shibuya-kei

แนะนำ shibuya-kei ดนตรีแห่งอนาคตจากยุค 90 ‘

Share via:

Krissaka Tankritwong

แนะนำ shibuya-kei ดนตรีแห่งอนาคตจากยุค 90 ‘

Shibuya Kei หนึ่งในดนตรีญี่ปุ่นยุค 90 ที่หลายคนในปัจจุบันอาจไม่ค่อยคุ้นหูกันเท่าไหร่แล้ว แต่ Shibuya Kei เป็นดนตรีที่นิยมอยู่ช่วงหนึ่งของญี่ปุ่น และมีอิทธิพลอย่างมากในวงการดนตรี จนเคยเป็นที่ถูกเรียกว่าเป็นดนตรีแห่งอนาคตเลยทีเดียว ซึ่งถ้าใครสงสัยว่า Shibuya Kei มีลักษณะอย่างไร ? บทความนี้ขอเชิญชวนทุกคนให้มารู้จักกับ Shibuya Kei ดนตรีแห่งอนาคตจากยุค 90 กัน

จริง ๆ Shibuya Kei ไม่ใช่แนวดนตรีที่เจาะจงโดยเฉพาะเหมือนร็อค ป๊อป ฮิปฮอป แต่เป็น ซีนดนตรี หมายถึงบรรยากาศของวงดนตรีต่าง ๆ ที่ร่วมสร้างเพลง และขับเคลื่อนไปด้วยกันจนเป็นที่รู้จักในขณะนั้น ซึ่งที่เรียกว่า Shibuya Kei เกิดจากหลายวงดนตรีที่ต่างพยายามทำเพลงแล้วนำไปวางขายที่เมืองชิบูย่า เพราะเป็นที่ยอดฮิตของคนมีเทส เสมือนวัยรุ่นบ้านเราที่นิยมไปสยามและเสพบรรยากาศความเท่ ฟังเพลงที่วัยรุ่นยุคนี้เขาฟังกัน Shibuya Kei ก็เป็นในลักษณะเดียวกัน ถ้าให้ยกตัวอย่างง่าย ๆ ก็จะประมาณว่าเราพูดถึงเพลงแนวเบเกอรี่ หรือเพลงแนวสมอลล์รูม ที่ไม่ได้เจาะจงว่าเป็นดนตรีแนวไหน แต่ฟังแล้วจะรู้สึกได้ทันทีว่าเพลงแบบนี้คือเบเกอรี่หรือสมอลล์รูม โดยญี่ปุ่นจะใช้คำว่า Kei ที่แปลว่าแนว ต่อท้ายกับคำต่าง ๆ เช่น Shibuya Kei , Akiba Kei , Nakame Kei , Visual Kei ฯลฯ

Shibuya Kei กำเนิดเป็นที่รู้จักจากวงดนตรี 2 วงหลัก ๆ อย่าง Flipper’s Guitar วงดนตรีดูโอ้ที่มีบทบาทสำคัญในฐานะผู้บุกเบิกและกำหนดทิศทางของแนวดนตรี Shibuya Kei และ Pizzicato Five (P5) วงดนตรีที่ได้รับความนิยมในระดับสากล สามารถขยายขอบเขตของแนว Shibuya Kei ให้เข้าถึงผู้ฟังในวงกว้างได้มากขึ้น ซึ่งขณะนั้นทั่วโลกและไทยก็เริ่มมีอัลเทอร์เนทีฟเข้ามาในกระแส แต่ในญี่ปุ่นก็จะมี Shibuya Kei ที่สร้างความแปลกใหม่และน่าสนใจ

โดยลักษณะเพลงของ Shibuya Kei นั้นค่อนข้างจะอธิบายยาก เพราะมีหลากหลายแนวดนตรีผสมกันอยู่ เช่น แจ๊ส อิเล็กทรอนิกส์ บอสซาโนวา แต่ก็มีแนวหลัก ๆ ที่หลาย ๆ วงนิยมทำตามจากความนิยมของ Pizzicato Five (P5) นั่นคือ การทำเพลงให้ได้ความรู้สึกเก่า ๆ มีความเรโทร ผสมกับเสียงนักร้องหญิงที่มีความใส ๆ อินโนเซ็นต์ หากได้ลองฟังวงอื่น ๆ ด้วย เช่น Towa Tei , Fantastic Plastic Machine(FPM) , Cornelius ก็จะรู้ว่ามันมีแนวดนตรีที่ต่างกันอยู่ในนั้น บางวงก็เป็นเพลงบรรเลง ไม่มีเนื้อร้อง บางวงก็เป็นผู้ชายร้อง บางวงก็ไม่ได้รู้สึกเรโทร แต่พอฟังแล้วกับให้ความรู้สึกไปในทางเดียวกัน ซึ่งเรียกว่า Shibuya Kei 

Shibuya Kei จึงพอเรียกได้ว่าเป็นการผสมผสานดนตรีของหัวก้าวหน้า ที่พยายามใส่แนวดนตรีต่าง ๆ มากกว่าสองหรือสามแนวที่อยากให้ได้ยินเข้าไป ที่เห็นได้บ่อยจะนิยมใส่ความเป็นแจ๊สลงไป แต่ก็จะเอาไปผสมกับแนวดนตรีอื่น ๆ ต่างกันไป เช่น ป๊อบ เจป๊อบ อิเล็กทรอกนิส์ ฯลฯ ตามที่แต่ละวงอยากทำ อยากให้ผสมกับเสียงอิเล็กทรอนิกส์ด้วย ก็ใส่ลงไป หรืออยากให้มีความบอสซาโนวาด้วย ก็ใส่ลงไปอีก ซึ่งแต่ละวงก็มีสูตรการทำเพลงที่แตกต่างกันของตัวเอง แต่พอทำเสร็จจะมีคาแรกเตอร์บางอย่างที่คล้ายกัน แทบไม่มีเพลงไหนที่ใช้แนวดนตรีเดียวในการทำเพลงเลย เหมือนแกงหม้อใหญ่ที่ผสมวัตถุดิบที่อยากทานลงไปทั้งหมด แต่เพลงที่ออกมามันมักจะฟังดูดี เท่ ล้ำสมัยในยุค 90

ถึงแม้ว่าในไทย Shibuya Kei อาจจะไม่ได้ดังมากเมื่อเทียบกับเพลงป๊อบทั่วไป เพลงฝรั่ง อัลเทอร์เนทีฟ หรือถ้าเป็นเพลงที่มาจากญี่ปุ่นก็จะเป็น Visual Kei อย่าง X Japan หรือ R&B อย่าง Utada Hikaru มากกว่า แต่ Shibuya Kei ก็ยังมีความเชื่อมโยงกับเพลงไทยบางเพลงที่เชื่อว่าทุกคนคงเคยฟังกันด้วย อย่างเพลงกะหล่ำปลีชี้ช้ำของโจอี้บอย ก็มีดนตรีต้นฉบับมาจากเพลง Friends Again ของ Flipper’s Guitar หรือเพลงสงสัยของ Mr. Z ก็มาจากเพลง Sweet Soul Revue ของ Pizzicato Five (P5) ด้วย ซึ่งทั้งสองเพลงถือว่าช่วยเปิดโลก Shibuya Kei ให้กับวงการดนตรีของไทยในระดับหนึ่งด้วย 

แต่พอเข้ายุค 2000 Shibuya Kei ก็เริ่มเสื่อมลงจากการแยกตัวของ Flipper guitar และ Pizzicato Five (P5) แต่ก็ยังมีหัวหอกของทั้งสองวงที่ยังทำดนตรีต่อ อย่าง Keigo Oyamada สมาชิกของ Flipper guitar ที่แยกออกมาทำ Cornelius ผลงานดนตรีทดลอง ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น Post Shibuya Kei โดยแนวนี้จะมีความซับซ้อนทางดนตรีมากขึ้นไปอีก เช่น มีการนำดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ มาผสมกับดนตรีแอมเบียนต์ หรือใส่ความเป็นไซเคเดลิก ร็อค ลงไปอีก แต่ก็ยังมีทำนองที่สดใสแบบป๊อบได้อีก หรืออย่าง Yasuharu Konishi สมาชิกวง Pizzicato Five (P5) หลังแยกออกจากวงก็ได้สร้างค่าย Readymade Records ที่เน้นสร้างศิลปินและสนับสนุน Shibuya Kei รวมถึงดนตรีทดลองด้วย

นอกจากนี้ ภายหลังยังมี Neo Shibuya Kei ซึ่งเป็นการเอาความเป็น Shibuya Kei กลับมาทำใหม่ ซึ่งอยู่ช่วงปี 2000-2010 จากการแยกตัวของ Pizzicato Five (P5) สมาชิกก็มีทำวงชื่อ Capsule ด้วย ซึ่งจริง ๆ วงเริ่มต้นก่อตั้งตั้งแต่ปี 2001 แต่มาดังในปี 2010 ในช่วงแรกดนตรีจะมีความใกล้เคียงกับ Pizzicato Five (P5) ที่ใส่ความเป็นโมทาวน์ผสมไปกับแจ๊ส รวมถึงยังทำเพลงโดยมี Reference ในช่วง 60 70 ด้วย แต่ภายหลังช่วงที่ Daft Punk เข้ามา Capsule เองก็เอาความเป็นดนตรีเทคโน เฮ้าส์ ที่มีบีทหนัก ๆ มาผสมผสาน การเปลี่ยนแนวนี้ประสบความสำเร็จ และถือเป็นทิศทางใหม่ของแนวดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ในญี่ปุ่นด้วย อย่างเช่นวง Wednesday Campanella , Daoko , Kyary Pamyu Pamyu

จนมาถึงปัจจุบัน แม้คำว่า Shibuya Kei อาจจะไม่ได้คุ้นหูกันแล้ว แต่ความเป็นหัวก้าวหน้าในดนตรีผสมผสานของ Shibuya Kei นั้น กลายเป็นรากฐานในการทำเพลงในปัจจุบันของหลาย ๆ วงดนตรี ที่เอาความผสมผสานของดนตรีหลาย ๆ แนวมาทำเพลง อย่างฝั่งตะวันตกก็มี Potter Robinson หรือในเกาหลีเองอย่าง New Jeans ที่เห็นได้ว่าแม้เพลงจะไม่ได้เหมือน Shibuya Kei แบบดั้งเดิม แต่ก็จะมีหัวใจสำคัญบางอย่าง ทั้งการทดลองเอาดนตรีหลายแนวมาผสมผสาน และทำออกมาในแนวเพลงป๊อบสดใส ซึ่งอาจจะคาดคะเนได้ว่าในยุค 90 ที่ Shibuya Kei กำลังเป็นกระแส สมัยนั้นยังไม่ได้มีเสียงอิเล็กทรอนิกส์มากเท่ากับสมัยนี้ แต่ในปัจจุบันที่มีเสียงอิเล็กทรอนิกส์มากมาย ทำให้สามารถผสมผสานเสียงต่าง ๆ ได้มากกว่าแต่ก่อน ซึ่งใช้ความเป็นรากฐานของ Shibuya Kei ในการทำเพลง ทำให้หากใครชื่นชอบ Shibuya Kei ก็อาจจะชอบ New Jeans ไปด้วยจากกลิ่นอายใกล้เคียงกันนี้

Shibuya Kei จึงถือเป็นดนตรีแห่งอนาคตจากยุค 90 ซึ่งเดินทางมาเป็นรากฐานในดนตรีปัจจุบัน นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการเรียนรู้ดนตรีกับการทำเพลงด้วย ตั้งแต่ในอดีตที่ต้องเข้าใจในดนตรีหลากหลายแนว เพื่อทำเพลงให้ได้ความรู้สึกแบบ Shibuya Kei รวมถึงปัจจุบันที่เพลงป๊อบทั่วไปก็มีการผสมผสานหลายแนวดนตรีเข้าด้วยกันแล้ว หากใครสนใจเรื่อง Shibuya Kei สามารถติดตามได้ในบทความเก่า ๆ ซึ่งเคยมีลงไว้ก่อนหน้านี้ รวมถึงหากอยากนำแนวคิดตรงนี้ไปใช้ในการทำเพลงด้วย สามารถดูข้อมูลในหลักสูตร The Real Producer ที่ช่วยให้ทำเพลงได้ลึกและเข้าใจในทุกแนวเพลง จนสามารถทำเพลงที่ต้องการ และทำเพลงเป็นอาชีพได้จริง

The Real Producer

REAL / DEEP / EXCLUSIVE

หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream

เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง

ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง

นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ

หลักสูตร The Real Producer

เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล

สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link

http://mkt.verycatsound.academy/mf2

——————

Contact

Line ID :

– เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy

– เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound

Tel. : 0856662425

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.