12 เทคนิคทำเพลงประกอบภาพยนตร์อย่างมืออาชีพ

Share via:

Nattha Raviratanan

ไม่ว่าหนังสักเรื่องหนึ่งจะมาจากคนทำหนังมืออาชีพหรือมือสมัครเล่น ไม่ว่ามันจะเป็นหนังสั้น 12 นาทีหรือยาวสองชั่วโมง องค์ประกอบหนึ่งที่จะขาดไม่ได้เลยคือดนตรีประกอบ ซึ่งเทคนิคการทำเพลงดนตรีประกอบภาพยนตร์ ส่วนใหญ่จะเป็นการ ครูพัก ลักจำ ส่งต่อกันมาเป็นรุ่นสู่รุ่นเสียมากกว่า ซึ่งในวันนี้เราก็มีเทคนิคเล็กๆน้อยๆมาแบ่งปันกัน

สิ่งแรกก่อนที่เราจะเริ่มสร้างงานของเราได้นั้นก็ต้องมีการพูดคุยกับผู้กำกับหรือผู้นำไอเดียเสียก่อน เพื่อที่เราจะได้เข้าใจในภาพรวมของงานที่กำลังจะเริ่มต้นขึ้น และวางแผนนำไอเดียมากมายในหัวนำมาควบแน่นกลายเป็นผลงานที่ยอดเยี่ยม ซึ่งเทคนิคแรกที่เราจะพูดถึงเลยนั่นก็คือ

1.หลีกเลี่ยงศัพท์เทคนิค เวลาบรีฟงาน

หน้าที่ของเราคือตามการนำของผู้กำกับและสร้างดนตรีออกมาด้วยกัน ถ้าเราไปนั่งคุยศัพท์เทคนิคเยอะแยะหรือเอาแต่พูดถึงเรื่องดนตรี เราอาจจะพลาดข้อมูลสำคัญและความตั้งใจของผู้กำกับในการทำหนังเรื่องนั้นๆ ได้

ตั้งแต่ได้รับงานลองเข้าไปคุยกับผู้กำกับก่อนตั้งแต่เนิ่นๆ แบบพูดคุยเล่น ไม่ต้องมีเรื่องดนตรีเข้ามาเกี่ยวก็ได้ แล้วอาศัยบทสนทนาจากการพูดคุยนั้น มาช่วยกำหนดทิศทางว่าดนตรีของหนังเรื่องนั้นจะออกมาในรูปแบบไหนและความตั้งใจของผู้กำกับจริงๆแล้วคืออะไร

พยายามหลีกเลี่ยง “reality conversation” เพราะมันจะมาทำลายความคิดสร้างสรรค์ของเราหมด ปล่อยหน้าที่นั้นให้เป็นของโปรดิวเซอร์แทน

2.เล่าเรื่อง

ในหน้าที่ของคนทำเพลงภาพยนตร์หัวใจหลักคือการเล่าเรื่อง เพราะฉะนั้นให้ยึดมั่นกับเรื่องเล่านั้นๆ ห้ามปล่อยมันเด็ดขาด ให้เขียนเพลง และ พัฒนา (Develop) สกอร์ไปพร้อมๆกับภาพ บทพูด และ สีในโลกของภาพยนตร์ที่ผู้กำกับเป็นคนสร้างขึ้น ซึ่งการที่เราจะทำแบบนั้นได้เราต้องเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในเรื่อง คิดถึงตัวละครหลักของเรื่อง ศึกษา ทำความเข้าใจที่มาที่ไป มุมมอง ทัศนคติของตัวละครเหล่านั้นให้ดี

3.เข้าใจกฏในโลกของเรื่อง

ก่อนที่เราจะเข้าไปอยู่ในโลกของเรื่องนั้นๆเราจำเป็นต้องรู้กฏต่างๆของเรื่องผ่านผู้กำกับก่อน คุยกับผู้กำกับ ตกลงกันให้ชัดเจนจะช่วยให้เราและผู้กำกับเข้าใจแล้วก็เห็นภาพไปในทิศทางเดียวกัน พอเรามั่นใจในกฏนั้นแล้วเราถึงค่อยแหกกฏออกบ้างเพื่อที่จะได้เพิ่มลูกเล่นใหม่ๆเข้าไปในผลงาน

4.เริ่มเขียนเพลงทันที

ทันทีที่ได้รับงานเพลงมาเราอาจจะเริ่มเขียนเพลงให้เร็วที่สุด บางครั้งเริ่มเขียนก่อนหนังจะเริ่มถ่ายทำ เพื่อที่จะได้ช่วยบิวท์อารมณ์ผู้กำกับในระหว่างถ่าย ลองเชื่อมั่นในสัญชาตญานของทีมและสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ของทีม โดยการให้เพลงของเราตั้งแต่เริ่มๆ

5.บันทึกไอเดียไว้บ้าง

เราลองบันทึกไอเดียหรือทำนองเพลงต่างๆไว้ในทุกๆวัน แม้กระทั่งไอเดียแปลกๆที่เราอาจจะไม่มีโอกาสได้ใช้เลยก็ได้ แต่ก็จดมันไว้ด้วยและไม่จำเป็นต้องไปแก้ไอเดียหรือผลงานเก่าๆที่เคยแต่งไว้ เขียนเพลงขึ้นมาใหม่และพัฒนาไอเดียต่อไปเรื่อยๆ

6.สร้าง “Sound Palette”

( Sound Palette คือ เสียงหรือทำนองหลายๆ ทำนอง อาจจะใกล้เคียงกัน หรือ ไม่ใกล้เคียงกันก็ได้ เป็นทำนองที่เราหยิบขึ้นมาเป็นไอเดียเพื่อสร้างเพลง เหมือนกับ Color Palette หรือชุดสีหลายๆสีที่ใช้ในงานออกแบบ )

Sound Palette นี้แหละที่จะช่วยออกแบบโลกของภาพยนตร์และบิวท์อารมณ์ให้กับหนัง ภาพที่ฉายออกมากับดนตรีที่ได้ยินล้วนแล้วส่งเสริมกันและกันในการเล่าเรื่องที่ผู้กำกับต้องการอยู่ตลอด คนทำเพลงภาพยนตร์ควรจะศึกษาเรื่องการจัดแสง สี และการตัดต่อภาพยนตร์ไว้บ้าง เพื่อช่วยในการสร้างและเพิ่มความเข้าใจโลกของภาพยนตร์มากขึ้น

สำคัญมากๆ ที่เราต้องนำเสนอ Sound Palette ตั้งแต่ตอนต้นของหนัง เพื่อที่เกริ่นชวนคนฟังเดินทางไปในโลกของหนังที่ดนตรีของเราช่วยมันสร้างขึ้นมา

7.เลือกคีย์ของทำนองหลัก

เราควรเลือกคีย์มาหนึ่งคีย์ แล้วยึดคีย์นั้นเอาไว้ให้แน่น แล้วค่อยนำไปต่อยอดสร้างไอเดียเล่นกับคีย์นั้นๆให้มากที่สุด เราควรจะเลือกคีย์ที่เรามั่นใจ และให้พื้นที่กับเราในการที่จะถ่ายทอด อารมณ์ต่างๆ ออกมาได้มากที่สุด

8. พาคนดูออกเดินทาง

พาคนดูออกเดินทางไปด้วยกัน แต่อย่ามากจนเกินไป รู้ว่าช่วงไหนที่ดนตรีของเราควรจะถอย ถ้าเนื้อเรื่องมันซับซ้อนอยู่ อย่าทำดนตรีให้มันซับซ้อนไปด้วย ทำดนตรีที่ช่วยทำให้คนดูผ่อนคลาย ส่งเสริมให้คนดูเข้าใจเนื้อเรื่องได้ง่ายขึ้น

9. เขียนเพลงสำหรับระบบเสียงที่ดีที่สุดอยู่ตลอด

ถึงแม้ผลงานเราจะไปอยู่ในหลายสภาพแวดล้อมและคุณภาพของเสียงที่อาจจะแตกต่างกันออกไป แต่เราควรจะทำเพลงออกมาให้กับระบบเสียงที่ดีที่สุดอยู่เสมอ

10. หาจังหวะให้เจอ

คนตัดต่อหรือ Editor จะเป็นคนช่วยกำหนดจังหวะที่เหมาะสมกับฉากในภาพยนตร์นั้นๆใช้ฉากที่ตัดต่อแล้วเป็นเหมือนกับ กลอง กำหนดจังหวะในสกอร์และกำหนด BPM ให้ไปในทิศทางเดียวกันกับฉากนั้น

ตั้งใจดูฉากนั้นๆของหนังแล้วเปลี่ยนฉากนั้นมาเป็นเสียงดนตรี จากนั้นเปิดฉากนั้นดูใหม่แล้วลองดูว่า จังหวะมันตรงกันมั้ย ไปด้วยกันได้หรือปล่าว

11.เจาะจงนักดนตรีที่เลือกมาเล่นสักนิดนึง

ในระหว่างที่เราเขียนทำนองของเครื่องดนตรีนั้นๆ พยายามมีภาพของนักดนตรีที่จะเลือกมาเล่นให้ไว้ในหัวสักนิดนึงว่าคนคนนั้นจะเป็นใคร เพราะว่าเราจะได้ไม่ต้องมาเจอกับนักดนตรีที่ไม่สามารถเล่นโน้ตที่เราเขียนได้

“หานักดนตรีที่พยายามที่จะหาทางเล่นโน้ตนั้นๆให้ได้ แทนที่จะหาข้อแก้ตัวว่าทำไมถึงเล่นไม่ได้”

12. การปรับปรุงแก้ไข ควรจะเป็นการทำงานด้วยกัน

การแก้เพลงควรจะเป็นการทำงานไปด้วยกันของคนทำเพลงและผู้กำกับ มากกว่าเป็นการมานั่งให้ feedback กันไปมาและจดเป็นข้อๆว่าต้องแก้ตรงไหนบ้าง เพราะสุดท้ายแล้วเป้าหมายของเราคือการเขียนเพลงที่มันเหมาะที่สุดกับเรื่อง ราวนั้นๆเพราะฉะนั้นการทำงานด้วยกันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

และสุดท้ายการที่เราจะทำงานได้สะดวกที่สุด ก็ควรมีโปรแกรมที่เอื้อเราในการทำงานมากที่สุด

ในข้อนี้ก็แล้วแต่บุคคลว่าแต่ละเชี่ยวชาญในการทำงานแบบไหน โปรแกรมอะไร แต่ถ้าให้แนะนำโปรแกรม DAW สักอันที่เกี่ยวกับสายทำเพลงประกอบ Cubase 9.5 ก็ถือว่าตอบโจทย์สายทำดนตรีประกอบไม่น้อยทีเดียว ด้วยความที่กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มของคนทำดนตรีประกอบภาพยนตร์ ส่วนนึงที่ทำให้ Cubase เป็นที่นิยมก็คือฟีเจอร์อย่าง Expression Map ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสลับ Articulations ของเครื่องดนตรี (เช่นไวโอลินสีค้างไว้, สีสั้นๆ, สีต่อเนื่อง, ดีดสาย) ไปมาได้อย่างง่ายดาย ในขณะที่ผู้ใช้ DAW อื่นๆอาจจะต้องนั่งเขียน Keyswitches เองทีละตัว ซึ่งฟีเจอร์นี้มีประโยชน์มากๆ ในการทำ Orchestral Mockup (= การทำเพลงออเคสตราโดยใช้ซอฟต์แวร์แทนนักดนตรีจริง)

ส่วนข้อเสียของ Cubase ที่ได้ยินคนบ่นกันบ่อยๆ ก็คือเวลาใช้ซอฟต์แวร์เราจะต้องมี USB อันเล็กๆเสียบคาคอมไว้ตลอดเวลา ไม่อย่างนั้นจะเปิดโปรแกรมไม่ได้เลย ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่ทาง Steinberg สร้างมาเพื่อป้องกันซอฟต์แวร์ตัวเองไม่ให้ถูกละเมิดลิขสิทธิ์นั่นเอง

———————

The Real Producer

REAL / DEEP / EXCLUSIVE

.

VERY CAT SOUND : Compose Your Dream

.

สร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพระดับสากล

สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ที่

Line ID : @verycatsound

Tel : 0923619361

——————

#logicpro#apple#musicproduction#jingle#musicforbusiness

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.