จังหวะ คือ

เข้าใจ Time Signature ในเพลง มีอะไรนอกเหนือจาก 4/4

Share via:

Krissaka Tankritwong

เข้าใจ Time Signature ในเพลง มีอะไรนอกเหนือจาก 4/4

Time Signature เป็นอีกเรื่องพื้นฐานหนึ่งที่ทุกคนในสายอาชีพดนตรี ทั้งคนทำเพลง คนเล่นดนตรี ต้องเข้าใจเป็นอันดับต้น ๆ เลย โดยส่วนใหญ่แล้ว Time Signature ที่คุ้นเคยกันมักจะเป็น 4/4 แต่จริงแล้วยังมี Time Signature นอกเหนือจาก 4/4 รวมถึงยังแบ่ง Time Signature ออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ บทความนี้จะมาอธิบาย Time Signature ให้เข้าใจ พร้อมยกตัวอย่าง Time Signature เด่น ๆ พอสังเขปกัน

อย่างที่เกริ่นไปว่า Time Signature เป็นพื้นฐานอย่างหนึ่งในการทำเพลง เมื่อเปิด DAW ขึ้นมาก็จะมี Time Signature ปรากฏขึ้นมาเลย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น Time Signature 4/4 เป็นค่า Default โดยเลข 4 ตัวหน้า หมายถึงค่ากำหนดจังหวะให้ภายในหนึ่งห้องมี 4 จังหวะ และเลข 4 ตัวหลังคอืการบอกว่าให้ใช้โน๊ตตัวดำในการกำหนดจังหวะ ซึ่งเพลงทั่วไปก็มักจะใช้ 4/4 กันเป็นหลัก

แต่ในทางดนตรียังมี Time Signature อื่น ๆ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มได้ดังนี้

Simple Time
จะเป็นจังหวะที่มักจะหารด้วย 2 หรือ 4 ลงตัว เช่น 4/4 ซึ่งเพลงส่วนใหญ่บนโลกกว่า 80% ใช้ Time Signature นี้ เวลาฝึกเล่นดนตรีหรือทำเพลงก็มักจะใช้ 4/4 เพราะจังหวะไม่ซับซ้อนมาก และมักเน้นหนักที่จังหวะแรกเท่านั้น แต่ก็มีจังหวะ 3/4  ที่ถึงแม้จะหารลงตัวด้วย 3 แต่ก็เป็นข้อยกเว้นให้อยู่ใน Simple Time โดยจังหวะ 3/4 ที่ภายในหนึ่งห้องจะเหลือ 3 จังหวะแทน โดยเราจะคุ้นเคยกันในเพลง Waltz ซึ่งถือเป็นประมาณ 8-10% ของเพลงทั้งหมดบนโลก

Compound Time
เป็นจังหวะที่เลขตัวหน้าหารด้วย 3 ลงตัว ที่เห็นส่วนใหญ่จะเป็น 6/8 ซึ่งหมายถึงว่าในหนึ่งห้องมี 6 จังหวะ ส่วนเลข 8 ข้างหลังจะเป็นกำหนดให้เราเล่นแบบครึ่งเสียง เวลาเล่นเพลง 6/8 ก็จะเน้นจังหวะหนักตัวที่ 1 และตัวที่ 4 อย่างเพลงที่เป็น 6/8 คือเพลงโดเรมอน หรือเพลงชาติไทย ซึ่งมีจังหวะที่ไหลโยกแบบเพลง Shuffle ด้วย นอกจากนี้ยังมี Time Signature อื่น ๆ อีก เช่น 12/8  หรือ 9/8

Complex Time

Time Signature อื่น ๆ ที่ไม่ได้หารลงตัวด้วย 2 3 4 เช่น 7/8 , 5/8 เพลงที่อยู่ในจังหวะเหล่านี้จะมีความซับซ้อน อย่างเพลงใน 4/4 ก็มักจะเน้นจังหวะตัวที่ 1 เป็นหลัก แต่ 7/8 ก็อาจจะเน้นจังหวะหนักไปที่ตัวที่ 1 กับ 5 หรือ 1 กับ 4 ก็ได้ ซึ่งมีประมาณ 1-5% เท่านั้นที่ใช้ Time Signature แบบ Complex Time

สำหรับผู้เริ่มต้นแนะนำให้ฝึกเล่นดนตรีหรือทำเพลงในจังหวะ 4/4 ก่อน นอกจากจะเป็นพื้นฐานแรกเริ่มแล้ว ยังเป็นจังหวะส่วนใหญ่ที่เพลงทั่วไปใช้ด้วย แล้วเมื่อคล่องจึงค่อยลองขยับไปเป็น Time Signature อื่น ๆ เช่น 3/4 , 6/8 ส่วนพวกที่เป็น Complex Time อาจจะเอาไว้ทีหลังสุด เพราะต้องใช้เวลาศึกษาเพิ่มและฝึกฝนพอสมควร 

ถ้าใครอยากเข้าใจเรื่อง Time Signature สั้น ๆ สามารถติดต่อเข้ามาได้ โดยจะมีมินิคอร์สที่ทำไว้อธิบายเรื่อง Time Signature โดยเฉพาะ ความยาวประมาณ 2 ชั่วโมง รวมถึงถ้าอยากศึกษาและฝึกฝนการทำเพลงอย่างจริงจัง สามารถดูรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมได้ในหลักสูตร The Real Producer

The Real Producer

REAL / DEEP / EXCLUSIVE

หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream

เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริง

ถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับ

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจัง

นี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ

หลักสูตร The Real Producer

เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากล

สนใจหลักสูตร ติดต่อ admin ที่ line ด้านล่าง หรือ รับ demo คอร์สเรียนฟรี! และข้อมูลเพิ่มเติม ที่ link

http://mkt.verycatsound.academy/mf2

——————

Contact

Line ID :

– เรื่องเรียนทำเพลง @verycatacademy

– เรื่องจ้างทำเพลง @verycatsound

Tel. : 0856662425

Leave a Comment

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.