้นก็คิดได้แต่ว่าคงจะเป็นครูสอนเปียโน แต่แล้วจู่ๆวันหนึ่งก็ได้เห็นประกาศหาคนทำงานของ Capcom ที่มาติดที่มหาวิทยาลัย หาคนทำดนตรี”
“ตอนนั้นฉันรู้จักเกมส์ อย่างพวก Mario กับ Dragon Quest และรู้จักชื่อของ Capcom อยู่บ้าง ว่าเป็นบริษัทเกมส์ ก็สมัครไปแบบกลัวๆกล้าๆ ว่าจะเป็นยังไงกันแน่ คิดว่าถ้าไม่ได้ก็คงจะไปเป็นครูสอนเปียโน แต่สรุปเค้าก็จ้าง”
“ก่อนหน้านั้น ฉันเรียนการประพันธ์ดนตรีจาก class ที่มหาวิทยาลัย แต่งพวกเพลงคลาสสิคส่งอาจารย์ตอนสอบเฉยๆนี่แหละ หลังได้งานที่ Capcom ฉันก็ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานกับการแต่งเพลงพวกนั้นอีกเลย (หัวเราะ)”

สำหรับคนที่ศึกษาดนตรีคลาสสิค และถูกฝึกฝนมาแบบมืออาชีพ คุณพบปัญหาในข้อจำกัดการทำงานกับเครื่องเกมส์ NES (Nintendo Entertainment System หรือ Famicom ที่คนไทยคุ้นหู) บ้างหรือไม่ กับการที่ต้องทำงานกับ channels เสียงที่ถูกจำกัดแค่ 3

“เมื่อก่อนฉันเคยศึกษาเพลงของ Bach’s มาก่อน คือ The Well-Tempered Calvier ที่ใครๆแสนเกลียด (หัวเราะ) ซึ่งเพลงนั้น ก็ใช้เสียงแค่ 3-4 channels เหมือนกัน แต่ก็ยังสามารถสร้างความประทับใจให้ผู้ฟังได้ด้วยความสวยงามของคอร์ด ก็เลยไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องนี้ แต่ที่มีปัญหาคือ ฉันเพิ่งเคยได้ทำงานกับพวกดนตรีที่เน้นเครื่องเคาะจังหวะ (กลอง) เป็นครั้งแรก ก็เลยต้องศึกษาเพิ่มมากขึ้นโดยการฟังเพลง pop ในช่วงนั้นเยอะๆ (จำพวก Propaganda, Phil Collins Mezzoforte , ฯลฯ)

เจ๊มานามิ ในงาน BitSummit ที่ Kyoto มหกรรมรวมค่ายเกมส์อินดี้ญี่ปุ่น

เจ๊มานามิ ในงาน BitSummit ที่ Kyoto มหกรรมรวมค่ายเกมส์อินดี้ญี่ปุ่น

ช่วงนั้นเพลงที่ชอบที่สุดคือเพลงไหน?

“คงเป็นฉาก Cutman กับ Ending นะ ชอบ Cutman เพราะว่าเป็นเพลงแรกที่ฉันแต่งผ่าน และ Ending ชอบเพราะ มันได้ผ่อนคลายจากเพลงอื่นที่เป็นเพลงเร็วหมดเลย”
Manami ถูกเรียกให้มาร่วมโปรเจคกับ Capcom อีกครั้ง ใน Megaman 10 ที่รวบรวม Composer ทุกคนจากแต่ละภาค มาแต่งเพลงให้กับบอสแต่ละตัว เธอได้ Nitro Man
“ตอนได้โจทย์มา ฉันเห็นเพียง Character design ของ Nitro Man ยังไม่เห็น Stage design เลย มีเพียง image ของ Nitro Man ในหัว ได้ยินใครบอกให้ ทำเพลงที่เร็วมากๆ สิ ก็เลยทำเลย เอาแบบนั้นแหละ ใช้ไอเดียที่แล่นเข้ามาชั่วแว๊บเดียวนั้น น่าจะทำไม่ถึงวันเอง”
“ทุกวันนี้ฉันไม่ได้มีงานทำเพลงเกมส์มากนัก พอเป็นนักแต่งเพลง freelance มันก็มีอะไรต้องทำมากมาย รวมถึงต้องสร้างโปรเจคของตัวเองด้วย นักแต่งเพลงรุ่นใหม่ๆเก่งๆเยอะแยะที่เข้ามาในวงการ ฉันคิดว่าพวกเขาเหมาะสมกับงานมากกว่าฉันนะ แต่ถ้ามีใครเรียกร้อง ฉัันก็จะทำแหละ”
 
ล่าสุดเธอถูกชักชวนกลับมาร่วมทำ Project ของ Izafune ผู้สร้าง Rockman อีกครั้ง ใน Mighty No.9 โปรเจคที่ทุกคนรู้กันว่า มันคือการกลับมาคืนชีพอีกครั้งของ Rockman โดยได้รวมเอาทีมผู้สร้างดั้งเดิมมาร่วมงานกันทั้งหมด และขอบริจาคทุนในเวบ Kickstarter เนื่องจากว่า แบรนด์ Rockman ดั้งเดิมนั้นเป็นลิขสิทธิ์ของ บ. Capcom ที่ Izafune ลาออกไปแล้ว ซึ่งตัวเขาเองแยกตัวออกมาทำงานด้วยตัวเองและสร้างทีมขึ้นมาเองเนื่องจากไม่ สะดวกใจในระบบการทำงานที่ไม่เป็นอิสระภายในบริษัท
 
“ตอนทำงานกับ อิซาฟุเนะ เขาจะส่งภาพ art และ character design มาให้ เพื่อให้ฉันได้จินตนาการดนตรีออก ฉันคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ดนตรีควรทำ คือการสร้างสรรค์บรรยากาศที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ art ของตัวเกมส์”
เพลงประกอบเกมส์ Mighty No.9

เพลงประกอบเกมส์ Mighty No.9 โปรเจคที่ใครๆก็รู้กันว่า เป็นการฟื้นคืนชีพของ Rockman

“ตั้งแต่สมัยทำงานอยู่กับ Capcom มีคนเคยย้ำเตือนว่า melody ของเพลงประกอบเกมส์ควรจะ Simple เพื่อให้จำได้ง่ายที่สุด ผ่านมา 25 ปี ฉันยังจำมันได้อยู่ตลอดเลย ทุกครั้งที่ทำงาน ฉันต้องคอยย้ำเตือนตัวเองว่า ทำให้ Simple เข้าไว้.. ทำให้ Simple เข้าไว้…”

นอกจากการทำเพลงเกมส์แล้ว คุณคิดถึงการทำอัลบัมเดี่ยวบ้างไหม? ทำสิ่งที่เป็น “Manami” อย่างเดียว โดยที่ไม่ต้องเอาไปผูกกับสิ่งอื่นเลย

“ฉันดีใจมากเลยที่คุณรู้สึกว่า ฉันคู่ควรกับสิ่งนั้น (หัวเราะ) ฉันรู้สึกเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้ยินอย่างนั้น ไม่แน่สักวันหนึ่ง คุณอาจจะได้ฟัง ฉันจะทุ่มเททั้งหัวใจและจิตวิญญาณกับมันเลยทีเดียว (หัวเราะ)”
 
ซอฟท์แวร์ที่มานามิใช้ทำเพลงปัจจุบันคือ ใช้ Cubase เป็น Sequencer และใช้ Sound sources คือ  HALion4, Kontakt4, Fantom-XR
 
ฟังบทสัมภาษณ์ของเธอเพิ่มเติมได้ที่ link youtube

ที่มา

http://capcom.wikia.com/wiki/Manami_Matsumae

http://www.kickstarter.com/projects/yachtclubgames/shovel-knight/posts/445878

http://koopa.tv/a-conversation-with-manami-matsumae/

http://en.wikipedia.org/wiki/Manami_Matsumae

list รายชื่อผลงานของเธอที่ผ่านมา•    Ide Yosuke Meijin no Jissen Mahjong (1987)[2] – with Harumi Fujita
•    Mega Man (1987)
•    F1 Dream (1988)
•    1943 Kai: Midway Kaisen (1988) – with many others
•    Son Son II (1989)
•    Dynasty Wars (1989)
•    U.N. Squadron (1989)
•    Mercs (1990)
•    Magic Sword (1990)
•    Carrier Air Wing (1990)
•    Looney Tunes (Game Boy)
•    Quiz Tonosama no Yabou (1991)
•    Best Keiba Derby Stallion (1991)
•    Batman: Return of the Joker (1992, Game Boy)
•    Dodge Danpei (1992, Famicom) – with Hiroshi Tsukamoto
•    Othello World (1992) – with Kimitaka Matsumae
•    Esper Dream 2 (1992) – with Masaki Izutani
•    Derby Stallion Zengokuban (1992)
•    Trip World (1992)
•    Looney Tunes (1992, Game Boy)
•    Dodge Danpei 2 (1993, Famicom) – with Hiroshi Tsukamoto
•    Daffy Duck: The Marvin Missions (1994, Game Boy)
•    Derby Stallion II (1994)
•    Tenchi o Kurau (1994)
•    Another Bible (1995)
•    Derby Stallion III (1995)
•    Adventures of Lolo (1995, Game Boy)
•    Derby Stallion 96 (1996)
•    G.O.D: Mezameyo to Yobu Koe ga Kikoe (1996) – with Kimitaka Matsumae
•    Pilot Kids (1998)
•    Derby Stallion 98 (1998)
•    Derby Stallion ’99 (1999)
•    Derby Stallion Advance (2002)
•    Dragon Quest Swords: The Masked Queen and the Tower of Mirrors (2007)
•    Mega Man 10 (2010) – with various others
•    Shovel Knight (2013)[3]
•    Mighty No. 9 (2015) – with various others

 

ติดตามเรื่องราว ซาวด์ดนตรี วิถีแมวๆ ได้ที่นี่ VERYCATSOUND.COM

Comments (157)

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.