ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 3 : จุดสูงสุดของความเฟื่องฟู

Share via:

Krissaka Tankritwong

ปี 1994 – 2000 : ยุครุ่งโรจน์

รุ่งอรุณแห่ง Shibuya-kei

    Keigo Oyamada (Flipper’s Guitar) เริ่มต้นทำผลงานของตัวเองในชื่อ “Cornelius” ในปี 1993 โดยนำซาวด์ที่ใกล้เคียงกับ Flipper’s Guitar สมัยช่วงกลางๆ มาพัฒนาต่อ เขามีผลงานมากมายทั้งการทำอัลบั้มของตัวเอง, การเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับค่ายเพลง Trattoria หรือกับวงอินดี้หน้าใหม่ๆ มากมาย (รวมถึง Kahimi Karie แฟนสาวของเขาเองด้วย) และตอบแทนบุญคุณให้กับ Salon Music ด้วยการใส่พวกเขาไปใน ค่าย Trattoria

    เขากลายเป็น Produce ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และทั้งในแวดวงดนตรี มีงานโฆษณากับแบรนด์ชื่อดัง และยังเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับแบรนด์แฟชั่น อีกด้วย เรียกได้ว่า เป็นไอค่อนของ Shibuya-kei ในยุคนั้นเลย เป็นเหมือนตัวแทนสำหรับคนรุ่นใหม่ในการนำเสนอ ดนตรีและศิลปะ วัฒนธรรมร่วมสมัยในภาพรวมของญี่ปุ่น

    ในขณะเดียวกัน Ozawa ไปทำดนตรีให้กับศิลปิน J-pop กระแสหลัก โดยหลุดออกไปจากสารบบของวงการอินดี้ญี่ปุ่นไปอย่างถาวรแล้ว…

สัญลักษณ์ของวงการเด็กแนวญี่ปุ่น คือ Keigo Oyamada คนนี้ ในนามของ Cornelius

สัญลักษณ์ของวงการอินดี้ญี่ปุ่น คือ Keigo Oyamada คนนี้ ในนามของ Cornelius


Star Fruit Surf Rider เพลงที่ยอดเยี่ยมของ Cornelius มาเล่นไทยทีไร ต้องมีเพลงนี้ ฟัง live แล้วขนลุกทุกที

    ปี 1995 เริ่มมีความนิยมและการตื่นตัวของแนว Shibuya-kei ในต่างประเทศ ศิลปินแนวนี้นอกเหนือจากในญี่ปุ่นเองเริ่มปรากฎให้เห็นมากขึ้น เกิดการร่วมงานกันข้ามชาติอย่าง Kahimi Karie ที่ร่วมงานกับ producer ชาวสก๊อตจากวง Momus

    นี่ถือเป็นยุครุ่งโรจน์ของดนตรีชิบุย่าอย่างแท้จริง เหล่าศิลปินขายอัลบั้มได้มาก ชื่อเสียงโด่งดังทั้งในและนอกประเทศ มีค่ายเพลงและศิลปินเกิดใหม่มากมาย ในจำนวนศิลปินหน้าใหม่ที่ผุดขึ้นมาอย่างหลากหลายนั้น มีศิลปินเด่นๆที่น่าสนใจ อาทิเช่น

  •     Towa Tei ศิลปินญี่ปุ่น เชื้อสายเกาหลี ที่เพิ่งกลับจาก New York ( เคยได้ยินว่าสมัยเรียนอยู่ NYC เขาเป็นรูมเมทกับ DJ Spydamonkey ของไทยด้วย ) เขาปฎิเสธว่าไม่ได้ทำดนตรีตามแบบผู้บุกเบิกคนอื่นๆ แต่ซาวด์ของเขากลับมีเอกลักษณ์ที่มีกลิ่นแบบเดียวกัน และเป็นผู้นำในสไตล์นี้คนหนึ่ง เป็นศิลปินที่จัดจ้านในเรื่องการประดิษฐ์ซาวด์แปลกๆ และจังหวะที่ซับซ้อนเก๋ๆ ( ตัวอย่างเพลง Let Me Know http://youtu.be/FO4ev9hOk6A )
  •     Denki Groove ศิลปินอิเลคโทรนิค เพลงเต้นรำที่ชอบทำเพลงที่มีการล้อเลียนและสอดแทรกความขบขันไว้ในตัวเพลง , mv หรือการแสดงสดเสมอ พวกเขาไม่ได้จัดตัวเองอยู่ในแนวนี้ แต่แฟนๆของพวกเขากับ Shibuya-kei นั้นบางทีก็มีส่วนซ้อนทับกันอยู่ ( ตัวอย่างเพลง Niji กับ live เพี้ยนๆของพวกเขา… http://youtu.be/cmXvle4hrNI )
  •     Fantastic Plastic Machine (FPM) ชื่อจริงคือ Tomoyuki Tanaka ดีเจหนุ่มอ้วนแต่เท่ห์ ผู้รักในดนตรีสไตล์ lounge music โดยได้นำดนตรี jazz , lounge , classic มารวมตัวกับดนตรีเต้นรำได้อย่างกลมกล่อม หรูหรา และมีรสนิยม ( ตัวอย่างเพลง Take me to the disco http://youtu.be/PQB74sTqR7Q )
  •     Kahimi Karie แฟนสาวของ Cornelius ผู้ซึ่งทำดนตรีในสไตล์ pop ที่มี reference แบบฝรั่งเศส ถือเป็นเจ้าของเสียงร้องสไตล์แมวๆมุ้งมิ้งคนแรกๆ (ถ้าไม่นับ เจ๊ Nomiya Maki แห่ง P5 นะ เพราะเจ๊เสียงออกใหญ่ๆหน่อย ไม่แมวเท่าไร) ( ตัวอย่างเพลง Elastic Girl ด้านล่างโพสต์ )
  •     Escalator Records ค่ายเพลงที่มาแรงอีกค่าย ก่อตั้งโดย Gakuji Matsuda (Cubismo Grafico) มีศิลปินจี๊ดๆในสังกัดมากมาย อาทิเช่น Yukari Fresh, Neil & Iraiza ค่ายนี้นิยมทำดนตรีเต้นรำ electronic pop dance โดยผสมซาวด์แบบอื่นๆเข้าไปด้วย อาทิ Brazil bossanova, latin ,rock ( ตัวอย่างเพลง Cubismo Grafico – Joy ด้านล่างโพสต์ )
  •     Readymade Records ค่ายเพลงที่ก่อตั้งโดย Konishi Yasuharu (Pizzicato Five) เน้นทำดนตรีแนวเดียวกับ P5 น่ะแหละ คือจำพวก Pop ที่ผสม Lounge, Jazz, Motown กลิ่นยุค ’60 (ตัวอย่างเพลง Them from Lupin the 3rd http://youtu.be/vPuf96Vp7bw )
    Towa Tei กับท่าประจำตัว

    Towa Tei กับท่าประจำตัว

    Denki Groove วงอิเลคโทรนิคสุดกวนและฮา กับภาพล้อเลียน Kraftwerk

    Denki Groove วงอิเลคโทรนิคสุดกวนและฮา กับภาพล้อเลียน Kraftwerk

    DJ Tomoyuki Tanaka หรือ FPM หนุ่มอ้วนที่เท่ห์ที่สุดในโลก

    DJ Tomoyuki Tanaka หรือ FPM หนุ่มอ้วนที่เท่ห์ที่สุดในโลก

     

    Kahimi Karie เจ้าแม่เสียงมุ้งมิ้งแมวๆ

    Kahimi Karie เจ้าแม่เสียงมุ้งมิ้งแมวๆ

     


    Kahimi Karie – Elastic Girl (สุดจะมุ้งมิ้ง)

    Gakuji Matsuda หรือ Chabe เจ้าของค่าย Escalator Records

    Gakuji Matsuda หรือ Chabe เจ้าของค่าย Escalator Records


    Cubismo Grafico – Joy (ชิวมากกกก)

    ลุง Konishi Yasuharu จาก P5 ที่มาสร้างค่ายของตัวเอง ชื่อ Readymade Records

    ลุง Konishi Yasuharu จาก P5 ที่มาสร้างค่ายของตัวเอง ชื่อ Readymade Records


 ความชัดเจน ผลกระทบ และความหมายในหลายมิติ ของ Shibuya-kei

 

    มาถึงยุคนี้ ภาพของ Shibuya-kei ได้ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ จนผู้ฟังสามารถแยกแยะ และระบุความหมายของมันได้ไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องด้วยผลกระทบของมันต่อสิ่งอื่นๆในญี่ปุ่น มันจึงเป็นมากกว่าดนตรี แต่กลายเป็น sub culture อีกชนิดหนึ่งที่ผุดโผล่ขึ้นมาในยุคนั้น เหมือนที่กระแส Alternative บูมใน USA หลายศิลปินทั้งแนวชิบุย่า หรือที่ใกล้เคียง เช่น P5 ,FG ,Kahimi Karie ไปจนถึงวง mainstream อย่าง Puffy, My Little Love นั้นได้รับความนิยมมาก และมียอดขายที่ดีมากทั้งในและต่างประเทศ

    Shibuya-kei สะท้อนภาพลักษณ์ของรสนิยมทางศิลปะจากฝั่งยุโรป (ที่ค่อนข้างดีกว่าอเมริกา) ซึ่งจะเห็นได้ว่า ประเทศญี่ปุ่น เวลานั้นได้รับอิทธิจาก Shibuya-kei อย่างมหาศาล ภาพลักษณ์ความล้ำสมัยที่ทำให้แบรนด์สินค้าและร้านค้าๆ ต่างอัพเกรดรูปลักษณ์ และรสนิยมของตน โดยมีพื้นฐานมาจากสไตล์นี้ (คือฮิพๆแบบ ความเป็นตะวันตก ที่ผสมกับความป๊อปแบบญี่ปุ่น) เนื่องจากคาแรกเตอร์ของดนตรีสนุก,หวือหวา และหรูหรา ในแบบ Shibuya-kei นั้นไปกันได้กับความสำเร็จทางการตลาดของแบรนด์สินค้าต่างๆ มันจึงเป็นเหมือนเทรนด์ที่นำให้ญี่ปุ่นทั้งประเทศมีรสนิยมทางศิลปะที่ดีขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน (แม้ว่าเหล่าศิลปินเองจะไม่ได้จงใจก็ตาม)

    Shibuya-kei นั้นถูกใจเหล่านักฟังเพลงจากประเทศต่างๆทั่วโลก แบรนด์ดนตรีชิบุย่าไม่ใช่แค่ซาวด์ที่เป็นตะวันออกแบบญี่ปุ่นเท่านั้น แต่มันเป็น การผสม mix & match ดนตรีต่างพื้นที่ต่างๆในโลกนี้ อาทิเช่น French pop, UK indies & psychedelic, Brazilian jazz, American dance music, German Krautrock, และ Japanese synthpop เป็นต้น มันเหมือนการโยนส่วนผสมต่างๆ พวกนี้ลงในหม้อสุกี้ของยุค ’60 ซึ่งทำให้มีกลิ่นอายแบบ retro-future นอกจากนี้ยังมีความเป็นสากลมาก

    แม้ว่า ซาวด์นี้ กำเนิดในย่าน ชิบุยะ ของญี่ปุ่น แต่ ความเจ๋ง ความเก๋และมีเอกลักษณ์แตกต่างของตัวดนตรีเอง ช่วยให้มันแตกต่างจากตลาดเพลงอเมริกา และ ยุโรป อย่างที่ญี่ปุ่นไม่เคยทำมาก่อน โดย Pizzicato Five (P5) และ Cornelius ต่างขายได้มากกว่า 100000 แผ่น (มันอาจจะไม่เยอะเท่าดนตรี mainstream แต่มันถือว่าเยอะมากนะ) ผ่านทางค่าย Matador record เป็นการเปิดหูคนอเมริกันให้มาฟังดนตรีจากญี่ปุ่น เมื่อรวมกับความเจริญของ Street Fashion,การ์์ตูน Animation แล้ว Shibuya-kei นั้นได้เปลี่ยนมุมมองของโลกนี้ต่อญี่ปุ่นอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ จากที่คนตราว่า เป็นประเทศที่มีรสนิยมเชยๆ ล้าหลังและเลียนแบบอเมริกา ไปสู่การเป็น ดินแดนแห่งมหัศจรรย์ความทันสมัยที่สุดจะ unique

ภาพลักษณ์ที่ดูดีมีรสนิยมของญี่ปุ่นปัจจุบัน เกิดจากผลกระทบของดนตรี Shibuya-kei

ภาพลักษณ์ที่ดูดีมีรสนิยมของญี่ปุ่นปัจจุบัน เกิดจากผลกระทบของดนตรี Shibuya-kei

    อีกเหตุผลที่ Shibuya-kei นั้นกำเนิดที่ญี่ปุ่น ไม่ใช่ฝั่งตะวันตก เพราะในช่วงกลางยุค ’90 ญี่ปุ่นมี ตลาดผู้บริโภคดนตรีที่หลากหลายและมีคุณภาพมาก พวกเขาต่างล้วนมีกำลังจ่าย ซึ่งมันส่งผลให้วัยรุ่นที่อยู่ในญี่ปุ่นช่วงนั้นได้เสพย์ดนตรีหลากหลายจากทั่วโลก โดยเฉพาะฝั่งตะวันตก ส่งผลให้เมื่อพวกเขาโตขึ้นมาทำดนตรีของตัวเอง จึงได้รับอิทธิพลจากเพลงที่พวกเขาฟังมาเต็มๆ ผสมผสาน input ที่ได้รับออกมานำเสนอเป็น output ที่สดใหม่ต่อโลก ทั้งยังมีการใช้ sampling จากแผ่นเสียงโดยตรงมาสร้างเพลงอีกด้วย เหมือนดังเช่น Konishi Yasuharu (Pizzicato Five) ที่เป็นนักสะสมแผ่นเสียงมาก่อน แล้วจึงมาเป็นนักดนตรี

    Shibuya-kei คือผลผลิตจากรสนิยมของคนรวย-นักดนตรีไฮโซ ในยุค ’90 ที่เป็นผลประมวลจากวัฒนธรรมการบริโภคของวัยรุ่นในเมืองหลวง ซึ่งผู้นำกระแสของ scene ดังจะเห็นได้จากตัวอย่าง เช่น Hosono Haruomi (YMO) , Oyamada และ Ozawa (Flipper’s Guitar) เรียนโรงเรียนไฮสคูลระดับท๊อป ส่วน Konishi (P5) ก็ยังมีผู้ปกครองสนับสนุนเรื่องเงิน จนกระทั่งอายุ 30 (กระนั้นเขาก็ยังคงใช้จ่ายเงินที่หามาได้ยากไปกับแผ่นเสียง)

    มีผู้บุกเบิกมาก่อน ก็ย่อมมีผู้ตาม ภาพลักษณ์ที่ทันสมัยของ Shibuya-kei จึงกลายเป็น “แฟชั่น ที่ทำตามๆกัน” สำหรับ ชนชั้นกลางกระแสหลัก ที่ทำตามพวกไฮโซ influencer เหล่านี้ ที่เป็นแฟนๆ ดั้งเดิมของ Shibuya-kei มันกลายเป็นกระแสแฟชั่นที่น่าสนใจ ที่คนทั้งประเทศญี่ปุ่นเอาตัวเองไปชุบเพื่อให้ตัวเองดูดีมีรสนิยมมากขึ้น

    ติดตามเจาะลึกประวัติ Shibuya-kei ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น ย่านชิบุยะ ตอนอื่นๆได้ที่นี่ ในโพสต์ต่อไปนี้
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 1 : ยุคก่อนกำเนิด
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 2 : เหล่าผู้บุกเบิก
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 3 : จุดสูงสุดของความเฟื่องฟู
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 4 : อวสานและการเปลี่ยนแปลง
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 5 : กำเนิดใหม่เด็กๆ Neo-Shibuya-kei
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 6 : ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป

   หรือร่วมพูดคุยกันได้ที่กลุ่ม Facebook เฉพาะสำหรับคนรักดนตรีชิบุยะ และอินดี้ญี่ปุ่น ได้ที่ FB group : “Shibuya-kei Thailand

ติดตามสารพันเรื่องราว ซาวด์ดนตรี วิถีแมวๆ ได้ที่นี่ VERYCATSOUND.COM

Comments (6)

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.