ปี 2001-2007 ยุค Neo-Shibuya-kei
Neo-Shibuya-kei คืออะไร?
หากจะกล่าวว่า การแยกวงของ Pizzicato Five ในปี 2001 คือจุดสิ้นสุดของดนตรี Shibuya-kei ก็คงไม่ผิดนัก กระแสใหญ่ที่ก่อตัวขึ้น แม้ตอนนี้กระแสได้สร่างซาเบาบางลงไปแล้ว แต่ซาวด์แบบ Shibuya-kei ได้ฝังแน่นอยู่ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น และมีคนจำนวนหนึ่งที่เสพย์ติดมันไปแล้ว ในขณะที่เหล่าศิลปินรุ่นเก่าต่างพยายามหนีจากซาวด์ และการถูกตีตราว่าเป็นชิบุย่าเคย์ อยู่นั้น ช่วงปี 2002 – 2004 ได้มีกลุ่มศิลปิน กลุ่มหนึ่งที่ชุบชีวิต Shibuya-kei ขึ้นมาอีกครั้ง โดยมี tribute albums ของ Flipper’s Guitar เกิดขึ้นสองอัลบัมในสี่เดือน มีศิลปินใหม่เกิดขึ้น อาทิเช่น Meg นางแบบสาวสวย ที่ได้ออกผลงานอัลบั้มเพลงของตัวเองในซาวด์แบบนี้ เธอประสบความสำเร็จประมาณหนึ่ง ด้วยการ cover เพลง Groove Tube ของ FG ( ตัวอย่างเพลง Groove Tube ใน version ของ MEG ฟังได้ด้านล่าง )
นิตยสารกับสื่อต่างๆ ขนานนามกลุ่มนี้ว่า….
“Neo-Shibuya-kei” (พวกที่เอาอย่าง Shibuya-kei)
การแบ่งกลุ่มศิลปินชิบุย่า
มาถึงจุดนี้ ศิลปินแนว Shibuya-kei ถูกจำแนกออกให้เข้าใจได้ง่ายๆเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน
ปัจจุบันมีค่าย indie pop ที่เป็น Neo-Shibuya-kei ผุดขึ้นมามากมาย อาทิ abcdefg-record , Sucre , Contemode และ Softly! ที่มีโทนเพลงป๊อปใสๆ ไร้เดียงสา
Marquee เป็นสื่อนิตยสารที่สำคัญของวงการนี้ โดยที่ MMM (บก.ของ Marquee) เรียกแนวนี้ว่า Future Pop โดยหมายความรวมถึง กลุ่มศิลปิน Electronic และกลุ่มเพื่อนศิลปินข้างเคียง ที่มีแนวทางดนตรีแบบ mix & match เราจะพบซาวด์หลากหลายตั้งแต่ อย่าง การใช้ดนตรี avant garde + Disney ของวง Plus-Tech Squeeze Box และกลุ่มศิลปิน electropop ในค่าย Usagi-Chang Records (มีศิลปินในเครือ คือ MacDonald Duck Esclair, Micro Mach Machine, YMCK, Sonic Coaster Pop และ Pine AM)
จะสังเกตได้ว่า ศิลปินในกลุ่ม Neo นั้นมีความนิยมในซาวด์อิเลคโทรนิคที่จัดจ้านมากกว่าศิลปินชิบุย่าต้นแบบ อาจเป็นเพราะยุคสมัย, การรับ reference มาทางนี้มากขึ้น กับ เทคโนโลยีในปัจจุบันที่เอื้อให้กับการทำดนตรีอิเลคโทรนิคมากกว่า 10-20 ปีก่อน ทำให้เกิด output ที่มีความแตกต่างกันกับศิลปิน Shibuya-kei ต้นฉบับ ที่มักเน้นความ retro มากกว่าซาวด์แบบ electronic
ส่วนที่น่าสนใจของเรื่องนี้คือ นักดนตรี Shibuya-kei ต้นฉบับในกลุ่มแรก ไม่ค่อยจะสนใจคบค้าสมาคมกับกลุ่ม Neo เท่าใดนัก โดยพยายามที่จะรักษาระยะห่างของตัวเองเอาไว้ตามนั้น (มีส่วนน้อยที่พบเป็นข้อยกเว้น เช่น Comoestas และ Mike Alway ชอบ Plus-Tech Squeeze Box)
Groove Tube เพลงที่เธอร้อง cover FG
Paris Match – Summer Breeze [In Amsterdam] (อาจจะมีหลายคนเคยได้ยินเพลงนี้)
ความขัดแย้งของสองรุ่น
ความสัมพันธ์ของนักดนตรีสองรุ่นนี้ ไม่ได้ราบรื่นไปกันด้วยดี แม้แต่ใน Marquee เอง ก็มีแรงกดดันมาทางนิตยสาร ที่ลงทั้งเรื่องของรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ ( มีฉบับหนึ่งที่ Naka Masashi จาก Escalator Records โกรธมากที่ Yukari Rotten อัลบัมใหม่ถูกเปรียบเทียบกับ Capsule) เหตุผลของความเป็นศัตรูกัน มาจากว่า คนรุ่นเก่าสร้างซาวด์นี้จากการขุด reference ที่พวกเขาชอบโดยส่วนตัว และสร้างกฎของซาวด์กับสูตรของการ mix&match ดนตรีที่เป็นส่วนผสมในแบบของตัวเองขึ้นมา อาทิเช่น Konishi (P5) รักซาวด์ยุค ’60 และเสียงแบบ AM , ดนตรี pop เบาๆ ซึ่งกว่าจะหาสูตร จนเกิดเป็นส่วนผสมที่ลงตัวเป็นแนวทางของตัวเอง ก่อนที่มันจะถูกยอมรับอย่างที่เห็นทุกวันนี้มันไม่ง่าย แต่เด็กรุ่นใหม่แค่ทำงานภายใต้กรอบเดิม โดยพวกเขาได้รับมรดกของความโด่งดังและยอดขายภายใต้แบรนด์คำว่า Shibuya-kei ไปด้วยง่ายๆ เพียงแค่เพิ่มเทคนิค skill , ลูกเล่นของเทคโนโลยีในการสร้างซาวด์ electronic ที่มากขึ้นโดย ไม่ได้มีแก่นแท้ของงานใหม่ๆเลย เป็นแก่นเดิมๆ ที่นำมาจากศิลปินรุ่นเก่า และมีการพูดโจมตีกันถึงขนาดที่ว่า เป็นแค่สุนทรียศาสตร์ปลอมๆ
พวกเขาเป็นศัตรูกันเองในวงการ ศิลปิน Shibuya รุ่นเก่าไม่ยอมรับคนใหม่ๆที่ทำงานตามแบบอย่างพวกเขา พวกเขาคงรู้สึกว่าทั้งค่ายใหญ่ค่ายเล็กต่างหยิบนำซาวด์แบบชิบุย่ามาใช้โดยข้ามหัวพวกเขา มันคงเป็นเหมือนกรณีที่เด็กแนวจะหนีกระแสจากสิ่งที่เป็นอยู่ เมื่อมีคนมาทำตาม เลียนแบบ จนเป็นกระแส
แต่ในขณะเดียวกันนั้นเอง ศิลปินรุ่นแรกบางคน อาทิ Konishi (P5) ก็พยายามผลักดันหนุ่มสาวรุ่นใหม่ดันขึ้นมาเป็น pop idols ภายใต้แบรนด์ของตัวเอง (Readymade) แข่งกับเหล่า Neo-Shibuya เช่นกัน
ศิลปินอินดี้ญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นในยุคนี้ ถ้าไม่นับศิลปินรุ่นเก่า เราจะเริ่มเห็นแนวทางที่แบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่อย่างเห็นได้ชัด กลุ่มแรกคือ กลุ่มที่กำลังหารูปแบบแนวทางการสร้างงานแบบใหม่ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับชิบุย่าเคย์เลย และอีกกลุ่มคือเหล่า Neo-Shibuya ที่เอาอย่าง ซาวด์ของ Shibuya-kei นี่เอง (ซึ่งถ้าว่ากันจริงๆแล้วหาก Shibuya-kei คือการ copy จากดนตรีรุ่นเก่า Neo-Shibuya ก็คือ การ copy จากการ copy อีกที)
ซึ่งสิ่งที่แตกต่างอีกอย่างของ ศิลปิน Shibuya รุ่นเก่า กับเหล่า Neo ก็คือทัศนคติที่ “แอนตี้ค่ายใหญ่” ที่เป็นหัวใจสำคัญของ Flipper’s Guitar นั้นได้หายไป เหล่าเด็กๆ Neo ได้อธิบายว่า ข้อแตกต่างอย่างใหญ่หลวงระหว่างพวกเขากับจิตวิญญาณอินดี้ สิบปีที่แล้ว คือ พวกเขาไม่ได้เกลียดชัง mainstream จุดมุ่งหมายคือการได้รับการยอมรับจากเมนตรีม และพวกเขาแค่อยากทำได้อย่าง Ozawa กับ Oyamada เท่านั้นเอง
จากเหตุผลนี้ สามารถอธิบายได้ว่าทำไม รุ่นเก่าจึงไม่ยื่นมือมาช่วยรุ่นใหม่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ใช่ว่าศิลปินรุ่นใหม่จะไม่มีงานที่ดีออกมา มีงานหลายชิ้นที่มีซาวด์ที่ original อย่างมาก มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์และเป็นงานที่ยอดเยี่ยมจนแซงพี่ใหญ่ของพวกเขาไปมากเช่นกัน เช่น
แท้จริงแล้วศิลปินส่วนใหญ่ในโลกนี้ไม่ชอบถูกเรียกว่า Neo-Shibuya-kei หรอก มันเป็นการเพิ่มคำเข้าไปเล็กน้อยจากทางร้านขายซีดี Tower Records และนิตยสาร Marquee เพื่อที่จะจัดแยกย่อยหมวดหมู่ให้เข้าใจง่าย และทำการตลาดขายให้กับแฟนๆของศิลปินกลุ่มนี้ได้ง่าย
อย่างไรก็ตาม ในหมวดอินดี้ญี่ปุ่น ไม่มีศิลปินไหนเลยที่ซาวด์เหมือนศิลปินอินดี้จากตะวันตก ทุกวงล้วนมีซาวด์ที่บ่งบอกความเป็น “ญี่ปุ่น” และกลิ่นแบบ “Shibuya-kei” ติดอยู่ โดยศิลปินเหล่านี้มียอดขายที่ดีในต่างประเทศ (แต่ก็ยังเทียบไม่ได้แม้ 1 ใน 10 ของยอดขายของศิลปินรุ่นเก่าในยุค ’90 นะ) ศิลปินบางคนอย่าง Neil and Iraiza สามารถทำยอดทะลุ 10000 แผ่นได้อย่างง่ายๆ , Capsule ก็มียอดขายที่มากขึ้นเรื่อยๆ (ในหน่วยหลักพันถึงหลักหมื่นแผ่นนะ) แต่กระนั้น ไม่มีใครจาก Neo-Shibuya-kei สามารถสร้างปรากฎการณ์ทางดนตรีอย่างที่ Shibuya-kei เคยส่องแสงเจิดจรัสได้ในยุคแรกเลย แต่การใช้ซาวด์แบบ Shibuya-kei นั้นทำให้ได้รับความฮิตถล่มทลายในตลาดเมนสตรีมยุคปัจจุบัน
ซาวด์แบบที่ศิลปิน Shibuya-kei ได้สร้างไว้นั้นเป็นมรดกตกทอดยาวมาถึงปัจจุบัน หลายศิลปิน ณ ปัจจุบันทำงานตามแบบอย่างมัน หรือบางศิลปินก็ต่อต้านมัน อิทธิพลของมันแผ่กว้างไปสุดไกล เป็นการปฎิวัติของทั้งตลาดคนฟังเพลงในญี่ปุ่น และสากล ทั้งในวงการอินดี้และเมนสตรีม
YMCK – La La is Love ที่ทำให้กับ Bear Garden
Mainstream pop idols กลับมาครองบัลลังก์
เข้าช่วงปี 2004-2007
ในขณะที่วงการเพลงของญี่ปุ่นกลับเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมป๊อป pop idols และ J-rock อีกครั้ง ยุคของการเสพย์ดนตรี pop idols กระแสนิยมที่ตอบสนองกลุ่ม “โอตาคุ” (ผมคงไม่ต้องอธิบายนะว่ามันคืออะไร) อย่างวง AKB48 ที่ดังเปรี้ยงปร้างจนแทบจะเป็นตัวแทนของ J-pop ในยุคปัจจุบัน
ปี 2005 ร้าน Zest Rocords หนึ่งในร้านขายแผ่นเสียงที่สนับสนุนแผ่นของ Shibuya-kei ได้ปิดตัวลง ตามหลายๆร้าน จากการลดความนิยมลงเรื่อยๆของแผ่นเสียงในช่วงนั้น
วงการอินดี้ของญี่ปุ่นนั้นซบเซา ยอดขายตำต่ำลงอย่างมาก มีอยู่เรื่อยๆแต่ไม่มีผลงานใดโดดเด่น ศิลปินดั้งเดิมกลุ่มหนึ่งอย่าง Kahimi Karie, Cornelius มุ่งเน้นไปทำ experimental music หรือ Dance Punk แบบค่าย Escalator Records โดยศิลปินบางกลุ่มอย่าง Konishi Yasuharu ก็ทำสิ่งเดิมๆซ้ำๆ แบบที่ทำกับ Pizzicato Five , Nomoto Karia ส่วนเด็กๆกลุ่ม Neo ก็พยายามทำเพลงฮิตเข้าสู่ Oricon chart จนกระทั่ง..
โปรดติดตามตอนต่อไป ตอนสุดท้ายของมหากาพน์นี้แล้วครับ
ติดตามเจาะลึกประวัติ Shibuya-kei ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น ย่านชิบุยะ ตอนอื่นๆได้ที่นี่ ในโพสต์ต่อไปนี้
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 1 : ยุคก่อนกำเนิด
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 2 : เหล่าผู้บุกเบิก
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 3 : จุดสูงสุดของความเฟื่องฟู
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 4 : อวสานและการเปลี่ยนแปลง
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 5 : กำเนิดใหม่เด็กๆ Neo-Shibuya-kei
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 6 : ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป
หรือร่วมพูดคุยกันได้ที่กลุ่ม Facebook เฉพาะสำหรับคนรักดนตรีชิบุยะ และอินดี้ญี่ปุ่น ได้ที่ FB group : “Shibuya-kei Thailand“
ติดตามสารพันเรื่องราว ซาวด์ดนตรี วิถีแมวๆ ได้ที่นี่ VERYCATSOUND.COM
มารู้จักกับ Shibuya-kei ย่านถิ่นกำเนิดดนตรีอินดี้สัญญาติญี่ปุ่น - VERYCATSOUND : Music Production
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 4 : อวสานและการเปลี่ยนแปลง - VERYCATSOUND : Music Production
" CAPSULE " ผู้นำกระแส Neo-Shibuya ที่ยืดหยัดจนโด่งดังไปทั่วโลก
Yasutaka Nakata สุดยอดโปรดิวเซอร์เบื้องหลัง Perfume , Kyary
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 2 : เหล่าผู้บุกเบิก - VERYCATSOUND : Music Production