ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 6 : ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป

Share via:

Krissaka Tankritwong

ช่วงปี 2008 – 2014 : ยุคปัจจุบัน

Shibuya-kei ไม่มีวันตาย

    ในที่สุด HMV Shibuya ร้านขายแผ่นเสียงและซีดีที่เป็นเหมือนหัวเรือใหญ่ในการขายแผ่นของ Shibuya-kei มาตลอด ปิดตัวลงในปี 2010 ตามที่หลายคนได้คาดการณ์เอาไว้ ไม่ใช่เฉพาะวงการ Shibuya-kei แต่คือวงการดนตรีทั้งหมด ที่ยอดขาย CD ลดต่ำลงเรื่อยๆ ยิ่งตอกตะปูปิดฝาโลงเข้าไปอีก แต่ศิลปินอินดี้ก็ยังคงอยู่รอดกันมาได้ถึงทุกวันนี้

    และแล้ว แรงกระเพื่อมที่เห็นได้ชัดในช่วงหลังก็เกิดขึ้น จากงานจาก Yasutaka Nakata (โปรดิวเซอร์วง Capsule) เริ่มสร้างชื่อเสียงจนดังเปรี้ยงปร้าง จากการที่เขานำซาวด์ Shibuya-kei ในแบบเดิมๆ เข้าไปรวมตัวกับ Techno แบบ Daft Punk จนเกิดเป็นซาวด์เอกลักษณ์ในแบบของตัวเองขึ้นมา และประสบความสำเร็จอย่างมากในฐานะ Producer โดยเขาได้รับการต้อนรับจากวงการ mainstream ในการทำดนตรีให้กับศิลปิน mainstream อย่าง Perfume , Kyary Pamyu Pamyu จนทำให้ซาวด์ชิบุย่าในแบบของเขาเข้าสู่หูผู้ฟัง mainstream ในวงกว้างไปทั่วโลก ซึ่งทำให้ Nakata เป็นเหมือนไอค่อน เป็นผู้นำของดนตรี Shibuya-kei ในปัจจุบันไปโดยปริยาย ( ตัวอย่างเพลง Capsule – Jumper ฟังได้ด้านล่าง )

    ศิลปินบางคนอย่าง Cornelius ดูจะเบื่อกับการจับจดในดนตรีทดลองของตัวเอง ได้ออกผลงานที่คลี่คลายขึ้น และสร้างสีสันให้วงการอย่าง Salyu x Salyu ซึ่งเป็นการจับคู่ที่ลงตัวกับพลังเสียงของนักร้องสาว กับซาวด์แบบดนตรี pop ทดลองของตัวเอง อันเป็นงานที่น่าจับตามอง และมีการทัวร์คอนเสิร์ตในหลายประเทศรวมถึงไทยด้วย ( ตัวอย่างเพลง Hanashi tai anata to ฟังได้ด้านล่าง )

CAPSULE : Toshiko Koshijima และ Nakata Yasutaka ผู้ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นเบอร์ 1 ของดนตรีชิบุย่าไปแล้ว

CAPSULE : Toshiko Koshijima และ Nakata Yasutaka สุดยอดโปรดิวเซอร์ ผู้ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นเบอร์ 1 ของดนตรีชิบุย่าไปแล้ว


Capsule – Jumper เพลงที่ไปประกาศศักดาให้ทั้งโลกรู้จักพวกเขา

 

Cornelius เจ้าของบัลลังก์คนก่อน ที่มาร่วมงานกับ Salyu ในโปรเจค Salyu x Salyu ที่สดจี๊ด

Cornelius เจ้าของบัลลังก์คนก่อน ที่มาร่วมงานกับ Salyu ในโปรเจค Salyu x Salyu ที่สุดจี๊ด

 


Hanashi tai anata to ของ Salyu x Salyu เยี่ยมไร้คำบรรยาย

    นอกจากนี้ยังมีศิลปินหน้าใหม่อีกหลายวงที่น่าจับตามอง อาทิ

  • OMODAKA – ศิลปินที่นำ 8 bits มาผสมกับดนตรีพื้นบ้านญี่ปุ่น ได้อย่างน่าสนใจ ( ตัวอย่างเพลง Kokoriko Bushi http://youtu.be/2SoZzlgQzHM )
  • Deep Sea Drive Machine – เคยมาเล่นที่ไทย ในงาน Big Mountain Music Festival เป็น electronic rock dance ที่มีซาวด์ที่เฉียบขาด ( ตัวอย่างเพลง Ray Of Light http://youtu.be/ZfO9gvCSADM )

    รวมถึงวง อินดี้ญี่ปุ่นในแนวทางอื่นๆ ที่ทั้งมีซาวด์ที่ใกล้เคียงและไม่ใกล้ แต่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ อย่างวง

  • Toe – วง match rock mี่มีความสวยงามแบบญี่ปุ่น ( ตัวอย่างเพลง Goodbye http://youtu.be/SaicC0AFwUc )

    เป็นต้น

    นอกจากในญี่ปุ่นเองแล้ว วงดนตรี Neo-Shibuya-kei จากต่างประเทศที่น่าสนใจก็มีผุดขึ้นมาซึ่งไม่แพ้กัน อาทิเช่น

  • Anamanaguchi จาก New York ที่ทำดนตรีแนว 8 bits rock ( ตัวอย่างเพลง Helix Nebula ฟังได้ด้านล่าง )
OMODAKA ศิลปินหน้ากากที่ทำเพลงได้จี๊ดจ๊าดมาก

OMODAKA ศิลปินหน้ากากที่ทำเพลงได้จี๊ดจ๊าดมาก

 

Deep Sea Drive Machine เพลงของพวกเขาฟังแล้วชวนจินตนาการ

Deep Sea Drive Machine เพลงของพวกเขาฟังแล้วชวนจินตนาการ

 

Toe วงที่เปี่ยมด้วยพลังการเล่นสด แต่ก็ยังมีความละเอียดอ่อนแบบญี่ปุ่น

Toe วงที่เปี่ยมด้วยพลังการเล่นสด แต่ก็ยังไม่ทิ้งความละเอียดอ่อนแบบญี่ปุ่น

 

Anamanaguchi ฝรั่งบ้าญี่ปุ่น เนิร์ดๆ 4 คน กับ 8 Bits Rock

Anamanaguchi ฝรั่งบ้าญี่ปุ่น เนิร์ดๆ 4 คน กับ 8 Bits Rock


Helix Nebula ของ Anamanaguchi (ร๊อคแมนชัดๆ…)

    ถึงแม้จะมีคนบอกว่า Shibuya-kei ได้ตายไปแล้ว แต่ในความเป็นจริงก็ยังมีคนนิยมเสพย์ดนตรีที่มีสำเนียงแบบนี้อยู่ แค่อาจจะไม่รู้ว่ามันมีที่มาหรือเรียกว่ายังไง การบูมของ Nakata sound และ Kyary Pamyu Pamyu ในหลายประเทศทั่วโลก คือหลักฐานว่า ผู้ฟังที่เกิดมามีรสนิยมชอบซาวด์มุ้งมิ้งแบบ Shibuya-kei เป็นรสนิยมอย่างหนึ่งที่อยู่เหนือกาลเวลาและแฟชั่น จริงอยู่ในจุดเริ่มต้น ความเก๋ ความเท่ห์ของมัน เคยเกิดเป็นกระแส ที่คนทำตามแฟชั่นกัน แต่ตลอดเวลายี่สิบกว่าปี ดนตรีแนวนี้ได้พิสูจน์ตัวเองว่า มันไม่ใช่สิ่งฉาบฉวย แต่เป็นซาวด์เฉพาะตัวที่เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วจะคงอยู่ตลอดไป (เหมือนดังที่ดนตรีแนวอื่นๆ เช่น Rock’n’Roll เป็น) ตราบเท่าที่มีคนที่เสพย์ติดมันอยู่ (อย่างน้อยก็ผมคนนึงล่ะ)

    ในปัจจุบันนี้ ถ้าเอ่ยถึง Shibuya-kei กับคนญี่ปุ่น อาจจะเป็นคำที่บางคนไม่รู้จัก เพราะกระแสมันมานานมากแล้ว และก็ผ่านไปแล้ว จนอาจจะไม่ได้มีใครในญี่ปุ่นมาใส่ใจกับคำนี้แล้ว ซึ่งบางคนอาจจะรู้จักกันในชื่อของ Club Music หรือ Club Pop ซึ่งย่านชิบุย่า ที่เดิมทีมันก็ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับดนตรีแนวนี้มากมายนัก ตอนนี้ก็ยังเป็นย่านฮิพที่ trendy นำสมัยที่สุดในญี่ปุ่นอยู่เช่นเดิม แต่ในขณะที่มันกลายเป็นสถานที่ของคน mainstream ไปแล้ว วัยรุ่นเด็กแนวญี่ปุ่นกลับไปรวมตัวกันที่ย่าน Shimokitazawa (เรียกย่อๆว่า ชิโมคิตะ) กันแทน มี live house และศิลปินอินดี้อิสระมากมายเปิดการแสดงที่นั่น นี่คือยุคต่อไปที่เป็นผลผลิตต่อจาก Shibuya-kei ใครเลยจะรู้ว่า ต่อไปอาจจะเกิดแนว Shimokita-kei ขึ้นมาแทนที่ในยุคหน้าก็เป็นได้

 


   
    บทความชุด เจาะลึกประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ทั้ง 6 ตอน มีที่มาจาก “The Legacy of Shibuya-kei” จากเวบ neojaponisme.com โดย W. David MARX (Marxy) ผมอ่านมาหลายปีมากแล้วเคยแปลเก็บไว้ วันนี้นำมารียบเรียงใหม่ ผสมกับความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเองอีกส่วนหนึ่งลงไป  ต้องขอบคุณเขามากที่เขียนมันขึ้นมา ไม่งั้นผมคงไม่มีวันนี้ หากผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย และขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่อ่านจนจบด้วยครับ

    ติดตามเจาะลึกประวัติ Shibuya-kei ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น ย่านชิบุยะ ตอนอื่นๆได้ที่นี่ ในโพสต์ต่อไปนี้
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 1 : ยุคก่อนกำเนิด
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 2 : เหล่าผู้บุกเบิก
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 3 : จุดสูงสุดของความเฟื่องฟู
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 4 : อวสานและการเปลี่ยนแปลง
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 5 : กำเนิดใหม่เด็กๆ Neo-Shibuya-kei
ย้อนรอยประวัติศาสตร์ดนตรีอินดี้ญี่ปุ่น Shibuya-kei ตอนที่ 6 : ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป

   หรือร่วมพูดคุยกันได้ที่กลุ่ม Facebook เฉพาะสำหรับคนรักดนตรีชิบุยะ และอินดี้ญี่ปุ่น ได้ที่ FB group : “Shibuya-kei Thailand

ติดตามสารพันเรื่องราว ซาวด์ดนตรี วิถีแมวๆ ได้ที่นี่ VERYCATSOUND.COM

Comments (2668)

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.