NEWBIE GUIDE

สอนทำเพลง ตัวโน้ตมีแรงดึงดูด

ตัวโน้ตมีแรงดึงดูด หลักที่ช่วยในการแต่งทำนองเพลง

ในการเรียงเรียงเพลง โน้ตเมโลดี้เป็นสิ่งสำคัญในการทำเพลง โดยการแต่งเมโลดี้มีวิธีต่างๆ แต่จะมีวิธีหนึ่งที่เป็นสิ่งที่ช่วยในการแต่งเพลงคือ ตัวโน้ตมีแรงดึงดูดในการทำเพลง ซึ่งเป็นส่วนช่วยในการแต่งเพลงอย่างหนึ่ง ผมจะมาอธิบายให้รับชมว่า โน้ตมีแรงดึงดูดมีส่วนช่วยในการทำเพลงอย่างไร The Real ProducerREAL / DEEP / EXCLUSIVE หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริงถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับหากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจังนี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ หลักสูตร The Real Producerเล็งเห็นถึงความสำคัญของวิชาดนตรีแท้ๆ ที่เป็นรากฐานในการสร้างงานดนตรีที่มีคุณภาพทัดเทียมสากลสนใจหลักสูตร ติดต่อ admin...

เรียนแต่งเพลง ที่ไหนดี

5 ปัจจัยในการเลือก เรียนแต่งเพลง ที่ไหนดี

สำหรับใครที่ยังไม่รู้เลยว่า ถ้าสนใจ จะ เรียนแต่งเพลงที่ไหนดี หรือยังไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ในระดับไหน ต้องเรียนอะไรบ้าง และต้องใช้เงินเท่าไหร่ เราก็มีเกณฑ์ในการตัดสินใจ ช่วยให้คุณรู้ว่าตัวคุณนั้นต้องการจะเป็นศิลปิน, โปรดิวเซอร์, หรืออยากเรียนรู้ อยากเรียนแต่งเพลงเป็นแค่งานอดิเรก และตัวคุณนั้นอยู่ในระดับไหน ต้องเรียนรู้อะไรต่อ ถ้าใครที่ยังไม่รู้ตัวว่าเรานั้นต้องการอะไรกันแน่ วันนี้เราจะมาหาคำตอบไปด้วยกัน The Real ProducerREAL / DEEP / EXCLUSIVE หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริงถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับหากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจังนี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ เรียนแต่งเพลง เป็นนักทำดนตรี...

เรียนทำเพลง 4 แนวทางปรับตัวในยุค AI สำหรับคนทำเพลง

4 แนวทางปรับตัวในยุค AI สำหรับคนทำเพลง

หลายๆคลิปที่ผ่านมาเราเคยพูดถึงกันไปแล้วกับข้อดีข้อเสียของ AI ทำเพลง เพราะถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้การทำเพลงนั้นสะดวกสบายมากขึ้นแต่ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงวิธีการปรับตัว และเอาตัวรอดว่าต้องทำยังไงโดยเราจะแบ่งเป็น 4 แนวทางในการปรับตัว เพื่อให้เข้ากับยุค AI 1.แตกต่างให้เจ๋ง ข้อสังเกตเวลาเราลองให้AIเจนเพลงออกมา เราจะรับรู้ได้ว่าเพลงที่AIทำมันดี แต่ไม่ได้ดีมาก เป็นเพลงที่ไม่มีความโดดเด่น เรียกได้ว่าเป็นเพลงที่โหลไม่ว้าว เพราะมันเกิดจากการที่AIนำเพลงจากฐานข้อมูลมารวมกันเยอะๆแล้วมาทำเป็นค่าเฉลี่ย ซึ่งในค่าเฉลี่ยมันก็จะมีแต่เพลงกลางๆทั่วไปไม่ได้ว้าว แต่เพลงที่ว้าวหรือเพลงที่ดีมันก็จะเป็นเพลงที่อยู่เหนือกว่าค่าเฉลี่ยเหล่านั้นและนั่นคือความแตกต่าง AIมันไม่มีสิ่งที่ชอบหรือไม่ชอบ แต่มนุษย์ทุกคนมีและดันมีแตกต่างกันด้วย สิ่งนั้นเรียกว่า “รสนิยม” การที่เราทำเพลงไปถึงจุดๆหนึ่งแล้วรู้สึกไม่ชอบสิ่งนี้ ชอบที่จะใช้ท่าแบบนี้บ่อยๆ จนมันกลายเป็นลายเซ็นต์ สิ่งเหล่านี้คือความมีเอกลักษณ์ การเป็นตัวของตัวเอง ไม่ซ้ำใคร มันจะเกิดความรู้สึกที่แตกต่างรู้สึกดูมีสเน่ห์ ดูโดดเด่นขึ้นมา 2.เก่งกว่าให้ได้ ถ้าถามว่าAIเก่งมั้ย? ก็ต้องยอมรับว่ามันเก่ง แต่สิ่งหนึ่งที่มันแพ้มนุษย์คืองานสร้างสรรค์ นวัตกรรมต่างๆสิ่งที่มนุษย์คิดค้น AIคิดเองไม่ได้แต่มนุษย์สามารถทำได้ เพียงแต่สิ่งที่AIดีกว่าคือความเร็ว เพราะฉะนั้นถ้าเราแข่งความเร็วไม่ได้ เราก็แข่งที่คุณภาพ รายละเอียดของงานดีกว่า...

เทคนิคแต่ง Melody ด้วย Passing Note

Passing Note หรือโน้ตทางผ่าน เป็นตัวช่วยที่จะเพิ่มสีสันให้เมโลดี้ของเรามีความน่าสนใจยิ่งขึ้น และช่วยส่งให้เมโลดี้มีความลื่นไหล เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่รู้ไว้ต่อยอดไปได้อีกไกล เพราะ Passing Note ถือเป็นเทคนิคที่สามารถใช้ได้ตลอดกาล ถ้าหากรู้วิธีใช้อย่างถูกต้อง วันนี้เราจะมาดูกันว่า Passing Note มันใช้ยังไงได้บ้าง The Real ProducerREAL / DEEP / EXCLUSIVE หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริงถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับหากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจังนี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ...

เรียนทำเพลง 3 เครื่องดนตรีที่ควรฝึก

3 เครื่องดนตรีที่ควรฝึก ถ้าอยากเป็น Producer ทำเพลง

เครื่องดนตรีบนโลกนี้มีหลากหลายชนิดให้เราเลือก ขึ้นอยู่กับว่าเราสนใจตัวไหน แต่ถ้าถามว่าเครื่องดนตรีตัวไหนควรฝึกฝนถ้าอยากเป็น Music Producer? ก็มีเครื่องดนตรีที่จำเป็นต้องฝึกจริงๆอยู่ 3 อย่าง และใช้ในการทำเพลงได้หลากหลาย ซึ่งจะมีอะไรบ้าง เดี๋ยวมาดูกัน 1. ร้องเพลง เสียงร้อง ถือเป็นเครื่องดนตรีที่พื้นฐานที่สุด และเป็นสิ่งที่คนเรามีติดตัวกันทุกคน ถ้าคุณสามารถร้องเพลงได้ไม่เพี้ยน คุณก็สามารถคิดโน๊ตและไลน์ต่างๆในหัว เอามาประกอบเป็นดนตรีได้เหมือนกัน แต่การมีเส้นเสียงดี กับร้องไม่เพี้ยนต่างกันนะครับ เพราะถ้าคุณเป็นคนที่มีเสียงหวาน ละมุน หรือไพเราะ แต่ร้องเพี้ยนก็อาจจะทำให้มีปัญหากับการทำเพลงได้ เพราะการร้องไม่เพี้ยนเกิดจากการที่หูของคนเราสามารถร้องตรงโน้ต หรือรับรู้ได้ว่าโน้ตที่เราร้องมันตรงกับคีย์หรือไม่ ซึ่งก็จะไปเกี่ยวข้องกับการฝึก Ear Training ถ้าใครฝึก Ear Training มาเยอะ และแยกแยะโน้ตออกได้ก็มีชัยไปกว่าครึ่ง แม้ว่าเราจะไม่ได้เป็นคนเกิดมามีเส้นเสียงดีก็ตาม กลับกัน การที่คุณเป็นคนเสียงแหบ ถ้าคุณสามารถร้องตรงคีย์ ก็จะกลายเป็นอีกสเน่ห์นึงไปเลย...

4 อย่างที่เรียนแล้วไม่ได้นำไปสู่การเป็น Music Producer

ตลอดระยะเวลาที่ผมอยู่ในงารสอนดนตรีมานี้ มีหลายคนที่เข้ามาปรึกษาผมเกี่ยวกับการเรียนเพื่อประกอบอาชีพทางดนตรี ซึ่งบางคนก็เลือกเรียนถูก แต่ยังมีอีกไม่น้อยเลยที่เลือกเรียนผิดสาย ซึ่งจะทำให้จบมาทำงานไม่ตรงตามต้องการ วันนี้เราจะมาดู 4 อย่าง หรือ 4 วิชาที่เรียนแล้วไม่ได้นำไปสู่การเป็น Music Producer กันครับ 1. เรียน DJ DJ หรือ Disc Jockey เป็นสายงานทางดนตรีที่ทำหน้าที่เล่นเพลงให้คนตามสถานบันเทิงต่างๆ มีลักษณะเด่นคือมีการสควอช (Squat) แผ่น ซึ่งชัดเจนว่าคือการเปิดเพลงไม่ใช่การสร้างเพลงขึ้นมาตามหน้าที่ของ Producer ดังนั้นถ้าใครเลือกเรียน DJ เพื่อหวังจะสร้างเพลงขึ้นมาล่ะก็เรียกได้ว่าเรียนผิดทางอย่างมาก แต่ด้วยที่ว่ามี Producer หลายๆคนที่แทนตัวเองว่า DJ และเพลงสมัยใหม่มีแนวดนตรี House, Disco อยู่ด้วยจึงทำให้หลายคนเข้าใจว่าการเรียน DJ นั้นสามารถต่อยอดไปเป็นProducer ในแนวดนตรีนั้นๆได้ แต่จริงๆแล้วต่อให้มี Producer สาย DJ จริง แต่เขาเหล่านั้นผ่านการเรียนดนตรีมาทั้งนั้นกว่าจะผันตัวเองไปเป็น Producer ได้ ดังนั้นสู้มาเรียนดนตรีโดยตรงแต่แรกเลยดีกว่าครับ 2. เรียนเป็น Remixer สืบเนื่องจากข้อที่แล้ว การเป็น Remixer นั้นหลายๆคนอาจนึกถึง DJ ด้วย เพราะด้วยความเคยชินจากเพลง Remix หลายๆเพลงที่แทนตัวคนทำ Remix ว่า DJ แต่จริงๆแล้วงานคนละส่วนแตกต่างกันสิ้นเชิงDJ นั้นคือคนเปิดเพลง ส่วน Remixer คือคนที่นำเพลงที่มีอยู่แล้วมาใส่เครื่องดนตรี เช่น ลูปกลอง หรือ Synth ใหม่ๆ เพื่อให้ได้แนวและอารมณ์เพลงใหม่ อย่างเพลงแดนซ์มันส์ๆที่เราคุ้นเคยกัน ถึงแม้จะมีส่วนคล้ายการทำเพลงแต่เป็นเพียงการนำเพลงที่ทำขึ้นมาอยู่แล้วมาดัดแปลงอีกที ถือว่าไม่ได้คิดเองตั้งแต่แรก จึงไม่สามารถเรียกว่าคือการ Produce เพลงได้ ดังนั้นการเรียนเป็น Remixer จึงยังห่างจากการเป็น Producer ไม่น้อยเลย 3. เรียนเป็น Live sound engineer เป็นที่เข้าใจผิดกันอย่างมาก กับคนหมู่มากว่าการเรียน Mixing คือการเรียนทำเพลง แต่จริงๆแล้วมันมีความคลุมเครืออยู่ (จริงๆอาจชัดเจนอยู่แล้ว...

ทำไม? การทำเพลงจึงไม่ต้องเชื่อทุกคอมเม้นท์

ในการสร้างผลงานเพลงนั้นมีสิ่งที่สำคัญและเป็นเหมือนดาบสองคมคือ “คอมเม้นท์” ซึ่งแน่นอนว่าคอมเม้นท์เป็นหนึ่งในสิ่งที่ช่วยให้พัฒนาฝีมือได้ถูกทิศทาง ขณะเดียวกันก็อาจทำให้ไขว้เขวได้รวมถึงทำให้หมดไฟกันเลยทีเดียว วันนี้ผมมีแง่เรื่องคอมเม้นท์มาฝากทุกคนกัน เนื่องจากรุ่นน้องที่สนิทและมีความสามารถในการเขียนเพลงระดับที่ค่ายใหญ่ๆซื้อผลงาน และผลงานมียอดผู้ฟังหลายล้านวิว ได้มีการตัดพ้อให้ผมฟังว่ามีคอมเม้นท์ในเชิงบั่นทอนกำลังใจมากเหลือเกิน ทั้ง “เพลงดูธรรมดาเกินไป” “เพลงฟังยากเกินไป” “เพลงฟังง่ายเกินๆป” ฯลฯ ซึ่งผมเองก็แปลกใจว่าขนาดฝีมือระดับนี้ก็ยังหนีไม่พ้นการถูกคอมเม้นท์ในเชิงที่ไม่ค่อยดี แต่จริงๆแล้วก็สามารถเข้าใจได้ครับ ว่าทุกอย่างที่กระทำออกไปไม่ว่าจะเป็น ผลงานเพลง หนัง รวมถึงทุกๆเรื่องก็มักจะมีทั้งคนชอบและไม่ชอบเป็นะธรรมดาครับ สิ่งสำคัญที่ควรโฟกัสคือคอมเม้นท์เหล่านั้นจะช่วยเราให้โตขึ้นหรือฉุดเรากันแน่ และส่วนใหญ่คอมเม้นท์ที่ฉุดเราก็จะมาจากกลุ่มคนที่ไม่ได้ชื่นชอบผลงานประเภทที่เราทำอยู่แล้ว ดังนั้นก็แค่ไม่ต้องไปใส่ใจกับคอมเม้นท์เหล่านนั้นแล้วมาสนใจคอมเม้นท์จากกลุ่มคนที่เสพผลงานประเภทที่เราทำดีกว่า เพราะจริงๆแล้วคอมเม้นท์ก็เป็นเพียงมุมมองของคนๆหนึ่งเท่านั้น อีกอย่างที่สำคัญโดยเฉพาะกับมือใหม่ที่อาจยังแยกแยะไม่ออกว่าคอมเม้นท์แบบไหนที่ควรใส่ใจแบบไหนไม่ควร ตรงนี้ก็ต้องอาศัยผู้รู้ในด้านนั้นๆคอยแนะนำว่าควรใส่ใจอย่างไรดี เพราะหากใส่ใจผิดจะส่งผลต่อทิศทางการพัฒนามากๆ อาจทำให้ไขว้เขว หรือในบางกรณีอาจเสียสุขภาพจิตและหมดไฟไปได้เลยทีเดียว สุดท้ายนี้ก็อยากฝากว่าจริงๆแล้วเรื่องคอมเม้นท์นั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ว่าเก่งขนาดไหนก็เจอ มีทั้งแย่และดีปะปนกัน เราเองก็อย่าไปใส่ใจกับคอมเม้นท์ที่ไม่เข้าใจในผลงานของเราอย่างถ่องแท้และคอมเม้นท์ลบๆให้เรา จงเลือกฟังจากผู้รู้และผู้ที่สนใจงานของเราจริงๆพอ จะช่วยให้เราพัฒนางานดนตรีที่มีคุณภาพได้ครับ The Real ProducerREAL / DEEP / EXCLUSIVE...

5 สาขาคณะดนตรี คุณควรเลือกอะไรดี?

ถ้าคุณเป็นหนึ่งในคนที่ชอบดนตรีและอยากเข้าคณะดนตรี จริงๆแล้วมันมีคณะและสาขาของคณะดนตรีอยู่มากเลยที่คุณสามารถเลือกเรียนได้ การเลือกเรียนดนตรีนั้นสำคัญมากๆต่ออาชีพในอนาคตซึ่งแต่ละคนมีจุดประสงค์ในการเรียนที่ต่างกัน ก็จำเป็นต้องเรียนในสาขาที่ตรงกับจุดประสงค์ด้วยถึงจะประกอบอาชีพได้ถูกต้อง ซึ่งผมจะแบ่งออกเป็น 5 สาขาหลักให้คุณได้ลองพิจารณาเลือกเรียนดังนี้ 1. สาขาครุศาสตร์/ครูดนตรี หากคุณอยากเรียนดนตรีเพราะอยากเป็นครูสอนดนตรีละก็คณะนี้เป็นตัวเลือกที่ตรงที่สุด ซึ่งคณะนี้ส่วนใหญ่จะไม่ได้เรียกว่าคณะดนตรีโดยตรง แต่จะอยู่ในสาขาย่อยของคณะครุศาสตร์ หรือศึกษาศาสตร์ ชื่อสาขาดนตรีหรือศิลปะศาสตร์เป็นต้น ซึ่งอาจแยกย่อยตามเครื่องดนตรีเอกอีกในสาขานี้ เนื้อหาการเรียนจะเหมาะสำหรับการเอามาสอนโดยตรง คุณสามารถเข้าคณะนี้ในสาขาเกี่ยวกับดนตรีแล้วจบมาเป็นครูสอนดนตรีได้เลย 2. สาขาการแสดงดนตรี การแสดงดนตรีก็คือการเล่นดนตรี หรือแม้แต่การขับร้อง การแสดงเกี่ยวกับดนตรีทั้งหมดมีจุดประสงค์เพื่อทำการแสดงฝีมือทางดนตรี ซึ่งสาขานี้จะฝึกให้เราเล่นดนตรีได้อย่างเก่งกาจ ในสาขานี้นั้นจะแยกย่อยออกเป็นแต่ละแนวอีก คือ  1. Classic 2. Jazz 3. Pop/rock (ดนตรีร่วมสมัย)  ซึ่งจะมีความแตกต่างตามแต่ละที่ บางที่อาจมีครบทั้งสามแนว บางที่อาจมีแค่ 1 หรือ 2 แนว บางที่อาจรวมแต่ละแนวเข้าด้วยกันแล้วใช้ชื่ออีกแบบ ก็แล้วแต่ที่คุณสนใจและหาข้อมูลเพิ่มเติมของแต่ละมหาวิทยาลัย อย่างของที่ผมเคยเรียนมานั้นจะแยกเป็น 2 แนวคือ สาขาการแสดงดนตรี ซึ่งหมายถึงแนวดนตรี Classic และสาขาการแสดงดนตรี Jazz หมายถึงแนวดนตรี Jazz และไม่มีแนว Pop/rock ถามว่าผลลัพธ์ของการเข้าเรียนในสาขานี้คืออะไร แน่นอนว่าเขาจะฝึกคุณให้กลายเป็นคนที่เล่นดนตรีเก่งมากๆ เหนือมนุษย์ ในแนวที่คุณเลือก...

ลิขสิทธิ์เพลงเป็นของใครบ้าง เมื่อทำเพลงมา 1 เพลง

หลายคนที่กำลังเริ่มเส้นทางสายดนตรีอาจจะยังไม่จำเป็นต้องตระหนักถึงเรื่องลิขสิทธิ์ต่างๆเกี่ยวกับงานเพลงมากนัก อาจจะมองไปในเรื่องความสนุกของการทำเพลง แต่ความเป็นจริงแล้วลิขสิทธิ์เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะมันอาจจะทำให้คุณเสียสิทธิประโยชน์ที่เป็นของคุณบางอย่างไป ซึ่งมันอาจจะทำให้คุณต้องเสียดายไปตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นวันนี้เรามาทำความเข้าใจเรื่องลิขสิทธิ์เพลงกันสักเล็กน้อยครับ 1. ลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรม ลิขสิทธิ์ดนตรีมีอยู่ 2 ประเภทหลักๆ ซึ่งลิขสิทธิ์เรื่องแรกคือ ลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรม ที่จะเกี่ยวกับเนื้อร้องและทำนอง แบ่งแยกกันเป็น 2 ส่วนชัดเจนคือส่วนของเนื้อร้อง และส่วนของทำนองซึ่งลิขสิทธิ์ทำนองนั้นรวมกับดนตรีไปด้วย ตามปกติแล้วเวลาเราทำเพลงขึ้นมา 1 เพลง องค์ประกอบหลักๆของเพลง 1 เพลงจะมี เนื้อร้อง ทำนอง และดนตรี รวมกันจนได้มาเป็นเพลง 1 เพลง แต่ในทางกฎหมายนั้นดนตรีกลับไม่มีลิขสิทธิ์ แต่จะไปรวมกับทำนองเมโลดี้หลัก กลายเป็นลิขสิทธิ์ทำนองอย่างที่กล่าวไปข้างต้น เพราะฉะนั้นหากเรานำทำนองของเพลงเก่าสักเพลงมาทำดนตรีขึ้นมาใหม่ ในทางกฎหมายจะยังคงมองว่าเป็นการเอาทำนองเดิมมาดัดแปลงใหม่ แต่ยังต้องขออนุญาติจากศิลปินเจ้าของผลงานก่อนด้วยนั่นเอง 2. ลิขสิทธิ์งานบันทึกเสียง ก็ตามชื่อของมันว่าเป็นลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวกับการบันทึกเสียง ยกตัวอย่างเช่น เรานำเพลงคลาสสิคที่หมดการคุ้มมครองลิขสิทธิ์ไปแล้วนำมาอัดเล่นใหม่ของเราเอง ลิขสิทธิ์ของการบันทึกเสียงก็จะเกิดขึ้นทันที...

4 นิสัยเสียที่ควรเลิก ถ้าอยากทำเพลงเก่ง

ในการทำเพลงนั้นนักทำเพลงทุกคนล้วนรังสรรค์ไอเดียเพลงจากตัวตนของตัวเอง และนั่นเกี่ยวข้องกับนิสัยส่วนตัวโดยตรง การที่เรามีนิสัยบางอย่างที่ดีจะช่วยส่งเสริมให้ผลงานเพลงของเราออกมาดี แต่ตรงกันข้ามหากเรามีนิสัยเสียบางอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อการทำเพลงของเราติดตัวล่ะก็ แน่นอนว่าไม่เป็นผลดีต่อเพลงของเรารวมถึงจะเป็นผลเสียด้วยอีกต่างหาก ในคลิปวีดีโอนี้ผมได้รวบรวมนิสัยเสีย 4 อย่างที่ผมเห็นว่าเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการทำเพลง ซึ่งหากเราติดนิสัยดังกล่าวนี้อยู่ ผมการันตีว่าผลงานเพลงของของเราจะมีปัญหาบางอย่างแน่นอน เรามาดูกันว่านิสัยเสีย 4 อย่างที่ควรเลิก ถ้าอยากทำเพลงเก่ง มีอะไรบ้าง The Real ProducerREAL / DEEP / EXCLUSIVE หลักสูตรโดย VERY CAT SOUND : Compose Your Dream เราไม่ได้สอนให้คุณแค่ทำเป็น แต่สอนให้คุณเก่ง รู้ลึก รู้จริงถ้าคุณมีอาชีพโปรดิวเซอร์เป็นความฝัน มาคุยปรึกษากันได้ครับหากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจการทำดนตรีจริงๆ อยากเรียนรู้แบบลึก จริงจังนี่คือหลักสูตรที่เนื้อหาครอบคลุมทุกอย่างที่จำเป็นต่อการเป็นโปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง นักทำดนตรี ในระดับมืออาชีพ...

ベリーキャットサウンド ©2014 Copyright. All Rights Reserved.