Music Producer Composer

“Music Producer กับ Composer ต่างกันยังไง?”

Share via:

Krissaka Tankritwong
https://youtu.be/spjxK80aet8
Music Producer กับ Composer ต่างกันยังไง?
เชื่อว่าหลายคนสับสนระหว่างคำว่า Music Producer กับ Music Composer ว่าทั้งสองคำนี้แตกต่างกันอย่างไร ยิ่งในปัจจุบัน การทำเพลงเป็นเรื่องที่เข้าถึงง่าย ใคร ๆ ก็เริ่มทำได้ ทำให้มีคำเรียกอาชีพดนตรีต่าง ๆ อีกมากมายด้วยซ้ำ วันนี้ Verycat จะมาไขขอสงสัยให้รู้กัน โดยขอโฟกัสที่คำว่า Music Producer กับ Music Composer ครับ
ในกระบวนการทำเพลง ไม่ว่าจะที่ไหนก็ตาม มีคำว่า Music Producer กับ Music Composer อยู่จริง แต่ทั้ง 2 ทำหน้าที่ต่างกัน

Music Composer นั้นหมายถึงผู้ประพันธ์ โดยคำว่า Composer มาจากคำว่า Composition ซึ่งหมายถึงการประพันธ์ แต่ในที่นี้จะเป็นเฉพาะในส่วนทำนองดนตรีเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับเนนื้อเพลง ฉะนั้น ถ้าพูดถึง Composer หรือ Composition จะเป็นอันเข้าใจกันว่าหมายถึงการประพันธ์ทำนองดนตรี ตัวอย่างเช่น Beethoven หรือ Mozart ที่ประพันธ์เพลงด้วยเปียโน เขียนโน๊ตต่าง ๆ ขึ้นมา และนำไปให้วงออเคสตร้าเล่นอีกทีหนึ่ง

ซึ่งขออธิบายเสริมเพิ่มเติมด้วยว่า ตั้งแต่ยุคแจ๊สเป็นต้นมา จะเริ่มนิยมเอาเพลงที่ประพันธ์ไว้แล้ว มาทำใหม่เป็นเวอร์ชั่นต่าง ๆ มากขึ้น โดยเป็นการเพิ่มเสริมเติมแต่งไลน์อื่น ๆ แต่ยังคงไลน์เมโลดี้หลักไว้ ในกรณีแบบนี้จะหมายถึงการเอาเพลงมาเรียบเรียงหรือ Arrange ใหม่ ซึ่งจะนำไปสู่อีกคำก็คือ Music Arranger แต่ให้เข้าใจว่าถ้าพูดถึงแค่คำว่า Music Composer โดยไม่ได้มีการแยกย่อยไปอีก จะหมายรวมการ Arrange เข้าไปด้วย เพราะถือเป็นพาร์ทดนตรี ซึ่งเป็นงานหลักของ Music Composer

Music Producer จะมีความหมายที่กว้างกว่า Music Composer เพราะหมายถึงผู้ควบคุมการผลิตดนตรี คล้าย ๆ กับ Film Producer หรือผู้ควบคุมการผลิตภาพยนตร์ ถ้าพูดง่าย ๆ คือ เราได้รับจ้างให้ทำเพลงและได้เงินทุนมา เราต้องทำยังไงก็ได้ในการบริหารจัดการเงิน เพื่อเอาไปใช้ในการทำเพลงจนออกมาสำเร็จ ซึ่งจะเป็นการทำเองก็ได้ หรือจ้างคนอื่นทำต่อก็ได้

ความต่างระหว่าง Producer ในทางดนตรีกับภาพยนตร์คือ คนที่เป็น Music Producer ส่วนใหญ่จะมีความรู้ดนตรีที่เชี่ยวชาญ หรือทำแทบทุกกระบวนการในการทำเพลงได้เลย ทั้งการ Compose Mixing Mastering แต่อาจจะเชี่ยวชาญมากน้อยตามความถนัดของแต่ละคน

นอกจากนี้ Music Producer จะพ่วงงานบริหารจัดการเข้าไปด้วย เช่น การนัดลูกค้า การหาเสียงนักร้อง หาคนเล่นดนตรี หาคนทำ Mixing Mastering ซึ่งก็ต้องเลือกให้เหมาะสมกับเงินทุนที่มี และคุณภาพของงานที่จะต้องตรงโจทย์กับบรีฟของลูกค้าด้วย ซึ่งเมื่อจบกระบวนการ บวกลบคูณหารแล้วเหลือเงินเท่าไหร่ถึงเป็นกำไรของ Music Producer

สรุปแล้วทั้ง 2 คำมีความหมายและหน้าที่ที่แตกต่างกัน ซึ่งในประเทศที่มีอุตสาหกรรมดนตรีขนาดใหญ่ ก็จะมีการแบ่ง 2 หน้าที่นี้อย่างชัดเจนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นแค่ Music Composer ที่เน้นทำพาร์ทดนตรี หรือ Music Producer ที่ควบคุมการผลิต หรือจะทำเพลงเองก็ได้

แต่ว่าในประเทศไทยที่อุตสาหกรรมดนตรีไม่ได้มีขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่การทำเพลงเริ่มง่ายขึ้นด้วยการมีคอมพิวเตอร์ก็ทำได้แล้ว ทั้งสองคำเริ่มใช้เรียกรวม ๆ กัน เพราะแทบไม่สามารถหางาน Music Composer อย่างเดียวได้แล้ว ส่วนใหญ่ในการจ้างทำเพลงก็จะจ้างครบจบกระบวนการ จึงมักมี Music Producer หรือหากมาจากสายทำ Compose อย่างเดียว ก็จะเริ่มทำบางอย่างที่เกินหน้าที่กว่าการทำดนตรีอย่างเดียวแล้ว 
ฉะนั้น หากอยากเป็นนักทำเพลงในไทย ก็มีแนวโน้มที่ต้องพัฒนาการบริหารจัดการ ควบคุมการผลิตด้วย ซึ่งใครสนใจในการเรียนทำเพลงแบบรู้ลึกรู้จริงเพื่อจะเป็น Music Producer ในอนาคต สามารถติดตามข้อมูลได้ในหลักสูตร The Real Producer หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนครับ

The Real Producer
REAL / DEEP / EXCLUSIVE
หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream
เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง
นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ

หลักสูตร The Real Producer
เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล
สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link
http://mkt.verycatsound.academy/mf2
——————
Contact
Line ID :
– เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
– เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound
Tel. : 0856662425

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.