มี Scale หลายแบบ ใช้งานยังไง
หลายคนน่าจะเคยเป็น แต่งเพลงแล้วติดแต่สำเนียงเดิม ๆ ไปไม่ถึงไหนซักที สาเหตุอาจจะอยู่ที่ Scale ครับ เพราะแต่ละ Scale ของดนตรี ให้โทนและอารมณ์เพลงต่างกัน แค่เปลี่ยน Scale ก็เปลี่ยนไปทันทีครับ แล้วมันมี Scale แบบไหนบ้างล่ะ วันนี้ Verycat จะพาทุกคนไปรู้จักพร้อม ๆ กัน จะมี Scale อะไรบ้าง ไปดูกันครับ
บางคนเคยได้ยินคำว่า Scale บ่อย ๆ อธิบายง่าย ๆ คือโน้ตที่เราเอามาจัดเรียงกันครับ อย่างที่รู้กันว่าโน้ตดนตรีมี 12 ตัว แต่ถ้าเล่นทั้งหมดเลย มันจะมีความงง ๆ ดูไม่เป็นเพลงที่เพราะซักเท่าไหร่ เขาเลยมีการคิดค้นว่าเอาโน้ตตัวไหนมาใช้ มาเรียงกันแล้วมันไพเราะบ้าง ถ้าใครมีเปียโนที่บ้านก็ลองดูที่ลิ่มขาวได้เลยครับ ถ้าเราเล่นแต่ลิ่มขาวทั้งหมด ก็จะมีโอกาสสร้างเพลงที่ไพเราะไดง่าย เพราะแต่ละเสียงนั้นเข้ากันได้ง่าย แบบนี้คือ major scale ครับ
Major scale เป็นพื้นฐานของสเกลที่อยากแนะนำเลย เพลงส่วนใหญ่บนโลกก็อยู่บน major scale ถ้าเราคล่องสเกลนี้ จะทำให้เราสามารถเล่นเพลงส่วนใหญ่ได้ และแต่งเพลงได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งถ้าใครเพิ่งเริ่มต้นแต่งเพลง แนะนำให้พยายามแต่งเพลงจากโน้ต 7 ตัวนี้ให้เพราะให้ได้ก่อน โดยเริ่มจาก C major scale และอย่าลืมใส่คอร์ดลงไปด้วย
ถ้าเราคล่องแล้วให้ลองขยับเป็นคีย์อื่นด้วย โดยสำเนียงมันจะยังคงเดิมเพราะยังเป็น major scale อยู่ แต่มันคือการเริ่มและจบด้วยโน้ตตัวอื่น ๆ ซึ่งถ้าเราจำทุกคีย์ได้หมด ก็จะทำเพลงได้อีกเยอะเช่นกัน ลักษณะนี้ศัพท์เทคนิคเราจะเรียกว่าการ transpose สมมุติถ้าเราเล่นหรือแต่งเพลงในคีย์ C มีรูปแบบการดีไซน์คอร์ดและเมโลดี้แบบนี้ เราสามารถยกทั้งแผงนี้ ไปเล่นแบบเดิมแต่อยู่บนคีย์อื่นได้เลย
นี่เป็นพื้นฐานที่อยากแนะนำครับ แต่ถ้าใครแต่งเพลงด้วย major scale ไปถึงจุดหนึ่ง จะเริ่มรู้สึกว่าเริ่มเอียนกับสำเนียงนี้ และอยากเทิร์นโปรขึ้นไปอีก ก็ยังมีสเกลอื่น ๆ ให้ศึกษาอีกครับ มาดูกันต่อได้เลย
ถ้ามี major scale ก็ต้องมีอีกสเกลที่ตรงข้ามกันก็คือ minor scale ครับ สเกลนี้จะมีติดแฟลตอยู่ 3 ตัว คือตัวที่ 3 6 7 สำเนียงที่ได้ก็จะมีความหม่อ ๆ กว่า major scale
จาก minor scale ถ้าเรากลับมาติดชาร์ปตัวที่ 7 จะกลายเป็น harmonic minor ซึ่งแค่ตัวเดียวที่เปลี่ยนมานี้ ก็จะให้ความรู้สึกลึกลับปนเข้าไปด้วย
นี่ก็เป็นสเกลที่พาเราเทิร์นโปรขึ้นมาหน่อย แต่ก็เช่นเดียวกับ major scale ที่เราต้องฝึกให้ครบทุกคีย์เช่นกันครับ แต่ถ้าใครยังรู้สึกว่าสเกลพวกนี้ยังไม่ใช้สำเนียงที่ต้องการ มาดูกันต่อครับ
สเกลที่อยากแนะนำต่อก็คือ minor blue และ major blue เป็นสเกลที่มีโน้ตแค่ 6 ตัว ให้ให้กลิ่นความเป็นแจ๊สหน่อย ๆ แต่ minor ก็จะหม่น ๆ ส่วน major ก็จะมีความสดใสขึ้นมานิดนึง
Pentatonic เป็นอีกสเกลที่บ้านเราน่าจะคุ้นเคย เพราะใช้ในเพลงไทยเดิม ตัวอย่างที่ชัดเจนก็เพลงค้างคาวกินกล้วย เป็นต้น หรือแม้แต่ในเพลงไทยปัจจุบัน ก็เอาลูกเล่นนี้มาใช้ในการคิดเมโลดี้เยอะครับ และก็มีทั้ง major และ minor เช่นเดียวกัน โดยของไทยจะคุ้นไปทาง major มากกว่า แต่ในทาง minor ก็จะให้ความรู้สึกคล้าย ๆ กับหลาย ๆ เพลงในความเอเชีย อารมณ์เหมือนเป็นวัฒนธรรมร่วมที่ถ้าได้ฟังอาจจะพูดได้กลาย ๆ ว่าเป็นเพลงเอเชีย แต่ทั้งนี้ก็อยู่ที่การเลือกใช้คอร์ดอีกทีด้วย ที่สามารถแยกว่าเป็นเพลงประเทศไหนครับ
ต่อไปก็จะเป็นสเกลขั้นสูงขึ้นมาหน่อย แต่สมัยนี้ก็มีเอามาใช้แล้ว อย่างเพลง blackpink ที่ฟังดูแขก ๆ หน่อย ก็เอาหนึ่งในสเกลขั้นสูงมาใช้ ซึ่งมาจากการศึกษาเรื่อง mode ให้อธิบายง่าย ๆ คือเราเอาโน้ตของ c major scale มาวนเริ่มโน้ตแต่ละตัว เช่น เริ่มจาก D และไปจบที่ D ซึ่งถ้าเป็นคีย์ D major scale ปกติ ก็จะมีตัวติดชาร์ป 2 ตัว แต่ในกรณีนี้หมายถึงเราใช้โน้ตชุดเดียวกับ c major scale ไปเลย(ไม่มีตัวติดชาร์ป) สำเนียงที่ได้ก็จะเปลี่ยนไป และถ้าเราเริ่มต้นที่โน้ตตัวอื่น แต่ยังใช้โน้ตชุดเดิม สำเนียงก็จะเปลี่ยนไปอีก ซึ่งเราสามารถแตกออกมาเป็นสเกลที่ได้จากการศึกษาเรื่อง mode ดังนี้ครับ
Lonian : คือ major scale ให้เสียงสดใส
Dorian : จะคล้าย ๆ minor มีความเศร้า ๆ หม่น ๆ แต่จะรู้สึกเท่ ๆ คูล ๆ กว่า
Phrygian : ฟังดูแขก ๆ เพลง blackpink ชอบใช้
Lydian : มีความฟุ้ง ๆ ฝัน ๆ เหมือนอยู่บนสวรรค์
Mixolydian : สดใส แต่ก็กวน ๆ เท่ ๆ เพลงร็อคแอนด์โรลหรือฮาร์ดร็อคชอบใช้
Aeolian : คือ minor scale ให้โทนเศร้า ๆ หม่น ๆ
Locrian : มีความหลอน ๆ เครียด ๆ เหมือนเพลงจำพวก experimental
นอกจากนี้ก็มีสเกลอื่น ๆ อีกมากมายเลยครับ ทั้งสเกลในทางแจ๊ส สเกล Diminished หรือสเกล exotic เช่น in scale ที่ฟังแล้วรู้เลยว่าเป็นเพลงญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งยิ่งเราศึกษาไปเท่าไหร่ ก็จะพบความไม่สิ้นสุดได้อีกเยอะเลยครับ และอย่างที่บอก แต่ละสเกลก็สามารถเปลี่ยนคีย์ไปได้อีกด้วยครับ
สเกลจึงมีความสำคัญกับการทำเพลงมากครับ เพราะแต่ละสเกลให้โทนและสำเนียงที่แตกต่างกันเลย บางทีที่เราฟังเพลงสากล หรือเพลงประกอบภาพยนตร์ เพลงประกอบเกมต่าง ๆ แล้วรู้สึกว่ามันให้สำเนียงแปลก ๆ ที่เราไม่สามารถทำได้ด้วย major scale ซักที นั่นเพราะเขาคิดขึ้นมาบนสเกลอื่นครับ ซึ่งถ้าเราอยากทำได้ก็ต้องศึกษาสเกลให้เยอะ ก็จะยิ่งมีช้อยส์ในการเลือกทำเพลงที่ต้องการได้มากขึ้นนั่นเองครับ
ถ้าใครสนใจในเรื่องนี้มากขึ้น สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคอร์สเรียนเรื่อง harmony ทั้ง VCA301 VCA302 หรือดูเนื้อหาอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ในหลักสูตร The Real Producer ที่นี้เรามีสอนเรื่องการทำเพลงและรวบรวมเนื้อหาที่จำเป็นไว้หมดแล้ว หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกคนครับ
The Real Producer
REAL / DEEP / EXCLUSIVE
หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream
เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง
ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง
นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ
หลักสูตร The Real Producer
เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล
สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link
http://mkt.verycatsound.academy/mf2
——————
Contact
Line ID :
– เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy
– เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound