Mix & Match แบบ Shibuya-kei นั้น ก๊อบ… มั้ย?

Share via:

Krissaka Tankritwong

ลอกเลียนแบบ หรือได้รับอิทธิพล?

    แนวดนตรีแบบ Shibuya-Kei นั้นมีเอกลักษณ์อย่างหนึ่งคือการ mix & match ดนตรีจากต่างพื้นที่ ต่างแนวทาง ซึ่งบ่อยครั้งมีการนำบางส่วนจากดนตรีเดิมที่มีอยู่แล้วมาตีความผสมสร้างใหม่ อย่าง P5 และ Cornelius นั้นได้ถูกพูดถึงบ่อยๆว่า อยู่บนเส้นบางๆระหว่าง คำว่า ได้รับอิทธิพล และ การขโมย ซึ่งส่วนผสมที่เกิดขึ้น 
บางคนก็ชอบในเสน่ห์เฉพาะตัวของมัน แต่ปัญหาต้องถูกถามเสมอว่า การนำส่วนหนึ่งของเพลงคนอื่นมาทำใหม่ ถือเป็นความสร้างสรรค์หรือไม่?

    การผสมผสานของศิลปะ หรือ การกระทำที่สร้างงานใหม่โดยใช้ไอเดียบางอย่างจากงานเก่าของคนอื่นๆมาปรับเปลี่ยน มันเป็นศิลปะรูปแบบหนึ่งที่ได้รับการยอมรับ หรือแม้แต่ การล้อเลียน ก็เป็นความสร้างสรรค์ชนิดหนึ่ง อย่างไรก็ตาม คนส่วนมากยังให้ค่ากับความเป็นต้นตำรับมากกว่า

    เมื่อนำบางส่วนจากเพลงเก่ามาทำใหม่ พวกศิลปิน Shibuya-kei จะนำมันไปพัฒนาต่ออีกก้าวหนึ่ง อาทิเช่น ขโมยเมโลดี้บางส่วน แต่เปลี่ยนการเรียบเรียง และมีเทคนิคของโปรดักชั่นที่ดีขึ้น ตัวอย่างที่ชัดเจน เช่น การ sampling เสียงในเพลง hiphop ต่างๆ หรือในเพลงป๊อปๆ อย่างของ Gary Lewis & the Playboys เพลง Green Grass ที่ Pizzicato Five นำไปทำใหม่เป็นเพลง Baby Portable Rock ทั้งสองเพลงเป็นเพลงที่เยี่ยมยอดอย่างไม่มีข้อสงสัย แต่เพลงหลังติดหนี้เพลงแรกอยู่

    เราจะไม่ขอพูดถึงประเด็นว่า ผลงาน Shibuya-kei เป็นการก๊อปปี้ลอกเลียนหรือไม่ 
งานที่ดีควรถูกตัดสินจากหลายปัจจัย ทั้งจากจุดประสงค์ของผู้สร้าง,ความฉลาด และคุณภาพของส่วนประกอบที่นำมาประกอบกันใหม่ บางครั้งงานใหม่นั้นดีกว่าของดั้งเดิมซะอีก อย่างเพลง The Micro Disneycal World Tour ของ Cornelius ( ตัวอย่างเพลง http://youtu.be/44yOWucIlQw) นั้นสุดยอดกว่าเพลงต้นฉบับมาก

    ในเวลาต่อมา มีกฎหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ที่เริ่มตื่นตัวขึ้นมา มีคำถามทางจริยธรรมที่ตอบลำบากเกี่ยวกับการหยิบยืมสไตล์และเมโลดี้มาใช้ ในโฆษณาทีวีของ Nissan ในเวลานั้นใช้เพลง Young,alive,in Love
 เป็นดนตรีประกอบ โดยที่ส่วนอินโทรของเพลงนั้น Oyamada กับ Ozawa ขโมยมาจาก soundtrack ของหนัง Italy เรื่องหนึ่ง George Harrison ก็เคยมีกรณีขโมยเมโลดี้ในเพลง He’s So Fine โดยไม่เจตนา  แล้วข้อสรุปคืออะไร? ถ้าเป็นกรณีที่ขโมยมาโดยไม่ได้เจตนา จะผิดหรือไม่? หรือเป็นแค่การ tribute?

    ถ้าการที่นำส่วนใดส่วนหนึ่งของเพลงเก่ามาทำใหม่ ใช้ขนาดไหนถึงจะเรียกว่าก๊อบ ถ้าเมโลดี้ไม่เหมือนถือว่าก๊อบ มั้ย? ถ้าเมโลดี้เหมือนแต่องค์ประกอบดนตรีต่างๆเปลี่ยนหมด ถือว่าก๊อบ มั้ย? แล้วการที่เพลงไม่เหมือน แต่รูปลักษณ์ กับ mv และท่าเต้น เหมือน นี่ถือว่าก๊อบ มั้ย? เป็นคำถามที่ต้องใช้วิจารณาที่แต่ละคนมีไม่เท่ากันตัดสินกันเอาเอง..


Gary Lewis & the Playboys – Green Grass (เพลงเจ้าปัญหาที่ว่าเป็นฉบับ)


Pizzicato Five – Baby Portable Rock (เหมือนมั้ย? ลองฟังกันดู)

 

ต้องเหมือนขนาดไหน อะไรเหมือนบ้าง ถึงจะถือว่า ก๊อบ?

ต้องเหมือนขนาดไหน อะไรเหมือนบ้าง ถึงจะถือว่า ก๊อบ?

 

(เป็นบทความที่แปลมาเรียบเรียงใหม่ และใส่มุมมองส่วนตัวของผมเข้าไปบางส่วน ผู้เขียนบทความต้นฉบับคือ Marxy จากเวบ neojaponisme.com เขากล่าวว่า สามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับ การขโมยในงานของ Shibuya-kei จำนวนมาก ได้ตาม Shibuya-kei reference guides ทั่วไปตามท้องตลาด )

(วงเล็บอีกที… ที่ไหนเหรอ? ผมอยู่ที่ไทย.. ไม่เคยเห็นแม้แต่เศษเงา…)

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.