MUSIC FOR BUSINESS

3 อย่าง ที่นักพากย์โฆษณาต้องมี

อาชีพ นักพากย์ ในปัจจุบันถือเป็นอีก 1 อาชีพที่น่าจับตามอง เพราะมีความต้องการของตลาดที่สูงมากขึ้นกว่าแต่ก่อนและมีการแข่งขันที่สูงมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งบางคนอาจจะเคยได้ยินประโยคขายฝันอย่าง 3ไม่เกิน6เดือนรายได้เดือนละแสน 2ถึง3ปีล้าน มาบ้างแต่กลับกันในด้านของอาชีพนักพากย์โฆษณาสามารถสร้างรายได้ 300 $ (10,000 บาท) ภายใน 5 นาทีได้จริงๆ เหมือนการคิดค่าโฆษณาวินาทีละหลายแสน นักพากย์ก็สามารถทำเงินได้เป็นวินาที เป็นนาทีได้เช่นกัน แต่การจะมาทำอาชีพในด้านนี้ก็ไม่ได้ง่าย แม้ว่าจะไม่ได้มีการจำกัดวงอาชีพแบบเจาะจงว่าต้องจบตรงสายจบสาขานี้เท่านั้น แต่ถ้าอยากเป็นนักพากย์มืออาชีพ สิ่งที่ควรมีคืออะไร? อย่างแรก คือมีน้ำเสียงดี ต้องสามารถใช้น้ำเสียงได้หลากหลาย เพราะนักพากย์ต้องใช้น้ำเสียงในการแสดงอารมณ์และสถานการณ์ พากย์เสียงได้หลายอารมณ์ต้องหาวิธีสร้างเสียงให้เข้ากับอารมณ์และสถานการณ์นั้นๆ อาจต้องลองค้นหาสไตล์เสียงของตัวเองให้เจอเพราะถ้าหาเจอแล้วจะช่วยให้เราโฟกัสได้ง่ายขึ้นว่าควรฝึกออกเสียงแบบไหน ใช้เสียงอย่างไรอีกทั้งยังสามารถสร้างเสียงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวได้อีกด้วย อย่างที่ 2 คือมีทักษะ ทักษะที่จำเป็นต้องมีหลักๆคือ ทักษะด้านการอ่านและการตีความ ในการพากย์เสียงต้องมีการอ่านบทพากย์และตีความ ซึ่งต้องอ่านออกเสียงได้ชัดเจน คล่องแคล่ว ตรงตามไวยากรณ์...

3 ทริค ทำเพลง Cover ให้น่าสนใจ

ทริคที่ 1 เริ่มต้นตั้งแต่การเลือกเพลง การเลือกเพลงมาทำ cover นั้นหลายคนอาจคิดว่ามันไม่ได้จำเป็นที่จะต้องคิดอะไรให้มากมาย แต่การ cover เพลงที่ไม่เหมาะสมหรือไม่มีความคิดสร้างสรรค์จะทำให้คนอาจไม่กลับมาดูช่องของเราอีก ควรเลือกเพลงที่ดึงเอาจุดแข็งของตัวเองออกมาได้ดี เพื่อโชว์ความเป็นศิลปินในตัวของตัวเองออกมาให้ได้เยอะ และควรเลือกเพลงฮิตที่กำลังได้รับความนิยม เพราะเพลงที่กำลังดังนั้นมีฐานคนฟังมากอยู่แล้ว และแน่นอนว่าก็คงมีไม่น้อยที่อยากจะลองฟังฉบับอื่นๆดู ถ้าเกิดเรา cover เพลงที่อาจจะไม่ได้ดังหรือกำลังเป็นกระแส มันก็อาจจะยากหน่อยที่จะดึงดูดคนเข้ามา เพราะแค่ตัวเพลงอย่างเดียวก็สามารถดึงดูดคนเข้ามาดูได้ แล้วยิ่งถ้าช่องของเราไม่ได้มีฐานแฟนเพลงฟังเป็นทุนเดิมอยู่แล้วนั้นก็เหมือนกับว่าเรายิ่งตัดโอกาสของตัวเอง ในการดึงดูดความสนใจของกลุ่มคนที่อาจจะกลายมาเป็นแฟนคลับของเราในอนาคตเข้าไปอีก ทริคที่ 2 ทำเพลงให้ใส่ความสร้างสรรค์ อีกสิ่งหนึ่งนอกจากการที่เราร้องเพลงเพราะแล้วนั้นมันอาจยังไม่เพียงพอ เพราะสิ่งที่คนกำลังมองหาคือความสร้างสรรค์ อย่าลืมว่าการ cover ไม่ใช่การร้องคาราโอเกะ เราต้องทำมันให้ดีกว่าหรือทำให้รู้สึกแตกต่างออกไปจากต้นฉบับ โดยต้องมีการปรับแต่งใหม่ เพื่อให้คนได้ฟังต้นฉบับอีกครั้งในอีกรูปแบบอีกอารมณ์ความรู้สึก วิธียอดนิยมที่สุดในการทำเพลง cover คือร้องเพลงในเวอร์ชั่น Acoustic ลดความเร็วจังหวะของต้นฉบับ และเหลือแค่เสียงร้องและเสียงเครื่องดนตรี และอีกวิธีหนึ่งที่ฮิตไม่แพ้กัน คือการเปลี่ยนรูปแบบจากต้นฉบับไปเลยโดยสิ้นเชิง...

ระบบเสียง IVR ตัวช่วยในธุรกิจชั้นนำ

ระบบ IVR (Interactive Voice Response) คือ การตอบโต้เมนูอัตโนมัติผ่านเสียง ที่ใช้ในระบบ Call Center เพื่อตอบคำถามลูกค้าโดยไม่ต้องใช้พนักงาน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยลดภาระการทำงานของพนักงานในการตอบรับลูกค้าเบื้องต้น และเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้าที่โทรเข้ามาโดยสามารถเลือกได้ว่าต้องการคุยหรือต้องการการบริการในเรื่องใด ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่คุณโทรหาบางบริษัทและมีระบบบอกว่า “ติดต่อฝ่ายขายกด 1“ “ติดต่อฝ่ายบริการกด 2” “แจ้งปัญหากด 3” แบบนี้เป็นต้น ซึ่งระบบนี้สามารถช่วยในการเก็บข้อมูลของลูกค้า เช่น ประเภทของปัญหาหรือหมายเลขที่ติดต่อ และยังช่วยพาลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาให้ไปยังจุดที่เขาต้องการได้เลย โดยที่ไม่ต้องเพิ่มภาระให้กับฝ่ายอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้อง โดยที่ระบบ IVR เก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้าที่ติดต่อเข้ามา ผ่านตัวเลขที่เป็นตัวแทนของปัญหาในโทรศัพท์ พร้อมทั้งฝั่งของบริษัท สามารถตั้งค่าคำตอบล่วงหน้าสำหรับลูกค้าถามบ่อย ๆ เพื่อลดเวลาในการรอของลูกค้า ซึ่งถือว่าเป็นการบริการลูกค้าแบบ Self Service รูปแบบนึงที่หลายๆบริษัทชั้นนำมีเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว สรุปสั้นๆได้ว่า...

พลังเพลงในองค์กร ปลุกใจคนฟัง

การทำงานและวัฒนธรรมขององค์กรกลายเป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จและความสุขของบุคคลในชีวิตประจำวัน ไม่เพียงแค่การทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพในแต่ละวัน แต่มันยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์และเป้าหมายในภาพรวมของคนภายในองค์กร ด้วยเหตุผลนี้เพลงที่สื่อถึงความท้าทาย ความมุ่งมั่น และการให้กำลังใจในชีวิตการทำงานจึงมีความสำคัญและเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในองค์กรหลากหลายที่ ซึ่งเพลงปลุกใจคนในการทำงานไม่เพียงแต่สร้างแรงบันดาลใจ แต่ยังสื่อถึงความหวัง ความเชื่อมั่น และการไม่ยอมแพ้ต่อความยากลำบาก ไม่ว่าจะเป็นคนทำงานในออฟฟิศ เป็นผู้ประกอบการ หรือผู้ที่กำลังตามหาฝันของตนเอง ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งงานไหนหรือกำลังทำงานอะไร เพลงเหล่านี้จะเป็นเสียงสะท้อนที่ทำให้มีรู้สึกว่าไม่เดียวดายในการต่อสู้เพื่อความสำเร็จในชีวิตและองค์กร และนั่นก็เป็นเหตุผลที่เพลงประจำบริษัทหรือเพลงประจำองค์กร ถูกใช้เพื่อเชื่อมสัมพันธ์ของพนักงานให้เป็นหนึ่งเดียวกัน และให้มีความภาคภูมิใจในบริษัทหรือองค์กร และเสียงเพลงพร้อมเนื้อร้องที่มีความหมายดีๆก็จะเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างความสามัคคี รวมถึงสามารถทำให้พนักงานและผู้ฟังทั่วไปเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของบริษัทหรือองค์กรได้อีกทางหนึ่ง

พลังเพลงโฆษณา 15 วิ

เชื่อว่าในยุคสมัยนี้ทุกคนต้องเคยใช้แพลตฟอร์มโซเชี่ยลมีเดียต่างๆกันมาบ้าง แน่นอนเพราะกับยุคที่อะไรก็รวดเร็วและสะดวกสบายไปซะทุกอย่างจนทำให้เราขาดมันไปไม่ได้ เรียกได้ว่าความสำคัญของอินเตอร์เน็ตแทบจะเทียบเคียงกับปัจจัย4 แต่ว่าของฟรีไม่มีในโลกกาารที่เราเข้าชมเว็บไซต์ต่างๆทุกอย่างล้วนเป็นเรื่องเงินๆทองๆ การที่เว็บไซต์เหล่านั้นสามารถอยู่ได้โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากโฆษณาที่ทางเว็บหรือแพลตฟอร์มต่างๆจะจัดเตรียมที่ไว้ให้ บวกกับการทำการตลาดแบบใหม่ของแบรนด์ต่างๆที่เริ่มนำเอา Music Marketing มาใช้มันจึงลงล็อคกันพอดี ก่อให้เกิดเพลงโฆษณาที่สั้นเร็วที่ดึงความสนใจของคนที่ดูและยังสามารถยิงAdsโฆษณาไปได้ทุกที่บนโลกอินเตอร์เน็ตอีกด้วย แต่ถ้าถามว่าทำไมต้อง 15 วินาทีกันล่ะ? ขอแบ่งออกเป็น2เหตุผลหลักๆ คือ อย่างแรกขออ้างอิงมาจากกฎของแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกอย่าง Youtube กฎโฆษณาในยูทูปที่กดข้ามไม่ได้ (Non-skippable in-stream Ads) จะต้องมีความยาวประมาณ 15 วินาทีหรือสั้นกว่า ผู้ชมจะไม่สามารถกดข้ามวิดีโอประเภทนี้ได้เลย ข้อดีก็คือช่วยเพิ่มระดับการรับรู้และการจดจำของผู้บริโภค เพราะส่วนมากคนดูหลายคนชอบกดข้ามโฆษณา ซึ่งวิธีนี้มีส่วนช่วยเปิดโอกาสให้แบรนด์ต่างๆโดดเด่นขึ้นมาได้ ซึ่งในตัวแพลตฟอร์มอื่นๆก็มีกฎที่ใกล้เคียงกันอยู่ ส่วนอีกเหตุผลคือพฤติกรรมของคนฟังที่เปลี่ยนไป พฤติกรรมของคนในยุคสมัยอินเตอร์เน็ตที่ทุกอย่างมีความรวดเร็วและทันท่วงที ทำให้ช่วงความสนใจสั้นลง และโจทย์ที่หินที่สุดสำหรับแบรนด์แทบจะทุกแบรนด์ที่ต้องตีให้แตก คือการกุมความสนใจของคนดูให้อยู่หมัดภายในระยะเวลาอันสั้น เรียกได้ว่าแค่ประโยคแรกของเพลงก็ต้องทำให้เกิดการจดจำและทำซ้ำทันที ถ้าคิดเป็นตัวเลขก็อาจจะภายในเวลา 5 วินาทีหรือน้อยกว่า ฟังดูน้อยมากแต่เห็นได้ชัดกับความนิยมของTIKTOK...

เทคนิค Earworm ทำเพลงติดหู สะกดใจคนฟัง

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจสั้นๆกับสภาวะที่เราเรียกกันติดปากง่ายๆว่า Earworm หรืออีกชื่อที่เป็นทางการขึ้นมาหน่อยอย่าง Stuck Song Syndrome (SSS) ซึ่งมันเป็นภาวะทางสมองอย่างหนึ่งเกิดจากการที่เราฟังเพลงที่มีเนื้อร้อง และทำนองท่อนใดท่อนหนึ่ง หรือทั้งเพลง แต่เมื่อเวลาผ่านไปกลับมีความรู้สึกว่าเพลงนั้นยังคงเล่นวนซ้ำอยู่อย่างนั้นแม้ไม่ได้ยินเพลงนั้นแล้ว ทำให้เราควบคุมตัวเองไม่ได้เผลอร้องหรือฮัมเพลงนั้นออกมานักวิทยาศาสตร์คาดว่าน่าจะเกี่ยวกับสมองส่วนการได้ยิน (Auditory Cortex) ไปกระตุ้นหน่วยความจำระยะสั้นที่เกี่ยวกับเสียง และการได้ยินแบบต่อเนื่องอย่างเป็นวัฏจักร (Phonological Loop) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความจำพร้อมใช้งาน (Working Memory) ทำให้เกิดความทรงจำพร้อมใช้แบบเสียงที่วนซ้ำๆในลักษณะดังกล่าวนั้นไม่มีผลเสียต่อร่างกาย แต่ก่อให้เกิดความรำคาญเพียงเท่านั้น ข้อสังเกตุของเพลงที่ทำให้เราติดหูมากๆเกือบแทบจะทุกเพลงที่มักทำให้เกิดภาวะ Earworm หรือเพลงที่มักจะทำให้เราหลอนหูมีตั้งแต่เพลงสั้นๆไปจนถึงเพลงที่มีความยาวมากๆ โดยมีเนื้อร้อง หรือทำนองแบบหนึ่งซ้ำๆ ซ่อนอยู่ในเพลง เช่น เพลงสำหรับเด็ก เพลงป๊อบ เพลงประกอบโฆษณาสินค้าและบริการซึ่งใช้เพื่อผลประโยชน์ทางการตลาด หรือให้ข้อมูลบางอย่างกับผู้ฟัง รวมถึงแนวเพลงที่มีจังหวะเร็ว ทำนองจำง่าย เนื้อเพลงจะใช้คำง่ายๆ และร้องซ้ำไปซ้ำมาหลายๆรอบ ซึ่งมีส่วนทำให้สมองจัดการข้อมูลเพื่อจดจำได้ง่ายขึ้นเพลงที่มักจะติดหูผู้คนได้ไวมักจะมีโครงสร้างคล้ายๆกันก็คือการออกแบบเมโลดี้ช่วงแรกๆให้เป็นโน้ตที่ค่อนข้างสูง ช่วงถัดมาจะเป็นโน้ตต่ำลง...

รวม 3 แนวเพลงและดนตรีสำหรับเปิดในคาเฟ่ ให้น่านั่ง

การที่ร้านกาแฟหรือคาเฟ่สักที่จะมีความโดดเด่นจากร้านอื่นๆได้นั้นต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า ร้านกาแฟไม่ใช่แค่ที่สำหรับซื้อกาแฟ แต่ยังเป็นสถานที่ที่สามารถมานั่งพักเงียบๆ ทำงาน หรือผ่อนคลายจากความเหนื่อยล้า และเป็นเหมือนกับที่สถานที่ดีๆไว้นัดพบปะกับกลุ่มเพื่อน บรรยากาศภายในร้านกาแฟจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่ควรใส่ใจ และในการที่จะช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจนั่งต่อเพื่อสั่งเครื่องดื่มอีกสักแก้วและดื่มด่ำกับบรรยากาศต่อ ต้องยอมรับเลยว่าบรรยากาศในร้านคาเฟ่นั้น มีความพิเศษมากกว่าสถานที่ต่างๆ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ใน ปัจจุบัน มีคนมากมายชี่นชอบที่จะไปคาเฟ่ และมีร้านคาเฟ่มากมายเกิดขึ้นหลายแห่ง แล้วหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้บรรยากาศของร้านคาเฟ่ทั้งหลายดูพิเศษขึ้นนั้นมาจากอะไร? ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากการตกแต่งของร้านทั้งภายในภายนอก แต่สิ่งที่มีความสำคัญอีกอย่างที่บางคน อาจจะมองข้ามนั้นก็คือเพลง เพลงนั้นเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างบรรยากาศให้กับสถานที่นั้นๆ ขึ้นอยู่กับแนวเพลงที่ร้านเลือกจะเปิด การเลือกเพลงสำหรับร้านกาแฟเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ เพราะเพลงสามมารถบ่งบอกถึงความพิเศษและตัวตนของร้านกาแฟ การเลือกเพลงที่ตรงคอนเซ็ปต์ของร้านและตรงกับกลุ่มเป้าหมายเป็นการเพิ่มสเน่ห์ให้กับร้านคาเฟ่เหล่านั้นได้อย่างดี มาเริ่มต้นที่การสร้างบรรยากาศของร้านด้วย Acoustic เพลงที่คุณเลือกเปิดจะเป็นตัวกำหนดความรู้สึกของลูกค้าตั้งแต่ก้าวเท้าเข้ามาภายในร้าน หากเราเปิดเพลง Acoustic จังหวะสบายๆชิวๆ ลูกค้าที่เข้ามาก็จะรู้สึกผ่อนคลาย หรือถ้าเป็นเพลง Acoustic อีกจังหวะที่มีความมสนุกสนานลูกค้าก็จะรู้สึกสดชื่นร่าเริงมากขึ้น เราอาจจะต้องคำนึงถึงลูกค้ามากขึ้นมากเขาเข้ามาทำอะไรในร้านนอกเหนือจากการมาซื้อกาแฟ เช่น ถ้าเราอยากให้ลูกค้าได้นั่งพัก นั่งเอ็นจอยกับสิ่งรอบตัว เพลงที่เลือกเปิดก็ควรเป็นเพลงที่สามารถช่วยให้ลุกค้ารู้สึกผ่อนคลาย อาจจะเป็นเพลงบรรเลงฟังสบายๆ หรือถ้าอยากให้ลูกค้าเข้ามานั่งทำงานในร้าน...

การตลาดผ่านเสียงดนตรีที่ชวนจดจำ

เมื่อเราลองนึกย้อนไปในสมัยเด็กช่วงที่เรานั่งดูการ์ตูนทางทีวีผ่านช่องต่างๆ สิ่งที่ขัดใจมากที่สุดเวลานั่งดูคือช่วงที่การ์ตูนเหล่านั้นตัดเข้าโฆษณา แต่ไม่รู้ทำไมพอย้อนกลับมาตอนนี้กลับคิดถึงเพลงโฆษณาเหล่านั้นเหลือเกินไม่ว่าจะ ปูไทย, เซี่ยงไฮ้, ขนมตราไก่ย่าง หรือแลคตาซอย เรียกได้ว่าแค่เห็นชื่อเหล่าขนมเหล่านี้ ก็ได้ยินเพลงออกมาเป็นทำนองจนร้องออกมาได้โดยที่แทบไม่ต้องนึก แม้โฆษณาเหล่านั้นจะผ่านเวลามานานแล้วก็ตาม ซึ่งสิ่งข้างต้นที่ว่ามามันก็คือการใช้ Music Marketing นั่นเองเพียงแต่ในยุคนั้นคำคำนี้อาจจะไม่ได้เรียกกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งในปัจจุบันการทำ Music Marketing ก็ยังคงมีออกมาเรื่อยๆและหลายๆครั้งก็สร้างความน่าจดจำได้ไม่น้อยตัวอย่างเช่น Shopee ที่นำทำนองเพลงฮิตติดหูอย่าง Baby Shark มาใช้ แล้วแต่งเนื้อใส่ไปในเพลงเพื่อนำเสนอจุดขายของแบรนด์เข้าไปเพิ่มอย่าง “ในช้อปปี้ ๆๆๆๆ เสื้อผ้าดี ๆๆๆๆ ทุกอย่างมี ๆๆๆๆ ที่ช้อปปี้” เพียงแค่ได้ยินเสียงดนตรี ก็ทำให้ทุกคนนึกถึงแบรนด์ Shopee ทันที ยังไม่นับที่เอาซุปเปอร์สตาร์ลูกหนังชาวโปรตุเกส อย่าง คริสเตียโน่ โรนัลโด้ มาเต้นอีกนะ...

3 เทคนิคสำคัญ ทำเพลงประกอบเกมส์

การแต่งเพลงประกอบเกมส์ แน่นอนว่าพูดถึงเรื่องการแต่งเพลงสิ่งแรกที่คุณต้องทำเป็นคือการแต่งเพลง คุณอาจจะไม่จำเป็นต้องเล่นเกมเก่งคุณก็อาจจะสามารถแต่งเพลงประกอบเกมส์ที่ดีก็ได้ ส่วนถ้าคุณยังคิดไม่ออกว่าควรจะแต่งเพลงประกอบเกมหนึ่งเกมส์นั้นควรจะมีทิศทางอย่างไร เราจะมาแบ่งปันเทคนิคกัน วันนี้ผมขอแบ่งออกเป็น 3 หัวข้อหลักๆสำคัญในการทำเพลงประกอบเกมส์ อย่างแรกคือ ความเข้าใจ ก่อนอื่นคุณต้องรู้ก่อนว่าเกมที่คุณจะแต่งเพลงประกอบให้เป็นเกมส์แนวไหนเกี่ยวกับอะไร หรือทำให้ใครเล่น สิ่งที่สำคัญคือ ความรู้ความเข้าใจในตัวเกมที่เราต้องแต่งเพลงประกอบ ลองดูไปที่ตัวเกมส์ว่ามันมีองค์ประกอบอะไรให้เรานำมาเล่นเป็นกิมมิคในงานเพลงได้บ้าง อย่างsettingของเกมมันอยู่ในช่วงยุคเวลาไหนหรือตั้งอยู่ที่ประเทศอะไร อย่างตะวันออกกลางยุคสมัยโบราณ บางทีคุณอาจจะลองใช้เรื่องmode เข้ามาสร้างสีสันและเพิ่มบรรยากาศให้ผู้เล่นได้รับประสบการณ์ที่ดีมากขึ้น ต่อมาพูดถึงไอเดียหรือ ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดสร้างสารรค์ไม่ใช่การสร้างเมโลดี้หรือทางคอร์ดเจ๋งๆอย่างเดียว บางทีมันก็อาจจะเกี่ยวกับการตีความ อย่างการเลือกใช้แนวดนตรีในการทำเพลงประกอบ มันไม่จำเป็นว่าเกมสักแนวหนึ่งต้องคู่กับเพลงแนวหนึ่งเสมอไป ถ้ามันเป็นเกมแนวแอคชั่นมันก็ไม่ได้จำเป็นว่าจะต้องใช้ดนตรีแนวร็อคหรือEDM อย่างเดียว มันขึ้นอยู่กับไอเดียและการตีโจทย์ว่าเกมในขณะนั้นต้องการกระตุ้นอารมณ์ของผู้เล่นไปในทิศทางไหน และก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะสามารถนำพาผู้เล่นไปได้ไกลมากน้อยแค่ไหน อย่างสุดท้ายคือ ความน่าจดจำ บอกได้เลยว่าถ้าเราไปศึกษาส่วนประกอบเกมที่ประสบความสำเร็จแทบทุกเกมนั้นมีจุดร่วมกันอยู่อย่างหนึ่ง คือมันมีสิ่งที่น่าจดจำ เราอาจจะกำลังพูดถึง งานออกแบบภาพ กราฟฟิค เกมเพลย์ เนื้อเรื้องที่ทำให้ผู้เล่นอิน หรือซีนต่างๆที่ผู้เล่นสามารถจำมันได้ แต่ถ้าเราพูดถึงงานดนตรี...

12 เทคนิคทำเพลงประกอบภาพยนตร์อย่างมืออาชีพ

ไม่ว่าหนังสักเรื่องหนึ่งจะมาจากคนทำหนังมืออาชีพหรือมือสมัครเล่น ไม่ว่ามันจะเป็นหนังสั้น 12 นาทีหรือยาวสองชั่วโมง องค์ประกอบหนึ่งที่จะขาดไม่ได้เลยคือดนตรีประกอบ ซึ่งเทคนิคการทำเพลงดนตรีประกอบภาพยนตร์ ส่วนใหญ่จะเป็นการ ครูพัก ลักจำ ส่งต่อกันมาเป็นรุ่นสู่รุ่นเสียมากกว่า ซึ่งในวันนี้เราก็มีเทคนิคเล็กๆน้อยๆมาแบ่งปันกัน สิ่งแรกก่อนที่เราจะเริ่มสร้างงานของเราได้นั้นก็ต้องมีการพูดคุยกับผู้กำกับหรือผู้นำไอเดียเสียก่อน เพื่อที่เราจะได้เข้าใจในภาพรวมของงานที่กำลังจะเริ่มต้นขึ้น และวางแผนนำไอเดียมากมายในหัวนำมาควบแน่นกลายเป็นผลงานที่ยอดเยี่ยม ซึ่งเทคนิคแรกที่เราจะพูดถึงเลยนั่นก็คือ 1.หลีกเลี่ยงศัพท์เทคนิค เวลาบรีฟงาน หน้าที่ของเราคือตามการนำของผู้กำกับและสร้างดนตรีออกมาด้วยกัน ถ้าเราไปนั่งคุยศัพท์เทคนิคเยอะแยะหรือเอาแต่พูดถึงเรื่องดนตรี เราอาจจะพลาดข้อมูลสำคัญและความตั้งใจของผู้กำกับในการทำหนังเรื่องนั้นๆ ได้ ตั้งแต่ได้รับงานลองเข้าไปคุยกับผู้กำกับก่อนตั้งแต่เนิ่นๆ แบบพูดคุยเล่น ไม่ต้องมีเรื่องดนตรีเข้ามาเกี่ยวก็ได้ แล้วอาศัยบทสนทนาจากการพูดคุยนั้น มาช่วยกำหนดทิศทางว่าดนตรีของหนังเรื่องนั้นจะออกมาในรูปแบบไหนและความตั้งใจของผู้กำกับจริงๆแล้วคืออะไร พยายามหลีกเลี่ยง “reality conversation” เพราะมันจะมาทำลายความคิดสร้างสรรค์ของเราหมด ปล่อยหน้าที่นั้นให้เป็นของโปรดิวเซอร์แทน 2.เล่าเรื่อง ในหน้าที่ของคนทำเพลงภาพยนตร์หัวใจหลักคือการเล่าเรื่อง เพราะฉะนั้นให้ยึดมั่นกับเรื่องเล่านั้นๆ ห้ามปล่อยมันเด็ดขาด ให้เขียนเพลง และ พัฒนา (Develop) สกอร์ไปพร้อมๆกับภาพ...

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.