สอนแต่งเพลง สาวน้อยอัจฉริยะเปียโนแจ๊สยุคใหม่

Hiromi Uehara สาวน้อย Piano อัจฉริยะ เบื้องหลัง Blue Giant

เนื่องด้วยโอกาสต้อนรับการมาของ Animation แนวดนตรีที่มาแรง และเป็นที่พูดถึงอยู่ในขณะนี้อย่าง Blue Giantใครที่ดูมาแล้วต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันถึงความดีงามของอนิเมชั่นเรื่องนี้ ทั้งเนื้อเรื่องและดนตรีประกอบเรียกได้ว่า เป็นภาพยนตร์-Animation เกี่ยวกับดนตรีเรื่องหนึ่งที่ขึ้นหิ้งว่า ในชีวิตคนที่รักดนตรีควรดูสักครั้งในชีวิต แม้จะไม่ใช่สาย Jazz โดยตรงก็ตามวันนี้เราจึงอยากนำเสนอเรื่องของบุคคลเบื้องหลังผู้ทำดนตรีประกอบที่สุดแสนพิเศษให้กับเรื่องนี้ นั่นก็คือ ฮิโรมิ อูเอฮารา (Hiromi Uehara) ระวัง! อย่าให้รูปร่างหน้าตาแบบสาวน้อยญี่ปุ่นน่ารัก แสนคิกขุ ของเธอหลอกเอา เพราะเมื่อไรที่คุณได้เห็นเธอบนเวที เธอจะกลายร่างเป็นอัจฉริยะทางเปียโน ที่มีฝีมือระดับปีศาจที่คุณอาจไม่คิดว่าจะมีอยู่จริงบนโลก และในยุคสมัยนี้ หลายๆคนที่ชอบดนตรีแจ๊สเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จะรู้จักว่า ฮิโรมิ อูเอฮารา เป็นใครหรือต่อให้ไม่รู้จัก แต่ถ้าคุณได้มีโอกาสไปฟังเพลงที่เธอเล่นคุณจะทึ่งในความสามารถการ “อิมโพรไวซ์” หรือการ “ด้นสด” เหนือมนุษย์ของเธอจนต้องอ้าปากค้าง เพราะเธอคนนี้ถือเป็นนักเปียโนอัจฉริยะด้านดนตรีแจ๊ส ที่สามารถผสมผสานศาสตร์ดนตรีแขนงอื่นๆ เข้ากันได้อย่างลงตัว ฮิโรมิ...

Melody คืออะไร? มือใหม่ระวังสับสน

มีหลายคนที่ยังเป็นมือใหม่ ยังสงสัยว่าสรุปแล้ว Melody คืออะไร? Melody ก็คือ “ทำนอง” มันคือโน้ตที่มีระดับความสูงต่ำ มีความต่อเนื่อง ที่ทำให้จดจำได้ง่าย นั่นแหละครับคือ Melody  ความแตกต่างระหว่าง Melody กับ Chord คือ Melody จะเล่นต่อเนื่องกว่า และไม่ได้เล่นตัวโน้ตพร้อมกันเหมือน Chord แต่ทีนี้ถ้าเราพูดถึง Melody เราจะนึกถึงทำนองหลักมากกว่า หรือก็คือตัว Melody หลัก Melody หลัก คืออะไร? Melody หลัก จะเป็นตัวที่เด่นที่สุด เราได้ยินแล้วจดจำได้มากกว่าตัวอื่นๆ เช่น นักร้อง ที่ร้องเพลงในทำนองที่จดจำง่าย คนฟังแล้วร้องตามได้ หรือเพลงที่ไม่มีนักร้อง ก็อาจจะมีเครื่องดนตรีตัวหนึ่งเล่นทำนองที่มีความเด่นกว่าตัวอื่นๆ...

พื้นฐานดนตรีแน่น ต่อยอดไปได้ไกล แนะนำวิชา Basic Compose

พื้นฐานดนตรีแน่น ต่อยอดไปได้ไกล แนะนำวิชา Basic Compose คอร์สสำหรับมือใหม่อยากทำเพลง สำหรับใครที่เพิ่งเริ่มทำเพลง หรือยังไม่ได้เริ่มแต่สนใจในการทำเพลง เราอยากแนะนำวิชานี้มากๆ มันคือ VCA101 Basic Compose วิชาที่ว่าด้วยพื้นฐานของการแต่งเพลง รวมไปถึงทุกๆสิ่งที่คุณควรรู้ก่อนสำหรับการทำเพลงในกระบวนการที่สูงขึ้นต่อๆไป มันคือประตูบานแรกสู่โลกของการทำเพลงของคุณ ถ้าคุณเป็นคนที่เพิ่งเริ่ม แน่นอนเลยว่าคุณจะเจอกับจักรวาลการทำเพลงอันกว้างใหญ่ไพศาล และจับต้นชนปลายอะไรไม่ถูกว่าอะไรคืออะไร? ถ้าคุณต้องการคำตอบสำหรับคำถามเหล่านี้ ที่ร้อยเรียงมาอย่างเป็นระบบ เพื่อความเข้าใจในเบสิค รู้จริงเพื่อการต่อยอดในอนาคต คำถามเหล่านี้ อาทิ – การทำเพลงแบ่งเป็นขั้นตอนอะไรบ้าง ต้องทำอะไรก่อนหลัง – แต่งเพลง ทำเพลง ทำบีท ทำซาวด์ แต่ละอย่างคืออะไร เหมือนกันมั้ย – จะแต่งเพลงต้องเริ่มจากอะไรก่อน เนื้อเพลงหรือทำนอง – ใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง...

สารบัญประมวลความรู้การทำเพลงประจำปี

วันนี้เราได้รวมรวบสารบัญความรู้การทำเพลง ให้คนที่สนใจค้นหาง่ายๆกันนะครับรวมทุกคอนเทนต์และความรู้มากมายที่เราได้ทำมาตลอดทั้งปีเป็นลิ้งค์รวมง่ายๆเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เข้าถึงความรู้ที่เป็นประโยชน์ในด้านการทำเพลงและพัฒนาทักษะทางดนตรีครับ เพื่อแทนคำขอบคุณให้กับผู้ที่ติดตาม Verycatsound ทุกคน ทั้งในเพจ Facebook, Youtube, Line, รวมถึงช่องทางอื่นๆด้วยครับ สารบัญความรู้ทั้งหมดเราจะแบ่งออกเป็น 4 หมวดหมู่ 17 หัวข้อไม่ว่าจะความรู้สำหรับมือใหม่ – มืออาชีพ, ปัญหาต่างๆที่พบเจอในการทำเพลง, หรือความรู้ที่เกี่ยวข้องกับทางดนตรี รวมอยู่ในบทความด้านล่างนี้แล้วนะครับ สามารถเข้าไปดูได้เลย หมวดหมู่ สำหรับมือใหม่ Newbie อยากเรียนทำเพลง ควรรู้จัก 3 ขั้นตอนนี้ก่อนตัดสินใจhttps://verycatsound.com/blog-learn-music/ เนื้อร้อง-ทำนอง-ดนตรี สามสิ่งที่คุณอาจสับสนhttps://verycatsound.com/blog-confusion/ ควรรู้อะไรบ้างก่อนจ้างทำเพลง?https://verycatsound.com/blog-hired/ เรียบเรียงดนตรีไม่ดี ระวังเสียค่าห้องอัดเป็นหมื่นhttps://verycatsound.com/blog-bad-arrangement/ แนะแนวทางเรียนทำเพลงด้วยตัวเอง ระดับขั้นต้นhttps://verycatsound.com/blog-self-practice-beginner/ แนะแนวทางการเรียนทำเพลงด้วยตัวเอง ขั้นสูงhttps://verycatsound.com/blog-self-practice-advanced/ วิธีจัดตารางฝึกฝน สู่เส้นทาง Producerhttps://verycatsound.com/blog-schedule/...

เรียนทำเพลง ฝึกขั้นคู่ 12 เพลง

ฝึกจำขั้นคู่ Interval ด้วยเพลง 12 เพลง

ขั้นคู่ หรือ interval หน่วยย่อยที่สุดในการสร้างเสียงประสานของดนตรี ซึ่งถ้าใครที่สามารถแยกแยะเสียงขั้นคู่ออก จะมีความคล่องแคล่วในการนำไปใช้สร้างดนตรีที่มีความซับซ้อนและไพเราะได้มากกว่า การจำเสียงขั้นคู่หรือในดนตรีเป็นการฝึก ear training อย่างหนึ่ง ที่ไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากขนาดนั้น ถ้ารู้วิธีฝึก วันนี้เรามีเทคนิคนึงมานำเสนอ คือการ ฝึกจำขั้นคู่ต่างๆด้วยเพลง โดยจะคัดเพลงที่ค่อนข้างคุ้นหู หรือเคยได้ยินกันมา ค่อนข้างเป็นสากล เรียกได้ว่าฟังแค่ สองสามโน้ตแรก ก็ร้องอ๋อเลย ว่านี่มันคู่อะไร (และถ้าใครยังไม่รู้ว่า ขั้นคู่ Interval คืออะไร สามารถกดเข้าไปดูได้เลยที่ ตรงนี้) ปล. คู่ 1 ไม่ต้องมีเนอะ เพราะมันตัวเดียวกัน 1.คู่ 2 minor Pink Panther Theme...

เรียนทำเพลง 9 เทคนิคทำเพลงเครื่องดนตรีเยอะ

9 เทคนิคทำเพลงเครื่องดนตรีเยอะยังไง ให้ไม่ตีกัน

ครั้งก่อน เราเคยพูดถึงเรื่องลำดับการเรียนรู้การทำดนตรีจากวงเล็ก ไปวงใหญ่กันไปแล้ว ใครที่ยังไม่ได้อ่านสามารถตามเข้าไปอ่านได้ที่ลิ้งค์นี้เลยครับhttps://verycatsound.com/blog-band/ วันนี้เราจะมาเจาะกันว่าพอเราจะทำเครื่องดนตรี 8 ชิ้นขึ้นไปมันต้องเพิ่มไลน์ดนตรียังไงให้ออกมาดูดี ไม่ตีกัน 9 เทคนิคทำเพลงเครื่องดนตรีเยอะยังไง ให้ไม่ตีกัน 1. ไลน์ที่เพิ่มเข้ามา อาจไปทำ Dublin เพื่อเพิ่มสีสัน ถ้าใครที่รู้สึกว่าไลน์ดนตรีเดิมของเรามันฟังดูแล้วไม่ลื่นหู หรือมันรู้สึกยังขาดมิติ เป็นเพราะเครื่องดนตรีเริ่มเยอะขึ้น เลยทำให้เมโลดี้บางตัวที่เราเล่นมันไม่เด่นถ้ามีปัญหานี้แนะนำให้ลองทำ Dublin ดูครับDublin หรือเรียกอีกอย่างว่า Double คือการเล่นไลน์ดนตรีซ้ำกับเครื่องดนตรีตัวอื่นที่ทำเอาไว้แล้ว เป็นการย้ำเพื่อเพิ่มสีสันหรือสร้างความน่าสนใจให้กับไลน์ดนตรีของเรา เช่น สมมุติว่าผมใช้เปียโนเล่นเมโลดี้เข้าไป แล้วรู้สึกว่ามันยังจืด ก็ลองหยิบ synth มาเล่นเมโลดี้ตัวเดียวกันเข้าไปเพิ่มเพื่อให้มันดึงความน่าสนใจมากขึ้น 2. ไลน์ที่เพิ่มเข้ามา อาจไปทำหน้าที่ Chorus ให้กับเครื่องดนตรีตัวอื่น คล้ายๆกับข้อแรก แต่ไลน์ดนตรีที่เราเล่นอาจไม่ได้เล่นซ้ำเป๊ะๆ เพราะเราจะใช้ขั้นคู่...

ทำไมต้องเรียนวิชา Basic Rhythm เข้าใจจังหวะจบใน 2 ชั่วโมง

จังหวะคือสิ่งที่สำคัญมากในดนตรี ไม่แพ้ตัวโน้ต pitch ,ระดับเสียง คอร์ด หรือเสียงประสานจังหวะคือสิ่งที่มีอยู่คู่กับมนุษย์มาอย่างยาวนาน และเป็นองค์ประกอบดนตรีที่อยู่กับมนุษย์มาก่อนจะระดับเสียงซะอีกดนตรียุคปัจจุบันทั้งโลกนี้ ใช้จังหวะ 4/4 เป็นหลัก ซะ 70% ส่วนที่เหลือเป็น 3/4 , 6/8 , swing บ้าง อีก 29% และจังหวะที่ใช้น้อยจริงๆคือพวก complex time ประหลาดๆทั้งหลายแหล่ อีก 1% คนที่มีเซ้นส์อยู่แล้วในเรื่องของจังหวะก็สบายๆแต่ก็มีหลายคนที่ไม่มีก็อาจจะงง ยังไม่เข้าใจคำว่าจังหวะแจ่มแจ้ง แล้วยังมีความเข้าใจผิดๆอยู่ บางทีทำเพลงของตัวเองออกมา ก็ไม่รู้ตัวว่าเพลงที่ตัวเองทำอยู่จริงๆแล้วไม่ใช่จังหวะ 4/4 แต่เป็นจังหวะอื่น เช่น 3/4 บ้าง, shuffle บ้าง โดยที่ไม่รู้ตัว...

ฝึก Ear Training Move-Do ฟรีๆ 1 ชั่วโมงเต็ม!

มีหลายคนถามเข้ามากับทางเราว่า “ฝึก Ear Training ยังไงดี?” หรือบางทีติดต่อเข้ามาสอบถามว่า “มีให้เรียนฝึก Ear Training ไหมครับ”ซึ่งคอร์สของเราจะไม่มีสอน Ear Training โดยตรง มีบ้างที่ให้ฝึกในบางวิชาแต่คอร์ส The Real Producer ของเราจะเน้นฝึกในเรื่องของการประพันธ์, การเรียบเรียงดนตรี เน้นฝึกให้ผู้เรียนเข้าใจทฤษฏีดนตรีต่างๆเพื่อเป็น Producer มืออาชีพมากกว่า แต่ก็ไม่ได้แปลว่า Ear Training ไม่สำคัญ ถ้าใครที่มีพื้นฐานในการฝึก Ear Training มาดีจะรู้ว่ามันช่วยในเรื่องการเรียนทำดนตรีได้สัมฤทธิ์ผลมากขึ้นแต่ก็มีบางคนที่หูอาจจะไม่ได้ดี ไม่ได้มีการฝึกฝนเรื่องการฟัง หรือ Ear Training มาก่อนไม่สามารถร้องเพลงตามโน้ตได้ ก็จะมีปัญหานิดนึง ไม่ได้แปลว่าจะทำเพลงไม่ได้ แค่ว่าจะเหนื่อยกว่าคนอื่นเวลาที่คุณฝึกทำเพลง หรือฝึกเล่นดนตรีดังนั้นการฝึก Ear...

อยากทำเพลง Pop ทำไมต้องเรียนคอร์ด Jazz?

หลายคนอาจไม่รู้ว่าทำไมต้องเรียน Jazz ด้วย?เพราะ Jazz เป็นแค่แนวเพลงอันนึงเท่านั้น ที่ถ้าไม่ได้สนใจก็ไม่เห็นจะต้องเรียนมันเลย แต่คุณอาจจะยังไม่รู้ว่าข้อดีที่ได้เรียน Jazz นั้นมีมากมายมหาศาล และยุคสมัยนี้เป็นยุคที่เพลง Pop นั้นมีความซับซ้อนและทำยากมากขึ้นกว่าเดิม เพราะศิลปิน นักแต่งเพลง หรือโปรดิวเซอร์หลายๆคนพยายามจะหยิบทฤษฏีดนตรีขั้นสูงต่างๆ โดยเฉพาะทฤษฏีดนตรี Jazz เอามาใส่ในเพลงของตัวเองกัน ทำให้ยุคนี้ถือเป็นยุคที่มีเพลงหลากหลายแนว หลากหลายอารมย์ให้เราฟังเยอะมาก ดังนั้นการเรียนคอร์ด Jazz จะเรียกว่าเป็น เรื่องที่ควรรู้เลยก็ว่าได้ถ้าคุณอยากจะเก่งขึ้น และอยากตามยุคสมัยทัน ผมจะยกตัวอย่างข้อดี 3 ข้อนี้ที่คุณจะรับหลังจากที่ได้เรียนคอร์ด Jazz ไปนะครับ 1. ทำให้เกิดสำเนียงใหม่ๆ ถ้าหากคุณเจอทางตันเวลาทำเพลง ใช้แต่คอร์ดเดิมๆวกวนไปมาไม่รู้ว่าจะสร้างสำเนียงในเพลงของเรายังไงให้มีความแปลกใหม่ไม่เหมือนใครแต่แค่เรารู้คอร์ดแจ๊สพื้นฐานแค่นี้ก็จะช่วยให้เพลงของคุณจะดูมีสีสันขึ้น มีรสชาติใหม่ๆ มีสเกลที่พลิกแพลงเยอะขึ้น และลูกเล่นใหม่ๆให้เราใช้งานเพิ่มขึ้นอีกทั้งยังช่วยให้เราก้าวข้ามขีดจำกัดจากคอร์ดเดิมๆ ให้เรามีไอเดียในการแต่งเพลงมากขึ้นมหาศาล ไม่มีทางตันอีกต่อไป 2....

สอนแต่งเพลง 4 ลำดับการเรียนรู้ แนวคิดการทำดนตรีให้วงเล็กไปจนถึงใหญ่.jpg

4 ลำดับการเรียนรู้ แนวคิดการทำดนตรีให้วงเล็ก-ใหญ่

ผมเห็นปัญหาอย่างหนึ่งของคนที่เรียนการทำเพลง ทำดนตรี จากการบ้านที่นักเรียนในคลาส The Real Producer ส่งมา คือเวลาทำดนตรีแล้ว ใส่เครื่องดนตรี “เยอะ” เกินไป แล้วเกิดอาการ “ตีกัน” ที่จริงแล้วการใส่เครื่องดนตรีเยอะชิ้นสามารถทำได้ครับ เพียงแต่ว่ามันจะยากกว่าการทำเครื่องดนตรีน้อยชิ้น ตรงที่ต้องคอยระวังควบคุมดีๆไม่ให้มันเกิดอาการตีกัน เพราะยิ่งเครื่องเยอะก็จะยิ่งยากขึ้น เพราะมี element หรือองค์ประกอบที่ต้องคอยควบคุมใส่ใจมากขึ้นตาม ทำยังไงไม่ให้รก ไม่ให้ตีกัน ไม่ให้แย่งหน้าที่กัน ฯลฯ ก่อนอื่นเลย การที่จะทำเพลงเครื่องดนตรีเยอะชิ้นได้นั้น ผมขอให้เริ่มจากการทำจากเครื่องน้อยๆให้ได้ก่อน พอทำแบบเครื่องน้อยได้จนลงตัวทั้งเพลงแล้ว เพลงต่อๆไปค่อยๆเพิ่มขนาดของวงดนตรีให้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆทีละนิด ฉะนั้นวันนี้จึงมาแนะนำลำดับการเรียนรู้การทำดนตรีจากวงเล็กไปจนถึงใหญ่กันนะครับ ต่อไปนี้จะเป็น Step ของการเรียนรู้ ว่าควรเริ่มจากวงแบบไหนบ้างนะครับ Step 12 Lines : Chord –...

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.